เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 17678 ขออนุญาตเปิดประเด็น เรื่อง ความไม่ชอบวรรณคดีไทยของคนรุ่นใหม่ ครับ
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 18 มิ.ย. 11, 06:44

ถ้าจะเอาของเก่ามาสอน ครูก็ต้องหาตัวอย่างมาให้ดูให้ได้ อย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน   ล่าเตียงเป็นไง มัศกอดเป็นไง ต้องหาสูตรออกมาให้เห็นกันเลยว่า
เขาทำกันอย่างไร   จะได้โยงไปสู่คำถามว่า มันมีส่วนคล้ายอาหารอะไรที่นักเรียนรู้จักบ้างไหม  อย่างน้อยมันก็ต้องมีส่วนผสมอะไร ที่เด็กรู้จักสักอย่างสองอย่างบ้างละ    เป็น
การจุดประกายต่อไปให้นักเรียนคิด และสนใจใคร่รู้


สวัสดีครับ อ. เทาชมพู ผมกลับมาแสดงความเห็นต่างดังที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วครับ
ข้อความเกือบทั้งหมดที่อาจารย์ได้แสดงไว้  ผมเห็นด้วยเกือบทั้งสิ้นยกเว้นส่วนนี้  เพราะผมคิดว่าส่วนนี้ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่สุดของบทเรียนที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้  แต่เป็นเพียง
ส่วนประกอบที่จะดึงไปหาส่วนที่สำคัญกว่า  เปรียบได้กับกระพี้ที่ห่อหุ้มแก่นเอาไว้   ครูคงไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้นักเรียนเป็นพ่อครัว-แม่ครัว  หรือเมื่อเรียนนิราศ  ครูก็คง
ไม่ได้มุ่งหวังให้นักเรียนไปเป็นมัคคุเทศก์เป็นแน่  หัวใจของบทเรียนนี้อยู่ที่ใด?  จริงอยู่นักเรียนที่รู้จักส่วนประกอบของอาหารอาจจะเรียนได้เข้าใจรวดเร็วกว่า  แต่นักเรียนที่ไม่รู้
จักอาหารชนิดนี้ก็เข้าถึงหัวใจของเรื่องได้เช่นกัน  แต่ผมขอพักส่วนนี้เอาไว้ก่อน
     ในราวปีที่ผ่านมาก่อนหน้าที่ผมจะเป็นสมาชิกของเรือนไทย    ผมจำได้ว่าเคยอ่านพบข้อเขียนของอาจารย์ในกระทู้หนึ่งซึ่งกล่าวไว้ว่าเคยถูกครูบังคับให้ท่องบทกลอน (คงเป็น
อาขยาน) จนจำได้ขึ้นใจ  ผมก็เช่นกัน ได้เรียนบทกลอนดอกสร้อย-สักวาจนจำไม่ได้แล้วว่ามีมากสักกี่บท  อาจารย์เคยสังเกตุหรือไม่ว่า  กลอนดอกสร้อยชั้นต้นๆ จะไม่ซับซ้อนนัก
เด็กสามารถคิดได้สมวัย (ถ้าได้ครูที่สอนเก่งๆ)  คิดเพียงสองชั้น  โจทย์บทแรกจะเป็น สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คน...สัตว์ก็อย่างเช่น  นกเอ๋ยนกเขา,  สิ่งของก็อย่างเช่น  โพงเอ๋ย
โพงพาง,  สถานที่ก็อย่างเช่น  เท้งเอ๋ยเท้งเต้ง,  คนก็อย่างเช่น  เด็กเอ๋ยเด็กน้อย  เป็นต้น  บทแรกนี้จะนำไปหาบทที่สองที่เป็นหัวใจของเรื่องคือแก่นซึ่งเป็นคติสอนใจ  วนเวียน
อยู่อย่างนี้  เด็กไม่จำเป็นต้องรู้จักสัตว์ สิ่งของ สถานที่ ก็สามารถเข้าใจบทเรียนได้ดี  ผมขออนุญาตยกตัวอย่างเพิ่มอีกสักบทครับ
     นกเอ๋ยนกเขา                ขันแต่เช้าหลายหนไปจนเที่ยง
สามเส้ากุกแกมแซมสำเนียง      เสนาะเสียงเพียงจะรีบงีบระงับ
อันมารดารักษาบุตรสุดถนอม     สู้ขับกล่อมไกวเปลเห่ให้หลับ
พระคุณท่านซาบซึมอย่าลืมลับ    หมั่นคำนับค่ำเช้านะเจ้าเอย  ฯ (ถ้าผิดพลาดต้องขออภัย)

     นักเรียนไม่จำเป็นต้องรู้จักนกเขา หรือสามเส้าซึ่งเป็นนกเขาอีกประเภทหนึ่ง  นักเรียนก็สามารถเข้าใจได้ถึงความรักของแม่โดยผ่านคำอธิบายของครูผู้สอน  นักเรียนอาจลืม
นกเขาที่เป็นส่วนประกอบได้  แต่จะลืมแม่ที่เป็นส่วนสำคัญไม่ได้

     เมื่อโตขึ้นมาอีกหน่อยก็จะเริ่มเรียนบทกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า   คราวนี้ก็จะซับซ้อนขึ้นอีกนิดตามวัยที่เติบใหญ่ขึ้นของเด็ก  แต่ก็ยังไม่พ้น สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คน
เป็นโจทย์อยู่นั่นเอง เช่น  นกเอ๋ยนกแสก, ดวงเอ๋ยดวงมณี, ป่าเอ๋ยป่าละเมาะ, ชาวเอ๋ยชาวนา  โจทย์เหล่านี้ก็จะดึงไปถึงหัวใจของเรื่องที่สอนให้เด็กใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ
ไม่เห่อเหิมทะเยอทะยาน  รู้จักเคารพสถานที่บางแห่งเช่นอนุสาวรีย์  หลุมฝังศพ เป็นต้น

     คราวนี้ย้อนกลับมายังจุดที่พักเอาไว้  เมื่อมาถึงชั้นมัธยม โจทย์ก็ยังคงที่อยู่นั่นเอง  แต่คราวนี้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  นักเรียนจะต้องคิดหาเหตุผลที่ซับซ้อนมากขึ้น  เช่นแต่งขึ้นใน
โอกาสใด  มีจุดมุ่งหมายอะไร  ยกย่องชมเชยใครหรือเปล่า  เอ่ยถึงใคร ส่วนใดที่เป็นจุดเด่น เป็นต้น 
     ในบทเห่แต่ละชุดแต่ละตอนมีอาหารมากมายไม่ต่ำกว่าสิบอย่าง  ถ้าครูมัวแต่ไปสอนสูตรอาหารละก็เป็นอันไม่ไปถึงไหนกันละครับ  ยิ่งถ้าเป็นนิราศละก็เสร็จกันพอดี  ถ้ายก
ล่าเตียง มัศกอด เป็นตัวอย่างออกจะดูยากไป  ลองบทใหม่ดู
     มัสมั่นแกงแก้วตา          หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง              แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
ถ้าครูให้ความสนใจกับสูตรการปรุงมัสมั่น  อาจจะมีปัญหาขึ้นได้  อย่างน้อยที่สุดก็มีบุคคลแตกต่างกันแล้วหลายกลุ่ม  คือเคยกิน ไม่เคยกิน ชอบกิน ไม่ชอบกิน เคยทำ ไม่เคยทำ
พวกที่ไม่ชอบกินจะมีปัญหามากที่สุดเพราะเหมือนถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ  ก็ฉันไม่กินจะให้ฉันรู้สูตรไปทำไมอะไรทำนองนี้  และถ้าผมจำไม่ผิด บทเห่บทนี้มีอาหารอยู่สิบห้าอย่าง
จบชั่วโมงแล้วผมว่าสูตรอาหารที่ครูจะอธิบายคงไปไม่ถึงครึ่ง   แต่ถ้าครูมุ่งประเด็นไปที่ให้นักเรียนไปลองค้นคว้าดูว่าใครเป็นผู้ปรุงอาหารจานนี้ที่อร่อยจนถึงขั้น "แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา"
ปัญหาเรื่องมัสมั่นก็จะหมดไป   ผมจึงบอกว่าผมมีความเห็นแตกต่างในส่วนนี้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 19 มิ.ย. 11, 20:53

ยินดีรับฟังความเห็นที่แตกต่างของคุณ willyquiz ค่ะ   
อยากจะฟังความเห็นของท่านอื่นๆด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
nakor
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 00:25

ขอบคุณครับ ทุกท่าน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 14 ก.ค. 11, 18:55

ขุดกระทู้กลับขึ้นมาอีกครั้ง

ดิฉันก็ยังยืนยันว่าเป็นหน้าที่ของครูที่จะอธิบายความหมายของศัพท์ ในวรรณคดีที่ตัดตอนมาให้นักเรียนอ่าน    ส่วนเรื่องท่องขึ้นใจ ไม่ใช่ภาคบังคับ  แต่ครูอาจจะเลือกส่วนที่เป็นคติสอนใจ สั้นๆ  เช่นกลอนหรือโคลงสักบทหนึ่ง  มาเล่าให้นักเรียนประทับใจ  ถ้าจำได้ก็ยิ่งดี เพราะจะเป็นสิ่งที่เตือนใจพวกเขาได้ในอนาคต
บันทึกการเข้า
polkien
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 15:23

ผมสมัครเว็บนี้มาเพื่อบอกว่าเห็นด้วยกับกระทู้นี้ครับ ^^
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง