เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 150359 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 27 พ.ค. 11, 10:34

"...พ.อ. พระยาสิริจุลเสวก นั้น ย่อมไม่มีทางที่จะมิให้ขาดตกบกพร่องไม่กรณีใดก็กรณี ๑ อย่าง ไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังเว้นเสียซึ่งความภูมิใจมิได้ในการได้ฝากบทประพันธ์น้อย ๆ นี้ไว้เป็นอนุสสรณีย์อัน ๑ แห่ง ปฏิการกิจ สนองท่าน ผู้วายชนม์ ผู้เคยมี อุปการะคุณแก่ข้าพเจ้ามาแต่หนหลัง พระยาสิริจุลเสวก เป็นตัวอย่างของตัวอย่างทั้งหลายในเกียรติประวัติแห่งข้าราชการผู้มีวิริยะพากเพียร เป็นเบื้องหน้า มี กตัญญูกตเวทีอย่างแรงกล้าเป็นนิสสัย ดุจพื้นประกิจรองรับวิเชียรมณี ส่งวิริ- ยะภาพนั้นให้บรรลุผลจนเห็นเด่น เพราะเช่นนั้นข้าพเจ้าจึ่งได้กล่าวแต่ต้นว่าการเรียงประวัติของผู้กอบด้วยบุคคลิกลักษณะเช่นพระยาสิริจุลเสวกนี้ เป็นของยากนักยากหนาที่จะหาถ้อยคำใดมาสรรพรรณนาให้ผู้อ่านได้ตระหนักชัดกับพฤติการอันแท้จริงที่ได้แสดงตลอดกาล ๔๖ ปีกับ ๔ เดือนแห่งอายุสมัยของเจ้าคุณผู้นั้น โดยนามเดิม คือนายพัว จุลเสวก โดยชาติกำเนิด คือนายพันธ์ จุลเสวก บิดา และนางคล้อย จุลเสวก มารดา โดยกาลปฏิสนธิ คือวันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุล นพศก จุลศักราช ๑๒๔๙ ตรงกับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๐ พระยาสิริ ฯ มิได้มีสิ่งใดผิดแผกยิ่งล้นไปกว่าสามัญชนทั้งหลาย ซึ่ง ข้อนี้ย่อมเป็นข้อแรกแห่งความสนใจของท่านผู้อ่านทั้งหลาย พระยาสิริ ฯ แต่ครั้งเป็นเด็กชายพัว จุลเสวก นั้น ได้รับอุปการะเลี้ยงดูจากท่านบิดามารดาเยี่ยงนักกสิกรรมและนักอุตสาหกรรม ตามฐานะเท่าที่ท่านจะสามารถประสิทธิ์ประสาทได้ เพราะภูมิประเทศอันเป็นภูมิลำเนาที่เริ่มต้นชีวิตของพระยาสิริ ฯ นั้น คือบางระมาด อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ดั่งปรากฏในประวัติความทรงจำซึ่งพระยาสิริจุลเสวกบันทึกไว้เองตั้งแต่ยังทรงชีพอยู่ ว่าดั่งนี้ "ราว พ.ศ. ๒๔๓๖-๗ ได้รับความอบรมจากบิดามารดาให้รู้จัก การทำสวนทำนา การศาสนา เป็นต้นว่า เวลาไปทำสวนก็เอาไปด้วยให้เห็นวิธีทำสวนตั้งแต่ขุดดิน พรวนดิน ดายหญ้า ลอกท้องร่อง ปลูกต้นไม้ รักษา และรดน้ำต้นไม้ ตลอดจนการเฝ้าเก็บผลไม้ขาย ครั้นถึงเวลาทำนาก็เอาไปด้วย เริ่มตั้งแต่ไล่นก เกี่ยวข้าว นวดข้าว จนขนข้าวขึ้นฉาง วันพระ ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำหยุดทำงาน ไปทำบุญและฟังธรรมที่วัดจำปา " ครั้นรู้จักชีวิตธรรมชาติพอแล้ว ท่านบิดามารดาได้นำไปฝากเข้า โรงเรียนหนังสือไทย ณ โรงเรียนประถมศึกษาวักมณฑป ในคลองบางระมาด เรียนอยู่ ๓ ปี จบหลักสูตรของสมัยนั้น ซึ่งเป็นยุคแรกแห่ง การศึกษาแบบใหม่ที่เพิ่งเริ่มจัดขึ้นในกรุงสยาม ลำดับจากนั้นท่านบิดามารดาก็ให้บรรพชาเป็นสามเณร พอลาสิกขาบทก็ส่งเข้าเรียนหนัง- สือขอมต่อไปที่วัดจำปานั้นเองตามความนิยมของคนไทยในสมัยนั้น การเรียนหนังสือขอมของเด็กชายพัว จุลเสวก เป็นการเรียนแบบ "ศิษย์ วัด" ฉะนั้นจึ่งเป็นการฝึกนิสสัยให้เกิดความกล้าแข็ง ความอดทน ต่อการตรากตรำทั้งหลายให้มั่นคงขึ้นไปในตัว อย่างไร ก็ตาม หลังจากนั้น พระยาสิริ ฯ ก็ได้ที่พึ่งใหม่ คือ หลวงสกลผดุงเขตต์ผู้เป็นอาว์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนายอำเภอบางกอกใหญ่ชวนไปอยู่ด้วยที่ตลาดขวัญ จังหวัด นนทบุรี หลวงสกล ฯ ให้ความ อบรมในชีวิตใหม่ เป็นชีวิตการสมาคมที่วิวรรธนาการขึ้นจากแหล่ง เดิม โดยฝึกหัดให้ทำงานปนอยู่กับเสมียนอำเภอทั้งหลาย พระยาสิริ ฯ ค่อยรู้จักโลกมากขึ้น จึ่งปรากฏว่าวิชาเท่าที่ได้รับมาแล้วนั้นยังไม่พอ แก่การจะทำงานได้ จึงต้องกลับไปเข้าโรงเรียนอีกวาระ ๑ ซึ่งระหว่างนั้นมีอายุได้ ๑๒ ปีแล้ว การเข้าโรงเรียนยุคหลังของพระยาสิริ ฯ นี้เป็นการเรียนเอาจริงจัง ณโรงเรียนวัดจักรวรรดิ์ราชาวาศ ผ่านชั้น ประโยคประถม แล้วก็ย้ายไปเรียนณ โรงเรียนมัธยมวัดราชบุรณะ ( เป็นสวนกุหลาบวิทยาลัยเดี๋ยวนี้ ) จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยมตอนต้นเมื่ออายุ ๑๘ ปี แต่ยังมิทันสำเร็จชั้นสูงสุดของโรงเรียนนั้นก็ต้องเริ่มชีวิต แรกของการทำงานหาอาชีพ โดยออกมาเป็นเสมียนกรมสรรพากรรับ เงินเดือน ๆ ละ ๔๐ บาท และได้มีโอกาสทำการตรวจบัญชีโรงรับ จำนำยี้ห้อฮั่วเส็ง ได้รับเงินบำเหน็จพิเศษอีกเดือนละ ๔๐ บาท รวมเดือนละ ๘๐ บาท ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ คือระหว่างทำงาน ณ ที่นั้น ก็ได้กระทำการสมรสกับนางสาวเชื้อ เริ่มตั้งครอบครัว ตั้งมูลนิธิ เป็นคหบดี ผู้ครองเรือนอันมีหลักฐานตั้งแต่บัดนั้น..."

