เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 40
  พิมพ์  
อ่าน: 246693 เครื่องหมายอะไร
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 12:29

^^ ยิงฟันยิ้ม

พัดชนมายุสมมงคล  พัดรองสำหรับงานพระราชพิธีพระชนมายุสมมงคล รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๒  ภาคสมโภชพระชนมายุและฉลองวัดอรุณราชวราราม  พุทธศักราช ๒๔๕๒

         ผลงานต่าง ๆ  ปรากฏให้ชาวไทยรุ่นหลังได้ชื่นชมในความงดงาม  ความไพเราะ  และเป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ให้ได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้  จวบจนกระทั่งทุกวันนี้  ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์  ทรงอุทิศเวลาให้แก่การสร้างสรรค์ศิลปกรรมด้านต่าง ๆ ไว้มากมาย  ผลงานที่เป็นมรดกอันล้ำค่าที่ได้ทรงสร้างสรรค์อย่างวิจิตรบรรจง  ฝากไว้ตราบจนถึงทุกวันนี้ คือ การออกแบบตาลปัตรหรือพัดรอง  ทรงออกแบบลายพัดรองเพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ ในงานพระราชพิธี  และพิธี  ทั้งงานมงคลและอวมงคลเป็นจำนวนมาก  ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ - ๒๔๙๘  ซึ่งในสมัยนั้นผู้ที่มีฝีมือในการออกแบบพัดได้อย่างสวยงามมีเพียงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  และหม่อมเจ้าประวิช  ชุมสาย  ต่อมาในระยะหลังการออกแบบตาลปัตรเป็นเพียงสิ่งประกอบของงานเท่านั้น  และผลงานที่ออกมาไม่ได้พิถีพิถันละเอียดลออเหมือนสมัยก่อน

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 12:29

คุณ luanglek กะ คุณ konkao เยี่ยมมากค่ะ อธิบายได้ละเอียดมากเลยค่ะ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 12:30

^^

พัดพระวิมานไพชยนต์  พัดสังเค็ดสำหรับงานพระบรมศพ  สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  (สมเด็จพระพันปีหลวง)  พุทธศักราช ๒๔๖๓

         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงมีพระคุณต่อมหาวิทยาลัยศิลปากรอย่างใหญ่หลวง  พระองค์เป็นผู้ตัดสินพระทัยเลือกและสนับสนุนให้นายซี  เฟโรจี  (Professor Corrado Feroci)  หรือศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี  ประติมากรผู้มีชื่อเสียงของนครฟลอเรนซ์  ประเทศอิตาลี  มาเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ทฤษฎีศิลปะตะวันตก  และพัฒนาฝีมือให้แก่ช่างชาวสยามในศิลปากรสถาน  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงกำกับควบคุมดูแล  จนต่อมาได้ก่อกำเนิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรม  ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนศิลปากร  และเจริญเติบโตเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรในที่สุด

บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 12:31

คุณ luanglek กะ คุณ konkao เยี่ยมมากค่ะ อธิบายได้ละเอียดมากเลยค่ะ  ยิงฟันยิ้ม



หาจากพี่ กูเกิล ครับพี่มีอะไรก็ถามเขาได้ใจดีมากๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 12:34

มีมาให้ชมอีกภาพค่ะ  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 12:55

^^ ยิงฟันยิ้ม ดวงตรามหามงกุฏไทย

สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำด้วยทองคำเป็นรูปกลมกลีบบัว ขนาด 4.8 ซ.ม.ลงยาราชาวดี จำหลักเป็นรูปพระจุลมงกุฎ บนพานรอง 2 ชั้น ขนาบด้วยฉัตร อยู่ในกรอบเพชร ดวงตรานี้อยู่เบื้องล่างใบไม้ฝั่งเพชร สำหรับติดแพรแถบสีน้ำเงินห้อยคอ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 13:21

เยี่ยมอีกแล้วค่ะ คุณ konkao


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 14:25

พัดชนมายุสมมงคล  พัดรองสำหรับงานพระราชพิธีพระชนมายุสมมงคล รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๒  ภาคสมโภชพระชนมายุและฉลองวัดอรุณราชวราราม  พุทธศักราช ๒๔๕๒

พัดพระวิมานไพชยนต์  พัดสังเค็ดสำหรับงานพระบรมศพ  สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  (สมเด็จพระพันปีหลวง)  พุทธศักราช ๒๔๖๓

รอคำอธิบายความหมาย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 16:23

เทวดาขี่ม้าหมายถึงอะไรครับ

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 18:03

ขอตอบคำถามคุณ konkao ด้วยพระราชนิพนธ์โคลงศุภลักษณ์วาดรูป  ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้

   “หนึ่งในนวเคราะห์นั้น   สุริยง
เรืองรัตภูษาทรง      สว่างหล้า
พระขรรค์ฤทธิรงค์      กุมมั่น
สีหะวาหนกล้า      กาจแกล้วกลางสวรรค์ ฯ
   พระจันทร์รัศมีเรื้อง   เรืองฃาว
ทรงเศวตภูษาพราว      เพริดแพร้ว
ทรงอัศวะสกาว      ผยองเผ่น
กรจับพระขรรค์แก้ว      แกว่งเพี้ยนเพลิงฉาน ฯ
   อังคารรังสีเหรื้อ   เหลือตรู
ทรงพัสตระชมพู      เพริดด้าว
กรกุมพระขรรค์ชู      เชิดเฉิด
ทรงมหิงษ์อะคร้าว      เคลื่อนคล้อยเมฆี ฯ
   องค์ที่สี่พุธอ้าง   ออกนาม
ภูษิตล้วนเขียวงาม      ชุ่มชื้น
ทรงคอคชเรืองราม      แลเลิด
ขอจับขับผ่านพื้น      พ่างพ้นเมฆา ฯ
   ที่ห้าโสระไท้   กำยำ
ทรงพัสตร์ภูษิตดำ      เดชห้าว
พระขรรค์รัตนกำ      แหงแกว่ง
ทรงพยัคฆ์อะคร้าว      ร่าร้องเริงดี ฯ
   ที่หกคุรไท้      เทพเรือง  วิทแฮ
ทรงพัสตราภรณเหลือง       เลิดด้าว
ทรงมฤคประเทือง      เทิดเกียรติ
กรจับพรหมทัณฑ์ท้าว      เทพล้วนชวนดู ฯ
   ราหูทรงรูปแม้น   อสุรา
ภูษิตและกายา      ม่วงคล้ำ
กรกวัดแกว่งคทา      ธรถนัด
ทรงนกฮูกจ้ำหม้ำ      เหมาะดั้นเมฆี ฯ
   ที่แปดศุกระไท้   สุนทร
ภูษิตน้ำเงินอ่อน      โอ่หล้า
ทรงหลังพฤษภจร      เร็วรวด
หัดถ์จับพรหมทัณฑ์อ้า      เอี่ยมพริ้งเพริดเพรา ฯ
   ที่เก้าเกตุไท้      เทวัน
กายและพัสตร์สุพรร      ผ่องแผ้ว
กรกุมพระแสงขรรค์      เรืองรัตน์
ทรงพญานาคแพร้ว      เพริศพริ้งพรายตา ฯ”

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย  ดิศกุล ได้ทรงพระนิพนธ์สรุปสีประจำวันจากบทพระราชนิพนธ์ข้างต้นไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง “สีมงคล” ว่า
“๑.  พระอาทิตย์  ทรงภูษาสีแดง  พระหัตถ์ถือพระขรรค์”  และทรงราชสีห์เป็นพาหนะ
 ๒. พระจันทร์  ทรงภูษาสีขาว  ถือพระขรรค์แก้ว  ทรงม้าขาวเป็นพาหนะ
 ๓.  พระอังคาร  ทรงภูษาสีชมพู  ถือพระขรรค์  ทรงควายเป็นพาหนะ
 ๔.  พระพุธ  ทรงภูษาสีเขียว  ทรงช้างเป็นพาหนะ  และพระหัตถ์ถือขอช้าง
 ๕. พระเสาร์  ทรงภูษาสีดำ  ถือพระขรรค์  และทรงเสือเป็นพาหนะ
 ๖. พระพฤหัสบดี  ทรงภูษาสีเหลือง  ถือไม้เท้า  และทรงกวางเป็นพาหนะ
 ๗. พระราหู  ทรงภูษาสีม่วงคล้ำ  ถือคทาและทรงนกฮูกเป็นพาหนะ
 ๘  พระศุกร์  ทรงภูษาสีน้ำเงินอ่อน  ถือไม้เท้า  ทรงวัวเป็นพาหนะ
 ๙.  พระเกตุ  ทรงภูษาสีทอง  ถือพระขรรค์  และทรงพญานาคเป็นพาหนะ”

จากพระราชนิพนธ์ข้างต้นสามารถตอบคำถามข้างบนได้ว่า เทวรูปนั้นคือ พระจันทร์ ครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 18:14

ภาพอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ร.ร.ต พระมหามงกุฎ  กลางผืนธง ศารทูลธวัชกรมนักเรียนเสือป่าหลวง  ดูครั้งแรกก็งงอยู่เหมือนกันว่าใช้วัสดุอะไร  เพิ่งมาได้คำตอบจากเอกสารจดหมายเหตุที่นายพลเอก เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม  ณ นคร) กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขอพระราชทานธงไชยเฉลิมพลเปลี่ยนให้กรมกองทหาร  เพราะธงเดิมปักด้วยดิ้นเลื่อมทำให้ธงชำรุดง่าย  แต่ถ้าใช้วิธีเดียวกับที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างศารทูลธวีชประจำกรมกองเสือป่าสังกัดกรมเสนาหลวงรักาพระองค์  ที่ใช้วิธี “ทอเนื้อไหมขวั้นแซมด้วยขนม้า เช่นอย่างผ้าธงกรมทหารญี่ปุ่น  อันจักเป็นที่ถาวรมั่นคงอย่างยิ่งชั่วกาลนาน” 




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 18:16

^ "ทอเนื้อไหมขวั้นแซมด้วยขนม้า" มิน่าถึงมีเงาเหมือนขน
แต่ขนม้าไม่ยาว ผู้ทอคงต้องใช้ฝีมือและความอดทนมากเลยนะคะ...  ยิงฟันยิ้ม


เครื่องหมายอะไรหนอ สิ่งนี้คืออะไร (ใบ้ว่าเป็นของทรงใช้)


ยังไม่มีท่านใดตอบเลยค่ะ...
หนูดีดีดี ก็อยากทราบค่ะว่าคืออะไร... ยิงฟันยิ้ม
ดูเหมือนทำจากกะลามะพร้าว ขัดจนมัน น่าจะเป็นตลับใส่ของ นะคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 20:04

^
ยังไม่ใช่กะลามะพร้าวขัดมันหรอกครับ ... ลองทายใหม่ซิครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 20:22

ตอบคุณเพ็ญชมพู

สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงออกแบบพัดที่จะถวายพระสมเด็จพระราชาคณะตลอดจนพระเถรานุเถระที่ได้รับนิมนต์มาในงานออกพระเมรุโดยประกอบภาพดังนี้

 1. รถเทียมม้าบรรทุกพระวิมานไพชยนต์เทียมด้วยม้า 4 ตัว มีเทพสารถีกุมบังเหียน ในพระวิมานไพชยนต์มีพระนามย่อสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีว่า "ศรี" อันแทนดวงพระวิญญาณ เบื้องขวายอดพระวิมานไพชยนต์มีรูปพญานาคอันเป็นปีพระราชสมภพแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว คู่กับสายฟ้าด้านซ้ายอันเป็นพระราชสัญญลักษณ์ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้ารถม้าและพระวิมานลอยเหนือกลุ่มเมฆ

 2. ด้านบนมีจารึกเป็นภาษาบาลีว่า "มาตายะถานิยังปุตตังอายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข เอวัมปิ สัพพภูเตสะ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง"

  มีคำแปลเป็นภาษาไทยว่า "มารดาย่อมคอยคุ้มครองบุตรในอุทรแห่งตน ด้วยชิวิตแห่งตนก็ยอมสละได้ฉันใด ขอภิกษุทั้งหลายพึงแผ่เมตตาแก่ภูติผีปีศาจทั้งหลาย โดยไม่มีประมาณฉันนั้น"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 20:42

ส่วนพัดรองสำหรับงานพระราชพิธีพระชนมายุสมมงคล รัชกาลที่ ๕ เสมอด้วยรัชกาลที่ ๒ พัดด้ามงานี้ถูกสั่งทำจากประเทศญี่ปุ่น ปักอักษรพระปรมาภิไธยย่อ อ.ป.ร และ จ.ป.ร ภายใต้พระมหาพิไชยมงกุฎ และตราราชวงศ์จักรี ภายใต้ซุ้ม เบื้องขวาเป็นรูปครุฑ มือทั้งสองข้างจับนาค ซึ่งเป็นสัตว์พาหนะแห่งองค์พระนารายณ์ และเบื้องซ้ายเป็นรูปหนุมาน ถือกระบี่และธง ซึ่งเป็นทหารเอกแห่งองค์พระราม ลอยมาเหนือซุ้มดังกล่าว นมพัดไม่ใช้แผ่นโลหะแต่ปักลายหน้ากาล รูปสิงห์แทน ด้ามงาบนสุดหุ้มเงินเดินลายเกลียว


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 40
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง