เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 149823 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 22:32

มีเรื่องคลองที่น่าสนใจเพราะเกี่ยวกับพระราชประวัติรัชกาลที่ 4 เมื่อแรกจะเสด็จจากวัดบวร เข้าไปประทับในพระบรมมหาราชวัง

เคยอ่านพบว่า ขบวนอัญเชิญเสด็จนั้น เป็นขบวนเรือ สามารถแล่นไปถึงวัดบวรได้ทีเดียว ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบัน ตรงนั้น ไม่มีคลองเหลือให้นึกภาพได้เลย มีแต่คลองบางลำภูเท่านั้น ซึ่งก็อยู่นอกแนวกำแพงพระนครเสียด้วย

คุณ Siamese พอจะหาแผนที่มาทำลายอวิชชาของดิฉันได้ไหมคะ

คลองหน้าวัดบวรฯ เคยมีครับ ผมได้นำแผนที่ให้ชมดังนี้

๑. จากพระบรมมหาราชวัง เสด็จออกท่าเรือราชวรดิฐ ขึ้นเหนือเลี้ยวเข้าคูเมืองเดิม ซึงไปได้ ๒ ทาง ไปถึงวัดได้ทั้งคู่

๒. อีกแนวหนึ่งก็ตามแนวคูเมืองเดิม แต่วิธีที่สองนี้คงไม่สะดวก เนื่องจากขึ้นจากคลองแล้วต้องต่อทางบกครับ

๓. แนวนี้สะดวกที่สุดครับ เข้าทางคลองผดุงกรุงเกษม เลี้ยวขวาเข้าวัดบวรนิเวศได้เลยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 22:35

จากภาพนี้เป็นแนวคลองหน้าวัดบวรนิเวศ ครับคุณร่วมฤดี ภายหลังถูกถมกลายเป็นช่วงเกาะกลางถนนครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 05:46

จากภาพนี้เป็นแนวคลองหน้าวัดบวรนิเวศ ครับคุณร่วมฤดี ภายหลังถูกถมกลายเป็นช่วงเกาะกลางถนนครับ

ได้เห็นภาพนี้แล้วก็ดีใจ สมใจอยากที่ได้รอคอยมาหลายปี
ผมคิดว่าคลองหน้าวัดบวรฯ ตามภาพ น่าจะเป็นคลองรามบุตรีหรือเป็นคลองที่เชื่อมมาจากคลองรามบุตรี ที่กลายภาพเป็นถนนรามบุตรีไปแล้วในปัจจุบัน
และพระจอมเกล้าฯ ท่านได้ใช้เส้นทางคลองรามบุตรีนี้เสด็จฯ จากพระบรมมหาราชวังมายังวัดบวรนิเวศ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 08:39

ผังเมืองกรุงเทพที่คุณหนุ่มนำมานี้ ทำในพ.ศ.ไหนนะครับ
คลองโบราณต่างๆนี้ยังอยู่ครบ

คลองหน้าวัดบวรฯ(ผมว่าน่าจะเรียกว่าคลองข้างวัดบวรฯนะครับ) เป็นแนวเชื่อมต่อกับคลองรามบุตรีที่ถูกถมเป็นถนนไปเช่นกัน ไม่ทราบว่าตั้งแต่สมัยใด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 08:59

ผังเมืองกรุงเทพที่คุณหนุ่มนำมานี้ ทำในพ.ศ.ไหนนะครับ
คลองโบราณต่างๆนี้ยังอยู่ครบ

คลองหน้าวัดบวรฯ(ผมว่าน่าจะเรียกว่าคลองข้างวัดบวรฯนะครับ) เป็นแนวเชื่อมต่อกับคลองรามบุตรีที่ถูกถมเป็นถนนไปเช่นกัน ไม่ทราบว่าตั้งแต่สมัยใด

ใช้แผนที่ระวางฉบับสำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ซึ่งเริ่มสำรวจทำแผนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ครับ แผนที่ระวางนี้วาดละเอียดมาก บอกตำแหน่งสถานที่สำคัญ ถนน ทุ่งนา คลอง ป้อมปราการ กำแพงพระนครได้อย่างประทับใจครับ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:01

คุณหนุ่มสยามนี่ เป็นบุคคลที่เรือนไทยจะต้องรักษาไว้ให้ดี ๆ นะคะ หาไม่ได้แล้ว ข้อมูลและภาพดีเลิศประเสริฐศรีจริง ๆ ค่ะ

ดิฉันสงสัยอีกค่ะ ตกลงคลองบางลำภู คดเคี้ยว และเลี้ยวกลับไปหาวัดชนะสงครามด้วยหรือคะ แทนที่จะวิ่งขนานไปกับแนวคูเมืองเดิม และ กำแพงเมือง ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้าน ที่เรียกกันว่า คลองโอ่งอ่าง

และ ขอความกรุณาคุณหนุ่้มสยามสงเคราะห์อีกสักครั้งว่า

อ้างถึง
๓. แนวนี้สะดวกที่สุดครับ เข้าทางคลองผดุงกรุงเกษม เลี้ยวขวาเข้าวัดบวรนิเวศได้เลยครับ

อันนี้เลี้ยวตรงไหนคะ เพราะปัจจุบันดิฉันไม่เห็นอะไรเหลือให้เลี้ยวได้เลยอ่ะค่ะ

ภาพประวัติศาสตร์ที่เห็นแนวคลองหน้าวัดบวรนี้ ต้องช่วยกันเก็บรักษาไว้นะคะ หายากเหลือเกิน ตามประวัติศาสตร์ ต้นรัชกาลที่ 4 ทรงลาสิกขาแล้ว ลงเรือไปกับข้าหลวงเดิม(ไม่ทราบเรียกถูกไหม) เพื่อเดินทางเข้าพระบรมมหาราชวัง มีกันไม่กี่คนเท่านั้น ขบวนไม่ใหญ่โตอะไร แต่พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ ทรงมีบุญญาธิการเหลือล้น ทั้งทางโลกและทางธรรม

 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:03

คลองถม = คลองถมจักรวรรด์ = อดีตคลองวัดสามปลื้ม

นิราศชมตลาดสำเพ็ง ของนายบุศย์ เมื่อต้นรัชกาลที่ ๖ ระบุว่า

๏ ถึงหน้าวัดนามเรียกสามปลื้ม   แทบจะลืมกลับหวนรัญจวนหา
ถึงโฉมตรูคู่ปลื้มดื่มวิญญา         ทุกเวลาปลื้มทรวงด้วยดวงใจ
ปลื้มสิ่งอื่นหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน อย่างแม่เพื่อนปลื้มจิตพิสมัย
จากที่ปลื้มลืมลาเหลืออาลัย      หมองฤทัยจรจรัลเที่ยวผันแปร ฯ

๏ ถึงสะพานหินผินหน้าเที่ยวหาน้อง แต่มองมองไม่เห็นนางไปห่างแห
อาลัยมิตรขนิษฐาสุดตาแล        ได้แต่ชมหญิงอื่นไม่ชื่นใจ
นามเรียกสะพานหินถวิลคิด        ขอน้ำจิตน้องรักเป็นหลักไหล
อย่าหูเบาเฝ้าแหนงระแวงไป       ถึงผู้ใดยุยงอย่าหลงลม
จงพกหินไว้กับอกอย่าพกนุ่น      ถ้าเฉียวฉุนวู่วามไม่งามสม
จะรวนเรเสน่หาสมาคม              ด้วยอารมณ์นารีไม่จีรัง
คิดถึงรักปักเข็มไว้เต็มแน่น         ยังคลอนแคลนคลาดเคลื่อนไม่เหมือนหวัง
พอเข็มครากรากทรุดก็หลุดพัง     ลงเซซังต้องใส่เอาไม้จุน
ไม่เหมือนอย่างโฉมศรีขอพี่แล้ว   ลงรากแก้วไม่ยะเยื้อนออกเคลื่อนหมุน
หญิงทุกวันฉันระอามักทารุณ       เที่ยวว้าวุ่นแต่ข้างทางเกเร ฯ


สะพานหินดังกล่าว ปัจจุบันไม่มีผู้ใดรู้จักกันแล้ว เนื่องด้วยเป็นทางเดินเรียบตลอดถนนวานิช ๑ ซึ่งมีหนังสือเล่มหนึ่งได้ระบุพิกัดที่ตั้งสะพานหินแห่งนี้ไว้ว่า

“จากคำบอกเล่าของพระครูถิน คณะ ๕ วัดสามปลื้มเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕ ท่านพระครูมีบ้านเดิมที่อยุธยา เมื่อบวชเรียนแล้วมาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ร่วม ๖๐ ปี และมีโอกาสถามถึง “สะพานหิน” ท่านพระครูก็ตอบในทันทีว่า คือ จุดที่ถนนสำเพ็ง ตัดกับถนนมหาจักร หรือปัจจุบันเป็นสี่แยกเล็กๆ สุดมุมวัดด้านตะวันออกพอดี

ซึ่งถนนมหาจักร นี้เดิมเป็นคลองวัดสามปลื้ม เลียบข้างวัดเรื่อยไปผ่านถนนเจริญกรุง ถนนหลวง เลียบข้างโรงพยาบาลกลางและไปออกคลองมหานาค ต่อมาราว พ.ศ. ๒๔๗๐ มีการถมคลองทำถนน จึงเรียกอย่างสามัญว่า คลองถมจักรวรรดิ หรือเรียกว่า ถนนจักรวรรดิ ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น ถนนมหาจักร และเรียกกันอย่างติดปากว่า คลองถม และมีการขยายถนนคลองถมจักรวรรดิ์ อีกครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ จากถนนกว้าง ๑๐ เมตรเพิ่มเป็น ๑๕ เมตร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:09

คุณหนุ่มสยามนี่ เป็นบุคคลที่เรือนไทยจะต้องรักษาไว้ให้ดี ๆ นะคะ หาไม่ได้แล้ว ข้อมูลและภาพดีเลิศประเสริฐศรีจริง ๆ ค่ะ
 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:24

^
น่าร้ากจิงๆ ให้ดิ้นตาย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:26

น้องแิอนเขาพูดว่าอย่างไร คุณหนุ่ม

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:28

น้องแิอนเขาพูดว่าอย่างไร คุณหนุ่ม

 ยิงฟันยิ้ม

ทำน้ำเสียงสั่นเครือ "ม ม ม ไม่..."
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:30

ขอขยายคำอธิบายภาพหน่อยครับ เดี่ยวคุณร่วมฤดีจะเข้าใจผิดไปใหญ่

คลองบางลำพู คือเส้นประสีแสดที่ผมทำขึ้นใหม่ ไม่ใช่เส้นประสีเหลืองนะครับ
คลองบางลำพูเป็นคลองเดียวกับคลองโอ่งอ่าง นับจากปากคลองที่อยู่บริเวณป้อมพระสุเมรุ พอลอดสะพานผ่านฟ้าแล้ว จะเปลี่ยนไปเรียกว่าคลองโอ่งอ่าง จนทะลุปากคลองอีกด้านหนึ่งแถวราชวงศ์น่ะครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:35

มาต่อเรื่องคลองบางลำภู ที่คุณร่วมฤดีท่านสงสัยมานานแสนนาน

ผมให้แผนที่อีกระวางหนึ่ง เนื่องจากมีการเขียนลดทอดคลองเล็ก ๆ ๆ ออกเหลือแต่คลองหลักที่น่าจะพายเรือน้ำลึก เรือเข้าได้ให้ชมครับ

ต่อที่ข้อสงสัยว่า จากคลองบางลำภู (คลองโอ่งอ่าง) ลอดเข้ามายังประตูเมือง (ตรงนี้เรียกว่า ตลาดยอด ขายทุเรียนชั้นเลิศ ใครไปมาต้องมาซื้อที่นี่ หมอนทองไม่มีขายนะครับ มีแต่ กำปั่น พวงมณี กินแบบสุกตูดระเบิด ปลาร้ากันนะครับ  ยิงฟันยิ้ม) เข้ามายังวัดบวรนิเวศได้เลยครับผม ซึ่งตรงกับการอธิบายในข้อที่ ๓ นะครับ

เมื่อคลองข้างวัดบวรนิเวศเข้ามายังกำแพงพระนครแล้ว (ปัจจุบันคือถนนรามบุตรี) ก็จะเลยไปต่อกับคลองที่ขุดไว้รอบวัดชนะสงคราม สาขาหนึ่งไปออกทางคลองคูเมืองเดิมได้ ซึ่งคลองเชื่อมนี้คือ "คลองโรงไหม" ของทางฝ่ายวังหน้าเขาครับ


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:47

ถ้าเช่นนั้น คุณหนุ่มสยามคงเขียนผิดไป แทนที่จะเป็นคลองผดุงกรุงเกษม ควรจะแก้เป็นคลองบางลำภู ถูกไหมคะ

นี่ค่ะ หลักฐานที่ทำให้งง
อ้างถึง
๓. แนวนี้สะดวกที่สุดครับ เข้าทางคลองผดุงกรุงเกษม เลี้ยวขวาเข้าวัดบวรนิเวศได้เลยครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 11:01

ถ้าเช่นนั้น คุณหนุ่มสยามคงเขียนผิดไป แทนที่จะเป็นคลองผดุงกรุงเกษม ควรจะแก้เป็นคลองบางลำภู ถูกไหมคะ

นี่ค่ะ หลักฐานที่ทำให้งง
อ้างถึง
๓. แนวนี้สะดวกที่สุดครับ เข้าทางคลองผดุงกรุงเกษม เลี้ยวขวาเข้าวัดบวรนิเวศได้เลยครับ

โอว..ใช่ครับที่จริงต้องเป็นคลองบางลำภู หรือ คลองโอ่งอ่าง ขอรับ  อายจัง

คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองที่ขุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ เนื่องจากต้องการขยายอาณาเขตพระนครออกไปอีก ๑ ชั้นและสร้างป้อมปราการ แต่ไม่มีกำแพงพระนคร ทั้งนี้การขุดคลองผดุงกรุงเกษม มีประโยชน์ในด้านการเปิดที่ดินตาบอดต่างๆให้เกิดความสะดวกในการทำสวน ทำนาได้มากขึ้น ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.109 วินาที กับ 20 คำสั่ง