เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 149827 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 10:49

ถ้างั้นศาลาท่าน้ำที่สวยงามนั้น เป็นบริเวณบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แห่งสกุลบุนนาค หรือเปล่า

 ยิงฟันยิ้ม  แลบลิ้น  ขอคารวะท่านอาจารย์ครับ

ผู้ที่นำภาพนี้มาลงในกระทู้ของพันทิบ ท่านเฉลยไว้ว่าเป็นสะพานเข้าบ้านสมเด้จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ครับ



หากคำตอบคือ บริเวณหน้าบ้านสมเด้จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ถ้าถูกต้องก็เห็นสมควรอยู่ เนื่องจากเบื้องหลังภาพ ก็ปรากฎเห็นราวไม้แขวนอีก ๑ ตัว ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ว่า ท่านต้องใช้คลองนี้ในการเดินทาง ครั้นจะมัวนั่งลอดใต้ท้องสะพานเหมือนจะไม่สง่างามและสมเกียรติยศแห่งองค์สมเด็จเจ้าพระยา ดังนั้นพื้นสะพานจึงต้องให้ยก กระดกได้เมื่อขบวนเรือมาถึง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 08:41

ไม่ต้องบอกก็คงจะทราบนะว่าสะพานนี้เคยเป็นสะพานข้ามคลองสนามม้าที่กลายชื่อเป็นคลองอรชรในภายหลัง

จาก คห 300 เรื่องสะพานยกหรือสะพานหก ผมอาจจะจำสับสนบ้างว่าเป็นสะพานเข้าบ้านหรือสะพานข้างบ้านสมเด้จเจ้าพระยาฯ

ผู้น้อยขอกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 21:41

ฝั่งของกรุงเทพมหานคร ยังมีคลองอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีประวัติศาสตร์คลองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุยา  ซึ่งมีร่องรอยการอยู่ของชุมชนสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างวัดริมคลองต่อเนื่องถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นคลองที่มีความยาว เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา กับ คลองแสนแสบ ไว้ด้วยกัน คลองนี้มีชื่อว่า "คลองสามเสน"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 21:55

ช่วงบริเวณปากคลองสามเสน ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น วังศุโขทัย และ โรงเรียนวชิราวุธ รวมทั้งวัดประสาทบุญญาวาส และวัดโบสถ์ เป็นต้น รวมทั้งริมคลองด้านใน เป็นพื้นที่ดินที่รัชกาลที่ ๕ ซื้อที่ดินเพื่อพระราชแก่เจ้าจอมบรรดาก๊ก อ. เพื่อให้อยู่อาศัย ปลูกตึกเช่ามีเงินได้ในภายหน้าได้ และคลองก็เรื่อยไปสู่ วัดอุภัยฯ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นวัดเกี่ยวกับ "เจ้าฟ้าเหม็น" ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และคลองไหลเรื่อยไปผ่านทุ่งส้มป่อย ทุ่งพญาไท ทุ่งบางกะปิ ถนนพระราม ๙ และไปออกปากคลองที่คลองแสนแสบ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 04 มิ.ย. 11, 22:05

ภาพการอัญเชิญพระพุทธชินราชจำลองไปยังพระอุโบสถวัดเบญจมพิตร ก็ได้อัญเชิญองค์พระล่องแพ เข้ามาในคลองสามเสน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 06 มิ.ย. 11, 13:05

ช่วงบริเวณปากคลองสามเสน ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น วังศุโขทัย และ โรงเรียนวชิราวุธ รวมทั้งวัดประสาทบุญญาวาส และวัดโบสถ์ เป็นต้น รวมทั้งริมคลองด้านใน เป็นพื้นที่ดินที่รัชกาลที่ ๕ ซื้อที่ดินเพื่อพระราชแก่เจ้าจอมบรรดาก๊ก อ. เพื่อให้อยู่อาศัย ปลูกตึกเช่ามีเงินได้ในภายหน้าได้ และคลองก็เรื่อยไปสู่ วัดอุภัยฯ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นวัดเกี่ยวกับ "เจ้าฟ้าเหม็น" ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และคลองไหลเรื่อยไปผ่านทุ่งส้มป่อย ทุ่งพญาไท ทุ่งบางกะปิ ถนนพระราม ๙ และไปออกปากคลองที่คลองแสนแสบ

ขอท้วงว่า "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" น่าจะเป็น "อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ" นะครับ ก๋วยเตี่ยวเรือในคลองข้างอนุสาวรีย์ชัยยังอยู่ในความทรงจำ

ผมมีขนมเป็นของว่างทานกับกาแฟยามบ่ายมาฝากคุณพี่ siamese ครับ



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 06 มิ.ย. 11, 20:31

ฝั่งของกรุงเทพมหานคร ยังมีคลองอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีประวัติศาสตร์คลองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุยา  ซึ่งมีร่องรอยการอยู่ของชุมชนสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการสร้างวัดริมคลองต่อเนื่องถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นคลองที่มีความยาว เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา กับ คลองแสนแสบ ไว้ด้วยกัน คลองนี้มีชื่อว่า "คลองสามเสน"

ช่วยเสริมข้อมูลแผนที่ให้คุณ siamese ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 06 มิ.ย. 11, 21:29

ช่วงบริเวณปากคลองสามเสน ผ่านสถานที่สำคัญ เช่น วังศุโขทัย และ โรงเรียนวชิราวุธ รวมทั้งวัดประสาทบุญญาวาส และวัดโบสถ์ เป็นต้น รวมทั้งริมคลองด้านใน เป็นพื้นที่ดินที่รัชกาลที่ ๕ ซื้อที่ดินเพื่อพระราชแก่เจ้าจอมบรรดาก๊ก อ. เพื่อให้อยู่อาศัย ปลูกตึกเช่ามีเงินได้ในภายหน้าได้ และคลองก็เรื่อยไปสู่ วัดอุภัยฯ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นวัดเกี่ยวกับ "เจ้าฟ้าเหม็น" ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และคลองไหลเรื่อยไปผ่านทุ่งส้มป่อย ทุ่งพญาไท ทุ่งบางกะปิ ถนนพระราม ๙ และไปออกปากคลองที่คลองแสนแสบ

ขอท้วงว่า "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" น่าจะเป็น "อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ" นะครับ ก๋วยเตี่ยวเรือในคลองข้างอนุสาวรีย์ชัยยังอยู่ในความทรงจำ

ผมมีขนมเป็นของว่างทานกับกาแฟยามบ่ายมาฝากคุณพี่ siamese ครับ



ขอบคุณครับ ลุงไก่ ที่ได้ให้ชมภาพสะพานเฉลิมสวรรค์ ซึ่งรื้อทิ้งเพื่อสร้างตอม่อสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เลยแนบภาพคลองงามๆให้ลุงไก่เช่นกัน


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 06 มิ.ย. 11, 22:08

ไปพบคำเฉลยของคลองในภาพนี้จากกระทู้เก่าที่อาจารย์เทาชมพูท่านได้กรุณาอ่านและแปลคำบรรยายภาพไว้ได้ว่า คือคลองบางลำพู

ส่วนภาพข้างบนของคุณพี่หนุ่มสยาม ผมกำลังนึกอยู่ว่าจะเป็นคลองโอ่งอ่างหรือคลองมหานาค



บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 07 มิ.ย. 11, 20:47

ขอบคุณสำหรับภาพสะพานเฉลิมสวรรค์ที่จำกันไม่ได้แล้วว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะรื้อไปนานมาก ๆ

สงสัยว่าเสาสะพานมีรูปร่างหน้าตาคล้ายสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ตรงหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพงนะคะ

สร้่างสมัยเดียวกันหรือเปล่าคะ ใครพอทราบบ้าง กรุณาเล่าให้ฟัง จักเป็นพระคุณยิ่ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 07 มิ.ย. 11, 21:29

ขอบคุณสำหรับภาพสะพานเฉลิมสวรรค์ที่จำกันไม่ได้แล้วว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะรื้อไปนานมาก ๆ

สงสัยว่าเสาสะพานมีรูปร่างหน้าตาคล้ายสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ตรงหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพงนะคะ

สร้่างสมัยเดียวกันหรือเปล่าคะ ใครพอทราบบ้าง กรุณาเล่าให้ฟัง จักเป็นพระคุณยิ่ง


สะพานเฉลิมสวรรค์๕๘ ที่สวยงามนี้สร้างขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จสวรรคตแล้ว คือ สร้างในรัชกาลที่ ๖ ในชื่อสะพาน "เฉลิม + สวรรค์" ครับสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ (๒ ปีหลังสวรรคต) ซึ่งสะพานชุดเฉลิมที่ถูกสร้างภายหลังการสวรรคตมีอีก ๑ สะพานคือ สะพานเฉลิมเดช ๕๗ ปลายถนนสี่พระยา สร้างข้ามคลองหัวลำโพง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน

ส่วนสะพานริมคลองผดุงกรุงเกษมที่หัวลำโพง เรียกว่า "สะพานเจริญสวัสดิ์ ๓๖" ซึ่งเปนสะพานชุดที่ชึ้นด้วยคำว่า เจริญ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างเมื่อพระชนม์มายุ ๓๖ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ ห่างจากสะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘ อยู่ ๔ ปี แต่มีศิลปกรรมเสาสูงแบบยุโรปที่คล้ายกันอย่างมาก


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 07 มิ.ย. 11, 22:34

ขอบพระคุณ ๆ หนุ่มสยามเป็นอย่างสูงค่ะ

ขอพ่วงเรื่องของสะพานเข้ามาในกระทู้นี้ด้วยนะคะ มีคลองก็ต้องมีสะพานเป็นของคู่กัน

เราเคยมีสะพานสวยงามหลายแห่ง ต้องขอความรู้คุณหนุ่มสยามผู้ร่ำรวยภาพคอยเพิ่มเติมให้นะคะ

ศิลปะกรรมในการสร้างสะพาน สะท้อนความรุ่งเรืองของยุคสมัยได้

น่าเศร้าที่ปัจจุบันนี้ การสร้างสะพาน ไม่ได้คำนึงถึงศิลปะกรรมเท่าไร ดูแล้วจืดชืดมากค่ะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 08 มิ.ย. 11, 16:47

มาชมพระเอก-นางเอก ของ "คู่กรรม" คู่แรกเมื่อเป็นภาพยนต์กัน แต่คำถามคือสถานที่ที่ถ่ายภาพนี้ มีสะพานข้ามลำน้ำ (จะเป็นแม่น้ำหรือคลองมิอาจทราบ)เป็นฉากหลัง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 08 มิ.ย. 11, 16:53

ขอบพระคุณ ๆ หนุ่มสยามเป็นอย่างสูงค่ะ

ขอพ่วงเรื่องของสะพานเข้ามาในกระทู้นี้ด้วยนะคะ มีคลองก็ต้องมีสะพานเป็นของคู่กัน

เราเคยมีสะพานสวยงามหลายแห่ง ต้องขอความรู้คุณหนุ่มสยามผู้ร่ำรวยภาพคอยเพิ่มเติมให้นะคะ

ศิลปะกรรมในการสร้างสะพาน สะท้อนความรุ่งเรืองของยุคสมัยได้

น่าเศร้าที่ปัจจุบันนี้ การสร้างสะพาน ไม่ได้คำนึงถึงศิลปะกรรมเท่าไร ดูแล้วจืดชืดมากค่ะ

ไม่ต้องบอกนะครับว่าภาพนี้คือสะพานหัน ในซอยจากพาหุรัดไปสำเพ็ง


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 08:52

สุดคลองบางกอกน้อย ... พายเรือตามหาบัวลอย ... จนเหงื่อพี่ย้อยโซมกาย (นิค นิรนาม ชุดหยิบสิบ)





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง