เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 149824 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 11:10

ชัดเจนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 11:51


แม้ว่าจะผ่านมา 29 ปี แล้ว ดิฉันก็ยังชอบที่จะเรียก "คลองหลอด" มากกว่า "คลองคูเมืองเดิม"
รวมทั้งชื่อ "คลองรอบกรุง" ที่แก้ไขจาก "คลองโอ่งอ่าง" ในวาระเดียวกันด้วย
ผู้เฒ่าไม่รู้จัก และไปบอกเด็กปากคลองก็ไม่รู้เรื่อง อาจเป็นเพราะใช้ชื่อนี้กันมานานกว่า 100 ปีแล้ว

ชื่อ คลองคูเมืองเดิม ฟังดูไม่มีความหมาย เหมือนกับเป็นชื่อเรียกไปพลาง ๆ คั่นเวลา ก่อนมีชื่อจริง  คลองรอบกรุงก็เช่นกัน
น่าจะเปรียบได้กับ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ก่อนจะใช้ชื่อ ถนนวิภาวดี-รังสิต
ถนนวงแหวน ก่อนจะใช้ชื่อ ถนนกาญจนาภิเษก


ไปเจอที่มาของชื่อคลองคูเมืองเดิม   เลยเอามาฝากค่ะ
สมัย กรุงธนบุรี มีการขุดคูเมือง โดยที่เรียกว่า คลองคูเมืองเดิม (Khlong Khu Mueang Doem) เป็นคลองขุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรี ซึ่งกินอาณาเขตเลยมาทางด้านฝั่งพระนคร โดยโปรดฯ ให้ขุดคูเมืองออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ด้านใต้ที่ปากคลองตลาด ดินจากการขุดคลองโปรดให้พูนขึ้นเป็นเชิงเทิน ตั้งค่ายไม้ทองหลางทั้งต้นตลอดแนวคลองเพือป้องกันข้าศึก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โปรดให้ขุดคูเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตราชธานี คลองคูเมืองเดิมจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมของราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นคูเมืองอีกต่อไป

ประชาชนเรียกชื่อคลองนี้ตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวง เรียก "คลองโรงไหมหลวง" ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดที่คึกคักทั้งบนบกและในน้ำ จึงเรียก "ปากคลองตลาด" ส่วนตอนกลางระหว่างคลองหลอดวัดราชนัดดา (คลองหลอดข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม) กับคลองหลอดวัดราชบพิธ ได้มีประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. 127 ให้เรียกว่า "คลองหลอด" ซึ่งหมายถึงคลองที่อยู่ระหว่างคลองหลอดทั้งสอง แต่ภายหลังคนทั่วไปมักเรียกคลองนี้ตลอดสายว่า "คลองหลอด"

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=686973
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 12:15

ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง เปลี่ยนชื่อคลองหลอดและคลองโอ่งอ่าง


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 18:38

มาตามคำบอกกล่าวของคนชวนให้ลงคลองร้องเพลงเรือ

อ่านหนังสือเพลินๆ พบประวัติ "คลองไผ่สิงโต" ดังนี้

เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างจีนขุด ตั้งแต่คลองราชดำริทะลุออกคลองเตยโดยยาว ๑๐๐ เส้น
ปากกว้าง ๔ วา พื้นคลองกว้าง ๑๐ ศอก ลึก ๓ คืบ ค่าจ้างขุด ๒ ศอก ๔ เหลี่ยม ละ ๓๔ อัฐ จีนลงมือขุดในเดือนมิถุนายน ร.ศ. ๑๒๒
ถึงวันที่ ๖ พฤษภาคม ๑๒๓ จีนผู้รับเหมาทำผิดสัญญา กระทรวงเกษตรอนุญาตให้เลิกสัญญา กรมคลองได้จัดการขุดต่อมา
จนวันที่ ๑๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓ แล้วเสร็จ สิ้นพระราชทรัพย์รวม ๒๗,๖๔๓ บาท

(จาก ประวัติกระทรวงเกษตราธิการ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 18:55

งั้นช่วยบรรเลงเพลงยาวอีกสักนิดว่า "จุดประสงค์ในการขุดคลองไผ่สิงโต" เพื่อประโยชน์อะไร เขาได้กล่าวไว้หรือไม่ครับ ฮืม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 19:04

งั้นช่วยบรรเลงเพลงยาวอีกสักนิดว่า "จุดประสงค์ในการขุดคลองไผ่สิงโต" เพื่อประโยชน์อะไร เขาได้กล่าวไว้หรือไม่ครับ ฮืม

"ในรัชกาลปัจจุบันนี้ (รัชกาลที่ ๕) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า การเพาะปลูกและการค้าขายเป็นการสำคัญ
ที่บ้านเมืองจะมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นทันสมัย ย่อมอาศรัยมีทางน้ำและทางบกไปมาได้โดยสะดวก จึ่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จ่ายพระราชทรัพย์ให้เจ้าพนักงานจัดการจ้างจีนขุดคลองต่างๆ ขึ้นในพระราชอาณาเขตหลายคลอง
และทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เอกชน และบริษัท ขุดคลองขึ้นอีกด้วยเป็นอันมาก"

"คลองที่รัฐบาลจัดการขุดเองนั้น คือ
๑. คลองเปรมประชากร           ๒. คลองนครเนื่องเขตร์
๓. คลองประเวศบุรีรมย์           ๔. คลองท่าไข่
๕. คลองทวีวัฒนา                ๖. คลองนราภิรมย์
๗. คลองนิยมยาตรา              ๘. คลองเปร็ง
๙. คลองไผ่สิงโต"

"คลองที่เอกชนขุดนั้น คือ
๑. คลองอุดมชลจร             ๒. คลองหลวงแพ่ง
๓.  คลองพระราชาพิมล        ๔. คลองบางพลีใหญ่
๕. คลองเจริญ"

"คลองที่บริษัทขุดนั้น คือ
๑. คลองรังสิตประยุรศักดิ์"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 20:36

เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างจีนขุด ตั้งแต่คลองราชดำริทะลุออกคลองเตยโดยยาว ๑๐๐ เส้น


ประมาณพ.ศ. 2500  ตอนเด็กๆ ผ่านสี่แยกราชประสงค์บ่อย เพราะใกล้โรงเรียน   จำได้ว่ามีคลองเล็กๆ แทบจะเรียกว่าคูข้างถนน  เลียบถนนราชดำริฝั่งด้านหน้าเซนทรัลด์เวิร์ลด์  ทอดไปจนถึงสะพานเฉลิมโลกที่ข้ามคลองแสนแสบไปสี่แยกประตูน้ำ
แต่คลองนี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับถนนเพลินจิต     ถนนเพลินจิตไม่มีคลองแล้ว  คลองมีอีกทีก็เลียบทางรถไฟทางเพลินจิตฝั่งใต้
พออ่านของคุณหนุ่มสยาม เลยสงสัยว่าคลองเล็กๆที่เห็นคือส่วนที่หลงเหลือ และขาดเป็นช่วงๆของคลองไผ่สิงโตหรือไม่?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 21:11

เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างจีนขุด ตั้งแต่คลองราชดำริทะลุออกคลองเตยโดยยาว ๑๐๐ เส้น


ประมาณพ.ศ. 2500  ตอนเด็กๆ ผ่านสี่แยกราชประสงค์บ่อย เพราะใกล้โรงเรียน   จำได้ว่ามีคลองเล็กๆ แทบจะเรียกว่าคูข้างถนน  เลียบถนนราชดำริฝั่งด้านหน้าเซนทรัลด์เวิร์ลด์  ทอดไปจนถึงสะพานเฉลิมโลกที่ข้ามคลองแสนแสบไปสี่แยกประตูน้ำ
แต่คลองนี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับถนนเพลินจิต     ถนนเพลินจิตไม่มีคลองแล้ว  คลองมีอีกทีก็เลียบทางรถไฟทางเพลินจิตฝั่งใต้
พออ่านของคุณหนุ่มสยาม เลยสงสัยว่าคลองเล็กๆที่เห็นคือส่วนที่หลงเหลือ และขาดเป็นช่วงๆของคลองไผ่สิงโตหรือไม่?

คลองที่ อ.เทาชมพูเคยไปช้อนลูกน้ำ คือ "คลองราชดำริห์" ครับ เป็นคลองที่ขนานกับถนนราชดำริ ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างคลองถนนตรง (ปัจจุบันคือถนนพระราม ๔) กับ คลองบางกะปิ ลำคลองอยู่ฝั่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตรงไปข้างสนามม้าปทุมวัน ผ่านหน้าโรงแรมเอราวัณ ตรงไปสี่แยกราชประสงค์ ผ่านไปหน้าวังเพชรบุรณ์ และไปออกข้างสะพานเฉลิมโลก ๕๓ ซึ่งปากคลองราชดำริห์ ฝั่งคลองบางกะปิ (ประตูน้ำ) นำมาให้ชมครับ

เคยได้ยินเขาเล่ากันว่า ถนนราชดำริ พร้อมคลองนี้ ร่มรื่นมากมาย มีต้นไม้ก้ามปูขนาดใหญ่เติบโตอยู่สองข้างทาง ต่อมามีรถรางวิ่งไปหยุดแค่ประตูน้ำ ต่อมามีลูกนักการเมืองขับรถยนต์ชนต้นก้ามปูถึงแก่กรรม ทำให้ผู้ใหญ่ท่านนั้นสั่งให้ตัดต้นไม้ใหญ่ออกจากถนนราชดำริเสียสิ้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 21:30

อ้างถึง
ต่อมามีลูกนักการเมืองขับรถยนต์ชนต้นก้ามปูถึงแก่กรรม ทำให้ผู้ใหญ่ท่านนั้นสั่งให้ตัดต้นไม้ใหญ่ออกจากถนนราชดำริเสียสิ้น

ได้ยินว่าเป็นต้นก้ามปูริมถนนพหลโยธิน แถวๆมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน นะครับ ว่าแต่ว่า เป็นประมาณพ.ศ.ไหนล่ะ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 21:43

ต้นก้ามปูที่ถูกตัด คือ แนวถนนพหลโยธินมิใช่หรือคะ ลูกจอมพลประภาสค่ะ ชนต้นไม้ ชาวเกษตรอย่างดิฉัน เลยนั่งรถตากแดดไปเรียน เพราะต้นไม้หายไปมาก

ถนนราชดำริที่วิ่งช้อนลูกน้ำนั้น ยังทันเห็นคลองค่ะ เวลาจะไปเสียค่าน้ำประปาตรงถนนราชดำริ สมัยนั้น ต้องข้ามสะพานเข้าไป เช่นเดียวกับไป ร.พ.จุฬา จะมีสะพานไม้ให้ข้ามคลองไปค่ะ

ต้นก้ามปู ก็ยังอยู่ให้ร่มเงา เวลาอยากจะอ่านหนังสือที่ AUA ขี่จักรยานจากบ้านไป ไม่ร้อนเลยค่ะ ไม่ได้ถูกตัดทิ้งอย่างที่เข้าใจนะคะ

จะถามบ้างว่า....คลองอรชร หลังโรงเรียนเตรียมอุดม ริมถนน อังรีดุนังค์ นั่น เป็นคลองจากไหนถึงไหนคะ เพราะ ตอนที่เห็นนั้น คลองไม่มีน้ำแล้ว และ บางตอนก็ถูกถมเสียด้วย 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 21:44

ดีใจที่ได้เห็นรูปนี้    บริเวณนี้เคยเป็นโลเคชั่นที่ " ดอกไม้สด" สร้างไว้ในตอนจบของนวนิยายเรื่อง "นิจ"   บ้านของพระเอกนางเอกอยู่ที่ถนนราชดำริ ใกล้สะพานเฉลิมโลก  บรรยายภาพพระเอกนางเอกมาตักบาตรในตอนเช้าตรู่   ได้บรรยากาศสงบและงดงามมาก  ใครอยากรู้ว่าราชดำริในรัชกาลที่ ๗ เป็นยังไงก็ขอให้ไปอ่านนวนิยายเรื่องนี้ดูนะคะ

ดิฉันเข้าใจผิด    เรียกคลองบางกะปิเป็นคลองแสนแสบ     มีเพื่อนร.ร.เดียวกันอยู่คนหนึ่ง  เคยไปส่งเธอตอนร.ร.เลิก  เธอจะให้จอดรถที่เชิงสะพานเฉลิมโลกแล้วเดินลงไปทางใต้สะพาน  ตรงนั้นเป็นทางคอนกรีตเล็กๆ  บ้านเธอคงอยู่ริมคลองหลังตึกแถวนั่นเอง ในคลองมีเรือประทุนแบบนี้จอดอยู่ใต้สะพาน

ตรงตึกแถวริมถนนราชดำริที่เห็นในรูป  ยังอยู่มาจนถึงราวทศวรรษ 2500-2510   ก่อนจะรื้อไป  เป็นตึกแถวสองชั้น ทาสีเหลืองอ่อนๆ   ค่อนข้างเงียบเหงา ไม่คึกคัก  ด้านล่างเปิดเป็นร้านขายอะไรเล็กๆน้อยๆ   จำได้ว่ามีร้านหนึ่งเป็นร้านอาหารไทย  ที่มีเจ้าของเป็นผู้หญิงวัยกลางคน  แต่งตัวเรียบร้อย พูดจาดีแบบไทยๆ  ทั้งร้านมีเธอคนเดียว   ทำเอง ขายเอง  และเสิฟเองด้วย

ถนนสายนี้ไม่ได้ทอดยาวเป็นแนวระนาบ  แต่ว่าค่อยๆยกสูงขึ้นเมื่อใกล้สะพาน   ขอให้สังเกตตึกแถวว่าสูงต่ำต่างกันเล็กน้อยตามถนน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 21:48

อ้างถึง
ต่อมามีลูกนักการเมืองขับรถยนต์ชนต้นก้ามปูถึงแก่กรรม ทำให้ผู้ใหญ่ท่านนั้นสั่งให้ตัดต้นไม้ใหญ่ออกจากถนนราชดำริเสียสิ้น

ได้ยินว่าเป็นต้นก้ามปูริมถนนพหลโยธิน แถวๆมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน นะครับ ว่าแต่ว่า เป็นประมาณพ.ศ.ไหนล่ะ

จำเหตุการณ์ได้ค่ะ  และจำได้ว่าเป็นถนนนอกเมือง ไปทางดอนเมืองค่ะ      ราวๆพ.ศ. 2505-2506 ประมาณนี้  
ผู้ตายเป็นนายทหารยศร้อยโท   มีคู่หมั้น ใกล้จะแต่งงานกัน  ก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตเสียก่อน   เป็นข่าวใหญ่พาดหัวน.ส.พ.ทุกฉบับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 22:22

ขอบคุณครับ ในการที่ให้คำชี้แจงเรื่องอุบัติเหตุดังกล่าว

เรื่องคลองอรชร ที่คุณร่วมฤดี ได้นึกถึงขึ้นมา ในฐานะที่เป็นศิษย์เก่า ตอ. เช่นเดียวกัน ก็ได้รู้ว่าเดิมมีตลองอรชร แต่ดูแผนที่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้

แนวคลองอรชร คือ ถนนบรรทัดทองในปัจจุบันครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 22:36

คลองอรชร ไม่ใช่ถนนอังรี ดูนังต์ในปัจจุบันหรือคะ? ตกใจ
เมื่อดิฉันเข้าร.ร.เตรียมอุดมศึกษา    มีร.ร.เตรียมอุดมอีกแห่งหนึ่งชื่อร.ร.เตรียมอรชรถูกยุบเลิกไป    เหลือแต่ตัวอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ๒ หลัง    พวกสายศิลป์ของร.ร.เตรียมฯก็เลยถูกย้ายไปเรียนที่นั่นแทน    ส่วนตึกต่างๆด้านถนนพญาไท พวกสายวิทย์เรียนกันทั้งหมด
ร.ร.เตรียมอรชรอยู่ริมถนนอังรี ดูนังต์ ค่ะ

ดิฉันก็เลยเป็นหนึ่งในนร.เตรียมที่ไม่รู้จักว่าตึกอะไรต่อมิอะไรของร.ร.เตรียม คือตึกไหนบ้าง    เพราะไม่เคยเรียนที่นั่น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 22:40

ถนนอังรีดูนังต์ เดิม ถูกเรียกว่า ถนนสนามม้า และคลองที่ขนานกับถนนดังกล่าว คือ คลองสนามม้า ซึ่งทอดยาวผ่านหลังโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ไปจนถึงถนนพระราม ๑ (บริเวณแยกเฉลิมเผ่า) เข้าไปหลังวัดปทุมวนาราม และไปออกยังคลองบางกะปิ

เนื่องจากแผนที่อ้างอิงนี้หยิบยกจากราชกิจจานุเบกษาครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง