เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 26935 เครื่องลายครามลายแบบนี้เก่าหรือใหม่ครับอายุประมาณกี่ปีครับ
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


 เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 08:11

เครื่องลายครามลายแบบนี้เก่าหรือใหม่ครับอายุประมาณกี่ปีครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 08:26

สวัสดีครับ ดูท่าทางคุณเจ้าของเครื่องลายคราม คงเป็นนักสะสมนะครับ  ตกใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 16:13

ไม่มีความรู้เรื่องเครื่องลายคราม    ขอส่งต่อให้ท่านอื่นค่ะ
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 20:14

สวัสดีครับ ดูท่าทางคุณเจ้าของเครื่องลายคราม คงเป็นนักสะสมนะครับ  ตกใจ

กำลังหัดเก็บเครื่องลายครามใหม่ครับ แต่อยากถามให้ชัวร์ (เมียผมลายครามแตกลายงาแท้แน้นอนครับ) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 20:48

เรื่องอายุของโถ ไม่ค่อยถนัด แต่ดูจากการแตกลายงา แล้วเห็นว่าเก่าพอสมควร การแตกลายงาเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ได้แตกลายงาแบบตั้งใจทำ ทั้งนี้โถในลักษณะแบบนี้ เรียกว่า "โถกะปิ"

ดูจากการวาดลายเส้นและการขึ้นรูปของโถกะปิ เป็นเทคนิคแบบช่างปั้นชาวบ้าน เนื้อดินออกทางเนื้อแบบดินเผาแบบปังเคย สำหรับที่บ้านกระผมก็มีโถกะปิเก่าแก่ คุณยายเคยไว้ใช้ใบพลูครับ


บันทึกการเข้า
sak
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 16:35

โถที่คุณโพสต์ถามนี้ เป็นโถลายครามขนาดเล็กภาษานักเล่นของเก่า
จะมีศัพท์เรียกในภาษาคนเล่น-ร้านของเก่ากันว่าโถจมูก
เหตุเพราะด้านข้างของโถ บางใบจะทำเป็นรูปคล้ายหน้าสิงห์โต
มีรูตรงจมูกสำหรับร้อยห่วง จุกที่ฝาจับมักทำเป็นรูปสิงห์โตตัวเล็กๆครับ
ใบนี้ไม่ใช่หน้าสิงห์โตแต่ก็เหมาเรียกโถจมูกเหมือนกัน

โถที่คุณโพสต์ถามในภาพถ้าเป็นโถขนาดเล็กจะไว้ใส่เครื่องแป้งดินสอพอง
หน้าคันฉ่อง  ส่วนขนาดใหญ่จะเรียกว่าโถกระปิ เข้าใจว่าไว้ใส่กระปิตามบ้าน


การเขียนลายเท่าที่พบทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่มีดังนี้

1.ลายครามแยกเป็นเนื้อกระเบื้องปังเคย ตามรูปที่โพสต์ถาม และเนื้อกระเบื้องกังไส (เรียกชื่อเนื้อกระเบื้องตามชื่อเมืองแหล่งผลิตในประเทศจีน
 ถึงแม้ว่ากระเบื้องนั้นจะไม่ได้ผลิตที่เมืองนั้นก็ตาม)ตามรูปของคุณ siamise เป็นลายคราม เนื้อกระเบื้องกังไสที่เรียกกันในหมู่คนเล่นว่าลายผักชี
 ซึ่งเนื้อกังไสจะผสมกระดูกสัตว์ หรือ หินฟันม้า (อันนี้ไม่แน่ใจ) ทำให้เนื้อกระเบื้องใสแกร่ง เขียนลายได้สวยงาม
 มีราคาแพงกว่าเนื้อปังเคย

2.เขียนสีแบ่งเป็น
      2.1 เบญจรงค์ลายไทย มักพบเป็นเครื่องถ้วยลายน้ำทอง เนื้อจะเป็นกังไสครับ
      2.2 ลายเขียนสี หลายสี มักพบเป็นลายวัฒนธรรมจีน ในวัฒนธรรม บาบ๋า หยาหย๋า
             เช่น มะละกา ปีนัง สิงคโปร มักพบมากครับ

     โถแบบนี้เข้าใจว่าทำมาส่งขายแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากไทย ก็มี พม่า มาเลย์ สิงคโปร์ ครับ


บันทึกการเข้า
sak
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 16:39

ลืมตอบอายุของโถเหล่านี้ ประมาณว่ามีตั้งแต่ 50-100 ปีขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นภาชนะที่คน
รุ่นปู่ รุ่นย่าเราก็คุ้นเคย พบมากทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด เป็นเครื่องใช้ที่คนทั่วๆไปใช้กัน
มักพบปะปนกับของใช้ในครัวเรือน เช่น พวกถาดกระเบื้อง กระปุกแก้ว เครื่องแป้ง เขียว แดง น้ำเงิน 3 ใบเถา
เมื่อ 20 ปีกว่ามานี้ ตามแผงตลาดนัดวัดมหาธาตุ ร้านขายของเก่าต่างจังหวัดเช่น ที่ อ่างทอง อยุธยา
จะพบเห็นเยอะ ราคาไม่แพงเพราะของยังเยอะอยู่ มาเมื่อไม่กี่ปีหลังของหมดไปจากตลาด เพราะนักสะสม
ใหม่ๆเข้ามาเก็บกันมากขึ้น ก็เป็นธรรมดาของก็จะแพงขึ้นตามไปครับ

ข้อพึงระวังในการเก็บรักษาพวกเครื่องกระเบื้องของเก่า ซึ่งพบมันจะเตือนบอกคนรู้จักและเพื่อนที่เก็บของเก่าด้วยกันว่า
ควรจะวางแก้วน้ำที่มีน้ำอยู่ในตู้เดียวกับพวกเครื่องกระเบื้องเก่าๆ เพราะถ้าเราไม่ใส่น้ำไว้ อยู่ๆมันก็จะร้าวของมันเองได้
เพราะความแห้งของอากาศและความร้อนของบ้านเรา

เรื่องนี้เคยเกิดกับผมกระโถนเบญจรงค์ของผมมาแล้ว เพราะคิดว่าเว่อร์มีอยู่แค่ใบเดียว จะร้าวได้ไง บทว่ามันจะร้าวขึ้นมา
มันก็ร้าวเลยไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครับ เพราะฉะนั้นถ้ารักจะเก็บเครื่องกระเบื้องเก่าควรจะระวังตรงนี้ด้วย  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง