เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 150332 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 22:18

^
^
บริเวณหน้าตลาดบางซื่อ น้ำจากคลองเปรมประชากรดันขึ้นมาบนถนนหน้าตลาด ชาวบ้านเลยจำเป็นต้องใช้เรือพายแทนรถ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 22:28

กลับมาเรือนไทยใหม่ด้วยสำนึกว่าตนโหดไปสักหน่อย เอาภาพยากๆมาหลอนชาวแกงค์ช้อนลูกน้ำ จะมาแก้ไขไถ่บาป

ที่ไหนได้ ปรากฏว่าตรงกันข้าม คุณเพ็ญบอกหมูมาก จับเคี้ยวไปแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 22:31

กำลังจะบอกว่า ไม่ใช่ปี ๒๔๘๕ หรอก แต่เป็น พฤศจิกายน ๒๕๒๑

http://www.bwfoto.net/articles/079.php

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 22:33

ทำกันได้...


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 22:35

ชนกลางอากาศ  เห็นคำตอบคุณเพ็ญแล้ว

นี่แน่ะ!นี่แน่ะ!


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 23:28

ไม่น่าเข้ามาตอนดึก ๆ เล้ยยย เจอภาพของอาจารย์เทา 148 ไม่มีอะไรให้สังเกตุได้เลยว่าที่ไหน

สงสัยจะหลอนจนสว่างแน่เรา...ไหน ๆ เข้ามาแล้ว ขอเดาสร้างความหวังสำหรับวันพรุ่งนี้ค่ะ

ลักษณะเสาไฟฟ้าที่ปักลงไปในคลอง
โคมไฟส่องคลองแบบโค้ง
คลองไม่กว้างเท่าไร เหมือนวิ่งเข้าไปในสวน
ไม่มีบ้านคนมากนัก และมีสภาพคล้ายโรงงานทางขวามือ
ในภาพมีเรือหางยาวขนสินค้าเกษตร

แบบนี้น่าจะคลองฝั่งธนบุรี บางกอกใหญ่(คลองบางหลวง) ตอนใน ๆ หรือบางกอกน้อย คลองมอญ หรือไม่ก็คลองบางแวก

จะถูกสักอันไหมคะ ?



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 23:49

อ้างถึง
ไม่ใช่คลองบางกอกใหญ่ครับ เขาบรรยายภาพว่าเป็นคลองภาษีเจริญ (เอ๊ะ...ไม่ทราบว่าเป็นคนละคลองเดียวกัน อีหรอบเดียวกับคลองบางกะปิกับคลองแสนแสบหรือเปล่า)

คุณ Siamese ช่วยด้วยเจ้าข้าาาาาา

นี่ไงคะ เหตุผลที่ตั้งกระทู้ถาม เพราะคลองมันยุ่งยากเสียจริง ๆ

เวลาจะไปวัดปากน้ำภาษีเจริญ เข้าจากเจ้าพระยามาทางคลองบางกอกใหญ่ จะมีคลองแยกข้างในมากมาย

ตรงวัดปากน้ำภาษีเจริญนั่น เข้าใจว่า จะเป็นปากคลองภาษีเจริญ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของคลองนี้นะคะ แล่นยาวไปถึงบางแคนั่นแหละค่ะ

อาจจะไปไกลกว่านี้ก็ได้ ใครมีประวัติคลองนี้ แผนที่คลองนี้ รีบนำมาแก้สงสัย นึกเสียว่าโปรดสัตว์เอาบุญเถิด

กระทู้ไปเร็วมากครับ  ขยิบตา


จะอธิบายเพิ่มเติมเรื่องคลองบริเวณนี้สักหน่อยว่า
เดิมในสมัยอยุธยา บริเวณนี้เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา และมีการขุดคลองด่านเพื่อลงไปเชื่อมคลองบางขุนเทียน คลองมหาชัย ต่อมาเมื่อมีการขุดเส้นทางลัดบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้แม่น้ำเปลี่ยนเส้นทางกว้างขึ้น ลำน้ำเดิมน้ำอ่อนแรงลงเหลือเพียงคลอง
ลำน้ำด้านล่างเราเรียกว่า คลองบางกอกใหญ่ มีคลองจขุดเพื่อทำสงครามลัดไป ตรงนี้มีวัดตั้งอยู่ เลยเรียกว่า "วัดปากน้ำ"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 23:58

จนเมื่อในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าให้ขุดคลองภาษีเจริญขึ้น ก็โปรดให้ขุดบริเวณเหนือวัดปากน้ำเล็กน้อย (จุดสีม่วง) ซึ่งบริเวณที่ขุดนี้มีระยะใกล้กับปากคลองด่านมาก ซึ่งบริเวณนี้มีชุมชนตั้งอยู่หนาแน่น คือ ย่านตลาดพลู เป็นชุมชนชาวจีน เมื่อวัดปากน้ำ มีคลองทั้งซ้ายและขวากระหนาบ ก็เลยเรียกกันว่า "วัดปากน้ำ + ภาษีเจริญ" รวมกันเป็น วัดปากน้ำภาษีเจริญ

มีเรื่องจริงในสมัยที่หลวงพ่อสดท่านได้สร้างพระผงเพื่อมอบเป็นของขวัญในการสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ท่านได้สร้างพระเนื้อผงมาจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ใครทำบุญมากเท่าใด ก็ได้พระแค่ ๑ องค์ โดยแบ่งเป็นพระไม่เลี่ยม กับ เลี่ยมกรอบเงิน ทางบ้านสายมารดาอยู่แถวบางปะกง ฉะเชิงเทรา ก็เฮโลกันมากันโดยจ้างเรือโดยสารมายังวัดปากน้ำ ใช้เวลาเดินทาง ๓ วัน เข้าคลองแสนแสบ มาออกแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ และมาถึงวัด เพื่อรับพระผงดังกล่าว ทุกคนสมัยนั้นต่างต้องมากันรับพระผงของขวัญกันอย่างมากมาย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 00:04

ข้อมูลเพิ่มเติมว่า คลองบางกอกใหญ่ ในอดีตมีด้วยกันหลายชื่อเรียก เช่นเดียวกับคลองโอ่งอ่าง ที่เรียกกันตามลำน้ำผ่านแต่ละท้องถิ่น คลองบางกอกใหญ่ก็เช่นเดียวกัน ครั้งหนึ่งเรียกว่า "คลองบางหลวง" ครั้งหนึ่งเรียกว่า "คลองวัดหนัง" ตามแผนที่แนบมานี้


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 01:56

ประกาศขุดคลองภาษีเจริญ

พ่อยิ้ม พระภาษีสมบัติบริบูรณ์
ขอประกาศให้ทราบว่า ข้าพเจ้าคิดจะขุดคลองตั้งแต่บ้านดอนกะดี แขวงเมืองสมุสาคร มาออกคลองบางกอกใหญ่ริมวัดปากน้ำ แขวงกรุงเทพฯ
เป็นทางยาว ๕๐๐ เส้นเศษ กว้าง ๗ วา ลึก ๕ ศอก จึ่งนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ความทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว
ทรงพระราชดำริว่าที่ข้าพเจ้าคิดนั้นชอบอยู่ แต่เพราะปีนี้ต้องเลิกอากรสวนใหญ่และภาษีก็เก็บไม่ได้ พระราชทรัพย์หลวงจะจ่ายมาเป็นทุน
อย่างขุดคลองอื่นๆ จะไม่พอ ข้าพเจ้าจึ่งกราบบังคมทูลว่า เมืองอื่นเขาขุดคลองไม่ต้องเอาเงินแผ่นดินใช้ เป็นแต่เขาเรี่ยไรกัน
ถ้าไม่พอเขาจึ่งขออำนาจแผ่นดินช่วย ข้าพเจ้าจึ่งออกความเห็นเป็นสองอย่างคือ
(๑) เก็บเงินจากเรือแพที่เดินเข้าออก
(๒) ตั้งโรงหวยที่เมืองนครไชยศรีและเมืองสมุทรสาคร ๓ ปีเอาเงินเป็นค่าจ้างขุด
จึ่งขอประกาศว่าใครจะเห็นอย่างไร
ลง ณ วันจันทร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 06:38

อ้างถึง
ลักษณะเสาไฟฟ้าที่ปักลงไปในคลอง
โคมไฟส่องคลองแบบโค้ง
คลองไม่กว้างเท่าไร เหมือนวิ่งเข้าไปในสวน
ไม่มีบ้านคนมากนัก และมีสภาพคล้ายโรงงานทางขวามือ
ในภาพมีเรือหางยาวขนสินค้าเกษตร


คลองเดียวกันหรือเปล่า???


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 06:47

ก่อนจะผ่านคลองแสนแสบไป ขอเอาบรรยากาศคลองนี้สมัยปู่ขวัญกับย่าเรียมยังเป็นวัยรุ่นวุ่นรักมาปิดท้ายครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 07:50

^
ท้องทุ่งบางกะปิ ในยุครัชกาลที่ ๗  สวยมาก   ชีวิตชาวบ้านดูเรียบง่าย  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ   มิน่าเล่า จึงฝังใจไม้ เมืองเดิม  จนกลายมาเป็น "แผลเก่า"
มีภาพเพื่อนร่วมรุ่นของปู่ขวัญตกปลาอยู่ซะด้วย

ขอกลับมาแนะนำคลองทวีวัฒนา
ขุดใน พ.ศ.2439  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า คลองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำท่าจีน ทั้งคลองภาษีเจริญ และคลองมหาสวัสดิ์เริ่มตื้นเขิน จึงให้ขุดคลองใหม่ขึ้นในแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อชักน้ำจากแม่น้ำท่าจีนให้ไหลลงทิศใต้ แก้ปัญหาลำคลองตื้นเขิน ดังพระราชดำรัสว่า

"อนึ่ง คลองมหาสวัสดิ์ แลคลองภาษีเจริญ แขวงเมืองนครชัยศรี ซึ่งเป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ขุดขึ้นไว้นั้น ดูตื้นเสียไปทั้งสองคลอง ..... ถ้าขุดคลองในระหว่าง ให้ตลอดถึงกัน คงจะชักกับแก้ให้หายตื้นไปได้..... บัดนี้คลองนั้นก็สำเร็จแล้ว เป็นระยะคลองยาว 340 เส้น ให้ชื่อว่า "คลองทวีวัฒนา"..... แลบัดนี้ก็ยังได้ขุดต่อไป ..... ไปออกบ้านสี่พระยา แม่น้ำเมืองนครชัยศรี ระยะทาง 540 เส้น ด้วยเห็นว่าเป็นทุ่งว่างไม่มีไร่นา แลเป็นทางตรง สายน้ำจะเป่าลงมาในคลองทวีวัฒนาแรง ได้ลงมือขุดในเดือน 8 นี้แล้ว แลแขวงเมืองสุพรรณกับกรุงเก่าต่อกัน ที่นั้นทำนาเกือบจะต่อถึงกันแล้ว..... ถ้าการนี้สำเร็จทุ่งนาเมืองสุพรรณ กับแขวงกรุงเก่าก็เป็นอันติดต่อกัน"

คลองทวีวัฒนา เริ่มต้นจากคลองภาษีเจริญในรอยต่อเขตบางแคและเขตหนองแขม ขุดเป็นเส้นตรงไปในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านเขตทวีวัฒนา ออกจากกรุงเทพมหานคร เป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอบางกรวย บางใหญ่ และไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี กับอำเภอพุทธมณฑล และอำเภอบางเลนไปสิ้นสุดที่แม่น้ำท่าจีน ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีความยาว 35.2 กิโลเมตร
เนื่องมาจากลำคลองในละแวกนั้นล้วนแต่ขุดอยู่ในแนวตะวันออกสู่ตะวันตก ชาวบ้านจึงเรียกว่า คลองขวาง เพราะมีทิศทางขวางคลองอื่นๆ จำนวนมาก ส่วนช่วงจังหวัดนนทบุรี และนครปฐม นิยมเรียกว่าคลองนราภิรมย์ ตามชื่อวัดนราภิรมย์ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองในจังหวัดนครปฐม

ขอโฆษณาฟรีๆให้คลองทวีวัฒนา ว่าเป็นคลองที่ยังมีสภาพดีมาก     ถ้าใครอยากขับรถเที่ยวชานเมืองไปดูคลอง  ก็ลองขับเลียบคลองทวีวัฒนาดู   ข้างคลองยังมีบ้านริมคลอง ปลูกในเนื้อที่กว้างเป็นสัดส่วน  มีศาลาท่าน้ำ   บรรยากาศเหมือนย้อนยุคไปสมัยหลังสงครามโลกจบลงใหม่ๆ ยังไงยังงั้น
ถ้าชอบเดินตลาดนัดก็ไปแวะตลาดสนามหลวง ๒  ดูรูปแบบตลาดรุ่นเก่าที่พอมีเค้าตลาดประตูน้ำบ้าง   ซื้อต้นไม้ไทยๆกลับไปปลูกที่บ้าน   ราคาถูกกว่าในเมืองค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 07:53

รูปในค.ห. 160 ของท่านนวรัตน   ดิฉันดูไม่ออกว่าคลองเดียวกันหรือเปล่า   เพราะตัวเองเป็นประเภทถามได้ ตอบไม่ได้   อายจัง
บอกได้แต่ว่าคลองนี้มี 2 ชื่อ   และเป็นคลองแยกจากคลองบางกอกน้อย ค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 08:16

อ้างถึง
คลองด่านแถวสมุทรปราการหรือเปล่าครับ

ไม่ใช่ค่ะ

ชานเมืองคนละทิศกันเลย...อุ๊บ..ใบ้มากไปแล้ว


คลองสรรพสามิตตรงแถวแหลมฟ้าผ่าหรือเปล่าครับ

เพิ่งเคยได้ยินชื่อคลองสรรพสามิต ที่เรียกว่าแหลมฟ้าผ่าอยู่ไหนคะ
ขอประทานโทษที่ช้า เพราะคำถามสั้นก็จริงแต่ต้องตอบยาว
 
คลองด่านจากสมุทรปราการไปชลบุรี คนเกิดสมัยสงครามเลิกใหม่ๆคงคุ้นเพราะถนนสุขุมวิทวิ่งเลียบทะเลขนานคลองไป คนกรุงใช้เป็นเส้นทางที่ไปเที่ยวบางแสนและพัทยากัน ภาพคลองกว้างน้ำนิ่ง บ้านเรือนอยู่ด้านเดียวของคลองมียอจับปลาอยู่หน้าบ้านแบบในรูปปริศนาจึงคุ้นตามาก

ครั้นทายไปแล้วผิด ท่านใบ้ว่าอยู่คนละทิศ เมื่อไม่ใช่ทิศตะวันออกก็น่าจะเป็นทิศตะวันตกที่มีคลองประเภทเดียวกัน ตัดจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปแม่น้ำท่าจีน
คลองนั้นชื่อคลองสรรพสามิต คนกรุงไม่ค่อยรู้จักเพราะสมัยก่อนเดินทางไปยาก ตั้งอยู่ตำบลแหลมฟ้าผ่าที่มีสถานที่สำคัญคือป้อมพระจุลจอมเกล้า


ประวัติเขาว่าไว้ดังนี้

เมืองสามสมุทร คือ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เป็นเมืองที่มีแม่น้ำหลักหลายสายเช่น แม่น้ำท่าจีนที่สมุทรสาคร แม่น้ำแม่กลองที่สมุทรสงคราม และมีเครือข่ายคลองธรรมชาติและคลองขุดเชื่อมโยงติดต่อกันประมาณ 300 คลอง สามารถเดินทางเข้า-ออกกรุงเทพฯ ด้วยคลองเหล่านี้ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 4 นอกจากโปรดให้เมืองสมุทรสาครเป็นหัวเมืองสำหรับการเรียกระดมพลเวลาเกิดศึกสงครามและตั้งให้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลแล้ว ยังมีชาวจีนที่ทำการค้าและได้รับสัมปทานในการทำกิจการต่างๆ เช่น รังนก อ้อย น้ำตาล ฝิ่น เป็นต้น บางคนรับราชการได้ดีเป็นพระยา เช่น เจ้าสัวยิ้มหรือพระภาษีเจริญ เสนอให้รัชกาลที่ 4 ขุดคลองจากสมุทรสาครเข้าสู่กรุงเทพฯ เพื่อให้พ่อค้าที่ได้รับสัมปทานในกิจการต่างๆ ทางภาคใต้ เช่น รังนกที่ชุมพร อ้อย น้ำตาล ฝิ่น สามารถขนส่งสินค้าเข้ากรุงเทพฯ ได้สะดวก แต่รัชกาล 4 ทรงตอบว่าไม่มีเงินที่จะจ้างขุดคลอง เจ้าสัวยิ้มจึงเสนอว่าให้เก็บเงินจากเรือแพที่เดินทางเข้า-ออก และตั้งโรงหวยที่เมืองนครชัยศรีและสมุทรสาคร 3 ปี เพื่อระดมทุนมาเป็นค่าจ้างในการขุด ในที่สุด ร.4 โปรดให้พระยาพิสณฑ์เป็นแม่กองขุดคลองสายนี้ในปี พ.ศ. 2410 เรียกว่า “คลองภาษีเจริญ” โดยเริ่มขุดคลองบางกอกน้อยที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ตรงไปทางทิศตะวันตกสู่แม่น้ำนครชัยศรี และต่อไปจนถึงแม่น้ำที่จีนที่ตำบลดอนไก่ดี อ.กระทุ่มแบน แล้วเลี้ยวซ้ายลงใต้สู่สมุทรสาคร หรือถ้าจะไปสมุทรสงครามให้ตรงไปทางทิศตะวันตก คลองภาษีเจริญมีความยาว 26 กม. กว้าง 14 เมตร ลึก 2.5 เมตร

ต่อมาทรงโปรดให้ขุดอีกหนึ่งคลองที่บ้านแหลมฟ้าผ่า สมุทรปราการหรือปากน้ำ โดยขุดคลองกว้างประมาณ 15 เมตร ระยะทางยาวประมาณ 30 กิโลเมตร เรียกว่า “คลองสรรพสามิต” ซึ่งเริ่มขุดที่บ้านแหลมฟ้าผ่า ตรงไปทางทิศตะวันตกจนถึงแม่น้ำที่จีน ในปัจจุบันนี้สามารถเดินเรือจากกรุงเทพฯ ในแม่น้ำเจ้าพระยาลงไปทางทิศใต้ ถึงปากน้ำเลี้ยวขวาเข้าคลองสรรพสามิตที่ป้อมพระจุลเพื่อตรงไปทางทิศตะวันตก จากคลองสรรพสามิตเข้าแม่น้ำท่าจีนที่สมุทรสาคร ออกจากแม่น้ำท่าจีนแล้วเชื่อมด้วยเครือข่ายคลองธรรมชาติหรือคลองขุด เพื่อตรงไปตามแม่น้ำแม่กลองจนถึงสมุทรสงคราม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 20 คำสั่ง