เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 36 37 [38] 39 40
  พิมพ์  
อ่าน: 245963 เครื่องหมายอะไร
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 555  เมื่อ 13 พ.ย. 18, 19:57

ตัวเดียวกันหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 556  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 08:10

น่าจะเป็นญาติฝ่ายจีนของเหรา  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 557  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 09:48

งั้น มังกร หรือ มกร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 558  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 11:10

ถ้าหากจะกล่าวว่า มกร และ มังกร อยู่ในสายวิวัฒนาการเดียวกัน ก็น่าจะได้

ย้อนกลับไปในตำนานกรีก แพะทะเลเป็นสัญลักษณ์ของราศี Capricorn ไทยเรียกว่าราศีมกร หรือ มังกร  ในตำนาน แพะทะเลนั้นก็คือร่างแปลงของเทพแพน



ยามเมื่อต้องหนีอสูรไทฟอนจนตกน้ำตกท่า เทพซุสต้องช่วยเปลี่ยนส่วนขาให้เป็นปลาเพื่อจะได้ว่ายน้ำได้คล่องแคล่วขึ้น



ยามเมื่อชาวอารยันบุกไปตั้งหลักแหล่งในชมพูทวีป  ก็ได้หอบหิ้วเอาแพะทะเลในตำนานกรีกนี้ไปด้วย แต่งหน้าทาแป้งเสียใหม่ให้ชื่อว่า มกร



มาถึงพม่าก็ยังคงหน้าตาเดิมอยู่


แต่พอมาถึงไทย สมัยอยุธยา อิทธิพลจีนดูจะมาเหนือแขกเสียแล้ว

มกร จึงกลายเป็น มังกร



จาก แพะทะเล จึงเป็น มกร และ มังกร ด้วยประการฉะนี้ แล  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 559  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 11:21

พอมาขึ้นฝั่งทางเหนือของไทย ก็กลายเป็นตัวมอม

ป.ล. ยังกลับไปที่หน้าปกหนังสือประวัติหลวงอุดมสมบัติไม่ถูกเลยค่ะ    เกี่ยวอะไรกับคุณหลวงหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 560  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 15:05

เครื่องหมายนี้เรียกว่า "มังกรคาบแก้ว" หรือ "มังกรเล่นแก้ว" เดิมใช้เป็นพระราชลัญจกร แต่ไม่ทราบที่มา แต่สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงฯ ได้ทรงสันนิษฐานไว้ว่า “...หวนรําลึกถึงพระราชลัญจกรเล่นแก้ว ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานให้เป็นตราสําหรับโบราณคดีสโมสร ในประกาศก็เรียกว่าพระราชลัญจกร ถ้าพระราชลัญจกรองค์นั้นไม่ใช่สําหรับพระราชสาส์นไปเมืองจีนไซร้ คงสําหรับใช้ในการอย่างอื่นอันใดอันหนึ่ง พระราชลัญจกรองค์นั้นสังเกตดูแบบที่เขียนลายดูเป็นแบบเก่าถึงรัชกาลที่ ๑ มาคิดเห็นว่าจะสําหรับประทับพระราชสาส์นไปเมืองญวน (เวียดนาม) ดอกกระมัง... พระราชสาส์นที่ไปเมืองญวนเห็นจะไม่ประทับพระราชลัญจกรมังกรหก เพราะเป็นตราหองของจีน...”

เหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้นําพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้วมาใช้เป็นตรา “โบราณคดีสโมสร” (ค้นคว้าเรื่องโบราณอันเกี่ยวเนื่องในพงศาวดาร) นี้ มีปรากฏอยู่เมื่อครั้งพระราชพิธีรัชมงคล ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ณ พระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ พระราชวังโบราณ เมืองกรุงเก่า โดยทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งสมาคมฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (รัชกาลที่ ๖) ทรงเป็นอุปนายกสมาคมฯ ทรงมีพระราชดํารัสว่า “...การที่จะให้สโมสรนี้เป็นสโมสรสําหรับพระนคร จึงได้ยอมให้ใช้เครื่องหมายรูปมังกรคาบแก้ว อันเป็นพระราชลัญจกรโบราณอันหนึ่ง 

...เหตุไฉนจึงจะได้ใช้รูปนาคฤๅมังกรนี้ เหตุด้วยนาค แลมังกร ฤๅงู ย่อมเป็นที่นับถือมาแต่โบราณกาลในแถบประเทศเราทั้งหลาย ก่อนกว่าที่นับถืออย่างอื่นๆ อันได้นํามาในภายหลัง เพื่อจะให้เป็นเครื่องหมายว่า ความคิดความมุ่งหมายของสโมสรนี้ จะแสวงข้อความโบราณอันมีในระหว่างพันปี ตั้งแต่บัดนี้ขึ้นไป ...”

https://facebook.com/dharma.org/posts/712120328883990

หนังสือเล่มใดที่แต่งดี จะได้รับพระบรมราชานุญาตประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้ว อันเป็นตราของโบราณคดีสโมสร

จดหมายหลวงอุดมสมบัติก็อยู่ในเกณฑ์นี้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 561  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 15:24

ส่วนอักษรใต้ตรา "มังกรคาบแก้ว"  



เป็นอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง อ่านว่า "โบราณคดีสโมสร"


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 562  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 17:48

เป็นอักษรไทยแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๖  ที่ทรงดัดแปลงให้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์อยู่ในบรรทัดเดียวกันครับ  แต่พระราชนิยมนี้ไม่เป็นที่นิยมของคนในยุคนั้นและรุ่นต่อมาจึงไม่ค่อยพบเห็น  ปัจจุบันคงมีแต่ตราสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยที่ยังคงสะกดชื่อสมาคมตามแบบพระราชนิยมในดวงตราของสมาคมอยู่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 563  เมื่อ 14 พ.ย. 18, 19:30

ลองเปรียบเทียบชื่อสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยซึ่งใช้อักษรไทยแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๖



และชื่อโบราณคดีสโมสรซึ่งใช้อักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง



สังเกตที่อักษร "ม" ระหว่างอักษรแบบรัชกาลที่ ๖ และแบบของพ่อขุนรามคำแหง จะแตกต่างกัน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 564  เมื่อ 15 พ.ย. 18, 13:10

เครื่องหมายของสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ใช้อักษรไทยแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๖ เช่นกัน

สังเกตว่าคำว่า "ใน" ใช้สระไอ (ยกเลิกสระใอ) อยู่หลัง น  วรรณยุกต์เอกและเครื่องหมายทัณฑฆาตอยู่ข้างบน ไม่ได้อยู่ในบรรทัดเดียวกับพยัญชนะและสระ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 565  เมื่อ 15 พ.ย. 18, 13:16

ลายพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายการใช้สระแบบใหม่

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 566  เมื่อ 19 พ.ค. 20, 09:48

เครื่องหมายอะไร  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 567  เมื่อ 19 พ.ค. 20, 11:59

ไม่มีความรู้เลยค่ะ  ส่งไม้ต่อให้สมาชิกเรือนไทยท่านอื่นค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 568  เมื่อ 19 พ.ค. 20, 14:50

อธิบายภาพ เป็นพระนามย่อ จ.ก. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 569  เมื่อ 19 พ.ค. 20, 18:56

เป็นตราประจำพระองค์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ปรากฎอยู่ตรงมุมบนซ้ายขิงใบประทานนามสกุลซึ่งประทานให้บุคคลต่าง ๆ



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 36 37 [38] 39 40
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง