เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 150320 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 09:53

เชิญนั่งยานเวลากลับไปประตูน้ำ ค่ะ ในช่วงกึ่งพุทธกาล

ไปตามถนนราชดำริ  ข้ามสะพานลงไป ก็จะถึงสี่แยกประตูน้ำ     ข้ามสี่แยกไป  ตลาดเฉลิมโลกอยู่ทางซ้าย  เป็นตลาดที่มีหลังคาคลุม  ไม่ใช่ตลาดกลางแจ้งอย่างสนามหลวง    ข้างในก็เหมือนตลาดต่างจังหวัด   คือมีทางเดินเล็กๆตัดประสานกัน ผ่านไปตามบูธขายของที่มีสินค้าสารพัดชนิด  
บูธสมัยนั้น เป็นบูธตื้นๆ มีสินค้าวางบนชั้นติดผนังไปจนถึงเพดาน  ไม่มีตู้กระจกอย่างบูธสมัยนี้ที่เราเดินเข้าไปดูของในร้านได้   คนซืือจะซื้ออะไรก็ยืนกันอยู่ตรงทางเดิน  หยิบของต่อรองราคากันอยู่ตรงนั้นเอง    คนเดินผ่านไปมาก็เบียดกันไป

ในตลาดมีร้านอาหาร  จำได้ว่ามีร้านขายทอดหอยและขนมผักกาด   ซึ่งน่าหวาดเสียวมาก  แม้แต่ในความรู้สึกของเด็ก  เพราะเป็นร้านที่ตั้งกระทะใหญ่ มีไฟลุกโพลงอยู่ข้างใต้ (สมัยนั้นใช้เตาถ่าน)  ผัดอะไรก็ควันโขมง เห็นเปลวไฟแลบเลีย   ถ้าเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ขึ้นมา  ตลาดจะกลายเป็นทะเลเพลิง แล้ววิ่งหาทางออกไม่ทัน  เพราะทางทุกทางแคบมาก     บูธแถวนั้นมีสินค้าติดไฟทั้งนั้นเลย อย่างพวกเสื้อผ้า   แต่ก็โชคดี ไม่เคยมีไฟไหม้สักครั้ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 11:05

เชิญนั่งยานเวลากลับไปประตูน้ำ ค่ะ ในช่วงกึ่งพุทธกาล

ไปตามถนนราชดำริ  ข้ามสะพานลงไป ก็จะถึงสี่แยกประตูน้ำ     ข้ามสี่แยกไป  ตลาดเฉลิมโลกอยู่ทางซ้าย  เป็นตลาดที่มีหลังคาคลุม  ไม่ใช่ตลาดกลางแจ้งอย่างสนามหลวง    ข้างในก็เหมือนตลาดต่างจังหวัด   คือมีทางเดินเล็กๆตัดประสานกัน ผ่านไปตามบูธขายของที่มีสินค้าสารพัดชนิด  
บูธสมัยนั้น เป็นบูธตื้นๆ มีสินค้าวางบนชั้นติดผนังไปจนถึงเพดาน  ไม่มีตู้กระจกอย่างบูธสมัยนี้ที่เราเดินเข้าไปดูของในร้านได้   คนซืือจะซื้ออะไรก็ยืนกันอยู่ตรงทางเดิน  หยิบของต่อรองราคากันอยู่ตรงนั้นเอง    คนเดินผ่านไปมาก็เบียดกันไป

ในตลาดมีร้านอาหาร  จำได้ว่ามีร้านขายทอดหอยและขนมผักกาด   ซึ่งน่าหวาดเสียวมาก  แม้แต่ในความรู้สึกของเด็ก  เพราะเป็นร้านที่ตั้งกระทะใหญ่ มีไฟลุกโพลงอยู่ข้างใต้ (สมัยนั้นใช้เตาถ่าน)  ผัดอะไรก็ควันโขมง เห็นเปลวไฟแลบเลีย   ถ้าเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ขึ้นมา  ตลาดจะกลายเป็นทะเลเพลิง แล้ววิ่งหาทางออกไม่ทัน  เพราะทางทุกทางแคบมาก     บูธแถวนั้นมีสินค้าติดไฟทั้งนั้นเลย อย่างพวกเสื้อผ้า   แต่ก็โชคดี ไม่เคยมีไฟไหม้สักครั้ง

เห็นภาพบรรยากาศตลาดยุคเก่าน่าเดินจังเลยครับ การทำอาหารก็ใช้เตาถ่าน อาคารคงหอมอร่อยกว่าสมัยนี้  ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 11:30

ร้านขายหอยทอดและขนมผักกาดที่ว่านั้น  ได้นั่งเสี่ยงตายกินอยู่หลายครั้ง เพราะจะซื้อกลับไปบ้าน มันก็จะเย็นชืดกินไม่อร่อย  เตาไมโครเวฟก็ยังไม่ถือกำเนิดมาในโลก     
จะเป็นเพราะตอนนั้นเป็นเด็ก กินอะไรก็ดีไปหมดหรือไงไม่รู้   แต่รู้สึกว่าไม่เคยกินหอยทอดที่ไหนอร่อยเท่าที่ตลาดประตูน้ำ 
ขนมผักกาดในสมัยนั้นขายคู่กับหอยทอดค่ะ ไม่ใช่หอยทอด ผัดไทย อย่างเดี๋ยวนี้  ออส่วนเป็นยังไงไม่รู้จัก  น่าเสียดายว่าเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นขนมผักกาดแล้ว



กินเสร็จแล้วเดินต่อ  จะแยกซ้ายแยกขวาก็ได้ เพราะในที่สุดเลี้ยวไปเลี้ยวมา ก็จะพบทางกลับมาตามทางเดิม  หรือจะไปออกด้านถนนเพชรบุรีก็ได้ 
ตลาดประตูน้ำส่วนใหญ่ขายพวกเครื่องใช้ อย่างเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า    ไม่มีตลาดสด  ถ้าจะซื้อผักซื้อหมูต้องไปอีกทางหนึ่ง จำไม่ได้แล้วว่าขายอยู่ตรงไหน
ในยุคนั้นช็อปปิ้งเซนเตอร์ยังไม่มี  ซูเปอร์มาเก็ตก็ยังไม่มี   เซนทรัลเป็นห้างอยู่ที่วังบูรพา ขายอะไรไม่รู้ ซึ่งไม่อยู่ในความสนใจของเด็ก    สินค้าอุปโภคบริโภคจึงมีแหล่งอยู่ตามตลาดใหญ่ๆทั่วไป     ช่วงที่เป็นพระยาน้อยชมตลาดอยู่นี้ เป็นช่วงก่อนเกิดศูนย์การค้าที่ซอยเกษร หรือถนนเกษรในปัจจุบัน

ที่จำได้อีกอย่างคือตลาดประตูน้ำแม้ว่าภายในคับแคบ เบียดเสียด เพราะทางเดินนิดเดียว  บูธสินค้าก็แออัดติดกันไปทุกหนทุกแห่ง  แต่สามารถเดินได้โดยไม่รู้สึกว่าขาดอากาศหายใจ     และไม่ร้อนจนเหงื่อแตก    แม้ว่าบางบูธ คนขายตั้งพัดลมเล็กๆเอาไว้เป่าให้ตัวเอง  แต่ก็ไม่ได้เผื่อคนซื้อ    แต่ก็เดินได้นานๆเป็นชั่วโมงโดยไม่เห็นมีใครที่ไหนเป็นลมหน้ามืด หรือบ่นว่าร้อนทนไม่ไหว   เพียงแต่มันไม่เย็นสบายเท่านั้นเองค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 13:07

เพื่อจะลากเรื่องกลับเข้าหัวข้อกระทู้   ขอเล่าต่อว่าประตูน้ำนอกจากคลองบางกะปิ(หรือคลองแสนแสบ)แล้ว ไม่เห็นคลองอื่นแถวนั้นอีก  จากประตูน้ำไปมักกะสันมีแต่ถนนเหมือนสมัยนี้     ส่วนถนนเพชรบุรีที่ผ่านประตูน้ำไปด้วนแค่ซอยชิดลม    เวลาไปจ่ายของที่ประตูน้ำ ขากลับบ้าน  เส้นทางใกล้ที่สุดคิอข้ามสะพานชิดลมผ่านบ้านท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงครามตรงเชิงสะพาน ไปออกถนนเพลินจิต 
ส่วนถนนเพชรบุรีตัดใหม่เดิมเป็นอะไร  ขอตอบว่าเป็นทุ่งนา    เมื่อตัดถนนครั้งแรก เพชรบุรีตัดใหม่ไปสิ้นสุดแค่ซอยเอกมัย  สองข้างทางเป็นทุ่งนาว่างๆ มีแต่ถนนสายกว้างตัดเข้าไปกลางทุ่ง   มีแต่คลองแสนแสบเท่านั้นยังอยู่เหมือนเดิม   พอความเจริญไล่ตามมาอย่างรวดเร็วในทศวรรษ 2510   รัฐบาลจอมพลถนอมตกลงให้กองทัพอเมริกันมาตั้งสนามบินที่อู่ตะเภาและตาคลี เพื่อรบในสงครามเวียตนาม    เพชรบุรีก็กลายเป็นแหล่งหย่อนใจของทหารจีไอทั้งหลาย   มีแต่บาร์กับไนท์คลับ    คนไทยโดยเฉพาะผู้หญิง ไม่ย่างกรายเข้าไปที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่เลยในตอนกลางคืน   มีแต่ผู้หญิงทำงานที่นั่นเท่านั้นที่ไปกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 13:11

คลองแสนแสบ


บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 14:45

อ.เทาชมพู บอกว่า

อ้อ อีกอย่างหนึ่ง สมัยดิฉันเด็กๆ เขตจากสุขุมวิทซอย 1 ไปจนสะพานพระโขนง    ไม่มีใครเรียกว่าสุขุมวิท  เขาเรียกกันว่า"บางกะปิ

นั่นน่ะสิคะอาจารย์ ทำไมบางกะปิถึงย้ายที่ไปได้ ตอนสร้าง รร.แอมบาสเดอร์ ใหม่ ๆ ยังมีศูนย์อาหารชื่อ "บางกะปิ เทอเรส"
ธนาคารกรุงเทพ ฝั่งตรงข้าม ก็ยังใช้ชื่อ สาขา "บางกะปิ" ถึงทุกวันนี้

แล้วอ่าน ๆ ไป คลองบางกะปิ ด้านหลัง ก็กลายเป็น คลองแสนแสบ ไปเสียนี่

บางกะปิ ปัจจุบันมาจากไหนคะ แล้วไฉนจึงมาแย่งชื่อ "ทุ่งบางกะปิ" ของอ้ายขวัญกับอีเรียม ไปได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 14:51

อ.เทาชมพู บอกว่า

อ้อ อีกอย่างหนึ่ง สมัยดิฉันเด็กๆ เขตจากสุขุมวิทซอย 1 ไปจนสะพานพระโขนง    ไม่มีใครเรียกว่าสุขุมวิท  เขาเรียกกันว่า"บางกะปิ

นั่นน่ะสิคะอาจารย์ ทำไมบางกะปิถึงย้ายที่ไปได้ ตอนสร้าง รร.แอมบาสเดอร์ ใหม่ ๆ ยังมีศูนย์อาหารชื่อ "บางกะปิ เทอเรส"
ธนาคารกรุงเทพ ฝั่งตรงข้าม ก็ยังใช้ชื่อ สาขา "บางกะปิ" ถึงทุกวันนี้

แล้วอ่าน ๆ ไป คลองบางกะปิ ด้านหลัง ก็กลายเป็น คลองแสนแสบ ไปเสียนี่

บางกะปิ ปัจจุบันมาจากไหนคะ แล้วไฉนจึงมาแย่งชื่อ "ทุ่งบางกะปิ" ของอ้ายขวัญกับอีเรียม ไปได้

ที่มาของ คำว่า "บางกะปิ" ไม่ได้เกิดจากหมู่บ้านทำกะปิกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่เกิดจากชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่แถวนี้ โดยมักกะสัน มาจากแขกมักกะสันที่ก่อกบฏสมัยอยุธยาเป็นต้น สำหรับพื้นที่บริเวณหัวหมาก บางกะปิ ชาวมุสลิมอยู่มาก ได้ทำ "หมวกกอปิเยาะ" หรือ "หมวกกะปิเยาะ" ซึ่งเป็นที่มาของ "บางกะปิ" ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 14:53

นั่นซีคะ คุณ POJA      คลองอรชรหายไปยังไม่พอ บางกะปิของดิฉันก็พลอยหายไปด้วย    ย้ายสำมะโนครัวไปอยู่เลยลาดพร้าว คลองจั่น หัวหมาก นู่นแน่ะ  
อ้ายขวัญอีเรียมจะกลับบ้านก็คงหลงทาง    จูงมือกันไปถึงม.รามคำแหงเสียก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 15:04

อ.เทาชมพู บอกว่า

อ้อ อีกอย่างหนึ่ง สมัยดิฉันเด็กๆ เขตจากสุขุมวิทซอย 1 ไปจนสะพานพระโขนง    ไม่มีใครเรียกว่าสุขุมวิท  เขาเรียกกันว่า"บางกะปิ

นั่นน่ะสิคะอาจารย์ ทำไมบางกะปิถึงย้ายที่ไปได้ ตอนสร้าง รร.แอมบาสเดอร์ ใหม่ ๆ ยังมีศูนย์อาหารชื่อ "บางกะปิ เทอเรส"
ธนาคารกรุงเทพ ฝั่งตรงข้าม ก็ยังใช้ชื่อ สาขา "บางกะปิ" ถึงทุกวันนี้

แล้วอ่าน ๆ ไป คลองบางกะปิ ด้านหลัง ก็กลายเป็น คลองแสนแสบ ไปเสียนี่

บางกะปิ ปัจจุบันมาจากไหนคะ แล้วไฉนจึงมาแย่งชื่อ "ทุ่งบางกะปิ" ของอ้ายขวัญกับอีเรียม ไปได้

ที่มาของ คำว่า "บางกะปิ" ไม่ได้เกิดจากหมู่บ้านทำกะปิกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่เกิดจากชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่แถวนี้ โดยมักกะสัน มาจากแขกมักกะสันที่ก่อกบฏสมัยอยุธยาเป็นต้น สำหรับพื้นที่บริเวณหัวหมาก บางกะปิ ชาวมุสลิมอยู่มาก ได้ทำ "หมวกกอปิเยาะ" หรือ "หมวกกะปิเยาะ" ซึ่งเป็นที่มาของ "บางกะปิ" ครับ

ที่คุณ siamese ว่า คงหมายถึง บางกะปิ ในปัจจุบัน
แล้ว บางกะปิ ของ อ.เทา ละคะ มันหายไปตอนไหน มุสลิมคงอยู่แถบสุขุมวิทมากเหมือนกัน ดูจากซอยนานา ของคุณเล็กค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 15:09

มันหายไปตั้งแต่ช่วง 1970 ค่ะ   ดิฉันไปอยู่ไกลบ้าน   ก่อนไปยังเป็นบางกะปิอยู่   กลับมาบางกะปิย้ายไปอยู่หัวหมากเสียแล้ว   มีสุขุมวิทมาแทน
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 15:16

ย้ายไปทั้งแขวง ทั้งเขตเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 15:17

จากที่สืบสวนดูคร่าวๆ นะครับ

บางกะปิที่เรารู้จักในปัจจุบันนี้
ชาวพระนครก็รู้จักกันมาอย่างน้อยในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว

โดยดูจากราชกิจจานุเบกษา เรื่องประกาศออกโฉนดที่ดิน ในทุ่งบ้านบางกะปิฝั่งใต้ ตำบลบางกะปิฝั่งใต้  แขวงเมืองกรุงเทพฯ
ซึ่งในแขวงอำเภอบางกะปิ มีตำบลลาดพร้าวด้วยครับ

พอ พ.ศ. ๒๔๕๘ ตำบลบางกะปิ ส่วนหนึ่ง ถูกโอนย้ายมาขึ้นกับตำบลคลองตัน อำเภอพระโขนง

"บางกะปิ" ที่อ้ายขวัญอีเรียมขี่ควายคลอเคลียกันนั้น ก็คงเป็นบางกะปิหัวหมากรามคำแหงปัจจุบันนี้ล่ะครับ

"คลองบางกะปิ" ในความหมายชื่อ คงหมายถึงคลองที่ตรงไปสู่ทุ่งบางกะปิกระมั้งครับ ฮืม

ประมาณว่าช่วงต้นเป็น "คลองบางกะปิ" พอช่วงปลายๆ กลายเป็น "คลองแสนแสบ"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 15:29

อ้างถึง
พอ พ.ศ. ๒๔๕๘ ตำบลบางกะปิ ส่วนหนึ่ง ถูกโอนย้ายมาขึ้นกับตำบลคลองตัน อำเภอพระโขนง
"บางกะปิ" ที่อ้ายขวัญอีเรียมขี่ควายคลอเคลียกันนั้น ก็คงเป็นบางกะปิหัวหมากรามคำแหงปัจจุบันนี้ล่ะครับ
"คลองบางกะปิ" ในความหมายชื่อ คงหมายถึงคลองที่ตรงไปสู่ทุ่งบางกะปิกระมั้งครับ

ตอนดิฉันเกิดมาจนโต  ไม่มีใครเรียกลาดพร้าวหัวหมากว่าบางกะปิ      บางกะปิที่คนกรุงเทพเรียกหมายถึงสุขุมวิทนี่ละค่ะ  ข้ามจากทางรถไฟเพลินจิตไปก็เป็นบางกะปิ
ท้องทุ่งบางกะปิอยู่ลึกเข้าไปในซอยต่างๆของสุขุมวิท      อ้ายขวัญอีเรียมก็อยู่ท้องทุ่งบางกะปิที่สุขุมวิทนี่ละค่ะ    ขวัญมาตามเรียม ผ่านประตูน้ำ    สองคนนี่เคยเล่นน้ำกันในคลองแสนแสบ จนเรียมฆ่าตัวตายก็คลองแสนแสบ
ถ้าสองคนนี่อยู่แถวรามคำแหง  วันๆจะลงทุนวิ่งโอลิมปิค    ตัดทุ่งจากหัวหมากมาเล่นน้ำในคลองแสนแสบ แล้ววิ่งกลับบ้านเชียวหรือ   
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 15:47

พบหลักฐานมาใหม่อีกข้อหนึ่ง

"บางกะปิ"

แต่สมัยโบราณนั้นมีอาณาเขตรวมตั้งแต่ พญาไทฝั่งสามเสนนอก คลองกุ่ม บึงกุ่ม ห้วยขวาง ลาดพร้าว วังทองหลาง
มักกะสัน คลองตัน ไปจนจรดถึงติดเมืองมีนบุรี โน้นน่ะครับ
ถือว่าเป็นอาณาเขตกว้างใหญ่ทีเดียว
(น่าจะใหญ่กว่าทุ่งบางเขน แถวบ้านผมมากนัก)

พอสมัยกึ่งพุทธกาล (สมัยอาจารย์เทายังเด็กๆ ) บางกะปิช่วงพญาไท ก็ถูกยกฐานะเป็นเขตพญาไท
ต่อมาก็ถูกแบ่งหั่นซอยไปเรื่อย ตั้งเป็นเขตนั่น แขวงนี่ จนเหลือพื้นที่เพียงปัจจุบันนี้

อ้ายขวัญอีเรียมของเราก็ไม่รู้ว่ามีเคหสถานอยู่ช่วงไหนในทุ่งบางกะปิ เพราะมันกว้างขวางมากนัก ยิงฟันยิ้ม

ปล. นอกจากจะมีเขตบางกะปิแล้ว ยังมีแขวงบางกะปิอยู่ในเขตห้วยขวางด้วยครับ
ซึ่งอยู่ใกล้พญาไทกว่า (เขต) บางกะปิ ถึงครั้งต่อครึ่ง
จนผมคิดว่านี่คือที่มาของชื่อ "คลองบางกะปิ" ที่แท้จริงหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 15:59

อยู่ใกล้คลองแสนแสบค่ะ  สองคนนี่ตายในคลอง  ฉากตอนนั้นก็เป็นถิ่นเดิมของขวัญและเรียม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง