เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29
  พิมพ์  
อ่าน: 149843 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 20:08

อ่านดูแล้วไม่เห็นมีที่ในราชกิจจานุเบกษา กล่าวไว้ว่า ปากคลองด้านหนึ่งไปชนกับคลองเตย และปากคลองอีกด้านหนึ่งไปจรดถนนราชดำริ
อ่านออกแต่
..เจ้าพนักงาน...(ไม่ชัด) ..ทำนบที่คลองไผ่สิงโต คือที่ปากคลอง... (ไม่ชัด) ..ที่จะออกคลองเตยแห่งหนึ่ง ที่ริมถนนราชดำริแห่งหนึง..

ไม่สงสัยปากคลองที่คลองเตย แต่ สงสัยปลายคลองอีกด้านนึง จากแผนที่ของคุณหนุ่มสยามเอง คลองไผ่สิงโตมิได้หยุดแค่ถนนราชดำริ หากทะลุโรงพยาบาลจุฬาออกไปเชื่อมคลองอรชรที่ถนนอังรีดูนังต์ในแนวตั้งฉาก ทางฝั่งตะวันออก

ในราชกิจจานุเบกษาบอกแต่เพียงว่าได้ทำทำนบที่ริมถนนราชดำริ ไม่ได้บอกว่าตรงนั้นสุดคลองไผ่สิงโตสักหน่อย ทำไมทำนบจะอยู่กลางคลองไม่ได้ มีแยะไป

อ้างถึง
ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่คลองนี้จะวกขึ้นไปจรดถนนพญาไท

คลองไผ่สิงโตในจุฬาตามที่อาจารย์อุดมศรีเล่า เชื่อมในแนวตั้งฉากกับคลองอรชรทางฝั่งตะวันตก(แถวหน้าคณะอักษรศาสตร์) ห่างจากจุดที่คลองไผ่สิงโตที่มาจากถนนราชดำริมาชนคลองอรชรทางฝั่งตะวันออก(แถวหน้าคณะรัฐศาสตร์)หลายร้อยเมตรอยู่ กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ คลองไผ่สิงโตในจุฬามิได้เป็นแนวเส้นตรงต่อเนื่องกับกับคลองไผ่สิงโตที่ปรากฏตามแผนที่ แต่เป็นคลองเชื่อมคลองอรชรกับคลองพญาไท ดังนั้น ผู้ที่พายเรือมาตามคลองไผ่สิงโตจากคลองเตย(ถ้าไม่ติดทำนบที่ถนนราชดำริ)ก็จะไปทะลุออกคลองพญาไทและต่อไปถึงคลองมหานาคได้แน่นอน แม้บางช่วงคลองบางคลองจะเป็นชื่ออะไรก็ตาม

นี่คือคำตอบของคลองไผ่สิงโต ว่าขุดจากไหนไปไหน จากเอกสารตำรารายงานประจำปีของกระทรวงเกษตราธิการ กล่าวว่า คลองไผ่สิงโต เริ่มขุดในวันที่ ๒๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) โดยเริ่มตั้งแต่คลองราชดำริห์ ทะลุไปคลองเตย ยาว ๑๐๐ เส้น

จึงเป็นคำตอบว่า คลองไผ่สิงโตนั้นมีความยาว เพียง ๑๐๐ เส้นเท่านี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 20:14

เอกสารของอาจารย์ปิยนาถ บุนนาค ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องคลองไผ่สิงโตว่าการขุดคลองเริ่มจากคลองราชดำริห์ ไปทะลุออกคลองเตยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้จุดประสงค์แห่งการขุดนั้นคือ การนำน้ำเข้ามายังพื้นที่ของกรมพระคลังข้างที่ ... ตรงนี้มีจุดเริ่มต้นดังนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 20:22

การนำน้ำเข้าพระคลังข้างที่ เข้าไปทำอะไร เพื่ออะไร ..... เชิญฟัง

คลองที่หน้าคณะสถาปัตย์จุฬา มีฐานะเป็นเพียง "คูน้ำ" ที่เกิดจากการขุดคูซอยไปรอบ ๆ แปลงร่องสวนการเกษตรเท่านั้น

ย้อนไปในสมัยแรกสร้างวังกลางทุ่ง (วังวินเซอร์) เพื่อพระราชทานยังสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ แต่ทรงเสด็จสวรรคตไปก่อน ดังนั้นรัชกาลที่ ๕ จึงให้วังเป็นที่ทำการ
ของ "กระทรวงเกษตราธิการ" รวมวิชาการต่างๆ  เพื่อผลิตบุคคลากรขึ้นมา เช่น วิชาการทำแผนที่ วิชาขุดคลอง วิชาการเกษตร วิชาหม่อนไหม วิชาการเหมืองแร่
ซึ่งในพื้นที่ทั้งหมดกว้างไกลไปถึงทุ่งปทุมวัน

มีการทดลองแปลงเกษตรปลูกต้นไม้ต่าง ๆ เช่น อ้อย ข้าวโพด ข้าว ซึ่งมีการขุดคู เพื่อชักน้ำเข้าไปในท้องร่องต่างๆ มีถนนเดินได้ และก่อนที่ถนนพญาไทจะถูกตัดพาดผ่าน
เข้ามา และก่อนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะก่อตั้งขึ้น ร่องสวนแปลงนา และคู เหล่านี้ได้ถูกขุดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

มีการน้ำน้ำเข้ามาจากคลองแสนแสบ (ทิศเหนือ) และคลองถนนตรง (ทิศใต้) ส่วนคลองราชดำริ คลองไผ่สิงโต คลองสวนหลวง ก็ล้วนขุดขึ้นมาเพื่อเชื่อมน้ำให้เข้ากัน
จากเหนือสู่ใต้ และมีคูจากตะวันออกไปตก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 20:29

เมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อต้นรัชกาลที่ ๖ ที่ดินทั้งหมดนี้เป็นที่ของพระคลังข้างที่ มีการเริ่มประกวดพันธุ์ข้าวและจัดการแสดงงานพาณิชยกรรมและเกษตรกรรม ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๓ และ ๒๔๕๔
โดยมีการนำผลผลิตจากร่องสวนทุ่งปทุมวันเหล่านี้ รวมทั้งเกษตรกรทั่วพระราชอาณาจักรสยาม ไปจัดประกวดที่บริเวณหน้าวัดปทุมวนาราม อย่างยิ่งใหญ่

ดังนั้นแล้วบรรดาคูที่หน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาจึงถูกขุดมาเพื่อการเกษตร และไม่มีชื่อใด ๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 21:11

อ้างถึง
นี่คือคำตอบของคลองไผ่สิงโต ว่าขุดจากไหนไปไหน จากเอกสารตำรารายงานประจำปีของกระทรวงเกษตราธิการ กล่าวว่า คลองไผ่สิงโต เริ่มขุดในวันที่ ๒๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) โดยเริ่มตั้งแต่คลองราชดำริห์ ทะลุไปคลองเตย ยาว ๑๐๐ เส้น
จึงเป็นคำตอบว่า คลองไผ่สิงโตนั้นมีความยาว เพียง ๑๐๐ เส้นเท่านี้

อ้างถึง
เอกสารของอาจารย์ปิยนาถ บุนนาค ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องคลองไผ่สิงโตว่าการขุดคลองเริ่มจากคลองราชดำริห์ ไปทะลุออกคลองเตยเช่นเดียวกัน

แล้วในแผนผังข้างล่างนี่ คลองไผ่สิงโตมันต่อจากคลองราชดำริมาคลองอรชร(คลองสนามม้า)ได้ไงล่ะพ่อ

ก็มันคนละยุคคนละสมัยกันใช่มั้ย คลองสมัยรัชกาลที่๕จึงได้ยาวขึ้นในรัชกาลที่๖ มาในรัชกาลที่๗ที่๘ ไอ้คูที่ไม่มีชื่อ คนที่อยู่ที่นั่นเค้าก็ตั้งชื่อขึ้นมาได้อีกเหมือนกัน ทำไมจะไม่ได้ ใครห้าม ผมจึงย้ำนักย้ำหนาว่าคลองไผ่สิงโตของชาวจุฬา เริ่มต้นจากคลองอรชรหน้าคณะอักษรศาสตร์ ไปจรดคลองพญาไทที่หน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตามบทความเขียนเล่าให้ศิษย์อ่านโดยอาจารย์คณะสถาปัตย์คนหนึ่ง ก็เท่านั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 21:22

เมื่อก่อน อาจารย์คนนี้เค้าก็ทำแผนที่นี้ไว้ให้ดูชมกันเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 21:24

อ้างถึง
นี่คือคำตอบของคลองไผ่สิงโต ว่าขุดจากไหนไปไหน จากเอกสารตำรารายงานประจำปีของกระทรวงเกษตราธิการ กล่าวว่า คลองไผ่สิงโต เริ่มขุดในวันที่ ๒๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๒ (พ.ศ. ๒๔๔๖) โดยเริ่มตั้งแต่คลองราชดำริห์ ทะลุไปคลองเตย ยาว ๑๐๐ เส้น
จึงเป็นคำตอบว่า คลองไผ่สิงโตนั้นมีความยาว เพียง ๑๐๐ เส้นเท่านี้

อ้างถึง
เอกสารของอาจารย์ปิยนาถ บุนนาค ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องคลองไผ่สิงโตว่าการขุดคลองเริ่มจากคลองราชดำริห์ ไปทะลุออกคลองเตยเช่นเดียวกัน

แล้วในแผนผังข้างล่างนี่ คลองไผ่สิงโตมันต่อจากคลองราชดำริมาคลองอรชร(คลองสนามม้า)ได้ไงล่ะพ่อ


ในแผนที่รัชกาลที่ ๕ เขียนว่า คลองไผ่สิงโตเก่า...อาจจะเป็นการขุดรอบที่ ๒ หลังจากชาวจีนขุดไม่สำเร็จก็เป็นได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 21:36

ก็น่านนะซี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 21:42

ก็น่านนะซี้

แล้วอาไม่งงหรอ ถามหน่อยซิว่า คลองไผ่สิงโตไปตัดกับคลองอรชรแล้ว ยังจะหักศอกห่างกันตั้งหลายร้อยเมตรเชียวนะ แล้วยังมีชื่อเดิมอีก

ถ้าอยู่ในแนวเดียวกัน แล้วถูกคลองอรชรตัดผ่าน แล้วชื่อคลองยังคงเดิม คือ ฝั่งซ้ายและขวา เหมือนถนนโดนทางหลวงผ่ากลางยังจะดูมีเหตุผลกว่านะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 21:45

งงซี ทำไมจะไม่งง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 21:59

คือเราเกิดไม่ทันน่ะ  รุ่นปู่จุฬาท่านคิดอย่างไรเราก็ไม่รู้ อาจารย์ท่านมาเล่าให้ฟังก็ฟังไว้ จะทั้งสองหูหรือหูไว้หูก็สุดแล้วแต่ จะไปถามคนรุ่นเดียวกับท่านว่าจารย์ดมศรีท่านเบลอหรือเปล่าก็ไม่มีให้ถาม ถึงมี ท่านก็อาจจะเบลอกว่าจารย์ดมศรีของผมก็ได้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 22:13

ตามอ่านมาจนเมา แทบจะตกคลอง

สรุปว่ามีคลองไผ่สิงโต 2 คลอง  คลองหนึ่งอยู่นอกจุฬา  มาจากราชดำริไปคลองเตย  (ทุกวันนี้ยังเหลือชื่อซอยไผ่สิงโตไว้ที่คลองเตยเป็นอนุสรณ์)
อีกคลองหนึ่งตัดผ่านจุฬา มาทางคณะอักษรศาสตร์   ผ่านหน้าคณะของคุณนวรัตนไป      เรียกว่าคลองไผ่สิงโตเหมือนกัน  เป็นคลองที่เกิดจากร่องน้ำเอาไว้รดผักแต่ดั้งเดิม

ทำไมถึงเรียกคลองในจุฬาว่าคลองไผ่สิงโต แทนที่จะเรียกชื่ออื่น หรือไม่เรียกชื่อเลย  ก็ไม่รู้เหมือนกัน
รู้แต่ว่าในจุฬาเขาเรียกกันอย่างนั้น    อาจารย์ของคุณนวรัตนท่านก็เรียกไปตามนั้นเมื่อประมาณ 60-70 ปีก่อน 

ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 31 ส.ค. 13, 22:20

ใช่แล้วคร้าบ

แต่คลองที่ใช้รดน้ำผักนี่ สมัยที่คนกรุงยังใช้เรืออยู่ ก็ใช้คลองที่ว่านี้ ต่อจากคลองไผ่สิงโตจากราชดำริ มาตามคลองอรชร แล้วหักฉากสองทีเข้ามาในคลองไผ่สิงโตในจุฬา ไปออกคลองพญาไท สู่คลองมหานาคได้ด้วย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 05 ก.ย. 13, 15:42

จารย์ดมศรีของผมไม่ใช่ธรรมดานะครับขอบอก ท่านสอนผมสัปดาห์ละสองสามชั่วโมงสมัยปี๒๕๑๑ แต่เวลาผ่านไปหลายสิบปีแล้ว ผมเปลี่ยนทั้งทรงผมและเส้นรอบวงที่เอว ไปกราบท่านแล้วถามว่าจำผมได้ไหมครับ ท่านตบหลังผมป้าบใหญ่แล้วเอ่ยชื่อว่า “…(โมเสค)…ทำไมอาจารย์จะจำไม่ได้ คิดถึงนายอ๊อบ(เพื่อนรักของผมที่รถคว่ำตายไปนานแล้ว)มันนะ”

ในหนังสือที่ท่านแจก มีเรื่อง“ถนนสุขุมวิทที่เคยเห็น”ด้วย ผมอยากถ่ายทอดมาตั้งกระทู้ใหม่เสียจริงๆ คุณหนุ่มทราบไหมคลองบางกะปิของท่านน่ะ จากไปไหนไปไหน


ผมยกมือ อยากให้ อา ลงเรื่อง "ถนนสุขุมวิทที่เคยเห็น" ครับ อยากให้เพื่อน ๆ ช่วยยกมือ ยกสองมือด้วยครับ เจ้าของกระทู้จะได้มีแรง มีกำลังใจลงเรื่องดี ๆ ใหัฟัง

สนับสนุน คร้าบบบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 05 ก.ย. 13, 15:53

เข้ามากด like ค่ะ  เชิญท่านอื่นๆด้วย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 20 คำสั่ง