เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 40
  พิมพ์  
อ่าน: 246836 เครื่องหมายอะไร
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:12

จ.ป.ร. และ สยาม

อีกชิ้นหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:26

เหรียญพระปฐมปาฏิหาริย์ พ.ศ. ๒๔๕๒ (ร.ศ. ๑๒๘)
ด้านหน้าเป็นรูปธรรมจักร ด้านหลังมี ๒ version ค่ะ
แบบแรกภาพซ้ายมือ บอกเวลา ๒ ยาม ๕๕ นาที
แบบที่สองภาพขวามือ บอกเวลา ๒ ยาม ๑๕ นาที
มีผู้ตรวจสอบกับจดหมายเหตุรายวันฯ แล้วพบว่าเวลา ๒ ยาม ๕๕ นาที เป็นเวลาที่ถูกต้อง
สัณนิฐานว่า เหรียญ ๒ ยาม ๑๕ นาทีสร้างขึ้นก่อน แล้วพบว่าผิดพลาดจึงสร้างใหม่ให้ถูกต้อง
สำหรับปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์มีการรวบรวมไว้ดังข้อความด้านล่างค่ะ... ยิงฟันยิ้ม

ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์เหรียญที่ระลึกไทย..





บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:35

จ.ป.ร. และ สยาม

อีกชิ้นหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม

จ.ป.ร. - ส.ผ. - สยาม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:39

เมื่อปีที่ผ่านมามีการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์ครั้งใหญ่ โดยรื้อกระเบื้องเก่าออกทั้งหมดและซ่อมเสริมองค์พระให้แข็งแรงขึ้น จึงได้พบว่าบริเวณปลียอดองค์พระ ช่างโบราณได้มีเทคนิคก่อสร้างโดยใช้ยางไม้ซึ่งมีความเหนียวคล้ายกาว ยึดไว้ระหว่างปูนองค์พระเจดีย์กับแผ่นกระเบื้อง จึงนำมาให้ชมกันครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:42

พระราชหัตถเลขาตอบ

“ได้รับหนังสือปาฏิหาริย์พระปฐมเจดีย์แล้ว  ตามที่เล่ามาช่างไม่มีผิดกับที่เคยเห็น ๒ คราวแต่สักนิดหนี่งเลย  กำลังเสด็จออก  คนเฝ้าแน่นอยู่ ก็ได้เป็นเช่นนี้  เห็นด้วยกันหมด  จึงได้มีเรื่องตรวจตราซึ่งได้ปรากฏในหนังสือของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์  แต่จะเป็นด้วยเหตุใดเหลือที่จะยืนยันฤๅรับรองให้คนอื่นเห็นจริงด้วยได้  จึงไม่ได้เล่าให้ใครฟังในชั้นหลัง ๆ นี้  แปลกอยู่หน่อยหนึ่งแต่เวลาที่จะเห็น มักจะเป็นเดือน  ๑๑  เดือน ๑๒ แลเดือนยี่  เวลาเดินบกมาถึงที่นั้น ฤๅเสด็จออกไปหลายครั้งไม่เคยมีเลย”



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 10:04

ส.ผ.


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 10:32

ส.ผ. ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
จี้ทองคำฝังเพชร ลงยาสีน้ำเงิน เป็นเข็มกลัดได้ด้วย...


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 10:35

จี้ทองคำลงยาสีน้ำเงิน พระนามาภิไธยย่อ ส.ผ. อีกแบบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 10:39

กระดุมทองคำลงยา พระนามย่อล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 10:41

จี้ ส.ผ. อีกแบบค่ะ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 10:45

เหรียญอะไรหนอ นำมาให้ขบปัญหาดู


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 10:46

ภาพนี้ถามค่ะ... ยิงฟันยิ้ม
กล่องถมดำลายไทย งดงาม ด้านหน้ามีเครื่องหมายอะไร ของใครคะ...


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 10:54

^ ตอบท่านsiamese ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
เหรียญโรงเรียนราชกุมาร พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ.๑๑๑) ค่ะ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 11:05

ภาพนี้ถามค่ะ... ยิงฟันยิ้ม
กล่องถมดำลายไทย งดงาม ด้านหน้ามีเครื่องหมายอะไร ของใครคะ...

ไก่ขาวกางปีก = สัญลักษณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 11:17

จังหวัดพิบูลสงคราม ชื่อจังหวัดพิบูลสงครามนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ทั้งนี้ ยังปรากฏว่ามีการสร้างอนุสาวรีย์ไก่ขาวกางปีกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจอมพลแปลกไว้เป็นอนุสรณ์ของจังหวัดนี้

เมื่อแรกตั้งจังหวัดนั้น ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ ตามประกาศเรื่องตั้งอำเภอ ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พุทธศักราช 2484 ดังนี้

อำเภอไพรีระย่อเดช (ตามเขตอำเภอบ้านพวกเดิม)
อำเภอกลันทบุรี (ตามเขตอำเภอกลันทบุรีเดิม)
อำเภอพรหมขันธ์ (ตามเขตอำเภอพรหมขันธ์เดิม)
อำเภอเกรียงศักดิ์พิชิต (ตามเขตอำเภอสำโรงเดิม)
อำเภอวารีแสน (ตามเขตอำเภอวารีแสนเดิม)
อำเภอจอมกระสานติ์ (ตามเขตอำเภอจอมกระสานติ์เดิม)

อำเภอเกรียงศักดิ์พิชิต ตั้งชื่อตาม พันเอกหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต ยศสุดท้ายเป็นที่พลโท) ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 1 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก แม่ทัพด้านอีสาน และผู้ช่วยแม่ทัพบกในขณะนั้น (ดูประวัติหลวงเกรียงศักดิ์พิชิตได้ที่นี่)
อำเภอไพรีระย่อเดช ตั้งชื่อตาม พันเอกหลวงไพรีระย่อเดช (ชมะบูรณ์ ไพรีระย่อเดช ยศสุดท้ายเป็นที่พลโท) ผู้บัญชาการกองพลบูรพา และรองแม่ทัพด้านบูรพา (คนที่ 2) ในขณะนั้น

เมื่อมีการกำหนดให้มีตราประจำจังหวัดทั่วประเทศ กรมศิลปากรก็ได้นำอนุสาวรีย์ดังกล่าวมาผูกเป็นรูปตราประจำจังหวัดไว้ด้วย

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องส่งดินแดนจังหวัดพิบูลสงครามคืนให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งปกครองประเทศกัมพูชาอยู่ในขณะนั้น ปัจจุบัน คือ จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดอุดรมีชัย และจังหวัดบันเตียเมียนเจย ในประเทศกัมพูชา



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 40
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง