เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 27275 ท่องเที่ยวทั่วไทย ไหว้พระ ๙๙๙ วัด
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 18:30

วัดพระบรมธาตุ  อ.บ้านตาก  ไหว้หลวงพ่อทันใจ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 18:43

วัดพนัญเชิง เป็นวัดเก่าแก่สร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา  ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้าง และพระราชทานนามว่า วัดเจ้าพระนางเชิง  พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า ได้สถาปนาพระพุทธรูปพุทธเจ้าพแนงเชิง เมื่อปี พ.ศ. 1867 ซึ่งก่อนพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี
พระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้เป็นพระพุทธรูปใหญ่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา หน้าตักกว้าง 20 เมตรเศษ สูง 19 เมตร ปางมารวิชัย  คำว่า พแนงเชิง  หมายความว่า นั่งขัดสมาธิ


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 19:04

   ขออนุญาตเพิ่มเติม เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ศาลเจ้าข้างวิหารหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 19:07

ไปไหว้พระหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง หรือ หลวงพ่อซำปอกง เมื่อปลายปีที่แล้ว ได้รับการบูรณะปิดทองใหม่ เงาวับ และนำพระอุณาโลมขึ้นติดไว้กลางพระนลาฏ อีกครั้งหลังจากไม่ได้ติดไว้กว่า ๑๐ ปี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 19:13

ขอแถมให้ค่ะ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=557872

                        แพนงเชิง – พนัญเชิง – ไก่พะแนง

            ชื่อวัดพนัญเชิง ที่อยุธยานั้น   เสียงเลือนมาจากคำว่า “แพนงเชิง” ที่แปลว่า  “การนั่งขัดสมาธิ”

            ส่วนอาหารที่ทุกวันนี้เรียกว่า “แกงพะแนง” นั้น   แปรเปลี่ยนมาจาก “ไก่พะแนง”  ซึ่งไม่ใช่แกง   แต่เป็นการย่าง

            ทั้งหมดนี้  พลตรี ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ใน “สยามรัฐหน้า ๕” ฉบับวันที่ 1 กันยายน 2515

            เนื้อความส่วนหนึ่งมีดังนี้

            “ผมได้อ่านบทความเรื่องวัดเจ้าจอมมะยง  โดยคุณประพิน  วงษ์หงส์   ในหนังสือชาวกรุง ฉบับประจำเดือนกันยายนนี้  เล่าถึงเรื่องประวัติวัดพระนมมะยง  ซึ่งบัดนี้เรียกกันว่าวัดพนมยง  น่าอ่านน่ารู้มาก  แต่ไปสะดุดใจอยู่ในข้อเขียนตอนหนึ่งว่า

            “ส่วนวัดพระนมมะยงนั้น  กาลเวลาและการเรียกขานกันอย่างสะดวกปาก  ทำให้สำเนียงเพี้ยนไปเป็นวัดพนมยง
            เช่นเดียวกับวัดทุ่งวัวลำพอง  เป็นหัวลำโพง
            วัดพระนางเช็งหรือวัดพระนางเชิง  กลายเป็นวัดพนัญเชิง”

            ผมไปสะดุดใจเอาที่ชื่อวัดหลังนี้  ฟังดูคล้าย ๆ กับว่าชื่อวัดนี้มาจากชื่อเรียกว่าวัดพระนางเช็ง

            พระนางเช็งนั้น  ชื่อออกจะเป็นจีนอยู่  ผมไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด  แต่คงจะเป็นคน ๆ เดียวกับนางสร้อยดอกหมาก  ลูกสาวพระเจ้ากรุงจีนซึ่งมีตำนานเล่ากันว่ามาเรือล่มที่หน้าวัดหรืออะไรทำนองนั้น

            รู้สึกว่าจะเป็นนิยายปรัมปราเต็มที

            พระเจ้ากรุงจีนในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยานั้น  เป็นผู้มีอำนาจวาสนาเหลือล้น  ใคร ๆ ก็เกรงขาม  เหมือนกับประธานเมาเซตุงในสมัยนี้  คงจะไม่ปล่อยให้ลูกสาวลงเรือสำเภามาเมืองไทยง่าย ๆ

            หรือถึงจะมา  คนที่มาด้วยก็คงไม่ปล่อยให้สำเภาที่มีลูกสาวพระเจ้ากรุงจีนโดยสารมานั้นล่มลงง่าย ๆ

            ผมเข้าใจว่าชื่อวัดนั้น  คงจะมาจากนามของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัด

            พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบอกไว้ชัดว่า  พระพุทธรูปองค์นี้มีนามว่า  “พระเจ้าแพนงเชิง” สร้างขึ้นเมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา  เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยองค์หนึ่ง  และยังบริบูรณ์งดงามดีอยู่จนถึงทุกวันนี้

            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2493 ให้ความหมายของศัพท์ “แพนงเชิง” ไว้ว่า การนั่งขัดสมาธิ

            ผมออกจะเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งและเชื่อถือตามนั้น

            ทำไมจึงเรียกพระพุทธรูปองค์ใหญ่นั้นว่าพระเจ้าแพนงเชิง ?     

        ที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะเหตุว่า  พระเจ้าแพนงเชิงเป็นพระพุทธรูปใหญ่องค์แรกในท่าขัดสมาธิ

            คนโบราณสมัยนั้นซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร  ได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ ๆ ไว้มาก  เช่น พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดป่าเลไลยก์  จังหวัดสุพรรณบุรี  และพระพุทธรูปศิลาอีกหลายองค์ที่เมืองนครปฐม

            โปรดสังเกตว่าพระพุทธรูปที่กล่าวถึงนี้  เป็นพระนั่งห้อยพระบาททั้งสิ้น

            นอกจากนั้นการสร้างพระพุทธรูปใหญ่ก็มักจะนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปนอน  เช่นพระนอนจักรสีห์  พระนอนป่าโมกข์   ลงมาจนถึงพระนอนที่วัดพระเชตุพนในกรุงเทพ

            จะเป็นเพราะสะดวกกว่าในการก่อสร้าง  และเมื่อสร้างแล้วก็มั่นคงกว่าหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ

            แต่พระเจ้าแพนงเชิงนั้นเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในท่านั่งขัดสมาธิองค์แรก  เก่ากว่าองค์อื่น ๆ ทั้งหมด

            เมื่อเป็นองค์แรกเช่นนี้  ก็ย่อมจะต้องตื่นเต้นขนานพระนามเอาไว้ว่าเจ้าแพนงเชิง  หรือพระเจ้านั่งขัดสมาธิ

            คำว่าแพนงเชิงนั้น  ถ้าจะแปลให้ชัดก็ต้องแยกศัพท์ออกเป็นสองคำ คือพะแนง คำหนึ่ง  และเชิงอีกคำหนึ่ง

            พะแนงแปลว่าขัด

            ส่วนเชิงแปลว่าเท้า

            แพนงเชิงจึงแปลว่าขัดเท้าเข้าด้วยกัน  คือนั่งสมาธินั่นเอง

            ไหน ๆ ก็พูดเรื่องคำนี้กันแล้ว  ก็จะต้องขอพูดต่อไปถึงไก่พะแนง

            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน บอกไว้ว่าอย่างนี้

            พะแนง  น. แกงคั่วเป็ด หรือไก่ เป็นต้น  มีเนื้อชิ้นโต ๆ  น้ำแกงข้น

            ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

            ใครก็ตามที่เขียนคำอธิบายศัพท์นี้แล้วไปประวิสรรชนีย์ท้ายตัว พ.  ทำให้เกิดเป็นคำขึ้นอีกคำหนึ่งนั้น  ไม่เคยกินไก่พะแนงแบบดั้งเดิม

            คนไทยโบราณนั้นใช้ไก่ทั้งตัวทำเป็นไก่พะแนง  เอาน้ำพริกแกงซึ่งไม่ใช่แกงคั่ว  เพราะมีถั่วลิสงตำละเอียดปนอยู่ด้วย  ผสมกับหัวกะทิ  ทาไก่ทั้งในและนอกแล้วเอาขึ้นย่างไฟ  ระหว่างที่ย่างนั้นก็ใช้น้ำพริกผสมหัวกะทิคอยประพรมและทาไปจนกว่าไก่จะสุก

            ไก่ทั้งตัวนี้พับท่อนขาซึ่งอาจจะรวมทั้งเท้าไก่ด้วยเข้าไปไว้ในท้อง  แบบเดียวกับที่ฝรั่งย่างไก่

            คำว่าพะแนงในที่นี้จึงตรงกับคำว่าพะแนงในแพนงเชิงนั้นเอง

            แปลว่าพับขาหรือเอาขาขัดเข้าไว้ในท้อง

            ต่อมาการทำไก่พะแนงแบบนั้นอาจไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวงเพราะต้องกินเวลานานมาก  จึงได้ยักย้ายเปลี่ยนมาเป็นเป็ดหรือไก่สับชิ้นโต ๆ เอาลงผัดกับเครื่องแกงและกะทิในกระทะหรือหม้อ  กลายเป็นไก่พะแนงหรือเป็ดพะแนงอย่างที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบัน

            พะแนงเนื้อก็มีกินในทุกวันนี้  และเนื้อนั้นก็หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกับแกงเผ็ด  ผิดกันแต่เครื่องน้ำพริกเท่านั้น”
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 19:27

พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลี ศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบทรงเครื่องอย่างพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์พุทธศิลป์สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เดิมเป็นพระพุทธรูปอยู่เดิมแล้วได้ถูกแปลงโฉมใหม่ในรัชกาลดังกล่าว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 19:37

พาไปกราบพระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

พระใส เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง ตามประวัติกล่าวย้อนไปถึงกบฏเจ้าอนุวงศ์ สมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญ พระเสริม พระสุก พระใส ล่องข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งไทย แต่โชคไม่ดีพระสุกได้ตกน้ำจมหายไป เหลือแต่พระเสริม และพระใส และในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดให้อัญเชิญพระทั้งสององค์เข้ากรุงเทพ ฯ แต่เกิดเกวียนไม่เคลื่อน พระใส จึงได้อยู่ยังทุกวันนี้ ส่วนพระเสริมได้อัญเชิญเข้ากรุงเทพฯ ประดิษฐานที่วัดปทุมวนาราม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 18:49

ถ้าไปสมุทรสงคราม  ก็ควรไปนมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม  วัดเพชรสมุทร

ตำนานเล่าว่าท่านเป็นพระพุทธรูปหนึ่งในสามองค์  ที่ลอยตามน้ำมาขึ้นที่วัดต่างๆ    แต่ตามประวัติเล่าว่าชาวประมงบ้านแหลม ออกไปล้อมอวนจับปลาที่ปากอ่าวแม่กลอง ได้พระพุทธรูปติดอวนขึ้นมา 2 องค์   องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร แต่บาตรหายไปในทะเล  ภายหลังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดชได้ถวายบาตรใหม่  เป็นบาตรแก้วสีน้ำเงิน   อีกองค์หนึ่งเป็นพระนั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย   เป็นพระแกะสลักจากศิลา    ชาวบ้านแหลมได้แบ่งให้ญาติทางบางตะบูน  นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า “ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา ” มาจนทุกวันนี้

หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ปางอุ้มบาตร ขนาดสูง 167 ซม. เป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยา พระพักตร์งามมาก พระหัตถ์เป็นคนละชิ้นกับพาหา ถอดออกได้แบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 12 มิ.ย. 11, 20:09

เรื่องการกำเนิดของพระผุดนั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ไปชัดเจน แต่ในนิทานพื้นบ้าน ได้เล่าถึงกำเนิดของพระผุดเอาไว้ว่า มีเด็กคนหนึ่งนำควายไปผูกล่ามไว้กับหลัก พอกลับถึงบ้านเด็กและควายก็ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ หลังจากนั้นพ่อเด็กก็ฝันว่า ลูกชายของตนได้นำควายไปผูกไว้ที่พระเกตุมาลาก่อนจะเสียชีวิต รุ่งขึ้นจึงไปดูจึงรู้ว่าเป็นพระพุทธรูป แต่ก็ขุดได้เพียงครึ่งองค์เท่านั้น ซึ่งในยุคที่พม่าบุกยกทัพเข้าตีเมืองถลาง ก็ได้พยายามที่จะขุดเอาพระผุด แต่พอขุดก็ไปเจอมดคันพิษและต่อแตนต่อย ทำให้ขุดไม่ได้

ครั้นต่อมามีพระธุดงค์มาปักกลดแถวนั้น เมื่อเห็นพระผุดจึงได้สร้างโบสถ์ขึ้นคลุมพระผุด พร้อมๆกับอันเชิญเป็นพระประธานของโบสถ์ และนี่อาจจะเป็นพระประธานหนึ่งเดียว ในโลกที่มีเพียงครึ่งองค์ก็ว่าได้ ในปัจจุบันพระผุดที่โบสถ์วัดพระทอง จะมีอยู่ด้วยกันสอง(ครึ่ง)องค์ คือ องค์ใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นครอบองค์จริงที่ผุดขึ้นมาจากดินอีกที ส่วนองค์เล็กสร้างขึ้นบนฐานเอาไว้ให้คนทั่วไปปิดทอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 มิ.ย. 11, 20:13

พระแก้วขาวหรือพระเสตังคมณีประดิษฐานเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครเชียงใหม่ ณ วัดเชียงมั่น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 มิ.ย. 11, 20:31

ในอดีตยังมีพระพุทธรูปหนึ่งที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ปัจจุบันถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์เชียงใหม่ พระองค์นี้คือ พระแสนแซว่

แม้ว่าพระแสนแซว่จะเหลือเพียงพระพักตร์เท่านั้น เป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริด ศิลปะเชียงแสน มีพระวรกายใหญ่มาก ซึ่งชำรุดเหลือเพียงในภาพเท่านั้น
ในการก่อสร้างวัดเบญจมพิตร ทรงโปรดให้จัดหาพระพุทธรูปในหัวเมืองที่งดงาม และให้นำมารวบรวมไว้ที่พระระเบียงวัดเบญจมพิตร ซึ่งพระแสนแซว่
ก็ได้ถูกอัญเชิญมาเช่นกัน แต่เนื่องด้วยเหลือเพียงพระเศียร จึงมิอาจบูรณะและเข้ากลุ่มกับพระพุทธรูปอื่นๆไม่ได้

ความศักดิ์สิทธิ์ของพระแสนแซว่ปรากฎให้เห็นเมื่อท่านเลื่องลือในการให้หวย กข. อย่างแม่นยำ จนเป็นที่เลื่องลืออย่างมาก ทำให้เจ้ามือหวยต่างหาทางป้องกันมิให้ท่านใบ้หวย กข.
ได้อีกต่อไป จึงได้นำตะปูมาตอกสะกดไว้ที่ริมฝีปากขององค์พระ ทั้งบนและล่าง

และหลังจากนั้นเศียรพระแสนแซว่ก็ถูกอัญเชิญกลับไปยังเชียงใหม่ในเวลาต่อมา และคงอยู่เป็นมิ่งขวัญแก่เมืองเชียงใหม่จนบัดนี้


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 14:30

พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก จ.อ่างทอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 13 มิ.ย. 11, 15:08

พระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ภายในองค์ก่ออิฐเป็นแกนแล้วบุด้วยทองสัมฤทธิ์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์พระไม่รวมฐานบัว12.45 เมตร   เป็นพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่องค์เดียวในประเทศไทย สันนิษฐานกันว่า สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นราวแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ



บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 11:07

วัดพระนั่งดิน อ.เชียงคำ จ.พะเยา
วัดพระนั่งดิน อยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและอัญเชิญองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่ายกไม่ขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้ จึง เรียกขานนามสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน หรือพระเจ้านั่งดิน



บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 11:11

‘หลวงพ่อผาเงา’
วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

“วัดพระธาตุผาเงา” ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก
ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ ๓ กิโลเมตร
มีพื้นที่ทั้งหมด ๗๔๓ ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ
ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจัน และมาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ

ชื่อของวัดแห่งนี้มาจากชื่อของ “พระธาตุผาเงา”
ที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาคือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน)
ก้อนผาหรือหินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์
และให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “พระธาตุผาเงา”

ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า “วัดสบคำ” ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง
ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณของวัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด
คณะศรัทธาจึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก
วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด
สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่สำคัญและประจำกรุงเก่าแห่งนี้
จะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้
ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ (พระประธาน)
ปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสมของเก่า

แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำ เรียกว่า ถ้ำผาเงา ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน
ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารก เต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจาย
ได้มีการค้นพบพระพุทธรูป “หลวงพ่อผาเงา”
เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา
เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างปีติยินดี
เมื่อได้พบว่าใต้ตอไม้หน้าฐานพระประธาน มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้
เมื่อยกอิฐออก จึงได้พบพระพุทธรูปมีลักษณะสวยงามมาก



บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง