เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 150372 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



 เมื่อ 18 พ.ค. 11, 20:50

จากอดีตที่เคยได้ฉายาว่า เวนิสตะวันออก เราเคยสัญจรกันด้วยคูคลอง มีท่าน้ำกันทุกบ้าน

มาวันนี้ แทบไม่เหลือร่องรอยให้เห็น น่าเสียดายนัก

ใครมีความรู้ มีแผนที่ เรื่องราวเกี่ยวกับคูคลองในกรุงเทพ

ขอเรียนเชิญมาให้ความรู้ไว้เป็นสมบัติแผ่นดินจะเป็นประโยชน์มาก

บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 20:56

แนวคลองที่เห็นใน VDO รถไฟสายปากน้ำนี้ เป็นคลองอะไรกันแน่ คอลงบางจาก หรือ คลองที่แล่นตามแนวถนนพระราม 4



ใครทราบกรุณาเฉลยหน่อยค่ะ

ดิฉันติดใจกับภาพชีวิตชีวาริมคลองและความร่มรื่นในยุคนั้นมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พ.ค. 11, 21:06 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 21:05

ไม่มีแผนที่  และไม่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับคูคลองในกรุงเทพ กี่มากน้อย   เพราะเมื่อจำความได้ กรุงเทพก็หมดความเป็นเวนิสตะวันออกเสียแล้ว    แต่คูยังมีให้เห็นข้างถนนหลายสาย   รวมทั้งถนนวิทยุที่คุณร่วมฤดีไปช้อนลูกน้ำยามว่างด้วยค่ะ

ขอเจิมกระทู้ด้วยรายชื่อคลองในบัญชีคลอง  ท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร์ศก 121 พ.ศ. 2484 ทั้งฝั่งพระนคร และฝั่งธนบุรี  ดังนี้

ฝั่งพระนคร

    คลองบางซื่อ                                   จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคันคลองประปา
    คลองสามเสน                                  จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลองบางกระสัน
    คลองเปรมประชากร                            จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองบางซื่อ
    คลองผดุงกรุงเกษม                            จากปากคลองทางเหนือ ถึงปากคลองทางใต้
    คลองบางลำพู                                 จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปากคลองมหานาค
    คลองโอ่งอ่าง                                  จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปากคลองมหานาค
    คลองตลาด                                    จากปากคลองทางทิศเหนือ ถึงปากคลองทางให้
    คลองวัดเทพธิดา                              จากคลองตลาด ถึงคลองโอ่งอ่าง
    คลองวัดราชบพิธ                              จากคลองตลาดถึงคลองโอ่งอ่าง
    คลองมหานาค                                 จากคลองบางลำพู ถึงคลองผดุงกรุงเกษม
    คลองบางกะปิ                                  จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ (หลักเขตที่ 6)
    คลองหัวลำโพง                                จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองเตย
    คลองสวนหลวง                                จากคลองนางหงษ์ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองอรชร                                     จากคลองบางกะปิ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองราชดำริ                                  จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระราม 4
    คลองไผ่สิงห์โต                               จากคลองราชดำริ ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองสีลม                                     จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองสาธร                                    จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองหัวลำโพง
    คลองขื่อหน้า                                  จากคลองบางกะปิ ถึงคลองสามเสน
    คลองวัดใหม่                                  จากคลองบางซื่อ ถึงวัดใหม่ทองเสน
    คลองข้างกรมช่างแสง                        จากคลองบางซื่อ ถึงโรงเรียนทหารสื่อสาร
    คลองบางกระบือ                              จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลองวัดน้อย
    คลองวัดน้อย                                  จากคลองเปรมประชากร ถึงปลายคลองบางกระบือ
    คลองบางทองหลาง                          จากคลองสามเสน ถึงถนนองครักษ์
    คลองส้มป่อย                                  จากคลองสามเสน คลองบางกะปิ ถึงถนนราชวัตรเก่า ถนนเพชรบุรี
    คลองอั้งโล่                                    จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงโรงพยาบาลวชิระ
    คลองวัดส้มเกลี้ยง                            จากแม้น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนขาว
    คลองวัดราชาธิวาส                           จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนสามเสน
    คลองบ้านญวน                                จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนสามเสน
    คลองบางขุนพรหม                            จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ถึงถนนวิสุทธิกษัตริย์ หลังโรงเรียนนายร้อยทหารบก
    คลองวัดมงกุฏกษัตริย์ (คือ มกุฏกษัตริย์)    จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงหลังวัดมงกุฏกษัตริย์
    คลองวัดโสมนัสวิหาร                          จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนจักรพรรดิพงษ์ หลังวัดโสมนัสวิหาร
    คลองวัดตรีทศเทพ                            จากคลองบางลำพู ถึงหลังวัดตรีทศเทพ และจากคลองบางลำพู ถึงข้างวัดตรีทศเทพ
    คลองบ้านหล่อ                                 จากคลองบางลำภู ถึงถนนวิสุทธิกษัตริย์
    คลองวัดปริณายก                              จากคลองบางลำพู ถึงหลังวัดปริณายก
    คลองจุลนาค                                   จากคลองมหานาค ถึงถนนนครสวรรค์
    คลองวัดคอกหมู                               จากคลองมหานาค ถึงหลังวัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค)
    คลองวัดสมณานัมบริหาร (คือวัดญวน)       จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนพิษณุโลก และจากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงหลังวัดสมณานัมฯ
    คลองลำปรัก                                   จากคลองวัดสมณานัมฯ ถึงคลองวัดขื่อหน้า
    คลองวัดรังษี                                   จากคลองบางลำพู ถึงถนนดินสอ
    คลองวัดบวรนิเวศน์                            จากคลองบางลำพู ถึงถนนบ้านแขก
    คลองนางชี                                     จากคลองมหานาค ถึงสะพานแม้นศรี
    คลองวัดเทพศิรินทร์                           จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงถนนพลับพลาไชย
    คลองศาลเจ้าเก่า                              จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงถนนทรงวาด
    คลองวัดปทุมคงคา                            จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงวัดปทุมคงคา
    คลองวัดสระบัว                                 จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระรามที่ 1
    คลองนางหงษ์                                 จากคลองบางกะปิ ถึงคลองวัดสระบัว
    คลองข้าวัดใหม่                                จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระรามที่ 1
    คลองพญาไท                                  จากคลองบางกะปิ ถึงถนนเพชรบุรี
    คลองสวนน้อย                                 จากคลองบางกะปิ ถึงตำบลพญาไท
    คลองซุง                                        จากคลองบางกะปิ ถึงถนนเพลินจิต
    คลองบางกระสัน                               จากคลองบางกะปิ ถึงคลองสามเสน
    คลองเตย                                      จากปากคลองหัวลำโพง ถึงปลายคลอง
    คลองหัวลำโพงเก่า                           จากตรงตรอกสะพานสว่าง ถึงถนนสี่พระยา
    คลองช่องนนทรีย์                             จากถนนสี่พระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 9-10
    คลองข้างบ้านหมอเฮย์                        จากคลองสีลม ถึงคลองสาธร
    คลองข้างป่าช้าจีน                             จากคลองสาธร ถึงป่าช้าจีน
    คลองวัดยานนาวา                             จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง
    คลองกรวย                                     จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 10-11
    คลองบางขวาง                                จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 10-11
    คลองบ้านใหม่                                 จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ หลักเขตที่ 10-11
    คลองสวนหลวง                               จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง
    คลองวัว                                        จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสุเหร่าแขก
    คลองบางคอแหลม                            จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงปลายคลอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 21:09

ฝั่งธนบุรี

    คลองบางกอกน้อย                      จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองบางขุนเทียน                      ตั้งแต่สี่แยกคลองมอญ ถึงคลองบางกอกน้อย
    คลองลัดบางขุนสี                       จากคลองบางขุนศรี ถึงคลองบางกอกน้อย
    คลองบางขุนนนท์                       จากคลองบางกอกน้อย ถึงคลองลัดบางขันสี
    คลองวัดมะ                              จากคลองบางขุนสี  ถึงคลองบางขุนนนท์
    คลองมอญ                               จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสี่แยกบางกอกใหญ่
    คลองบ้านขมิ้น                          จากคลองมอญถึงทางรถไฟสายบางกอกน้อย
    คลองวัดอรุณ                            จากคลองมอญ ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
    คลองวัดราชสิทธิ                        จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองวัดอรุณ
    คลองวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม ปัจจุบัน)                 จากคลองบางใหญ่ ถึงคลองมอญ
    คลองบางกอกใหญ่                     จากแมน้ำเจ้าพระยา ถึงสี่แยกปากคลองมอญ
    คลองวัดบุปผาราม                      จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองสาน
    คลองกุดีจีน                             จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองวัดบุปผาราม
    คลองสาน                               จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่
    คลองสมเด็จ                            จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองสาน
    คลองบางไสไก่                         จากแม่น้ำเจ้าพระยา   ถึงคลองบางกอกใหญ่
    คลองบางลำภูล่าง                      จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่
    คลองต้นไทร                            จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางไส้ไก่
    คลองบางน้ำชล                         ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางกอกใหญ่
    คลองบางสะแก                         จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงคลองบางค้อ
    คลองบางค้อ                            จากคลองดาวคะนอง ถึงคลองด่าน
    คลองด่าน                               จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองดาวคะนอง                        จากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองบางหว้า                           จากคลองด่าน ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองภาษีเจริญ                         จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองบางจาก                           จากคลองบางกอกใหญ่ ถึงสุดเขตเทศบาล
    คลองวัดประดู่                           จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองบางจาก
    คลองวัดปรก                             จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองด่าน
    คลองรางบัว                              จากคลองภาษีเจริญ ถึรงคลองบางหว้า
    คลองวัดเพลง                            จากคลองภาษีเจริญ ถึงคลองวัดปรก
    คลองตาแผลง                           จากคลองด่าน ถึงคลองรางบัว

    มาร่วมวงแค่นี้ก่อนค่ะ  มากกว่านี้ก็ต้องเป็นของผู้รู้ในเรือนไทย      ขอถอยไปนั่งตรงหัวบันได รอแขกทยอยกันเข้ามา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 21:38

เส้นทางคลองสายหลักที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ (หลังจากการลงนามในสนธิสัญญาบาวริ่งแล้ว)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 21:54

คลองหลักต้นกรุงรัตนโกสินทร์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 พ.ค. 11, 22:07

แผนที่ระวางปี ๒๔๕๒ ด้านตะวันออกของกรุงเทพ มีคลองหลัก ๔ คลอง

๑. คลองสามเสน ด้านเหนือ
๒. คลองบางกะปิ อยู่ทางใต้
๓. คลองประแจจีน อยู่คู่ขนานกับถนนประแจจีน (ถนนเพชรบุรี)
๔. คลองพญาไท เป็นคลองเชื่อมระหว่าง คลองสามเสน - คลองบางกะปิ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 08:16

คลองสายหลักที่ขุดในรัชกาลที่ ๔ ยังอยู่    ไม่แน่ใจคลองเดียวคือคลองวัดสุทัศน์ว่ายังอยู่หรือเปล่า  นึกหน้าตาไม่ออกค่ะ

คลองผดุงกรุงเกษม ในอดีต


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 08:18

คลองผดุงกรุงเกษมในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 08:21

คลองโอ่งอ่างหรือคลองบางลำพู


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 08:29

คลองที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองคูเมืองเดิมกับคลองรอบกรุง เรียกสั้นๆว่า คลองหลอด ซึ่งคลองมาจากลักษณะของคลองที่เล็กและตรงเท่ากันตลอดสาย ทำหน้าที่ชักน้ำระหว่างคลอง คลองหลอดที่กรุงเทพฯ มี ๒ คลอง คือ
                  คลองหลอดแรก เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมบริเวณใกล้วัดบุรณศิริอมาตยาราม ผ่านวัดมหรรณพารามวรวิหาร ออกคลองรอบกรุงบริเวณวัดเทพธิดาวรวิหาร บางครั้งเรียกชื่อคลองตามชื่อวัดว่า คลองวัดเทพธิดา หรือ เรียกตามสถานที่ที่คลองหลอดผ่าน เช่นคลองวัดบุรณศิริฯคลองวัดมหรรณพฯและคลองวัดราชนัดดา เป็นต้น
                  คลองหลอดที่สอง เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมบริเวณใกล้วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวรวิหาร ผ่านวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร ออกคลองรอบกรุงบริเวรสะพานถ่าน บางครั้งเรียกชื่อคลองตามชื่อวัดว่า คลองวัดสุทัศน์หรือเรียกตามสถานที่ที่คลองหลอดสายนี้ผ่าน คลองสะพานถ่าน คลองวัดราชบพิธฯ เป็นต้น
                  คลองหลอดทั้งสองนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นหลังจากขุดคลองรอบกรุงแล้ว ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นเส้นทางคมนาคมสัญจรติดต่อค้าขายของราษฎร และราษฎรพากันเรียกคลองทั้งสองว่าคลองหลอด ตามลักษณะของคลอง
                  ในสมัยต่อมาชื่อคลองหลอดถูกนำไปเรียกคลองคูเมืองเดิม ทั้งนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอันเนื่องมาจากประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) ให้แบ่งระยะเรียกชื่อคลองคูเมืองเป็น ๓ ตอน ตอนกลางคือระยะจากปากคลองหลอดวัดราชนัดดาถึงปากคลองหลอดวัดสุทัศน์ ให้เรียกว่าคลองหลอด จึงเรียกชื่อคลองคูเมืองเดิมทั้งสายว่าคลองหลอด
                  ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี รัฐบาลจึงมีมติเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๒๕ ให้เรียกชื่อคลองทั้งหลายให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คลองหลอดทั้งสองจึงได้ชื่อว่า คลองหลอดวัดราชนัดดารามและคลองหลอดวัดราชบพิธ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 08:35

อ้างถึง
แนวคลองที่เห็นใน VDO รถไฟสายปากน้ำนี้ เป็นคลองอะไรกันแน่ คอลงบางจาก หรือ คลองที่แล่นตามแนวถนนพระราม 4

สมัยเด็กๆผมเคยทันนั่งรถไฟสายปากน้ำครั้งหนึ่ง คุณยายเอาไปเป็นเพื่อนนั่งจากสถานีที่อยู่ตรงถนนพระราม๔ ตรงข้ามกับสถานีหัวลำโพงไปเยี่ยมลุง ซึ่งเป็นนายทหารเรือคุมนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนนายเรือ สมุทรปราการ รถไฟสายนี้คุ้นๆกับผมมาก เมื่อใดที่ไปค้างที่บ้านน้าเพื่อเล่นสนุกกับพวกพี่ๆที่ซอยสุภางค์(สุขุมวิท๓๔) หลังบ้านยังเป็นทุ่งนาอยู่ ปลายทุ่งจะมองเห็นรถไฟสายนี้วิ่งผ่านเป็นประจำ ดูเหมือนอยู่ใกล้ๆ

ที่ท้าวความมานี้ มิได้หมายความว่าผมจะรู้ว่าคลองเลียบทางรถไฟที่คุณร่วมฤดีถามว่าชื่ออะไร แต่จะเดาว่าคงเป็นคลองที่เกิดจากการขุดดินขึ้นมาทำแนววางรางรถไฟ อันเป็นวิธีปฏิบัติปกติในการตัดถนนในสมัยนั้นเช่นกัน คลองหรือคูข้างถนนนี้เมื่อแรกจะถูกใช้ประโยชน์เป็นทางสัญจรของชาวบ้านมากกว่าถนนเสียอีก เพราะคนส่วนใหญ่จะมีเรือ ไม่มีรถ ต่อเมื่อความเจริญเกิดมากขึ้น เทศบาลก็จะหางบมาถมคูคลองแล้วขยายถนน เป็นสูตรเช่นนี้ ตามบ้านนอกก็ยังใช้อยู่

ครั้นเป็นวัยรุ่นใกล้จะเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ผมเคยไปกับแม่ เพื่อเยี่ยมผู้ที่แม่เคารพนับถือท่านหนึ่ง ซึ่งหลังเกษียณอายุราชการจากกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ไปอยู่สำนักปฏิบัติธรรมเล็กๆที่ซอยอุดมสุข บางนา ตอนนั้น เมื่อนั่งรถไปสุดถนนลาดยางแล้วก็ยังต้องนั่งเรือหางยาวไปตามคูข้างถนนอีกไกลมหาไกล สงสัยจะอยู่แถวๆสวนหลวงร๙ในปัจจุบันกระมัง ถนนอุดมสุขทุกวันนี้ถูกถนนศรีนครินทร์ตัดออกเป็น๒ท่อน เจริญเป็นป่าคอนกรีตไปหมดแล้วจนหาทัศนียภาพที่เป็นทุ่งนาเขียวขจีจนสุดลูกหูลูกตาไม่เจอ สำนักปฏิบัติธรรมที่ว่านั้น เมื่อผ่านไปอีกผมเคยพยายามมองหาอยู่ก็หาไม่พบแล้ว คงย้ายหนีเข้าป่าไปอีกแล้ว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 08:50

คลองหลอดเมื่อต้นรัตนโกสินทร์ คงเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม  เป็นที่น่าภูมิใจ    จึงปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ อิเหนา ว่า
...............................             ...........................
คลองหลอดแลลิ่วสุดสายตา             น้ำลงคงคาไม่ขอดเคือง
นาวาค้าขายพายขึ้นล่อง                  ตามแม่น้ำลำคลองแน่นเนื่อง
แพจอดตลอดท่าหน้าเมือง               นองเนืองเป็นขนัดในนัที”


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 08:57

คลองสายเล็กๆนี่น่ารัก คงถูกถมเรียบร้อยแล้ว "คลองพระแก้ว" อยู่ช่วงวงเวียน ๒๒ กรกฎาคม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 09:14

อ้างถึง
แนวคลองที่เห็นใน VDO รถไฟสายปากน้ำนี้ เป็นคลองอะไรกันแน่ คอลงบางจาก หรือ คลองที่แล่นตามแนวถนนพระราม 4
เป็นคลองที่เกิดจากการขุดดินขึ้นมาทำแนววางรางรถไฟ อันเป็นวิธีปฏิบัติปกติในการตัดถนนในสมัยนั้นเช่นกัน คลองหรือคูข้างถนนนี้เมื่อแรกจะถูกใช้ประโยชน์เป็นทางสัญจรของชาวบ้านมากกว่าถนนเสียอีก เพราะคนส่วนใหญ่จะมีเรือ ไม่มีรถ ต่อเมื่อความเจริญเกิดมากขึ้น เทศบาลก็จะหางบมาถมคูคลองแล้วขยายถนน เป็นสูตรเช่นนี้ ตามบ้านนอกก็ยังใช้อยู่


คำตอบของท่านนวรัตนทำให้ดิฉันนึกออกว่าคลอง(หรือจะเรียกว่าคู) ขนาบทางรถไฟช่องนนทรีหลังบ้านดิฉันคืออะไร     ในฐานะเพื่อนบ้านของคุณร่วมฤดีผู้ไม่เคยเจอกันเลย    ขอฟื้นความหลังว่า เมื่อก่อนเป็นทางด่วน   หลังบ้านมีรถไฟสายช่องนนทรีวิ่งไปมา ระหว่างคลองเตย กับด้านถนนเพชรบุรีตัดใหม่ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้ตัด  ไปจบลงตรงไหนก็ไม่รู้เพราะไม่เคยตามไปดู  
ทางรถไฟทอดผ่านระหว่างคลองสองข้าง    แต่ตอนที่ดิฉันโตขึ้นมา ไม่มีใครใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ  มันตื้นเขิน  มีแต่ผักตบชวาขึ้นเต็มไปหมด      ความกว้างก็ประมาณซอยถนน คือเรือผ่านได้  
มานึกออกตอนนี้ ว่าคงเป็นคลองที่เกิดจากขุดดินขึ้นเป็นฐานรางรถไฟละมัง      สมัยดิฉันเด็กๆ สองข้างทางรถไฟเป็นที่โล่ง  ราวกับอยู่ในชนบท    ลมพัดแรง ทำให้บ้านเราไม่เคยต้องใช้พัดลมเลย    ตอนเย็นๆชาวบ้านแถวนั้นก็จะมาเดินเล่นบนทางรถไฟ   เด็กมาเล่นว่าวบ้าง  ผู้ใหญ่มานั่งอ่านหนังสือบ้าง  ราวกับสวนสาธารณะเล็กๆ    นานๆรถไฟมา  เปิดหวูดมาแต่ไกล  คนก็หลบลงข้างทางเสียที
แต่พอทางด่วนช่องนนทรีเกิดขึ้นมา   สภาพทั้งหมดก็หายไป    ริมทางรถไฟถูกถมราบเรียบเป็นส่วนหนึ่งของถนนทางด่วน   กั้นกำแพงสูงขนาบถนน    ทางรถไฟยังเหลืออยู่แต่มองแทบไม่เห็นแล้ว    ลมกลายเป็นฝุ่นเข้าบ้าน  ต้องติดกระจกหน้าต่างทุกบานไม่งั้นอยู่ไม่ได้  คูคลองทั้งหมดก็หายไป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 20 คำสั่ง