เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 29
  พิมพ์  
อ่าน: 149840 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 28 ส.ค. 13, 21:16

จากการดูแผนที่หลายระวาง ทำให้พอทราบว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีคลองหลัก ๆ อยู่บริเวณทุ่งนี้เป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ คือ

๑. คลองอรชร

๒. คลองถนนตรง

๓. คลองสนามม้า

๔. คลองสะพานสูง

๕. คลองไผ่สิงโต

ส่วนนอกนั้นเป็นสาขาที่ขุดขึ้นเพื่อเปิดท้องร่องเพาะปลูกเพื่อการเกษตรทั้งหมด ตัดกันเป็นตารางน้อยใหญ่ซึ่งคลองเหล่านี้จะไม่มีชื่อปรากฎแต่อย่างใด บางคลองถมไป บางคลองไม่ถม

คลองที่ไม่ถมก็เช่น คลองหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งคลองนี้ยาวออกไปที่ถนนพญาไท จะเป็นที่ตั้งของสะพานอุเทนถวาย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 28 ส.ค. 13, 21:19

คลองในจุฬาถือเป็นส่วนหนึ่งของคลองไผ่สิงโตสายใหญ่ เป็นไปได้ไหมคะ

การที่อาจารย์อุดมศรีเรียกคลองที่ผ่านคณะว่าคลองไผ่สิงโต    ท่านก็คงเรียกตามที่เรียกกันทั่วไปในจุฬา       ถ้าหากว่าคลองเส้นนี้มีชื่ออื่น ท่านสอนอยู่ที่จุฬายาวนานเป็นสิบๆปี ก็คงจะเรียกชื่อตามนั้นแล้ว  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 28 ส.ค. 13, 22:36

อ้างถึง
คลองที่ไม่ถมก็เช่น คลองหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งคลองนี้ยาวออกไปที่ถนนพญาไท จะเป็นที่ตั้งของสะพานอุเทนถวาย

^คลองนี้แหละครับ จะถูกจะผิดไม่ทราบ แต่ชาวจุฬาสมัยช่วงสงครามโลกเรียกกันว่าคลองไผ่สิงโต

อ้างถึง
การที่อาจารย์อุดมศรีเรียกคลองที่ผ่านคณะว่าคลองไผ่สิงโต    ท่านก็คงเรียกตามที่เรียกกันทั่วไปในจุฬา       ถ้าหากว่าคลองเส้นนี้มีชื่ออื่น ท่านสอนอยู่ที่จุฬายาวนานเป็นสิบๆปี ก็คงจะเรียกชื่อตามนั้นแล้ว
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 28 ส.ค. 13, 22:40


ส่วนนอกนั้นเป็นสาขาที่ขุดขึ้นเพื่อเปิดท้องร่องเพาะปลูกเพื่อการเกษตรทั้งหมด ตัดกันเป็นตารางน้อยใหญ่ซึ่งคลองเหล่านี้จะไม่มีชื่อปรากฎแต่อย่างใด บางคลองถมไป บางคลองไม่ถม

เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งขึ้นใหม่ๆ  ทิศเหนือตรงที่เป็นร.ร.เตรียมอุดมศึกษาเดี๋ยวนี้เป็นสวนผัก    แสดงว่าท้องร่องคงห่างจากตึกมหาจุฬาลงกรณ์ไปไม่กี่ก้าว     คลองไผ่สิงโตในจุฬาคงขุดขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้เอง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 07:25

จัดแผนที่บอกตำแหน่งให้ชมครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 07:31

นี่คือแนวคลองไผ่สิงโตที่แท้จริงครับ ผ่าเข้าไปในพื้นที่คณะแพทย์จุฬาฯ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 08:05

ตรงนั้นน่ะ ไม่มีใครขัดคอคุณหนุ่มสักคำ เห็นด้วยหมด

ผมเพียงแต่นำหลักฐานในหนังสือของอาจารย์เก่าในจุฬา ตั้งแต่ตัวท่านยังเป็นนิสิตรุ่นแรกๆของคณะสถาปัตย์มาเล่าให้ฟังเฉยๆว่า คลองหน้าคณะที่ไปจรดคลองอรชรนั้น ชาวจุฬาเรียกว่าคลองไผ่สิงโต(เหมือนกัน)

ถูกละ ในแผนที่ทุกฉบับทางน้ำเส้นนี้ไม่ได้ถูกระบุชื่อ อาจจะเป็นเพราะสมัยพื้นที่แถวนั้นเป็นสวนผักมันมีหลายคูคลองด้วยกัน(ซึ่งผมเชื่อว่าชาวบ้านตั้งชื่อให้ทุกเส้นนั่นแหละ แต่ช่างแผนที่ไม่จดเอง) หรือสมัยที่พระราชทานที่ดินตรงนั้นให้จุฬาแล้ว มันก็ไม่ใช่คลองสาธารณะที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคม อย่างไรก็ตามชาวจุฬาก็เรียกมันว่าคลองไผ่สิงโตด้วย อาจจะสืบมาจากที่ชาวบ้านดั้งเดิมเรียกก็ได้ ซึ่งผมไม่เชื่อว่าอาจารย์อุดมศรีจะเพี้ยนตรงนี้

เราก็เพียงแต่อ่านเป็นความรู้ไว้เท่านั้นไม่เสียหาย ถ้ามีหลักฐานอื่นมายันว่าไม่ใช่ แต่ชื่อคลอง..?... ก็จะเป็นกุศลต่อคนบางกลุ่ม(เล็กๆ)ที่สนใจเรื่องชื่อคลองสมัยโบราณอย่างเข้าเลือด(ซึ่งไม่ใช่ผม) ถ้าเพียงแต่ประท้วงว่าคลองนี้ไม่มีชื่อ ผมว่า..ปล่อยผ่านดีกว่าครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 08:31

จารย์ดมศรีของผมไม่ใช่ธรรมดานะครับขอบอก ท่านสอนผมสัปดาห์ละสองสามชั่วโมงสมัยปี๒๕๑๑ แต่เวลาผ่านไปหลายสิบปีแล้ว ผมเปลี่ยนทั้งทรงผมและเส้นรอบวงที่เอว ไปกราบท่านแล้วถามว่าจำผมได้ไหมครับ ท่านตบหลังผมป้าบใหญ่แล้วเอ่ยชื่อว่า “…(โมเสค)…ทำไมอาจารย์จะจำไม่ได้ คิดถึงนายอ๊อบ(เพื่อนรักของผมที่รถคว่ำตายไปนานแล้ว)มันนะ”

ในหนังสือที่ท่านแจก มีเรื่อง“ถนนสุขุมวิทที่เคยเห็น”ด้วย ผมอยากถ่ายทอดมาตั้งกระทู้ใหม่เสียจริงๆ คุณหนุ่มทราบไหมคลองบางกะปิของท่านน่ะ จากไปไหนไปไหน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 09:21


ในหนังสือที่ท่านแจก มีเรื่อง“ถนนสุขุมวิทที่เคยเห็น”ด้วย ผมอยากถ่ายทอดมาตั้งกระทู้ใหม่เสียจริงๆ คุณหนุ่มทราบไหมคลองบางกะปิของท่านน่ะ จากไปไหนไปไหน


คลองบางกะปิ เรียกผิดเรียกถูกกันมาหลายสมัยครับ ถ้าคุณอา ว่าง ๆ ตั้งกระทู้ก็จะเข้าไปครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 09:32

อันคลองไผ่สิงโตนั้น ในราชกิจจานุเบกษา กล่าวไว้ว่า ปากคลองด้านหนึ่งไปชนกับคลองเตย และปากคลองอีกด้านหนึ่งไปจรดถนนราชดำริ

ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่คลองนี้จะวกขึ้นไปจรดถนนพญาไท


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 20:36

อันคลองไผ่สิงโตนั้น ในราชกิจจานุเบกษา กล่าวไว้ว่า ปากคลองด้านหนึ่งไปชนกับคลองเตย และปากคลองอีกด้านหนึ่งไปจรดถนนราชดำริ

ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่คลองนี้จะวกขึ้นไปจรดถนนพญาไท
คลองในสมัยนั้นเป็นเส้นทางสัญจรเชื่อมกันไปมา      ถ้าหากว่าเส้นทางตรงจุดใดจุดหนึ่งระหว่างคลองเตยกับถนนราชดำริ  เชื่อมกันคลองที่ถนนอังรี  ซึ่งเชื่อมกับคลองในจุฬาล่ะ   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 29 ส.ค. 13, 22:39

อ่านดูแล้วไม่เห็นมีที่ในราชกิจจานุเบกษา กล่าวไว้ว่า ปากคลองด้านหนึ่งไปชนกับคลองเตย และปากคลองอีกด้านหนึ่งไปจรดถนนราชดำริ
อ่านออกแต่
..เจ้าพนักงาน...(ไม่ชัด) ..ทำนบที่คลองไผ่สิงโต คือที่ปากคลอง... (ไม่ชัด) ..ที่จะออกคลองเตยแห่งหนึ่ง ที่ริมถนนราชดำริแห่งหนึง..

ไม่สงสัยปากคลองที่คลองเตย แต่ สงสัยปลายคลองอีกด้านนึง จากแผนที่ของคุณหนุ่มสยามเอง คลองไผ่สิงโตมิได้หยุดแค่ถนนราชดำริ หากทะลุโรงพยาบาลจุฬาออกไปเชื่อมคลองอรชรที่ถนนอังรีดูนังต์ในแนวตั้งฉาก ทางฝั่งตะวันออก

ในราชกิจจานุเบกษาบอกแต่เพียงว่าได้ทำทำนบที่ริมถนนราชดำริ ไม่ได้บอกว่าตรงนั้นสุดคลองไผ่สิงโตสักหน่อย ทำไมทำนบจะอยู่กลางคลองไม่ได้ มีแยะไป

อ้างถึง
ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่คลองนี้จะวกขึ้นไปจรดถนนพญาไท

คลองไผ่สิงโตในจุฬาตามที่อาจารย์อุดมศรีเล่า เชื่อมในแนวตั้งฉากกับคลองอรชรทางฝั่งตะวันตก(แถวหน้าคณะอักษรศาสตร์) ห่างจากจุดที่คลองไผ่สิงโตที่มาจากถนนราชดำริมาชนคลองอรชรทางฝั่งตะวันออก(แถวหน้าคณะรัฐศาสตร์)หลายร้อยเมตรอยู่ กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ คลองไผ่สิงโตในจุฬามิได้เป็นแนวเส้นตรงต่อเนื่องกับกับคลองไผ่สิงโตที่ปรากฏตามแผนที่ แต่เป็นคลองเชื่อมคลองอรชรกับคลองพญาไท ดังนั้น ผู้ที่พายเรือมาตามคลองไผ่สิงโตจากคลองเตย(ถ้าไม่ติดทำนบที่ถนนราชดำริ)ก็จะไปทะลุออกคลองพญาไทและต่อไปถึงคลองมหานาคได้แน่นอน แม้บางช่วงคลองบางคลองจะเป็นชื่ออะไรก็ตาม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 30 ส.ค. 13, 09:14

คลองไผ่สิงโตในปัจจุบันเหลือร่องรอยน้อยนิด อยู่ฝั่งตรงข้ามของหอประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 30 ส.ค. 13, 09:31

ในอดีต เส้นทางลัดจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าเมืองหลวง สามารถเข้าคลองพระโขนง แล้วเลี้ยวเข้าคลองเตยไปทางคลองหัวลำโพง หักเลี้ยวขึ้นเหนือเข้าคลองไผ่สิงโต ผ่านพื้นที่ปัจจุบันเป็นโรงงานยาสูบ ซึ่งยังคงมีส่วนหนึ่งของคลองนี้ขั้นอยู่ระหว่างซอยนานาใต้(สุขุมวิท๔) พนักงานยาสูบยังคงเรียกว่าคลองไผ่สิงโตอยู่ ทะลุเรื่อยไปผ่านทางถนนสารสินสุดซอยหลังสวน ที่เมื่อก่อนมีคลองคู่ขนานกับรั้วด้านทิศเหนือของสวนลุมพินี ลอดใตัถนนราชดำริผ่านเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬา ไปออกแถวหน้าคณะรัฐศาสตร์ เลี้ยวขึ้นเหนือไปตามคลองอรชร จะเลยไปทางวัดสระปทุมไปออกคลองบางกะปิ(เดี๋ยวนี้เรียกคลองแสนแสบครอบคลุมไปหมดแล้ว)ก็ได้ หรือจะเลี้ยวซ้ายเข้าจุฬาหน้าคณะอักษรศาสตร์ ตามแนวคลองที่ชาวจุฬาเรียกคลองไผ่สิงโตเช่นกัน ไปทะลุคลองพญาไทหน้าคณะสถาปัตย์ก็ได้ จากนั้นเลี้ยวขึ้นเหนือไปออกคลองบางกะปิบริเวณเชื่อมต่อกับคลองมหานาค ก็จะเข้าถึงใจกลางพระนครได้ โดยไม่ต้องอ้อมไปเข้าทางคลองผดุงกรุงเกษม หรืออื่นๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 30 ส.ค. 13, 18:09

ตอนเด็กๆ   ตอนเย็น เมื่อออกจากร.ร.กลับบ้าน  ใช้เส้นทางซอยหลังสวน(บัดนี้เป็นถนนหลังสวน) มีคูน้ำเลียบซอยฟากตรงข้ามกับร.ร. (คือถ้าคุณเลี้ยวจากถนนเพลินจิตมาตามถนนหลังสวน  คูน้ำอยู่ทางซ้าย) คูน้ำนี้แล่นเลียบซอยซึ่งเป็นถนนลาดยางไปจนสุดซอย 
จากนั้นพอเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสารสิน  ตรงไปถนนวิทยุ  ก็จะมีกำแพงสวนลุมพินีอยู่ทางขวา  สมัยนั้นมีสระหรือควรเรียกว่าคูน้ำกว้าง อยู่นอกกำแพงสวนลุมพินี   ขนานกับถนนสารสิน   
ตามถนนวิทยุ  มีคูน้ำปรากฏให้เห็นอีกนิดหน่อยทางขวา ฝั่งเดียวกับสถานทูตอเมริกา     คงจะเป็นคูน้ำที่คุณร่วมฤดีเคยไปช้อนลูกน้ำแถวนั้น
ในยุคนั้นคลองหายไปแล้วเพราะถนนเข้ามาแทนที่  การตัดถนน ทำให้คลองขาดออกเป็นตอนๆ  เรือต่างๆสัญจรเข้าออกไม่ได้   เมื่อมีการขยายถนนเป็นสองเลน   คลองก็แคบเข้ากลายเป็นคูน้ำข้างถนน  ใช้แทนท่อระบายน้ำค่ะ
ในที่สุดเมื่อขยายถนนเพิ่มจนสุดความกว้างของเส้นทาง  คูน้ำข้างถนนก็หายไปทั้งหมด
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง