เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 27256 ท่องเที่ยวทั่วไทย ไหว้พระ ๙๙๙ วัด
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 11:21

วัดร่องขุ่น เชียงราย
วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
    ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
    ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
    พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน



บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 08:59

พระประธานวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์     หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ประทับนั่งบนฐานชุกชี    ผู้ที่เข้าไปในพระอุโบสถ ไม่ว่าขึ้นบันไดไปทางทิศไหนจะพบพระพักตร์พระพุทธรูปทุกด้าน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:02

ถ้าใครชอบหลวงพระบาง  ก็ควรจะไปดูศิลปะวัฒนธรรมในจังหวัดน่านของเราด้วย
วัดภูมินทร์ เป็นวัดงามมาก  ประตูโบสถ์ทั้งสี่ทิศเป็นไม้แกะสลักลวดลายงดงามแบบล้านนา  มีจิตรกรรมฝาผนัง แสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ผ่านมา ตามพงศาวดารของเมืองน่าน
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดย พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านผ่านได้ 6 ปี     เดิมชื่อวัดพรหมมินทร์ ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างวัด      แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็น วัดภูมินทร์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 20 มิ.ย. 11, 12:23

วัดพิกุลทอง และพระเทพสิงหบุราจารย์  สิงห์บุรี



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 21 มิ.ย. 11, 20:25

พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลกว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงหล่อพระพุทธชินราชจำลองขึ้นมาแทน

เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย  ปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระมียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา ลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมาก


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 21 มิ.ย. 11, 21:19

พระพุทธชินสีห์ ที่วิหารด้านทิศเหนือ วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 03:12

วัดพิกุลทอง และพระเทพสิงหบุราจารย์  สิงห์บุรี

คุณ punyum คงจะคลาดเคลื่อนในข้อมูลแล้วหละครับ หลวงพ่อแพ ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง และมรณภาพไปแล้ว น่าจะเป็นในภาพที่นำมาประกอบ

ส่วนพระเทพสิงหบุราจารย์ คือหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ครับ และยังอยู่ครับ ปัจจุบันท่านดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมสิงหบุราจารย์เดือนสิงหาคมนี้ท่านจะอายุครบ ๘๔ ปีครับ


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 15:31

ลุงไก่ครับ  ผมกล่าวน้อยไปหน่อยครับ
เคยเป็นสมณศักดิ์ของหลวงพ่อแพ(เขมังกโร) วัดพิกุลทอง เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี มาก่อนครับ
ส่วนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ท่านได้สมณศักดิ์ชั้นเทพ หลังหลวงพ่อแพ มรณภาพแล้วและก็ชื่อเดียวกันครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 09:28

ขอพาย้อนกลับไปชานเมืองกรุงเทพ   แค่พุทธมณฑลสาย 4 นี้เอง ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ไปนมัสการ "พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" พระพุทธรูปปางลีลาพระองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง
ตรงศูนย์กลางของพุทธมณฑล   สูง 2,500 กระเบียด (ประมาณ 15.875 เมตร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า "พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์"

รอบองค์พระประธานเป็นสถานที่จำลองของสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ ตำบลอันเป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน นอกจากนี้ยังมีศาสนสถานที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ พระวิหารพุทธมณฑล ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช และที่พำนักสงฆ์อาคันตุกะ หอประชุมทางกิจการพระพุทธศาสนา ศาลาปฏิบัติกรรมฐาน พิพิธภัณฑ์ทางพุทธศาสนา หอสมุดพระพุทธศาสนา สวนไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ และในปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีในวันสำคัญทางศาสนา อาทิ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 12:36

^
^
อาจารย์คงต้องเหนื่อยเพิ่มเพื่อเล่าเรื่องเพิ่มเติมแล้วหละครับว่า "พระศรีศากยะทศพลญาณ" อันเป็นผลงานและฝีมือของท่านอาจารย์ศิลป พีระศรี มีความเป็นมาอย่างไร

และกับคุณ Puyum ผมเองก็ขออภัยครับที่ผมไม่ทราบเรื่องสมณศักดิ์ของหลวงพ่อแพครับ ได้ยินมาตั้งแต่เด็กก็เพียงคำว่า "หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง" เลยต่อว่าคุณไปนิดหน่อย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 12:57

รู้แค่นี้ค่ะ
ต้องเชิญท่านอื่นที่รู้เรื่องศิลปะและผลงานของอาจารย์ศิลป์ มากกว่านี้มาเล่าต่อ

พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" เป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทองสำริดหนัก 17,543 กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระ รวม 137 ชิ้น แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูป เพื่อเชื่อมรอยต่อ และปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปสูง 15.875 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปลีลา หล่อด้วยทองสำริดที่มีลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์   โดยประยุกต์พุทธลักษณะ มาจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบ ในตอนแรกที่ออกแบบไว้ พระพุทธรูปมีความสูงเพียง 2.14 เมตร แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธศาสนาอายุครบ 2,500 ปี จึงได้มีการขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น 2,500 กระเบียด (1 กระเบียดเท่ากับ 1/4 นิ้ว) ดังนั้นพระศรีศากยะทศพลญาณฯ ในปัจจุบัน จึงมีความสูงถึง 15.875 เมตร ใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ 7.5 เท่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 19:00

พระพุทธรูปหินอ่อน วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ขนาดหน้าตักกว้าง ๙ ศอก น้ำหนัก ๙ ตัน ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารวัดวังก์วิเวการาม หลวงพ่ออุตตมะให้ช่างมัณฑะเลย์ แกะสลักเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๔ ใช้เวลา ๑ ปี จึงแล้วเสร็จ โดยส่งภาพถ่ายพระพุทธชินราชเป็นตัวอย่าง ค่าจ้างเป็นทองคำหนัก ๒๕ บาท หลังจากนั้นได้ใช้เวลาอีกปีครึ่ง รอเวลาดำเนินการขนส่งผ่านเส้นทางทุรกันดาร ทั้งค่ายทหารพม่าและกะเหรี่ยง เพื่อมาประดิษฐานในเมืองไทย

วัดวังก์วิเวการาม ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดหลวงพ่ออุตตมะ" ตั้งอยู่ในหมู่บ้านมอญ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี หลวง
พ่ออุตตมะเป็นผู้สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ ภายในวัดมีพุทธสถานที่สวยงาม ประดับตกแต่งด้วยอิฐมอญ หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ออกแบบสิ่งปลูกสร้างเสนาสนะภายในวัดด้วยตนเอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 20:50

^
^
อาจารย์คงต้องเหนื่อยเพิ่มเพื่อเล่าเรื่องเพิ่มเติมแล้วหละครับว่า "พระศรีศากยะทศพลญาณ" อันเป็นผลงานและฝีมือของท่านอาจารย์ศิลป พีระศรี มีความเป็นมาอย่างไร

และกับคุณ Puyum ผมเองก็ขออภัยครับที่ผมไม่ทราบเรื่องสมณศักดิ์ของหลวงพ่อแพครับ ได้ยินมาตั้งแต่เด็กก็เพียงคำว่า "หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง" เลยต่อว่าคุณไปนิดหน่อย

ขอช่วยลุงไก่ และ อ.เทาชมพู เพิ่มเติมข้อมูลครับ

เพื่อเฉลิมฉลอง ๒,๕๐๐ ปีของพุทธศาสนา รัฐบาลโดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีมติให้สร้างพุทธมณฑลขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยสถานที่ปฏิบัติ ศาสนธรรม ศึกษาค้นคว้าเผยแผ่พุทธศาสนา เป็นที่ตั้งของการบริหารคณะสงฆ์ และพิพิธภัณฑ์พุทธศาสนา รวมทั้งเป็นนิวาสสถานของพระภิกษุสงฆ์ เสมอเหมือนนครศักดิ์สิทธิ์แห่งพุทธศาสนา ซึ่งก็คือการรื้อฟื้น โครงการ “พุทธบุรีมณฑล” ที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำริที่จะสร้างขึ้นเมื่อคราวเป็นรัฐบาลสมัยที่หนึ่ง ในบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดสระบุรีในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ (ค.ศ. 1944) โดยจัดตั้งคณะกรรมการการจัดงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษแห่งพุทธศาสนา ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ (ค.ศ. 1954) อันมีพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการ

คณะกรรมการเห็นสมควรว่า ควรจะสร้างปูชนียสถานให้เป็นพุทธานุสรณ์ให้ยิ่งใหญ่กว่าปูชนียสถานใดๆ ที่เคยสร้างมาก่อน โดยอนุมัติให้จัดซื้อที่ดินในจังหวัดนครปฐม มีอาณาบริเวณ ๒,๕๐๐ ไร่ และ สร้างพระพุทธปฏิมาปางลีลา สูงเฉพาะองค์ ๒,๕๐๐ นิ้ว (๔๐ – ๔๕ เมตร) “มีพุทธลักษณะเป็น ประติมากรรมของสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วหุ้มด้วยทองแดงหรือประดับ กระจก” โดยมอบหมายให้ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งก็คือ คอร์ราโด เฟโรจี (Corrado Feroci) ผู้ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ (ค.ศ. 1944) และดำรงตำแหน่งคณบดีคณะประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมา

ศิลป์ พีระศรี เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับพระพุทธปฏิมาในที่ประชุมคณะกรรมการฯ ว่า

พระพุทธปฏิมานั้น ไม่ใช่องค์พระพุทธเจ้าจริง เป็นแต่เพียงสิ่งแทนอันหมายถึง พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์เท่านั้น ถ้าพูดในด้านความรู้สึกแห่งจิตใจแล้ว ควรเป็นแบบ Idealistic แต่อย่างไรก็ตามขอให้เป็นหน้าที่ของศิลปินผู้ออกแบบ จะเป็นแบบไหนก็ได้ ขอให้เกิดความรู้สึกก็แล้วกัน

ต้นแบบพระประธานพุทธมณฑล ที่ศิลป์ พีระศรี ร่างขึ้นนั้น แสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่า “แบบ Idealistic” หรือ “แบบอุดมคติ” ของท่านนั้น ได้แก่แบบคลาสสิก (Classic) หรือแบบ ศิลปะกรีกโบราณ เช่นรูป “นักกีฬาพุ่งแหลน” ของโพลีไคลตุส (Polyclitus) ซึ่งปั้นขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๑๑๐ - ๑๐๐ (ก่อน ค.ศ. 450 – 400) (กำจร ๒๕๒๔, ๑๕๓) ซึ่งถึงแม้ว่าโพลีไคลตุส จะเป็นผู้ริเริ่มรูปยืนที่ทอด น้ำหนักไว้บนขาข้างเดียว หรือที่เรียกว่า “ตริภังค์” ในศิลปะของอินเดีย ซึ่งทำให้รูปนั้นดูมีชีวิตชีวาก็ตาม แต่นักวิจารณ์ร่วมสมัยของท่านก็ยังกล่าวว่า “โพลีไคลตุสไม่สามารถสร้างความเป็นเทพเจ้าได้” (Clark 1960, 36) น่าจะหมายความว่า เขาสร้างความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาไม่ได้ เช่นเดียวกันกับประติมากรรมของ ศิลป์ พีระศรี


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 20:55

หลังจากที่ได้ส่งรูปตัวอย่างให้คณะกรรมการฯ พิจารณา ๔ แบบแล้ว คณะกรรมการฯ จึงเลือก พระพุทธปฏิมาครองจีวรห่มดอง พาดสังฆาฏิยาวจรดพระเพลา แบบพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย พระหัตถ์ซ้ายจีบพระอังคุฐเข้ากับพระดรรชนีในท่าแสดงธรรม ยกส้นพระบาทขวา จีวรทำเป็นริ้วตามธรรมชาติ ในปีต่อมา ศิลป์ พีระศรี จึงได้ปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมาสูง ๒.๑๔ เมตร เพื่อประดิษฐานในโรงพิธี ณ ท้องสนามหลวงให้ประชาชนสักการบูชาในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ และใน วาระเดียวกันยังได้ปั้นขยายจากพระพุทธปฏิมาต้นแบบ มีขนาดความสูง ๓.๕๐ เมตร ขึ้น พร้อมจำลองแท่นฐานตามโครงการ ประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีกลางท้องสนามหลวงอีกองค์หนึ่ง

๒๔ ปีต่อมา รัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ จึงได้พิจารณารื้อฟื้นโครงการจัดสร้าง พุทธมณฑลขึ้นใหม่ โดยมีมติให้ลดขนาดของพระพุทธปฏิมาลง จาก ๒,๕๐๐ นิ้ว (๔๐ - ๔๕ เมตร) เป็น ๒,๕๐๐ กระเบียด (๑๕.๘ เมตร) และหล่อด้วยสัมฤทธิ์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการดำเนินงาน แต่ยังคงเป็นพระพุทธปฏิมาสัมฤทธิ์ปางลีลาที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา เมื่อพร้อมที่จะหล่อองค์พระพุทธปฏิมาในช่วงรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองพระรัศมี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ (ค.ศ. 1981) และในปีเดียวกันนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระประธานพุทธมณฑลนี้ ว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” ซึ่งในปีต่อมาจึงจัดให้มีพิธีสมโภชพระพุทธปฏิมาขึ้น พร้อมกับการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปีใน พ.ศ. ๒๕๒๕ (ค.ศ. 1982)


ภาพองค์พระจำลองประดิษฐานที่ท้องสนามหลวง ในงาน ๒๕ พุทธศตวรรษ ท้องสนามหลวงให้คนสักการะบูชา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 21:02

นอกจากนี้การสร้างพระเครื่องจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย มีการสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา เนื้อชิน เนื้อทองคำ มากที่สุดในประเทศ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง