Miss Candela
อสุรผัด

ตอบ: 7
|
กราบสวัสดีอาจารย์และสมาชิกบ้านเรือนไทยวิชาการทุกๆคน
ดิฉันเป็นสมาชิกใหม่ของบ้านหลังนี้ค่ะ อยากจะขอแนะนำตัวและทำความรู้จักกับพี่ๆน้องๆทุกคน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความเมตตาจากทุกคนนะค่ะ
ดิฉันชื่นชอบนิยายของอาจารย์มานาน เพราะนิยายของอาจารย์สนุกและมีข้อคิดสอนใจด้วย ดิฉันอยากที่จะลงมือเขียนนิยายสักเรื่อง แต่ติดตรงที่ว่าดิฉันเคยลองเขียนแล้วยังมีข้อติดขัดบางประการ อยากจะเรียนถามอาจารย์ค่ะ
ข้อแรก กลวิธีการเขียนบรรยายฉาก สิ่งของ รูปลักษณ์ตัวละคร ดิฉันลองเขียนแล้วรู้สึกมันยังไม่ค่อยลื่นไหล อยากทราบว่าจะบรรยายอย่างไรดีให้สามารถจินตนการเห็นภาพที่เราพยายามจะสื่อได้ชัดเจน ไม่เยิ่นเย่อ และสละสลวยค่ะ
ข้อที่สอง วิธีการบรรยายความรู้สึกของตัวละครแต่ละตัวค่ะ บรรยายความรู้สึกยังไงให้มันกระชับ แต่สามารถสื่อถึงอารมณ์ของตัวละครในขณะนั้นได้ชัดเจน และคำศัพท์ที่ใช้ไม่ซ้ำกันเยอะเกินไป คือบางทีก็คิดไม่ออกจริงๆว่าจะใช้คำอะไร ยังไงมาบรรยายดี โดยเฉพาะบทแสดงความรัก เป็นการบรรยายที่ยากสุดๆสำหรับดิฉัน เพราะไม่เคยมีประสบการณ์ตรงเลย
ข้อที่สาม ดิฉันอยากทราบว่าอาจารย์มีวิธีตั้งชื่อตัวละครแต่ละตัวอย่างไรค่ะ และพวกชื่อำแหน่งของข้าราชการสมัยโบราณ อาจารย์ตั้งขึ้นเองหรือว่าอิงจากในประวัติศาสตร์ รวมทั้งข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการเขียนนิยาย อาจารย์เสาะแสวงหามาจากที่ไหนหรือค่ะ
ดิฉันอยากทราบเพียงเท่านี้ค่ะ หากอาจารย์จะกรุณาช่วยไขข้อข้องใจของดิฉัน จะถือเป็นความกรุณาอย่างยิ่งค่ะ
ด้วยความนับถือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 08 มิ.ย. 11, 12:44
|
|
คุณถามมายาว ขอตอบสั้นๆก่อนนะคะ ถ้าสงสัยก็ถามมาอีก จะขยายความให้
๑ อ่านหนังสือให้มากที่สุด เพื่อจะเก็บคำต่างๆเข้าไว้ใน "คลังคำ" ในสมองให้ได้มากที่สุด ปัญหาติดขัดอย่างที่คุณบอกมาแสดงว่าคุณยังเก็บรวบรวมคำไว้ได้ไม่มากพอ จึงบรรยายไม่ได้ดังใจ ๒ อย่าเขียนถึงอะไรที่ไม่มีประสบการณ์ หรือไม่ได้ค้นคว้ามากพอจะเล่าได้ ๓ ชื่อตัวละคร ตั้งจากพจนานุกรมบ้าง จากชื่อคนจริงๆบ้าง ชื่อบรรดาศักดิ์สมัยโบราณ ดัดแปลงมาจากบรรดาศักดิ์จริงๆที่อ่านพบในหนังสือ ๔ ข้อมูลในประวัติศาสตร์ ก็หาจากตำรา งานวิจัย หนังสือ ทุกสาขา ตอนนี้หาในกูเกิ้ลก็มีเว็บที่ลงเรื่องในอดีตของไทยอีกมาก
คนที่เป็นนักเขียนอาชีพ ล้วนเป็นนักอ่านระดับเซียนกันมาทั้งนั้น มันเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เหมือนร่างกายที่แข็งแรงเป็นพื้นฐานสำคัญของนักกีฬา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Miss Candela
อสุรผัด

ตอบ: 7
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 08 มิ.ย. 11, 13:46
|
|
ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะที่ให้คำชี้แนะ
ดิฉันจะเอาคำแนะนำของอาจารย์ไปลองปฎิบัติค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
chupong
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 08 มิ.ย. 11, 14:29
|
|
กราบท่านอาจารย์เทาชมพูที่เคารพยิ่งครับ
ผมอ่านพบกระทู้นี้ของคุณ Miss Candela เข้า ให้รู้สึกตื่นเต้นเป็นที่ยิ่ง จึงขอใช้ดวงใจคารวะต่างพวงมาลาวางลงแทบเท้าอาจารย์ เพื่อสอบถามเก็บวิทยาบางประการครับ
สารภาพกับอาจารย์ตามตรงครับว่า ผมไม่เคยฝันจะเป็น “นักเขียน” เพราะคำว่า นัก หากใช้นำหน้าคำใด มักให้ความหมายไปในทำนอง ผู้เชี่ยวชาญ นักร้องก็ต้องร้องเพลงเก่ง นักพูดก็ชำนาญพูด นักกีฬาก็สันทัดในประเภทกีฬาที่ตัวเล่น ฯลฯ แม้กระนั้น ในชีวิตนิดหนึ่งน้อยนี้ ก็เคยฝันจะเขียนนวนิยายบันทึกอะไรสักอย่างซึ่งตัวเองรู้สึกกับมัน อยากถ่ายทอดสู่ผู้อื่นให้รับรู้ ทว่า...
ผมตาบอดหลังคลอดได้ ๓ เดือนครับ ดังนั้น นับแต่จำความได้ ไม่มีภาพใดเคยกระทบประสาทสัมผัสทางตาแหละพิมพ์ประทับกับใจเลยสักน้อย ยามหลับฝันก็ปราศจากภาพเช่นกัน เมื่อจะเขียนเรื่องอันต้องอาศัยฉาก บรรยากาศ ตลอดจนองค์ประกอบทางวรรณศิลป์เพื่อสร้างจินตภาพแก่ผู้อ่าน ผมจึงรู้สึกมิผิดเข็นครกขึ้นยอดเขาพระสุเมรุ เคยตั้งคำถามกับคนตาดี “พระอาทิตย์ตอนใกล้จะตกดิน สีอะไร” เท่านั้นเองครับ คำตอบมีให้เลือกชนิด ต่างตาก็ต่างมอง ต่างคนก็ต่างเห็น บ้างว่าแดงเรื่อๆ บ้างบอกแดงก่ำ บ้างระบุสีส้ม บ้างว่าส้มอมแสด (แน่นอน แต่ละสีนั่น ผมย่อมไม่เคยเห็นครับ) ผมเคยทดลองเขียนฉากฝนกำลังจะตก ซึ่งตัวเองสัมผัสได้จากประสาทสัมผัสอื่นๆ ผนวกกับขุดค้นลิ้นชักความทรงจำ นำมโนภาพอันได้จากการอ่านหนังสือเสียงมาใช้ประสมประสาน ผลก็ออกมาดังนี้ครับ
“เมฆฝนดำทะมึน ดูทะมื่นมหึมาปานภูเขาเลากาทอดขวางนภากาศ บ่งบอกให้รู้ว่า อีกมิช้านัก กระแสธารอันกักเก็บไว้ภายในทำนบเบื้องบนสวรรค์ จะทุ่มเทถั่งท้นลงสู่พื้นดิน แสงสว่างเป็นครั้งคราจากฟ้าแลบ ไหววิ่งวาบแวบเวียนวน แว้บวูบแล้วดับวับ ติดตามมาด้วยเสียงคำรณครื้นครั่นลั่นเลื่อน ลมแรงเขย่าเขยื้อนโยกแมกไม้ไกวกวัดสะบัดแกว่ง ธรรมชาติกำลังปั่นป่วน เช่นเดียวกับบ้านเมืองที่ป่วนปั่น อลวนพัลวันอยู่ในขณะนี้ไม่มีผิด”
เขียนไปแล้วก็ลังเล มิแน่ใจในความถูกต้อง จึงขออนุญาตเรียนถามอาจารย์ครับ เพียงคำถามเดียว นั่นคือ สำหรับคนตาบอดอย่างผม โอกาสจะสร้างนวนิยายให้สมบูรณ์พอจะมีหนทางบ้างไหมครับ
ขอแสดงความนับถืออย่างสูงยิ่ง ชูพงค์ ตรีวัฒน์สุวรรณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 08 มิ.ย. 11, 15:57
|
|
คุณชูพงศ์สามารถเป็นนักเขียนได้ เพราะคุณอ่านหรือฟังหนังสือมามาก สังเกตว่าการพิมพ์แต่ละครั้ง ภาษาของคุณยาวมาก แต่พิมพ์ไม่ผิดพลาดเลย แสดงความละเอียดประณีตในสิ่งเล็กๆน้อยๆ ขอแนะนำอย่างหนึ่งว่า ภาษาของคุณประณีตก็จริง แต่เป็นภาษาที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว เป็นภาษาที่ย้อนกลับไปสมัยยาขอบโน่น ถ้าจะหัดเขียนต้องใช้ภาษาง่ายกว่านี้ ควรเริ่มด้วยเรื่องสั้น จะง่ายกว่านวนิยายเรื่องยาว และอย่าเขียนถึงอะไรที่คุณไม่รู้จัก ลองเริ่มด้วยประสบการณ์ของคุณก่อนจะง่ายกว่า
ขออภัยที่ไม่สามารถตรวจงานให้คุณได้ เพราะถ้ารับคนหนึ่งก็ต้องรับทุกคนที่ส่งมา ถ้าเลือกเฉพาะรายก็กลายเป็นเลือกที่รักมักที่ชัง แต่คุณอาจจะส่งงานที่เขียนมาลงเรือนไทยเพื่อให้ท่านอื่นๆวิจารณ์ได้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
chupong
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 08 มิ.ย. 11, 16:12
|
|
ผมขอน้อมรับคำแนะแนว ข้อแนะนำ ของท่านอาจารย์เทาชมพูไปปฏิบัติครับ เห็นจะต้องเริ่มจากหัดบันทึกประสบการณ์เรื่องใกล้ๆตัวอย่างที่ท่านอาจารย์ชี้ช่องให้ อาจเป็นเรื่องที่คนตาบอดคนหนึ่งอยากจะบอกคนตาดีเกี่ยวกับทัศนะบางประการ หรือความรู้สึกนึกคิดเฉพาะเรื่อง เฉพาะกรณีก็ได้ครับ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างยิ่งครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|