ถ้าสืบภาพนี้จากการปะติดปะต่อเรื่องราวของชาวบางระมาดท่านนี้ อาจมีเค้าลางบ้างก็ได้ นะลุงไก่


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 27 พ.ค. 11, 13:16

^
^
ภาพของเก๋งจีนริมคลองนั้น ยังไม่ได้สรุปหรือตัดสินว่าเป็นศาลเจ้าจุ้ยที่วัดจำปา ริมคลองบางระมาดนะครับ และผมเองก็ไม่เคยไปวัดนี้ด้วย
จะรู้จักกับคลองชักพระมากกว่า (คลองอะไรมีตั้งหลายชื่อ - คลองชักพระ, คลองบางขุนศรี, คลองบางเชือกหนัง)

ถ้าถามถึงตลาดน้ำตลิ่งชันในอดีตก็พอจะตอบได้หน่อย เพราะถูกเกณฑ์ไปเป็นผู้ร่วมขบวนการก่อสร้าง ประชาสัมพันธ์ รักษาความปลอดภัย อำนวยความสะดวก เก็บขยะ ฯลฯ กับเขาคนหนึ่งด้วย

ผลที่ได้จากความเหนื่อยยากนี้ คือเจ้านายผมถูกเก็บไปดองในกรุ สุสานคนเป็น จนครบอายุขัยการทำงาน

ลูกน้องก็แตกกระจัดกระจายกันไปได้ดิบได้ดีกันที่อื่น ตามวาสนาและความดีที่ทำเอาไว้ ..



บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 27 พ.ค. 11, 13:41

คลองนี้คล้ายนัก

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 28 พ.ค. 11, 18:43

ขอกลับมายังภาพเดิมสักหน่อย ขยายสถาปัตยกรรมริมคลอง เป็นอาคาร ๒ หลัง หลังหนึ่งสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน ฐานล่างก่ออิฐถือปูน และกระเบื้องปรุ หลังคาเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน ซึ่งมีลักษณะเป็นเก๋งจีน ด้านหลังเห็นสิ่งก่อสร้างสีขาว กรุลูกกรงแก้งปรุเช่นกัน ส่วนอาคารหน้าเป็นอาคารแบบไทยผสมจีน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 28 พ.ค. 11, 18:54

ดูจากองค์ประกอบของภาพจะเห็นว่าเป็นการจงใจถ่ายตลาดน้ำ ซึ่งมีเรือจำนวนมาก ในหนังสือดังกล่าวไม่ได้มีการอธิบายสถานที่แห่งนี้ว่าอยู่บริเวณใด เพียงแต่บรรยายใต้ภาพว่า "Traffic on a canal in Bangkok Noi" เป็นภาพลำดับที่ ๑๐ ส่วนภาพที่ ๙ ก่อนหน้านี้ได้เป็นภาพถ่ายในคลองบางกอกน้อยซึ่งมีตลาดน้ำอย่างชัดเจน และบรรยายไว้ว่า  "A Scene at market time at Bangkok Noi Canal"

จะเห็นว่าตลาดน้ำในภาพมีหมู่เรือบรรทุกสินค้า ผลไม้ อย่างน้อย ๓ ลำกำลังมุ่งหน้าไปยังตลาดนัด มีเรือสองลำสวนมา เป็นลำเปล่า และขวาภาพเป็นเรือนแพและหมู่เรือที่จอดเรียงรายอยู่ตลอดลำน้ำ ซึ่งหมู่เรือนแพนี้ทอดจอดอยู่ตรงกับเก๋งจีน (น่าจะเป็นวัด) พอดีเลยซึ่งคงเป็นวัดที่สำคัญพอสมควร

สำหรับที่มองคลองนี้แคบ เนื่องจากเรือนแพ และเรือจอดหน้าเรือนแพ ล้ำพื้นที่มาเกือบครึ่งคลอง ทำให้คลองดูแคบ ที่จริงแล้วคลองกว้างนะครับ

ที่มาของภาพ Country and People of Siam หน้า ๗๒


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 28 พ.ค. 11, 19:07

ภาพนี้เป็นภาพลำดับที่ ๙ แสดงให้เห็นตลาดน้ำในคลองบางกอกน้อย และอีกภาพเป็นภาพตลาดน้ำที่คลองบางระมาด (เห็นสะพานรถไฟข้ามคลอง) ซึ่งแน่นอนว่า นายคาร์ล เดอร์ริ่ง ต้องล่องเรือเข้ามาในคลองบางกอกน้อยและถ่ายภาพตลาดน้ำไว้ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 28 พ.ค. 11, 19:47

เดาว่า คลองที่มีศาลจีนเป็นคลองแยกจากคลองบางกอกน้อย    เป็นคลองเล็กกว่าคลองบางกอกน้อย   
ถ้าศาลเจ้าจีนยังอยู่มาจนทุกวันนี้ ไม่ได้ถูกรื้อหรือย้ายไปไหน   ผู้เชี่ยวชาญในเว็บนี้ก็น่าจะหาเจอ   เพราะคลองฝั่งธนที่มีศาลเจ้าอยู่ริมคลอง น่าจะมีอยู่หนึ่งหรือสองคลองอย่างมาก    คงไม่มีศาลเจ้าอยู่ทั่วไปเกือบทุกริมคลอง
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 28 พ.ค. 11, 23:01

อ้างถึง
    ศาลเจ้าฝ่ายเต๋าที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯคือ "ศาลเจ้าจี้หนันเมี้ยว" ตั้งอยุ่ริมคลองบางใส้ไก้หลังสถานีบางกอกน้อย

ใครมีรูปศาลเจ้านี้บ้างคะ น่าสงสัยว่าจะเป็นเก๋งจีนในภาพตลาดน้ำบางกอกน้อย เพราะตรงนี้
1. อยู่ในคลองบางกอกน้อย แยกออกคลองบางไส้ไก่
2. ใกล้สะพานรถไฟข้ามคลองบางกอกน้อย เป็นรถไฟสายใต้
3. เคนได้ยินคนแก่ ๆ พูดถึงตลาดคลองบางไส้ไก่
4. หากฝัึร่งจะเที่ยวตลาดน้ำ น่าจะไปที่นี่ เพราะไม่ไกลจากรุงเทพเท่าใดนัก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 29 พ.ค. 11, 16:10

อยากเห็นรูปศาลเจ้าจี้หนันเมี้ยว  หาในกูเกิ้ลไม่เจอค่ะ
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 264  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 02:42

ลองขยายภาพและมองไกลๆไปในคลอง กลับพบศาลาสีขาวหลังหนึ่ง จะเป็น 1ใน7 ศาลา ที่รัชกาลที่4 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นคราวสร้างคลองมหาสวัสดิ์หรือเปล่าครับ เพราะคลองมหาสวัสด์ก๊ขุดเชื่อมต่อจากคลองบางกอกน้อยออกไปนครปฐม หากใครมีรูปศาลา ธรรมสพธ์ หรือศาลายา น่าจะพบคำตอบนะครับ ยิงฟันยิ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 พ.ค. 11, 09:33 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 265  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 09:34

คุณ natadol หมายถึงศาลาสีขาวตรงลูกศรชี้ ใช่ไหมคะ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 266  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 11:30

อ้างถึง
    ศาลเจ้าฝ่ายเต๋าที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯคือ "ศาลเจ้าจี้หนันเมี้ยว" ตั้งอยุ่ริมคลองบางใส้ไก้หลังสถานีบางกอกน้อย

ใครมีรูปศาลเจ้านี้บ้างคะ น่าสงสัยว่าจะเป็นเก๋งจีนในภาพตลาดน้ำบางกอกน้อย เพราะตรงนี้
1. อยู่ในคลองบางกอกน้อย แยกออกคลองบางไส้ไก่
2. ใกล้สะพานรถไฟข้ามคลองบางกอกน้อย เป็นรถไฟสายใต้
3. เคนได้ยินคนแก่ ๆ พูดถึงตลาดคลองบางไส้ไก่
4. หากฝัึร่งจะเที่ยวตลาดน้ำ น่าจะไปที่นี่ เพราะไม่ไกลจากรุงเทพเท่าใดนัก

คำชี้แจงบางประการ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 267  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 11:35

กับอีกคำถามหนึ่งว่า คลองมอญ เป็นคลองที่เกิดตามธรรมชาติ หรือเป็นคลองที่ขุดโดยแรงงาน ?
เพราะจะมีความสัมพันธ์ทางประวัติสาสตร์เกี่ยวพันกับการขุดคลองลัดระหว่างปากคลองบางกอกน้อยกับปากคลองบางกอกใหญ่ ที่กลายสภาพเป็นลำน้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

ถ้าใครนึกไม่ออกว่าคลองมอญอยู่ที่ไหน ลองนึกถึงร้านวิเชียรกุ้งเผาริมคลองมอญก็ละกัน





บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 268  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 14:20

ตามลูกศรชี้เลยครับ หากเป็นศาลาทรงสร้างไว้ ระยะห่าง 4 กิโลเมตร ต่อ 1ศาลา ก็น่าที่จะเป็นปลายคลองบางกอกน้อยแยกเข้าคลองมหาสวัสดิ์ ครับ
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 269  เมื่อ 30 พ.ค. 11, 14:29

ตามลุงไก่ ไปเที่ยวคลองมอญ ครับ เมื่อก่อนผมเคยเป็นทหารเรืออยู่ กองดุริยางค์ทหารเรือ ข้างคลองมอญ สมัยโป๊ะพรานนกล่มใหม่ๆ  หากข้ามถนนอิสรภาพ ก็จะเป็นวัดชิโนรส เดินตามริมคลองไปก็จะผ่านวัดดงมูลเหล็ก และไปทะลุออกถนน จรัญสนิทวงศ์ได้ คลองนี้น่าจะเชื่อมกับคลองชักพระนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18] 19 20 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง