เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 150329 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 345  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 17:33

ใช่ป่ะเอ่ย... ยิงฟันยิ้ม

ขอรับกระผม ...

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=327844

นี่คงเป็นเจ้าประจำของคุณหนู  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ 

ก๋วยเตี๋ยวเรือของแท้แถบบางกอกน้อย ต้องมีกัญชามัดเล็กๆ ซุกไว้ก้นหม้อน้ำก๋วยเตี๋ยว ... ซดน้ำให้หมด อย่าให้เหลือ

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 346  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 17:47

ขอบคุณรูปเรือนแพ และ เนื้อเพลงที่ประทับใจดิฉันมาแต่เด็กค่ะ ชอบมาก ทั้งเพลง และ แพค่ะ

ใครรู้บ้างว่าที่ไหน อนุญาตให้สร้างเรือนแพเป็นบ้านได้อย่างถูกกฏหมายริมแม่น้ำแบบนี้ ช่วยบอกเอาบุญด้วยเทอญ

วันนี้จะขอถามสิ่งที่อยากรู้มาตั้งแต่อ่าน "หลายชีวิต" ของ ท่านคึกฤทธิ์ว่า

เรือ 2 ชั้นที่แล่นระหว่างท่าเตียนไปสุพรรณบุรีนั้น เขาเดินเรือไปทางไหนกันคะ

เข้าคลองอะไร ออกคลองอะไรทางไหนกัน ค่าโดยสารคนละเท่าไร ใช้เวลานานมากน้อยเพียงใด

รบกวนคุณหนุ่มสยามผู้ร่ำรวยภาพเด็ด ช่วยเมตตาแปะภาพบรรยากาศในเรือที่มี "หลายชีวิต" ให้ได้ชมกันบ้าง

คนรุ่นหลังเกิดไม่ทันได้นั่งเรือสายนี้ อยากรู้อยากเห็นเสียเหลือเกิน


จากเวปนี้คงจะตอบข้อสงสัยได้กระจ่างครับ

http://saosusuk-76.blogspot.com/2010/11/blog-post_18.html

จากหนังสือ "หลายชีวิต" ของท่านอาจารย์หม่อมฯ ลองช่วยกันค้นหาสิครับว่า "คุ้งสำเภา" ที่อาจารย์หม่อมฯ ท่านระบุว่าเป็นตำแหน่งที่เรือล่มนั้นอยู่ตรงโค้งไหน





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 347  เมื่อ 26 พ.ย. 11, 09:52

รื้อกระทู้นี้ขึ้นมาใหม่ เพราะได้ยินชื่อ คลองอรชร ในข่าวช่อง 3 เมื่อวานนี้
 ดร. รอยล กล่าวว่า. คลองอรชร ปัจจุบันกลายเป็นท่อลอดอยู่ในแนวถนนอังรีดูนังต์.
ใช้ในการระบายน้ำจากคลองแสนแสบ ช่วยน้ำท่วม 2554 นี้ได้

จากคลองกลายเป็นท่อไปแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 348  เมื่อ 26 พ.ย. 11, 20:49

เมื่อคุณร่วมฤดีตั้งกระทู้นี้  พวกเราในเรือนไทยช่วยค้นหาภาพคลองในอดีตมาลงกันอย่างสนุกสนาน     ไม่มีใครสามารถมองเห็นอนาคตได้ว่าในอีก 2-3 เดือนต่อมา   คลองในกรุงเทพจะเพิ่มมากขึ้นไม่รู้กี่เท่าตัว 
จนบัดนี้    ก็ยังมีคลองเหลืออีกหลายคลองให้สัญจรกันทางเรือ เช่นคลองพุทธมณฑลในภาพข้างล่างนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 349  เมื่อ 26 พ.ย. 11, 20:51

รื้อกระทู้นี้ขึ้นมาใหม่ เพราะได้ยินชื่อ คลองอรชร ในข่าวช่อง 3 เมื่อวานนี้
 ดร. รอยล กล่าวว่า. คลองอรชร ปัจจุบันกลายเป็นท่อลอดอยู่ในแนวถนนอังรีดูนังต์.
ใช้ในการระบายน้ำจากคลองแสนแสบ ช่วยน้ำท่วม 2554 นี้ได้

จากคลองกลายเป็นท่อไปแล้วค่ะ
ดิฉันเคยเห็นคลองอรชรมาก่อน ตอนไปเรียนหนังสือ   ต่อมาเมื่อขยายถนนทั้งสองด้าน คลองอรชรก็หายไป  มีถนนที่กว้างขึ้นอยู่ข้างบน คลองก็มุดลงใต้ถนนเป็นท่อระบายน้ำ ซึ่งคงจะระบายได้น้อยกว่าคลอง 
ชะตากรรมนี้เกิดกับคลองจำนวนมากที่หายไปในเมืองหลวงค่ะ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 350  เมื่อ 27 พ.ย. 11, 13:59

คลองพุทธมณฑล ของอาจารย์ น่าจะเป็นแม่น้ำหรือทะเลสาบมากกว่านะคะ

ขอสอบถามผู้รู้นอกเรื่องคลองสักนิดเถอะค่ะ
ย่านพุทธมณฑล นี้ แต่เดิมมา เรียกกันว่าอะไรคะ  ฮืม 
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 351  เมื่อ 28 พ.ย. 11, 08:14

น้ำท่วมคราวนี้ ได้ยินชื่อคลองมากมายที่มีบทบาท เพิ่ม หรือ ลดระดับน้ำ ให้บริเวณข้างเคียง

คลองอรชรเป็นคลองที่ดิฉันติดใจมากตั้งแต่เด็ก เพราะบรรพบุรุษเคยอาศัยในวังแถวนี้ ไม่ทราบเหมือนกันว่าวังอะไร
แต่ท่านทั้งหลายเล่าให้ฟังเรืองราวของการพายเรือในคลองอรชร เรื่องผีที่โหนต้นไม้มาหลอกคนพายเรือกลางคืน

พอถึงคราวที่พี่สาวไปเรียนที่ตึกหรั่ง กันตารัติ ข้างคลอง ก็ให้นึกกลัวผีที่ได้ฟังมาเป็นอย่างยิ่ง

คนสมัยก่อนเรียกกันง่าย ๆ ว่า คลองสนามม้า ตอนนี้กลายเป็นท่อ และดูเหมือนจะมีคูเล็ก ๆ เหลือให้เห็นทางด้านวัดปทุมค่ะ

ไม่เข้าใจว่าทำไมฝั่งธนบุรี ถึงได้ขุดคลองแนวเหนือใต้น้อยเหลือเกิน ราวกับไม่เคยมีปัญหาน้ำท่วมมาก่อน

เรื่องนี้แปลกใจมากค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 352  เมื่อ 28 พ.ย. 11, 09:14

 ตอบคุณ. Poja
น่าจะเรียกว่าศาลายาค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 353  เมื่อ 28 พ.ย. 11, 09:27

ไม่เข้าใจว่าทำไมฝั่งธนบุรี ถึงได้ขุดคลองแนวเหนือใต้น้อยเหลือเกิน ราวกับไม่เคยมีปัญหาน้ำท่วมมาก่อน

เรื่องนี้แปลกใจมากค่ะ

ที่ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา  (หมายถึงฝั่งธนบุรีและจังหวัดปริมณฑล)
มีคลองที่ขุดจากเหนือมาใต้น้อย  ก็เนื่องมาจากฝั่งตะวันตกเจริญช้ากว่า
ฝั่งตะวันออก หรือฝั่งพระนคร  ความเจริญของฝั่งตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ ๔
รัชกาลที่ ๕ มีไม่มาก  ส่วนใหญ่อยู่แถบบางกอกน้อยบางกอกใหญ่
ถ้าห่างจากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาสัก ๕-๑๐ กิโลเมตร ก็เป็นแต่สวน นาและป่า
คลองส่วนใหญ่ที่ขุดขึ้นในฝั่งตะวันตก  โดยมากเป็นไปเพื่อประโยชน์
ใช้ในการสัญจรเรือระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน
จะมีบางคลองบ้างที่เป็นประโยชน์ในการชักน้ำเข้าพื้นที่การเกษตร
แต่ก็แปรมาจากคลองที่ใช้สัญจรทางน้ำนั่นเอง   คลองเหล่านี้ไม่ใช่คลองใหญ่
หรือคลองที่ลึก  เนื่องจากไม่ได้ค่อยรับอิทธิพลจากการบุกเบิกที่ดิน
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดังเช่นการบุกเบิกที่ดินแถบรังสิตปทุมธานี  
ซึ่งการบุกเบิกที่ดินในครั้งนั้น  มีเรื่องการขุดคลองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นสำคัญ


คลองฟากตะวันตก  จึงเป็นคลองแนวตะวันออกตะวันตกไม่ใช่คลองเหนือใต้
คลองเหล่านี้มีประโยชน์ในการสัญจรและขนส่งสินค้า  ต่อมาในปัจจุบัน
คลองเหล่านี้ก็เป็นทางส่งน้ำและระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปลงแม่น้ำท่าจีน


ที่คุณร่วมฤดีสงสัยนั้น  ไม่ใช่เพราะฝั่งตะวันตกไม่เคยมีน้ำท่วมหรอกครับ
ฝั่งตะวันตกนี่แหละน้ำท่วมบ่อยและท่วมครั้งละนานๆ  แต่ที่ชาวบ้านแต่ก่อนเคยชิน
กับเรื่องน้ำท่วมมาพอสมควร  และในอดีตถึงน้ำจะท่วมฝั่งตะวันตก
ก็มีความเสียหายน้อยกว่าฝั่งตะวันออก  เนื่องจากเป็นแต่พื้นที่การเกษตร
และมีผู้คนอาศัยไม่หนาแน่น  แต่ปัจจุบัน  ฝั่งตะวันตกมีผู้คนอาศัยอยุ่
หนาแน่นขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก  หมู่บ้านมีมาก  เส้นทางการคมนาคมเยอะขึ้น
คลองซอยต่างๆ ที่เคยมีถูกถมบ้าง ถูกละเลยบ้าง  ทุ่งรับน้ำหายไป
เพราะถูกใช้สร้างที่อยู่อาศัย   ถนนนสร้างขวางทางน้ำ   ฯลฯ

(ตรงที่เป็นห้างโลตัสพุทธมณฑลสาย ๕ ในภาพนั้น  
เดิมคือบึงขนาดกว้างใหญ่และลึกมากหลายเมตร  เพิ่งถูกสูบน้ำออก
เอาดินมาถมทำห้างได้ไม่นานนี้เอง   ช่วงที่น้ำสูงๆ  ที่ถนนหน้าห้างแห่งนี้
น้ำสูงระดับอก (ราวๆ ๑ เมตร ๒๐ เซ็นติเมตร)  น้ำท่วมในห้างชั้นล่างเสียหาย)

เมื่อน้ำท่วมมากๆ  ฝั่งตะวันตกก็กลายเป็นแดนสนธยาในท้องน้ำ
เดือดร้อนมากและนาน  สมชื่อแล้วที่ชื่อฝั่งธน (ทน)  ที่ความเจริญ
ยังมีน้อยกว่าฝั่งพระนครแม้ทุกวันนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 354  เมื่อ 28 พ.ย. 11, 11:08


คลองอรชรเป็นคลองที่ดิฉันติดใจมากตั้งแต่เด็ก เพราะบรรพบุรุษเคยอาศัยในวังแถวนี้ ไม่ทราบเหมือนกันว่าวังอะไร
แต่ท่านทั้งหลายเล่าให้ฟังเรืองราวของการพายเรือในคลองอรชร เรื่องผีที่โหนต้นไม้มาหลอกคนพายเรือกลางคืน

พอถึงคราวที่พี่สาวไปเรียนที่ตึกหรั่ง กันตารัติ ข้างคลอง ก็ให้นึกกลัวผีที่ได้ฟังมาเป็นอย่างยิ่ง


ไม่แน่ใจว่าบรรพบุรุษของคุณร่วมฤดีเคยอาศัยในวังแถวคลองอรชรเดิม หรือคลองอรชรริมถนนอังรีดูนังต์
ในกระทู้ของเรือนไทย น่าจะเป็นกระทู้รูปเก่าเล่าเรื่องเมืองบางกอก   คุณม้ากางแผนที่ ค้นเจอกันว่าคลองอรชรมี 2 แห่งด้วยกัน แถวพญาไทตรงจุฬาฯ แห่งหนึ่ง ซึ่งหายไปแล้ว   แล้วมาตั้งชื่อใหม่ริมถนนอังรีฯ  ที่ดิฉันทันเห็นสภาพเป็นคูน้ำริมถนน 
ถ้าเป็นรุ่นปู่ย่าตายายของคุณร่วมฤดี น่าจะคลองอรชรเดิมแถวพญาไท   วังอะไรหนอ หรือจะเป็นวังวินด์เซอร์  ที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ที่ถูกรื้อไม่เหลือซากกลายเป็นสนามศุภชลาศัย  หรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 355  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 22:17

คุณ Luanglek อธิบายสภาพของฝั่งธนบุรีจนกระจ่าง ทำให้หวนระลึกได้ว่า
เมื่อ20กว่าปีก่อน เคยมีกฏหมายผังเมืองกำหนดให้พื้นที่แถวพุทธมลฑลเป็นเขตสีเขียว ให้ทำเกษตรเท่านั้น
แต่เราแก้กฏหมาย(หรือละเมิด)หน้าตาเฉย จึงเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้น

อาจารย์เทาชมพูถามเรื่องบรรพบุรุษอยู่วังอะไร ดิฉันไม่ทราบจริง ๆ ค่ะ สมัยเด็กไม่สนใจถาม

รู้แต่คุณทวดนั้น เข้านอกออกในที่วังพระองค์หญิงเฉลิมเขตร์ ซึ่งเท่าที่ทราบ ไม่ได้อยู่ที่สนามม้าค่ะ

บันทึกการเข้า
pakorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 356  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 04:35

เปิดแผนที่อีกระวางหนึ่ง เก่ากว่า เนื่องจากแผนที่ระวางนี้ยังไม่มีการตัดถนนพญาไท จะเห็นแนวคลองอรชรและสาขาที่หักฉากเข้ามายังพื้นที่จุฬาลงกรณ์ (คือแนวถนนกลางในมหาวิทยาลัย) อีกสายหนึ่งตั้งตรงมาหน้าวัดหัวลำโพง งงกันไหม  ฮืม


จากแผนที่ของคุณหนุ่มสยาม จะเห็นแนวคลองที่ขนานกันสองคลอง  ซึ่งเป็นที่สับสนว่าคลองใดเป็นคลองอรชรกันแน่ใช่ไหมครับ
๑.คลองทางซ้ายมือ ซึ่งในแผนที่เก่าระบุว่าเป็นคลองอรชร ปัจจุบันน่าจะมีชื่อเรียกว่าคลองสวนหลวง และแนวคลองนี้ยังมีให้เห็นได้อยู่จนทุกวันนี้ครับ เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างคลองนางหงษ์(แยกมาจากคลองบางกะปิหรือคลองแสนแสบในปัจจุบัน บริเวณด้านหลังโลตัสพระราม๑ ผ่านชุมชนบ้านครัว ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมเก่าแก่ขนาดใหญ่ และน่าจะเป็นที่มาของชื่อคลองบางกะปิ ที่มาจากหมวกของชาวมุสลิมที่เรียกว่ากะปิเยาะห์)  ไปยังคลองหัวลำโพง ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นถนนพระรามที่๔   คลองสวนหลวงนี้ยังไม่ได้ถูกถมไป แต่ถูกซ่อนไว้ด้านหลังแนวอาคารพาณิชย์ที่ขนานไปกับถนนบรรทัดทองครับ  ลองดูแผนที่เก่าของคุณหนุ่มสยามเทียบกับภาพจากกูเกิ้ลเอิร์ธในปัจจุบัน จะเห็นว่าแนวคลองที่สงสัยว่าเคยชื่อคลองอรชรในแผนที่เก่า จะตรงกับคลองสวนหลวงปัจจุบัน และมองเห็นแนวคลองนางหงษ์ทางด้านบน ใกล้ๆกับวัดช่างแสง หรือวัดชัยมงคลในปัจจุบันด้วยครับ 

๒.คลองทางขวามือ ที่รู้จักกันดีของชาวเตรียมอุดมก็คือคลองอรชรหรือคลองสนามม้า ปัจจุบันแนวคลองส่วนใหญ่ถูกถมไปเป็นถนนอังรีดูนังต์แล้วครับ แต่ยังมีคลองนี้ให้เห็นได้ตรงสามแยกเฉลิมเผ่า ระหว่างวัดปทุมวนารามกับสยามพารากอน และมีราวสะพานเฉลิมเผ่าที่ยังไม่ถูกทุบทำลาย อยู่ข้างๆป้อมจราจรของแยกนี้ครับ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา เคยมีอาคารไม้สองชั้นชื่อตึกอรชร เป็นสิ่งยืนยันว่าเคยมีคลองอรชรผ่านด้านหลังโรงเรียนทางด้านสนามม้า ในช่วงหลังสงครามโลก แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าก่อนหน้านนั้น ในสมัยร.๕-ร.๖ คลองนี้มีชื่อเรียกว่าอย่างไร
บันทึกการเข้า
pakorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 357  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 04:40





อ้างถึงภาพของคุณหนุ่มสยามครับ
บันทึกการเข้า
pakorn
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 358  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 05:33

เรื่องชื่อย้ายที่ได้นี่ก็แปลกดีนะครับ ในภาพจะเห็นคลองบางนางหงษ์อยู่ใกล้กับวัดช่างแสงและวัดสามง่าม ปัจจุบันเรียกเป็นคลองนางหงษ์   ส่วนคลองบางนางหงษ์กลับย้ายไปอยู่แถวๆคลองเตยอีกที่หนึ่งในปัจจุบัน  (ไม่ใช่แค่คลองอรชรเท่านั้นครับที่ย้ายที่)

ส่วนชื่อบางกะปิย้ายที่ได้ก็แปลกดีเช่นกันครับ ปกติชื่อของคลองมักจะมาจากชุมชนที่อยู่ต้นคลอง  คลองบางกะปินี้เป็นชื่อเดิมของคลองแสนแสบ เริ่มจากคลองผดุงกรุงเกษมแถวๆมหานาคใกล้ตลาดโบ๊เบ๊ ผ่านชุมชนมุสลิมบ้านครัวซึ่งเป็นชุมชนใหญ่และเก่าแก่ เป็นที่ตั้งของมัสยิดหลายแห่ง หากชื่อบางกะปิมาจากหมวกกะปิเยาะห์ของมุสลิมจริง บางกะปิก็น่าจะมีจุดเริ่มมาจากแถวนี้ก่อนเมื่อครั้งมีการเริ่มต้นขุดคลองนี้ผ่านชุมชนในสมัยแรก   ต่อมาเมื่อมีความเจริญขยายไปถึงย่านสุขุมวิท นานา อโศก ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิตอนกลางๆ (ปัจจุบันเรียกคลองแสนแสบทั้งหมด)  ย่านสุขุมวิทนั้นเลยถูกเรียกเป็นบางกะปิ (ปัจจุบันยังมีธนาคารกรุงเทพ สาขาบางกะปิ แต่ตั้งอยู่ที่แถวอโศก)   ต่อมาอำเภอบางกะปิซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวางเกือบทั้งหมดของกรุงเทพฝั่งตะวันออกไปจนเกือบถึงมีนบุรี ได้ถูกแบ่งซอยย่อยออกเป็นเขตใหม่อีกหลายเขตตามพื้นที่ทางการปกครอง  พื้นที่สุขุมวิทจึงไม่อยู่ในเขตบางกะปิอีกต่อไป ชื่อคลองบางกะปิก็ถูกเปลี่ยนเป็นคลองแสนแสบ   ศูนย์กลางของเขตบางกะปิปัจจุบันเลยไปอยู่ตรงขอบๆของอำเภอบางกะปิเดิมแถวๆลาดพร้าวที่เคยเป็นทุ่งนามาก่อน   ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 359  เมื่อ 28 ส.ค. 12, 15:31

กลับมาอ่านกระทู้นี้ด้วยความเพลิดเพลิน    อ่านแล้วคิดถึงคุณร่วมฤดี  คุณบางปลาม้า คุณณัฐดล และอีกหลายๆท่านที่ไม่มีเวลาว่างพอจะมาร่วมวงกันอีก
เจอรูปคลองแห่งหนึ่งในอินทรเนตร  ทีแรกว่าจะลงในกระทู้รูปเก่าเล่าเรื่องเมืองบางกอก  แต่กระทู้ยาวเหลือเกินจนเช็คไม่ไหวว่าเคยนำลงหรือยัง   กลับไปค้นในกรุห้องปวศ. เจอกระทู้นี้ 
ขนาดไม่ยาวเท่า ยังเข้าไป 24 หน้า ไล่อ่านของเก่าด้วยความสนุก
จึงขุดขึ้นมาให้ดูกันอีกครั้ง   ว่าคลองที่ว่านี้คลองอะไรในกรุงเทพ    ฝรั่งเขียนคำบรรยายไว้สั้นๆว่า
Bangkok c.1900


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 22 23 [24] 25 26 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.104 วินาที กับ 20 คำสั่ง