เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 32579 ไทยเริ่มใช้คำนำหน้าว่า คุณหญิง ท่านผู้หญิง ตั้งแต่เมื่อไรครับ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 05 พ.ย. 17, 17:08

ที่ผมยืนวันว่าไม่ผิด  เพราะท่านกล่าวถึงเฉพาะสตรีที่สมรสแล้ว ไม่ได้หมายรวมถึงเชื้อพระวงศ์ที่มิได้สมรส แต่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป  ความมีดังนี้

แต่โบราณ คำว่า ท่านผู้หญิง เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของผู้ที่เป็นเจ้าพระยา และสตรีผู้นั้นได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิงด้วย  ปัจจุบัน ท่านผู้หญิงเป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้ว และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป.

ส่วนในย่อหน้าต่อไปท่านกล่าวถึง  หม่อมเจ้าหญิง หม่อมราชวงศ์หญิง หม่อมหลวงหญิง  วลีที่ว่า เมื่อใช้คำนำหน้าว่าท่านผู้หญิงแล้ว หมายถึงว่าท่านเหล่านั้นได้สมรส  หรือหม่อมเจ้าที่ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสแล้ว ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สามารถใช้นำหน้าชื่อว่าท่านผู้หญิงได้  
ทว่า
ถ้าสตรีผู้นั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ เช่น เป็นหม่อมเจ้าหญิง หม่อมราชวงศ์หญิง หม่อมหลวงหญิง  เมื่อใช้คำนำหน้าว่าท่านผู้หญิงแล้ว ก็ไม่ต้องใช้คำว่า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวงอีก ใช้แต่คำนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง เท่านั้น

ที่คุณทั้งสองกล่าว ก็ล้วนเป็นการขยายความให้ชัดเจนดีขึ้นเท่านั้น  ความเดิมสีน้ำเงินของท่านหาได้ผิดไม่
บันทึกการเข้า
มีนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 พ.ย. 17, 08:14

ผมเข้าใจความหมายที่แท้จริงของ อ.กาญจนาและอ.NAVARAT.C แล้วครับ
เพียงแต่เห็นว่าข้อความมันไม่ชัดเจน ผู้อ่านทั่วไปจะเข้าใจผิดได้ง่าย กรณีหม่อมเจ้าหญิงที่ได้รับ ท.จ.ว. ขึ้นไป จะใช้คำนำหน้าว่าท่านผู้หญิงหรือไม่
และอาจจะเข้าใจไปได้ว่า ท่านผู้หญิงดูจะมีศักดิ์สูงกว่าหม่อมเจ้า

คือถ้ายังเป็น หม่อมเจ้าหญิง ก็ไม่ต้องใช้คำนำหน้าว่า ท่านผู้หญิง และหากหม่อมเจ้าหญิงทรงลาออกจากฐานันดรเพื่อเสกสมรสแล้ว ก็จะมิได้ดำรงพระยศหม่อมเจ้าอีกต่อไป คงเป็นนางสาว/นาง หรือ คุณ

ตัวอย่าง หม่อมเจ้าหญิงงามงด ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับสามัญชน และไม่ได้เคยรับพระราชทานเครื่องราชฯจุลจอมเกล้ามาก่อน ก็จะเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็น นางสาวงามงด และเมื่อสมรส(จดทะเบียน) ก็จะเป็น นางงามงด

และ หม่อมเจ้าหญิงงดงาม ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับสามัญชน แแต่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯจุลจอมเกล้า ท.จ.ว. ก็จะเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็น คุณงามงด ก่อน และเมื่อสมรสก็จะเป็น ท่านผู้หญิงงดงาม

ดังนั้น ผมอาจพูดได้ว่า ข้อความของอ.กาญจนานั้นไม่สมบูรณ์ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 พ.ย. 17, 09:50

ได้ครับ
บันทึกการเข้า
luckluck
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 06:19

ผมยืนยันตามคุณมีนาครับ ว่าข้อมูลของอ.กาญจนา ไม่ชัดเจน และผิดทำธรรมเนียมปฎิบัติครับ

ไม่เคยมี หม่อมเจ้า ท่านใด ที่ไม่ได้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (เพื่อสมรส) แล้วได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้าชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษ หรือ ปฐมจุลจอมเกล้า จะใช้คำนำหน้า หรือ เรียกขาน ว่า ท่านผู้หญิง เลยครับ เพราะ ท่านผู้หญิง ไม่ใช่เจ้า แต่ หม่อมเจ้า เป็นเจ้า คำลำลอง จึงจะใช้ ท่านหญิง ซึ่งแสดงถึงความเป็นเจ้ามาแต่กำหนดครับผม

บันทึกการเข้า
luckluck
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 พ.ย. 17, 06:30

ผมมีความเห็นว่า ความเห็นของอ.กาญจนา น่าจะผิดไปนิดหนึ่ง (อาจจะเพราะอธิบายไม่ครบถ้วน) คือตรง เมื่อหม่อมเจ้าหญิง แม้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามเป็นท่านผู้หญิงแต่อย่างใด
เพราะ
1. หากมิได้เสกสมรส ก็ไม่ต้องเปลี่ยนคำนำหน้าเป็น คุณ เพราะจะดูเป็นการลดพระเกียรติยศ เช่น หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล ทรงได้รับพระราชทาน ท.จ.ว. ก็มิได้ต้องเปลี่ยนเป็น คุณมารยาตรกัญญา แต่อย่างใด
2. หากเสกสมรสกับเจ้านายด้วยกัน ก็คงใช้หม่อมเจ้านำหน้าพระนามแต่อย่างเดิม เช่น หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร จุฑาธุช พระชายาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ทรงได้รับพระราชทาน ท.จ.ว. ก็มิได้ต้องเปลี่ยนเป็นท่านผู้หญิงบุญจิราธร
3. หากเสกสมรสกับบุรุษที่มิได้เป็นเจ้านาย ก็ต้องกราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เสียก่อน คำนำหน้าจึงเปลี่ยนเป็น นาง หากมิได้รับพระราชทานเครื่องราชฯจุลจอมเกล้าใด ๆ เช่น นางภานุมา พิพิธโภคา (หม่อมเจ้าหญิงภานุมา ยุคล) หรือ คุณหญิงเมื่อได้รับพระราชทาน จ.จ.ขึ้นไป เช่น คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล ท.จ. (หม่อมเจ้าหญิงรังษีนภดล ยุคล) หรือ ท่านผู้หญิงเมื่อได้รับพระราชทาน ท.จ.ว. ขึ้นไป เช่น ท่านผู้หญิง พันธุ์สวลี กิติยากร (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล)


และกรณี สตรีที่มิได้เป็นเจ้านาย ที่มีฐานันดร (หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง) ที่เป็นหม่อมในเจ้านาย เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ก็มิต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามแต่อย่างใด เช่น หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงษ์ ป.จ. หม่อมหลวงบัว กิติยากร ป.จ. หรือแม้หม่อมที่เป็นสามัญชน ก็มิต้องเปลี่ยนคำนำหน้านาม เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเช่นกัน เช่น หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา ป.จ.

และยังมีกรณี สตรีที่มิได้เป็นเจ้านาย ที่มีฐานันดร (หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง) เมื่อได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
1. มิได้สมรส ก็คงคำนำหน้านั้นไว้ตามฐานันดรเดิม
2. สมรส และได้รับ จ.จ. ขึ้นไป ก็ยังคงใช้คำนำหน้าตามฐานันดรเดิมเช่นกัน เช่น หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี จ.จ. (แต่เรียกว่าคุณหญิงปิยาภัสร์ คุณหญิงต้นได้)
3. สมรส และได้รับ ท.จ.ว. ขึ้นไป ให้เปลี่ยนมาใช้คำนำหน้า ท่านผู้หญิง เช่น ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ท.จ.ว. (หม่อมราชวงศ์บุตรี กฤดากร)

หากขาดตกบกพร่องไปตรงไหน ขอคำแนะนำและขออภัยด้วยครับ

ขอแก้ไขนิดนึงนะครับ
คุณหญิงต้น (หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี)  ได้ ท.จ.แล้วนะครับ เดี๋ยว ญาติ ๆ มาเห็นเข้าจะดูไม่ดีครับ
ด้วยความเคารพครับ
บันทึกการเข้า
luckluck
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 09 พ.ย. 17, 03:51

ผมยืนยันตามคุณมีนาครับ ว่าข้อมูลของอ.กาญจนา ไม่ชัดเจน และผิดทำธรรมเนียมปฎิบัติครับ

ไม่เคยมี หม่อมเจ้า ท่านใด ที่ไม่ได้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (เพื่อสมรส) แล้วได้รับพระราชทานตราจุลจอมเกล้าชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษ หรือ ปฐมจุลจอมเกล้า จะใช้คำนำหน้า หรือ เรียกขาน ว่า ท่านผู้หญิง เลยครับ เพราะ ท่านผู้หญิง ไม่ใช่เจ้า แต่ หม่อมเจ้า เป็นเจ้า คำลำลอง จึงจะใช้ ท่านหญิง ซึ่งแสดงถึงความเป็นเจ้ามาแต่กำหนดครับผม



ความชัดเจนอยู่ตรงนี้ครับผม
เฉพาะ หม่อมราชวงศ์ และ/หรือ หม่อมหลวง ไม่รวมถึง หม่อมเจ้า ครับ

ข้อ 6

พระราชกฤษฏีกาให้ใช้คำนำหน้าสัตรี พ.ศ. ๒๔๖๐

หรือ
สตรีซึ่งสมรสแล้ว เมื่อได้รับพระราชทาน  ป.จ., ท.จ.ว. ใช้คำนำนามว่า " ท่านผู้หญิง "
  สตรีซึ่งสมรสแล้ว เมื่อได้รับพระราชทาน  ท.จ., ต.จ., จ.จ. ใช้คำนำนามว่า " คุณหญิง "
  สตรีที่ยังมิได้สมรส เมื่อได้รับพระราชทาน จ.จ. ขึ้นไป ใช้คำนำนามว่า " คุณ "
  สตรีซึ่งเป็นเชื้อราชตระกูล ชั้นหม่อมเจ้า ใช้คำนำ พระนามตามเดิม ไม่ว่าจะได้รับพระราชทานชั้นใด สำหรับหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง เมื่อได้รับพระราชทาน  ป.จ., ท.จ.ว. ใช้คำนำนามว่า " ท่านผู้หญิง " หากได้รับพระราชทาน  ท.จ., ต.จ., จ.จ. ยังคงใช้ฐานันดรโดยไม่ใช้คำนำนามว่า " คุณหญิง "
 ในปัจจุบันนี้แม้ทางการได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์และราชทินนามแล้ว สตรีที่สามีไม่ได้มีบรรดาศักดิ์ ยังคงกำหนดให้ใช้คำนำหน้านามว่า " คุณหญิง " และ " ท่านผู้หญิง " ตามชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าที่ได้รับพระราชทาน

http://www.soc.go.th/d_Chula00.htm

วลีนี้จึงถือว่าผิดครับผม

ถ้าสตรีผู้นั้นเป็นเชื้อพระวงศ์ เช่น เป็นหม่อมเจ้าหญิง หม่อมราชวงศ์หญิง หม่อมหลวงหญิง, เมื่อใช้คำนำหน้าว่า ท่านผู้หญิง แล้ว ก็ไม่ต้องใช้คำว่า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หรือหม่อมหลวง อีก.


บันทึกการเข้า
มีนา
อสุรผัด
*
ตอบ: 26


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 พ.ย. 17, 11:46


ขอแก้ไขนิดนึงนะครับ
คุณหญิงต้น (หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี)  ได้ ท.จ.แล้วนะครับ เดี๋ยว ญาติ ๆ มาเห็นเข้าจะดูไม่ดีครับ
ด้วยความเคารพครับ


ขอบพระคุณมากครับ พอดีผมเปิดแต่คุณวิกิ เลยมิอาจได้รับข้อมูลอัปเดต
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 05 มี.ค. 22, 20:45

สตรีที่ยังมิได้สมรส เมื่อได้รับพระราชทาน จ.จ. ขึ้นไป ใช้คำนำนามว่า " คุณ "

ยกเลิกการใช้คำนำหน้าว่า "คุณ" ในกรณีนี้แล้วหนอ ยิงฟันยิ้ม

จาก ราชกิจจานุเบกษา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 มี.ค. 22, 10:51

ขอแถมว่า ในทางปฏิบัติ    หญิงโสดที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชจุลจอมเกล้า  ผู้คนก็จะเรียกนำหน้าชื่อว่า ท่านผู้หญิง หรือ คุณหญฺิง มานานแล้วค่ะ  ถือเป็นมารยาทและการให้เกียรติ
ไม่มีใครเรียกท่านผู้หญิงโสด หรือคุณหญิงโสด ว่า "คุณ" เฉยๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง