เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4141 เพื่อนต้นในรัชกาลที่ ๕
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 28 มี.ค. 01, 04:01

อยากทราบเรื่องราวเพื่อนต้นเมื่อครั้งร.๕ เสด็จประภาสต้นค่ะ ไม่ทราบว่ามีการเปิดเผยว่าใครเป็นใครหรือเปล่าคะ แล้วป่านนี้ลูกหลานของพวกเขาเป็นอยู่อย่างไรในสังคมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 มี.ค. 01, 10:05

ในเรื่องประพาสต้นก็มีการบอกชื่อราษฎรเหล่านี้นะคะ ไม่ได้ปิดบังอะไร
แต่ว่าไม่มีนามสกุล เพราะเป็นยุคที่ยังไม่มีนามสกุลในประเทศไทย
คุณเอนก นาวิกมูลเคยเขียนบทความไว้  เมื่อติดตามไปจนพบบ้านหนึ่งในจำนวนนั้น  ลูกหลานก็ยังอยู่กันในถิ่นเดิม   สามารถเล่าเรื่องประพาสต้นได้   ในบ้านมีรูปเจ้าของบ้านที่เคยเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๕ ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 มี.ค. 01, 11:39

ดิฉันไปเขียนเป็นบทความไว้แล้วนะคะคุณส้มหวาน เชิญอ่านได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
รินคำ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 มี.ค. 01, 20:59

ไปอ่านมาแล้วค่ะ คุณเทาชมพูเก่งจัง เขียนเล่าเรื่องอ่านสบายอ่านสนุก

เจ้านายเล็กๆที่ได้ตามเสด็จประพาสต้นคงสนุกกันมากเลยนะคะ ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ทำอะไรแปลกๆ แถมได้เห็นว่าคนสามัญนั้นกินอยู่กันยังไง

รัชกาลต่อๆมาทรงเสร็จประพาสต้นอีกบ้างหรือเปล่าคะ รัชกาลปัจจุบันอาจจะยากหน่อย เพราะเดี๋ยวนี้คงไม่มีใครจำพระองค์ไม่ได้ เพราะทรงสถิตย์อยู่ในใจไทยทั้งแผ่นดิน แต่ก็แอบสงสัยว่า ท่านจะมี พระสหายเป็นสามัญชนบ้างพรือไม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 มี.ค. 01, 15:16

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯให้ "เพื่อนต้น" แต่ครั้งรัชกาลที่ ๕ เข้าเฝ้าได้เช่นเดิม  แต่มิได้เสด็จประพาสต้นแบบเดียวกับสมเด็จพระบรมชนกนาถ
ส่วนใหญ่จะเสด็จไปซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐม  และเสด็จจังหวัดอื่นๆด้วย  ให้ราษฎรได้เข้าเฝ้าชมพระบารมีใกล้ชิด
คำถามสุดท้าย - ขอตอบว่ามีค่ะ
บันทึกการเข้า
ส้มหวาน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 มี.ค. 01, 19:31

ขอบคุณมากๆค่ะ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 มี.ค. 01, 05:41

เรื่องการประพาสต้นทำให้นึกไปถึงนิทานแขกโบราณ ที่ว่าพระเจ้ากาหลิบปลอมพระองค์เสด็จออกไปตรวจดูทุกข์สุขของราษฎรไม่ให้ใครจำได้
(สมัยมีทีวีนี้ คนรุ่นเราคงคุ้นเคยกับเรื่องฮ่องเต้จีนปลอมพระองค์มากกว่า)
นิทานแขกทำนองนี้เรื่องหนึ่ง คือเรื่อง ลิลิตนิทราชาคริต เป็นเรื่องของกษัตริย์แขกที่กึ่งๆ จะเป็นเจ้านายในนิยายมากกว่าคนจริง (ทำนองเดียวกับพระเจ้าอาร์เธอร์ของฝรั่ง) คือพระเจ้ากาหลิบฮารูนอัลราษจิต ปรากฏว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระปิยมหาราชเอง คงจะทรงได้เค้าหรือทรงแปลมาจากนิทานแขกอาหรับที่ฝรั่งแปลออกมาเป็นภาษาอังกฤษ พระเจ้ากาหลิบพระองค์นี้ก็โปรดเสด็จประพาสต้นเหมือนกัน
ผมเลยไม่แน่ใจว่า ศิลปะเลียนแบบชีวิตจริง หมายความว่าทรงแต่งนิทราชาคริตโดยพระอารมณ์สนุกโดยทรงนึกถึงการประพาสต้นที่เสด็จออกไปจริงๆ มาก่อน หรือชีวิตจริงเลียนแบบศิลปะ หมายความว่าได้ทรงนิทานแขกอย่างนี้ก่อนแล้วจึงมีพระราชดำริที่จะเสด็จประพาสต้นบ้าง หรือที่จริงแล้วเป็นแต่เหตุบังเอิญพ้องพานกันเท่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกัน ใครทราบบ้างครับว่า เสด็จประพาสต้นหนแรก และทรงพระราชนิพนธ์ลิลิตนิทราชาคริตเมื่อไหร่ ไหนก่อนไหนหลัง

มีโคลงจากพระราชนิพนธ์ของพระองค์เอง ทรงพรรณนาถึงพระเจ้ากาหลิบในนิทาน แต่เราอาจจะหยิบมาเฉลิมพระเกียรติองค์ผู้ทรงนิพนธ์เองได้ด้วย ว่า
- บารมีพระมากพ้น รำพัน
พระพิทักษ์ยุติธรรม์   ถ่องแท้
บริสุทธิ์ดุจดวงตะวัน ส่องโลก ไสร้แฮ
ทวยราษฎร์รักบาทแม้  ยิ่งด้วยบิตุรงค์ฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 มี.ค. 01, 09:49

พระราชนิพนธ์ลิลิตนิทราชาคริต  ทรงแปลมาจากเรื่อง The Sleeper and the Waker ค่ะ ฉบับภาษาอังกฤษฝีมือแปล และเรียบเรียง โดย Sir Richard Burton

ถ้าคุณนกข.สนใจนักเขียนคนนี้  ดูประวัติและหน้าตาได้จาก

http://www.isidore-of-seville.com/burton/' target='_blank'>http://www.isidore-of-seville.com/burton/



และถ้ายังสนใจต่อไปอีก   หาอ่านได้จาก

http://www.techfak.uni-bielefeld.de/techfak/ags/ti/personen/mfreeric/m/an/a_night_27.html' target='_blank'>http://www.techfak.uni-bielefeld.de/techfak/ags/ti/personen/mfreeric/m/an/a_night_27.html



เขาเป็นคนแปลเรื่อง Kama Sutra ด้วย  แต่คงไม่แพร่หลายในไทย  มีคนแปลหรือเปล่าไม่ทราบ ไม่เคยอ่าน



ดิฉันเข้าใจว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ท่านเคยศึกษาเรื่องนี้มาก่อนเมื่อทรงพระเยาว์   เพราะเป็นนิทานสำหรับเด็ก

เมื่อมีโอกาสจะทรงแปลและแต่งขึ้นใหม่  ก็ทรงทำในภายหลัง  ในโอกาสอะไรเคยอ่านพบเหมือนกันแต่หาหนังสือไม่เจอ(อีกแล้ว)

เขียนจากความทรงจำ ว่าทรงพระราชนิพนธ์และพิมพ์พระราชทานแจกในงานปีใหม่หรืองานสำคัญอะไรสักอย่างนี่แหละค่ะ



ส่วนบทโคลงคุณยกมา   ยุคหนึ่งเคยเป็นบทที่หนังสือพิมพ์นิยมนำลงพิมพ์ในวันปิยมหาราช    ถือกันว่าควรยกขึ้นมาเฉลิมพระเกียรติคุณ ได้ตรงใจที่สุด



หมายเหตุ  กาหลิบฮารูน มีตัวจริงในประวัติศาสตร์ค่ะเป็นกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมาก   แต่พอสิ้นรัชกาลพระโอรส ๒ องค์แย่งบัลลังก์กันเอง ดินแดนก็เลยแยกเป็น ๒ ส่วน เกิดจลาจลวุ่นวาย

จำได้แค่นี้ละค่ะ  เคยเรียนในวิชาประวัติศาสตร์ตอนปี ๒   ความรู้ที่เหลือ ได้ส่งคืนท่านอาจารย์หมดแล้ว  ไม่เหลือจริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 มี.ค. 01, 16:01

คุณนกข.ดิฉันพบประวัติการแต่งเรื่องนิทราชาคริตแล้วค่ะ
พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาพระราชนิพนธ์เพียง ๒๙ วัน
และโปรดเกล้าฯให้พิมพ์พระราชทานแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในงานมงคลปีใหม่ พ.ศ.๒๔๒๒
เป็นเวลานานกว่า ๒๐ ปี ก่อนเสด็จประพาสต้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง