เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6781 หา เอกสารตรวจราชการมณฑลปัตตานี ปั้นสุขุม กับ กรมพระยาดำรง
compact
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


 เมื่อ 18 พ.ค. 11, 22:58

คือ ผมกำลังศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ทราบว่า ท่านทั้งสองเคยมายังปัตตานี และยะหริ่ง แต่ผมหาเอกสารอ้างอิงไม่ได้เลย อีกอย่างประวัติของวัดบูรพาราม ได้มีการระบุว่า กรมพระยาดำรง ได้อธิบายลักษณะของพระพุทธรูป และเคยนำพระองค์นั้นไปกรุงเทพ แต่ไปได้เพียงเมืองสงขลา ก็นำกลับคืนยังวัดเดิม ผมหาเอกสารส่วนนี้หลายปีก็หาไม่เจอ ในประวัติของวัดก็หาผู้แต่งไม่เจอ

อีกอย่าง มีอ.จาก มอ.ปัตตานี ได้นำรูปถ่ายพระพุทธรูป องค์นั้นมาถวาย บอกว่าได้มากหอสมุดแห่งชาติ บอกว่า ถ่ายสมัย ร.๕ แต่เจ้าอาวาสจำรายละเอียดไม่ได้มาก เพราะท่านชรามากแล้ว ผมจึงอยากเสาะหา เพื่อจะได้ให้ท้องถิ่นได้มีข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน

รบกวนผู้มีความรู้แนะนำด้วยนะครับ  อีกอย่างผมเห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้น่าจะสำคัญมาก หรือไม่อาจเป็นพระพุทธสิหิงค์ อีกองค์หนึ่งก็เป็นได้ เพราะด้านหลัง มีห่วง ไว้รับฉัตร ซึ่งพระพุทธรูปในอดีตจะหายากมาก รบกวนด้วยครับ


บันทึกการเข้า
compact
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 09:32

เข้ามาเพิ่มรูปถ่ายครับ  เผื่อมีใครสามารถอธิบายลักษณะของพระพุทธรูป และยุคสมัยที่ชัดเจนได้ หรือใครมีความคิดเห็นไรก็เสนอได้นะครับ





บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 09:57

สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ น่าจะเสด็จไปในคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลปัตตานี พ.ศ.๒๔๓๙
ผมเห็นแต่มีการอ้างอิงเอกสาร "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพบันทึกไว้ในรายงาน การตรวจ ราชการในปี พ.ศ.๒๔๓๙" แต่ยังไม่มีโอกาสได้เห็นรายงานฉบับนี้แบบเต็มเลยครับ
คงต้องลองไปค้นที่หอสมุดกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลานหลวงครับ
ถ้าเจออย่าลืมมาเผื่อแผ่กันด้วยนะครับ  ยิงฟันยิ้ม

เวลาค้นหาเรื่องยะหริ่ง อย่าลืมหาคำว่า "ยามู" ด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 10:18

ไม่ทราบว่า  เคยอ่านหนังสือเล่มนี้หรือยัง

เอกสารราชการมณฑลนครศรีธรรมราช
ในสมัยที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
เป็นข้าหลวงเทศาภิบาล ร.ศ.115-125 (พ.ศ.2439-2449).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2520.

387 หน้า มีภาพประกอบ, ตาราง, แผนที่.
พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา 23 มี.ค.2520

ถ้าพ้นนี้แล้ว  อยากเชื้อเชิญให้ไปที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติครับ

บันทึกการเข้า
compact
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 10:20

ขอบคุณครับคุณหมอ ผมเคยส่งเมล์ไปถามเรื่องยะหริ่งกับคุณหมอแล้วหมอจำได้ไหมครับ

แต่ผมไม่มีโอกาสไปกรุงเทพครับ เลยต้องรบกวนคนในเวปนี้แหละครับ

ส่วนเรื่องประวัติคืบหน้าไปเยอะแล้วครับหมอ

บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 13:15

http://human.pn.psu.ac.th/ojs/index.php/eJHUSO/article/viewFile/45/64

ลองเข้าไปดูตาลิงค์นี้นะครับแจเป็นไฟล์ .pdf ครับ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 13:41

พระพุทธรูปนี้มีศิลปะงดงามเลยครับ ดูจากภาพด้านข้างพระพุทธรูปแล้วก็เห็นห่วงที่บริเวณฐานอย่างที่ท่านกล่าวไว้ รบกวนถามเพิ่มเติมว่าเป็นห่วงเชื่อม หรือห่วงหล่อมาพร้อมกับฐานหรือครับ

ดูจากลักษณะองค์พระพุทธรูปล่ำสัน ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย พระเศียรจิ่มสั้นแบบฝาละมี ชายสังฆาฏิไม่ยาว จรดแค่พระดันแต่ไม่ทำอย่างเขี้ยวตะขาบ ทำให้นึกถึง พระพุทธรูปหินทรายที่หน้าองค์พระธาตุไชยาจังเลยครับ (องค์พระ ๓ องค์สร้างสมัยอยุธยา) ส่วนบริเวณฐานคาดว่าชำรุดไป คงชำรุดมาตั้งแต่เดิม สังเกตุจากภาพแรกที่นำมาลง เป็นภาพถ่ายเก่าที่ประทับนั่งในซุ้มฉลุไม้แบบจีน

อยากจะเห็นพระแบบชัด ๆ อีกสักสองสามภาพจังเลยครับ ถ้าจะกรุณา

ผมมองว่าพระพุทธรูปนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เนื่องจากในพระพุทธรูปศิลปะอยุธยานั้น โดยเฉพาะศิลปะอู่ทองจะมีลักษณะของการทำเส้นรัดประคด บริเวณบั้นเอวขององค์พระ จะมีชึ้นเดียว หรือ สองชั้นแล้วแต่ศิลปะของช่างจะสร้างประดิษฐ์ไว้ ซึ่งก็ยังคงปรากฎให้เห็นได้ในพระพุทธลักษณะของพระองค์นี้ครับ
และถ้าสมัยอยุธยาส่งอิทธิพลมายังภาพใต้ เขาเรียกว่า "พระศิลปะขนมต้ม"



พระพุทธรูปแบบนครศรีธรรมราช (ขนมต้ม)
               

                ยังมีพระพุทธรูปอีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นสกุลช่างนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะทั้งแบบปาละ ศรีวิชัย และเชียงแสนผสมกันอยู่ ที่เรียกว่าขนมต้มนั้นเพราะรูปทรงของท่านเหมือนขนมต้มนั่นเอง พระพุทธรูปขนมต้มนี้ได้แผ่อิทธิพลไปยังภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานด้วย

                เค้าของศรีวิชัยจะแสดงออกให้เห็นในความล่ำสันของส่วนล่างขององค์พระ ส่วนพุทธลักษณะที่คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปเชียงแสนในยุคต้นนั้น คือ องค์พระอวบอ้วน มีรัศมีเป็นต่อมกลม พระอุระนูน ชายสังฆาฏิอยู่เหนือพระถันข้างซ้าย และสร้างแต่ปางมารวิชัยนั่งแบบขัดสมาธิเพชร พระพุทธรูปเชียงแสนเป็นฝีมือช่างไทยทางภาคเหนือ แต่พระพุทธรูปแบบขนมต้มเป็นฝีมือช่างไทยทางภาคใต้เจือปนด้วยอิทธิพลขอม

                สำหรับข้อแตกต่างของพระพุทธรูปขนมต้มของนครศรีธรรมราชมีลักษณะอ้วนและเตี้ย วงพระพักตร์แบนและกว้างกว่าแบบเชียงแสน พระโอษฐ์กว้าง ทำชายจีวรใหญ่มีหลายแฉก ซ้อนกันอยู่ใต้สังฆาฏิ กลีบบัวของพระพุทธรูปแบบขนมต้ม ออกจะดูเป็นเหลี่ยม แข็งกระด้างกว่าบัวของพระพุทธรูปเชียงแสน



บันทึกการเข้า
compact
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 15:51

              ขอบคุณมากครับทุกท่าน แต่ก็ยังอยากได้ข้อมูลของทุกท่านอีกนะครับ

                  ห่วงที่ว่า เป็นห่วงหล่อติดมากับองค์พระครับ  ผมมีภาพเท่าที่โชว์ครับท่าน ส่วนตู้ที่ประดิษฐานองค์พระเป็นตู้ไม้จากประเทศจีนครับ เศรษฐีชาวจีนที่มาอยู่ในเมืองไทยสมัยนั้นเคารพท่านมาก เพราะช่วยปกป้องบ้านไม่ให้เกิดไฟไหม้ (ตามประวัตินะครับ) เลยซื้อมาถวาย มีภาษีจีนเขียนไว้ด้วย แต่แปลว่าไรผมก็จำไม่ได้ ในสมัยราชวงค์ของจีนนะครับ ส่วนถ้าองค์พระตรงกับสมัยอยุธยาก็น่าจะเป็นได้ เพราะผมเคยอ่านเจอว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้มอบเฉลย กับ ทาส ให้กับ เจ้าเมืองปัตตานี ถ้าชาวบ้านเหล่านั้นจะนำพระมาจากอยุธยาจะเป็นไปได้ไหม หรือ ไม่ก็หล่อองค์พระที่นี่เลย ใครมีความเห็นไรบ้างครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 16:05

ผมสังเกตุเห็นว่า ที่ฐานนั้นบิ่นหายไป อาจจะสร้างพระองค์ ประกอบกับ ฐาน ที่แยกจากกัน (ที่เราเรียกในภาษานักเลงพระว่า "สองถอด" คือ นำองค์พระมาสวมเข้ากับฐานก็เป็นไปได้) แต่ที่ท่านกล่าวว่า ห่วงนั้นหล่อติดกับองค์พระนั้น ก็ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษ โดยทั่วไปจะเชื่อมติดภายหลัง ขอทราบประวัติภาพนี้หน่อยครับ ผมเห็นพระพุทธรูปด้านขวามือเรา พุทธลักษณะเหมือนองค์ใหญ่ทุกประการ แต่มีฐานที่สวยงามมาก ฐานลักษณะนี้บ่งบอกถึงความเป็นอยุธยาได้อย่างชัดเจน คาดว่าการทำฐานแบบนี้ควรอยู่ในช่วงสมเด็จพระเจ้าปราสาททองลงมาครับ


บันทึกการเข้า
compact
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 16:12

ผมสังเกตุเห็นว่า ที่ฐานนั้นบิ่นหายไป อาจจะสร้างพระองค์ ประกอบกับ ฐาน ที่แยกจากกัน (ที่เราเรียกในภาษานักเลงพระว่า "สองถอด" คือ นำองค์พระมาสวมเข้ากับฐานก็เป็นไปได้) แต่ที่ท่านกล่าวว่า ห่วงนั้นหล่อติดกับองค์พระนั้น ก็ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษ โดยทั่วไปจะเชื่อมติดภายหลัง ขอทราบประวัติภาพนี้หน่อยครับ ผมเห็นพระพุทธรูปด้านขวามือเรา พุทธลักษณะเหมือนองค์ใหญ่ทุกประการ แต่มีฐานที่สวยงามมาก ฐานลักษณะนี้บ่งบอกถึงความเป็นอยุธยาได้อย่างชัดเจน คาดว่าการทำฐานแบบนี้ควรอยู่ในช่วงสมเด็จพระเจ้าปราสาททองลงมาครับ

องค์เล็กนั้น ได้ถูกโจรกรรมไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ ครับ แต่จะอยู่อีกวัดนึง ชาวบ้านจะอันเชิญมาร่วมทำบุญกันทุกปี ภาพนี้ถ่ายเมื่อปี ๒๕๐๕ ครับ ตอนนั้นจะทำพิธีพุทธาภิเษกพระครับ เลยอัญเชิญมา พุทธลักษณะเหมือนกันทุกประการครับ แต่ไม่แน่ใจว่ามีห่วงหรือป่าวครับ (เกิดไม่ทัน อิอิ)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 16:31

น่าเสียดายเป็นที่ยิ่งที่มีการโจรกรรม

สำหรับคำถามที่ว่าพระนี้หล่อในอยุธยาหรือท้องถิ่นใต้ ผมให้น้ำหนักไปทางหล่อในท้องถิ่นมากกว่า โดยสังเกตุจากศิลปะบนพระเศียร ก้นหอยองค์พระเป็นแบบท้องถิ่นที่นิยมทำกันในศิลปะแบบนครศรีธรรมราช คือ เม็ดพระศกละเอียด และเป็นแบบฝาละมี


บันทึกการเข้า
compact
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 16:35

น่าเสียดายเป็นที่ยิ่งที่มีการโจรกรรม

สำหรับคำถามที่ว่าพระนี้หล่อในอยุธยาหรือท้องถิ่นใต้ ผมให้น้ำหนักไปทางหล่อในท้องถิ่นมากกว่า โดยสังเกตุจากศิลปะบนพระเศียร ก้นหอยองค์พระเป็นแบบท้องถิ่นที่นิยมทำกันในศิลปะแบบนครศรีธรรมราช คือ เม็ดพระศกละเอียด และเป็นแบบฝาละมี

ขอบคุณมากครับ ช่วยๆกันนะครับ มีข้อมูลไรก็มาแชร์กันนะครับ ผมก็หาๆๆๆๆ แต่ตอนนี้ต้องไปข้างนอกแล้ว กลับมาพรุ่งนี้ ผมจะหาข้อมูลมาเพิ่มนะครับ จะโทรไปถามเจ้าอาวาสด้วย  ผมเคยบวชที่วัด แต่ตอนนั้นได้แค่ถามๆ ไม่สะดวกจะไปหาเอกสารหาหนังสือเลย ตอนนี้ลาสิกขามา มีโอกาสได้เจอหนังสือ ได้เล่นเนต คงทำได้มากขึ้น ขอบคุณมากนะครับท่าน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 19:35

.


บันทึกการเข้า
compact
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 09:45

หนังสือข้างบนนี่แหละครับ ที่ผมว่า มีประวัติตอนที่ว่า กรมพระยาดำรงฯ ท่านกล่าวถึงพระองค์นี้  และ ตอนที่จะนำพระขึ้นกรุงเทพนะครับ มีแต่กล่าวถึง แต่ไม่มีข้อมูลอ้างอิง ว่านำมาจากไหน  ในหนังสือบอกว่า นำพระขึ้นเรือกลไฟชื่อเรือนครศรีธรรมราช  ผมเคยอ่านเจอในการตรวจราชการของท่าน ปั้น สุขุม มีเรือกลไฟชื่อนี้จริงๆ

ส่วนวัดโบราณในสมัยอยุธยานั้น ก็มีอยู่หลายวัด แต่ส่วนมากจะร้าง และเป็นที่ดินของชาวมุสลิมไปหมดแล้วครับ เคยมีฐานเจดีย์และทรากเจดีอยู่ แต่ไม่มีการสำรวจและขุดค้นเลย

ตามตำนานของชาวบ้าน กล่าวว่า พระสององค์นี้เป็นพี่น้องกัน ลอยมาตามน้ำ องค์พี่ขี่ฆ้อง องค์น้องขี่โหม่ง แล้วลอยมาติดอวนชาวบ้าน ซึ่งเป็นชาวมุสลิม ชาวบ้านจึงไปบอกชาวบ้านทุ่งคาให้มานำพระไป จึงไปไว้ที่วัดทุ่งคา (ปัจจุบันร้าง) ส่วนอีกองค์ไว้ที่วัดมะปริง เลยมีประเพณีชักพระทางน้ำ ไปที่บ้านท่าน้ำ เพื่อให้พระสององค์พี่น้องได้พบกัน  ส่วนประเพณีชักพระทางน้ำปัจจุบันเลิกไปแล้ว ทำให้วัดทุกวัดในอำเภอยะหริ่ง แม้ไม่มีวัดใดมีที่ดินติดน้ำเลย ก็มีประเพณีชักพระทางน้ำ วัดทุกวัดจึงมีเรือเก็บไว้ทุกวัด

บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 11:59

ที่ปัตตานีมีพระพุทธรูปทรงคล้ายกับของวัดบูรพาราม ยะหริ่ง คือพระยายเขียด วัดยางแดง โคกโพธิ์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง