เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 36623 กฏเกณฑ์การสอบผู้พิพากษา , สอบอัยการในปัจจุบัน
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


 เมื่อ 19 พ.ค. 11, 15:26

ช่วยกรุณาให้ความรู้ด้วยค่ะ

การสอบผู้พิพากษา และอัยการมีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้างคะ   ทราบคร่าวๆว่าต้องสอบเนฯได้แล้ว  และถ้าทำงานทางด้านกฏหมาย( โดยไม่จำเป็นต้องรับราชการ) ครบจำนวนชั่วโมงที่กำหนดก็มีสิทธิสอบได้
แหะๆ...ที่ได้ทราบมานี่คร่าวจริงๆ   คร่าวที่สุด  ขอรบกวนท่านผู้รู้ลึกรู้จริงกรุณาให้ความกระจ่างด้วยนะคะ   ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ 
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 10:58

การสอบเข้าเป็นผู้พิพากษาในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา มีวิธีการคัดเลือกอยู่ 3 แบบด้วยกัน โดยแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติในการสอบแตกต่างกันออกไป คือ

การสอบคัดเลือก (สนามใหญ่)

จะมีการเปิดสอบเป็นคราว ๆ ไป โดยสำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจะเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่แจกใบสมัคร ส่งไปตรวจร่างกายและจิตใจ ตรวจสอบคุณสมบัติ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ดำเนินการสอบ ประกาศผลสอบ และบรรจุเข้ารับราชการ

คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก

ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตสภา
5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
8. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
9. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
10. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการหรือ เป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบ ก.ต. และ
11. เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.ต. กำหนด และ ก.ต. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้

หลักฐานในการสมัครสอบ

1. ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย)
2. ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย ฯ (แสดงต้นฉบับด้วย)
3. สำเนาทะเบียบบ้าน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกัน)(แสดงต้นฉบับด้วย)
4. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความ ให้นำหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย)
5. ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 4 รูป (เขียนชื่อ-สกุลด้านหลัง)
7. เงินค่าธรรมเนียมการสอบ 100 บาท
8. เงินค่าตรวจร่างกาย 600 บาท (จ่ายวันไปตรวจร่างกาย)

กรณีเคยสมัครแล้วและมีสิทธิสอบใช้หลักฐานเฉพาะใบสมัครและข้อ 5, 6, 7 และ 8

การสอบคัดเลือก มีการสอบข้อเขียน 3 วัน

วันที่หนึ่ง สอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา จำนวน 10 ข้อ เวลา 4 ชม. คะแนนเต็ม 100 คะแนน

วันที่สอง สอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน จำนวน 3 ข้อ วิชากฎหมายพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง จำนวน 1 ข้อ และให้เลือกสอบในลักษณะวิชา กฎหมายล้มละลาย กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายปกครอง กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศวิชาใดวิชาหนึ่ง จำนวน 2 ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด 6 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 60 คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 10 คะแนน สำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะ วิชาใดในวันสมัครสอบ

วันที่สาม สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน10 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100 คะแนน
การสอบปากเปล่า เนื้อหาครอบคลุมลักษณะวิชาที่สอบข้อเขียน ตามแต่คณะ อนุกรรมการสอบฯจะเห็นสมควรกำหนดเวลาประมาณคนละ 15 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน

เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ

ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของคะแนน ทั้งสองอย่างรวมกัน

วิชาชีพทางกฎหมายที่ ก.ต. รับรอง

1. ทนายความ
2. จ่าศาล,รองจ่าศาล
3. ข้าราชการ พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วนราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
4. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
5. เจ้าพนักงานบังคับคดี
6. พนักงานคุมประพฤติ
7. อัยการ
8. นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ
9.อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
10. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
11.เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป.
12. ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุมประพฤติ หรือพนักงานบังคับคดี
13. นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.)
14.ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร
15.พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบันการเงินที่ ก.ต.รับรอง ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร

นิติกรในสถาบันการเงินที่ ก.ต. รับรองไปแล้ว

1. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กฎหมาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ จำกัด (มหาชน)
3. ตำแหน่งเสมียน ธนาคารไทยทนุ จำกัด
4. ตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด
5. ตำแหน่งงานนิติกรรม ธนาคารอาคารสงเคราะห์
6. ตำแหน่งนิติกร ธนาคารทหารไทย จำกัด
7. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ฝ่ายกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์
บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
8. ตำแหน่งนิติกร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ ไฟน์แนนซ์ จำกัด (มหาชน)
9. ตำแหน่งพนักงานชั้นกลาง แผนกธุรกรรมกฎหมาย
10. บริษัทเงินทุนเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน)
11. ตำแหน่งนิติกรธนาคารนครธน จำกัด (มหาชน)
12. เจ้าหน้าที่นิติกรรมสัญญา บริษัท เงินทุนภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
13. ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายกฎหมาย บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์เอ็มซีซี จำกัด (มหาชน)
14. เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
15. นิติกรอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์

ที่มา............http://www.lawyerthai.com/articles/law/005.php
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 14:44

ขอบคุณ  คุณ werachaisubhong ค่ะที่กรุณาให้ข้อมูล

ขอเรียนถามเพิ่มเติมหน่อยนะคะ คือสงสัยเรื่องวิชาชีพที่ก.ต.กำหนดค่ะ

1. ถ้าเป็นทนายความสำนักงานกฏหมายเอกชนจะได้ไหมคะ  ประเภทบริษัที่ปรึกษาและดูแลงานทางด้านกฏหมายให้พวกบริษัทเอกชนต่างๆ  อย่างเช่น Ernst & Young,

    ทนายความปที่ทำงานให้บริษัทเหล่าระเภทนี้มีคุณสมบัตืพอจพสอบไหมคะ
2. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์  ต้องเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจเท่านั้น
     และตำแหน่งนิตืกรบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์  ต้องเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์  ไฟแนนซ์  เท่านั้น
     หรือว่าทั้งเป็นเพียงการยกตัวอย่างให้ฟังแค่นั้น   บริษัทอื่นๆที่มีคุณสมบัติเดียวกันได้เหมือนกัน
   
 
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 14:50

ขอโทษค่ะ   พิมพ์ยังไม่เสร็จ   นิ้วเกิดพลาดไปกดส่งข้อความเสียก่อน

คำถามข้อ 1.  ดิฉันหมายว่าทนายที่ทำงานในบริษัทที่ปรึกษากฏหมายดังที่ยกตัวอย่าง   มีคุณสมบัติพอจะสมัครสอบไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง