เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 149836 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 22:44

คลองอรชร ไม่ใช่ถนนอังรี ดูนังต์ในปัจจุบันหรือคะ? ตกใจ
เมื่อดิฉันเข้าร.ร.เตรียมอุดมศึกษา    มีร.ร.เตรียมอุดมอีกแห่งหนึ่งชื่อร.ร.เตรียมอรชรถูกยุบเลิกไป    เหลือแต่ตัวอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ๒ หลัง    พวกสายศิลป์ของร.ร.เตรียมฯก็เลยถูกย้ายไปเรียนที่นั่นแทน    ส่วนตึกต่างๆด้านถนนพญาไท พวกสายวิทย์เรียนกันทั้งหมด
ร.ร.เตรียมอรชรอยู่ริมถนนอังรี ดูนังต์ ค่ะ

ดิฉันก็เลยเป็นหนึ่งในนร.เตรียมที่ไม่รู้จักว่าตึกอะไรต่อมิอะไรของร.ร.เตรียม คือตึกไหนบ้าง    เพราะไม่เคยเรียนที่นั่น


ใช่ครับ นักเรียนฝ่ายศิลป์ย้ายไปเรียนตึกหน้า ตึกเก่า (ตึก ๑ ) ส่วนสายวิทย์เรียนกันแถวตึกคุณหญิงหรั่ง ทางฝั่งถนนอังรีดูนังต์ หลังตึกหรั่ง จะมีเรือนไม้เก่าๆ ยังคงค้างอยู่ครับ รุ่นพี่ก็เล่าให้ฟังว่าเคยมีคลองอรชร อยู่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 22:47

http://www.dektriam.net/TopicRead.aspx?topicID=91299&start=10

. เตรียมอุดมศึกษาพิเศษคลองอรชร เกี่ยวข้องกับเตรียมอุดมศึกษาอย่างไร?

โรงเรียนเตรียมอุมดมศึกษาพิเศษคลองอรชร เป็นโรงเรียนที่อยู่ในความดูแลช่วยเหลือของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีอ.สงวน เล็กสกุลเป็นผู้อำนวยการ อ.ลัยอาจ ภมะราภา และ อ.บุญเลื่อน เครือตราชู เป็นผช.ผู้อำนวยการ สถานที่ก่อสร้างอาคารอยู่ภายในรั้วโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ริมคลองอรชร จึงได้ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพิเศษคลองอรชร" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "เตรียมฯ อรชร" ใช้เครื่องหมายรูปโล่ หรือรูปอาร์ม ภายในมีเครื่องหมายเสมาธรรมจักร ใต้เสมามีตัวย่อ ต.พ.๔ โรงเรียนนี้เปิดสอนได้เพียง 2 ปี คือปีการศึกษา 2501 และปีการศึกษา 2502 เมื่อเริ่มปีการศึกษา 2503  กรมสามัญศึกษาได้ให้รวมกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

เรือนอรชรที่ดิฉันเรียน อยู่ริมถนนสนามม้าหรือถนนอังรี ดูนังต์     ถ้างั้นคลองอรชรอยู่ที่ไหนคะ?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 22:52

คลองอรชร ไม่ใช่ถนนอังรี ดูนังต์ในปัจจุบันหรือคะ? ตกใจ
เมื่อดิฉันเข้าร.ร.เตรียมอุดมศึกษา    มีร.ร.เตรียมอุดมอีกแห่งหนึ่งชื่อร.ร.เตรียมอรชรถูกยุบเลิกไป    เหลือแต่ตัวอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ๒ หลัง    พวกสายศิลป์ของร.ร.เตรียมฯก็เลยถูกย้ายไปเรียนที่นั่นแทน    ส่วนตึกต่างๆด้านถนนพญาไท พวกสายวิทย์เรียนกันทั้งหมด
ร.ร.เตรียมอรชรอยู่ริมถนนอังรี ดูนังต์ ค่ะ

ดิฉันก็เลยเป็นหนึ่งในนร.เตรียมที่ไม่รู้จักว่าตึกอะไรต่อมิอะไรของร.ร.เตรียม คือตึกไหนบ้าง    เพราะไม่เคยเรียนที่นั่น


ใช่ครับ นักเรียนฝ่ายศิลป์ย้ายไปเรียนตึกหน้า ตึกเก่า (ตึก ๑ ) ส่วนสายวิทย์เรียนกันแถวตึกคุณหญิงหรั่ง ทางฝั่งถนนอังรีดูนังต์ หลังตึกหรั่ง จะมีเรือนไม้เก่าๆ ยังคงค้างอยู่ครับ รุ่นพี่ก็เล่าให้ฟังว่าเคยมีคลองอรชร อยู่

ผมลองเปิดแผนที่ระวาง พ.ศ. ๒๔๕๓ พบ "คลองนางหงษ์" และ "คลองอรชร" ในตำแหน่งเดียวกับแผนที่สมัยรัชกาลที่ ๖ ที่ระบุตำแหน่งคลองอรชร ที่เดียวกัน (ปัจจุบันคือ ถนนบรรทัดทอง)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 23:03

เปิดแผนที่อีกระวางหนึ่ง เก่ากว่า เนื่องจากแผนที่ระวางนี้ยังไม่มีการตัดถนนพญาไท จะเห็นแนวคลองอรชรและสาขาที่หักฉากเข้ามายังพื้นที่จุฬาลงกรณ์ (คือแนวถนนกลางในมหาวิทยาลัย) อีกสายหนึ่งตั้งตรงมาหน้าวัดหัวลำโพง งงกันไหม  ฮืม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 23:41

ไปค้นหาคลองอรชร ในราชกิจจานุเบกษาดังนี้

เทศบัญญัติของเทศบาลกรุงเทพ

เรื่อง กำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นมิได ้(ฉบับที่ ๒)

พุทธศักราช ๒๕๐๒
 
 
--------------------------------------------------------------------------------
 

โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ เทศบาลนครกรุงเทพออกเทศบัญญัติไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาเทศบาลกรุงเทพ และโดยอนุมัติของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนคร ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  เทศบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “เทศบัญญัติเรื่องกำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นมิได้ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๐๒

ข้อ ๒  ให้ใช้เทศบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ ๓  ห้ามมิให้บุคคลใดปลูกสร้างห้องแถว, ตึกแถว, อาคารพาณิชย์, โรงงาน, อุตสาหกรรม, อาคารสาธารณะ หรืออาคารอื่นใด นอกจากอาคารที่พักอาศัยอาคารที่เป็นส่วนหนึ่งของอาคารที่พักอาศัย, รั้ว, กำแพง, ท่อระบายน้ำ, รางระบายน้ำ, เขื่อนและสะพาน ภายในบริเวณดังต่อไปนี้ เว้นแต่คณะเทศมนตรีจะพิจารณาอนุญาต โดยมีเหตุผลอันสมควรเกี่ยวกับหลักวิชาการผังเมือง คือ

ค. บริเวณที่ ๑

จากจุดบรรจบของคลองอรชรกับคลองบางกะปิไปตามคลองบางกะปิ ทางทิศตะวันออกจนจดกับทางรถไฟสายช่องนนทรี จากจุดนี้ไปตามทางรถไฟสายช่องนนทรีทางทิศใต้จนจดกับคลองไผ่สิงห์โต เลี้ยวไปตามคลองไผ่สิงห์โต  ทางทิศตะวันตกจนบรรจบกับคลองอรชร จากจุดนี้ไปตามคลองอรชรทางทิศเหนือจนบรรจบกับคลองบางกะปิ

 +++

ในราชกิจจานุเบกษาต่างวาระกัน คือ พ.ศ. ๒๔๘๔ เรียกคลองนี้ว่า "คลองสนามม้า" และในทำนองเดียวกันใน พ.ศ. ๒๕๐๒ เรียกคลองนี้ว่า "คลองอรชร" ซึ่งหากย้อนกลับไปยังแผนที่ระวางเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕-๖ ระบุว่า "แนวคลองอรชร" อย่างชัดเจนที่ตั้งอยู่ในแนวถนนบรรทัดทองในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 23:51

แปลกดีครับ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น คลองอรชรถึงได้ย้ายที่ได้นะครับ

ดูจากข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท พ.ศ. ๒๕๒๕

ข้อ  ๓  ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ซึ่งไม่เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ภายในบริเวณดังต่อไปนี้ ใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้อาคารดังกล่าวเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้เพื่อกิจการตามมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
      (ก)  บริเวณที่ ๑ เริ่มจากจุดบรรจบของคลองอรชรฝั่งตะวันออกกับคลองแสนแสบฝั่งใต้ไปตามคลองแสนแสบทางทิศตะวันออกจนบรรจบกับทางรถไฟสายช่องนนทรี จากจุดนี้เลี้ยวขวาไปตามทางรถไฟสายช่องนนทรีทางทิศใต้จนบรรจบกับคลองไผ่สิงห์โตฝั่งเหนือ จากจุดนี้เลี้ยวขวาไปตามคลองไผ่สิงห์โตทางทิศตะวันตกจนบรรจบกันถนนอังรีดูนังต์ฝั่งตะวันออก จากจุดนี้เลี้ยวขวาไปตามถนนอังรีดูนังต์และคลองอรชรทางทิศเหนือจนบรรจบกับคลองแสนแสบฝั่งใต้


อ่านแล้วก็เห็นว่าเป็นแนวถนนอังรีดูนังต์เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 08:03

อ้างถึง
ดิฉันเข้าใจผิด เรียกคลองบางกะปิเป็นคลองแสนแสบ มีเพื่อนร.ร.เดียวกันอยู่คนหนึ่ง เคยไปส่งเธอตอนร.ร.เลิก เธอจะให้จอดรถที่เชิงสะพานเฉลิมโลกแล้วเดินลงไปทางใต้สะพาน ตรงนั้นเป็นทางคอนกรีตเล็กๆ บ้านเธอคงอยู่ริมคลองหลังตึกแถวนั่นเอง ในคลองมีเรือประทุนแบบนี้จอดอยู่ใต้สะพาน

ท่านอาจารย์เทาชมพูคงไม่มีโอกาสได้เดินลงไปดูเรือประทุนที่จอดบริเวณใต้สะพานเฉลิมโลกนั้นชัดๆ ที่นั่นมีตลาดน้ำพิเศษ เรือแต่ละลำจะมีผู้หญิงให้บริการนั่งอยู่หัวเรือ  ตอนค่ำๆจะคึกคักหน่อย รุ่นพี่ถาปัดเคยพาน้องใหม่รุ่นผมไปทัศนศึกษาเป็นหมู่คณะที่นั่น จำได้ว่ามืดมาก มีแสงจากตะเกียงที่ตั้งไว้ข้างๆเธอเพียงวับๆแวมๆ พวกทั้งหนุ่มและแก่กลัดมันก็คอยไปก้มๆเงยๆลุ้นเอาว่ามีใครพอจะเข้าสะเป็กหรือไม่ เมื่อถูกใจก็ตกลงสนนราคา มีตั้งแต่๒๐-๓๐บาท ได้แล้วก็ลงเรือไป สาวเจ้าก็จะปิดม่าน คนแจวเรือ ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้หญิงเหล่านั้น ก็คัดท้ายแจวออกไปตามความมืดของสายน้ำ นึกๆดูก็น่าจะโมแรนติกดี ถ้ากลิ่นน้ำเน่าในคลองจะไม่โชยขึ้นมา แต่คงไม่มีใครถือกันนะ พี่เค้าบอกว่า เสร็จธุระแล้วก็ตักน้ำในคลองมาชำระอุปกรณ์ก่อนเก็บไปใช้ต่อ โฮ้ย..แค่ไปดูยังสยอง

แต่ผมยังคาใจอยู่นะ ไปกลางคืนมันมืดไม่ค่อยจะเห็นอะไร คนก็แน่นด้วย บ่ายวันหนึ่งผ่านที่นั่นเลยเดินลงไปแวะดู เห็นน้องหนูน้าป้าที่นั่งหัวเรือแต่ละลำกระจะๆ คราวนี้สยองเข้าเส้นจริงๆสิ้นสงสัย ไม่ไปอีกเลย ไม่รู้ว่าต่อมาตลาดเนื้อสดนี้วายไปตั้งแต่เมื่อไหร่

ที่เล่ามาก็จะถือโอกาสถาม เพราะพวกผมเรียกคลองตรงนั้นว่าคลองแสนแสบเหมือนกัน คลองบางกะปิเคยได้ยินอยู่ แต่ไม่รู้ว่ามันเริ่มจากตรงไหนถึงตรงไหนกันน่ะครับ

พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์บันทึกไว้ว่า
“ครั้นถึง ณ เดือนยี่ขี้นสี่ค่ำ ในปีระกานพศกจุลศักราช ๑๑๙๙ ปี เป็นปีที่ ๑๔ในรััชกาลแผ่นดินที่ ๓กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา(ชื่อทัด)เป็นแม่กองจ้างจีนขุดคลอง ตั้งแต่ตำบลหัวหมากต่อคลองบางกะปิไปทางตะวันออก ทะลุที่บางกะหนากฝั่งแม่น้ำเมืองฉะเชิงเทรา รางวัดทางยาว ๑,๓๓๗เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก กว้าง ๖ วา ราคาค่าจ้างขุดเส้นละ เจ็ดสิบบาท รวมเงินทั้งค่าฟันตอไม้ ค่าแก้คลองพระโขนงข้างปลาย รวมเป็นเงินพันสองร้อยหกชั่งสิบสามตำลึง สองบาทสลึงเฟื้อง ขุดอยู่ถึงสีปีเศษจึงสำเร็จแล้วตลอด เป็นลำคลองเรื่อเดินได้ เมื่อปลายปีชวดโทศกจุลศักราช ๑๒๐๒ ปี เป็นปีที่ ๑๗ในรัฃกาลที่๓ กรุงเทพฯ ชนสามัญเรียกว่า "คลองแสนแสบ"
 
เป็นอันว่า คลองที่เริ่มจากคลองโอ่งอ่าง มาตามแนวคลองมหานาค ผ่านทุ่งปทุมวัน ทุ่งบางกะปิ ไปถึงหัวหมาก คงมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๓หรือรัชกาลก่อนๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯโปรดให้ขุดต่อไปจนสุดทางที่ฉะเชิงเทรา ด้วยพระราชประสงค์จะเป็นคลองยุทธศาสตร์สำหรับลำเลียงพลและส่งเสบียงบำรุงในสงครามระหว่างสยามกับญวนที่เขมร  ในหลักฐานราชการแต่เดิมระบุไว้ว่าชื่ออะไรใครทราบบ้าง เพราะชื่อแสนแสบ(เขาว่า)มาจากพวกกุลีขุดคลองที่โดนยุงกัดจนแสบไปทั้งตัว เป็นคนตั้งชื่อเล่นไว้



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 08:33

ก่อนไปคลองบางกะปิ ขอยื่นเรื่องคลองอรชร ให้จบจะได้ไม่ค้างคาใจ

เลยเข้าไปดูแผนที่อีกระวางหนึ่ง ที่เขียนลงในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๘๒ กล่าวถึงให้โอนที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โอนให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน ๔ แปลง โดยรวมแล้ว.
๑. ทิศเหนือจรดถนนพระราที่ ๑

๒. ทิศตะวันออกจรดคลองอรชร

๓. ทิศตะวันตกจรดคลองสวนหลวง

๔. ทิศใต้จรดถนนพระรามที่ ๔

เป็นอันว่าในสมัยรัชกาลที่ ๘ นั้นคลองที่ขนานกับถนนสนามม้า ถูกเรียกว่า "คลองอรชร" ซึ่งย้ายฟากมาไกลพอสมควรครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 08:37


ท่านอาจารย์เทาชมพูคงไม่มีโอกาสได้เดินลงไปดูเรือประทุนที่จอดบริเวณใต้สะพานเฉลิมโลกนั้นชัดๆ ที่นั่นมีตลาดน้ำพิเศษ เรือแต่ละลำจะมีผู้หญิงให้บริการนั่งอยู่หัวเรือ  ตอนค่ำๆจะคึกคักหน่อย รุ่นพี่ถาปัดเคยพาน้องใหม่รุ่นผมไปทัศนศึกษาเป็นหมู่คณะที่นั่น จำได้ว่ามืดมาก มีแสงจากตะเกียงที่ตั้งไว้ข้างๆเธอเพียงวับๆแวมๆ พวกทั้งหนุ่มและแก่กลัดมัน ก็คอยไปก้มๆเงยๆลุ้นเอาว่ามีใครพอจะเข้าสะเป็กหรือไม่    เมื่อถูกใจก็ตกลงสนนราคา มีตั้งแต่๒๐-๓๐บาท ได้แล้วก็ลงเรือไป สาวเจ้าก็จะปิดม่าน คนแจวเรือ ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้หญิงเหล่านั้น ก็คัดท้ายแจวออกไปตามความมืดของสายน้ำ นึกๆดูก็น่าจะโมแรนติกดี ถ้ากลิ่นน้ำเน่าในคลองจะไม่โชยขึ้นมา แต่คงไม่มีใครถือกันนะ พี่เค้าบอกว่า เสร็จธุระแล้วก็ตักน้ำในคลองมาชำระอุปกรณ์ก่อนเก็บไปใช้ต่อ โฮ้ย..แค่ไปดูยังสยอง

นอกจากไม่เคยกินน้ำตาลเป่า  ไม่รู้จักหวานเย็น  แล้วยังไม่รู้เรื่องเรือประทุนใต้สะพานเฉลิมโลกอีกด้วย  ลังเล
แต่อย่างหลังสุดนี้ ไม่ค่อยเป็นปมด้อยเท่าไร    ถ้าเกิดไปรู้จักดี   คงน่าสงสัยเอามากๆว่ารู้จักได้ยังไง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 08:56

เมื่อถูกใจก็ตกลงสนนราคา มีตั้งแต่๒๐-๓๐บาท ได้แล้วก็ลงเรือไป สาวเจ้าก็จะปิดม่าน คนแจวเรือ ไม่รู้ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับผู้หญิงเหล่านั้น ก็คัดท้ายแจวออกไปตามความมืดของสายน้ำ นึกๆดูก็น่าจะโมแรนติกดี ถ้ากลิ่นน้ำเน่าในคลองจะไม่โชยขึ้นมา แต่คงไม่มีใครถือกันนะ พี่เค้าบอกว่า เสร็จธุระแล้วก็ตักน้ำในคลองมาชำระอุปกรณ์ก่อนเก็บไปใช้ต่อ โฮ้ย..แค่ไปดูยังสยอง



ราคาต่อรองนี้ใช้ค่าเงินประมาณช่วง พ.ศ. ไหนครับ จำนวนนี้ถือว่า มากหรือน้อย เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ชั่วโมงละ 1500-2500  อายจัง

มาถามต่อว่า แล้ว อ.NAVARAT.C พอจะเคยไปเข้าในหลังตลาดเฉลิมโลกบ้างไหมครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 09:11

เมื่อตอนเด็กๆ คุณแม่พาไปจ่ายของที่ตลาดเฉลิมโลกที่ประตูน้ำ ทุกอาทิตย์      จนจำลักษณะตลาดได้อย่างดี  จำได้แม้แต่ว่าทางเข้าซึ่งเป็นตรอกเล็กๆอยู่ตรงไหน
กำลังจะเข้ามาเล่าเรื่องตลาดประตูน้ำสมัยยังไม่ติดแอร์  เจอคำถามคุณ siamese เข้า  ตั้งใจจะตอบ   พออ่านทวนอีกที  เฉลียวใจว่าน่าจะคนละเรื่องกันเสียแล้ว
เลยรอฟังคำเฉลยดีกว่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 09:29

เมื่อตอนเด็กๆ คุณแม่พาไปจ่ายของที่ตลาดเฉลิมโลกที่ประตูน้ำ ทุกอาทิตย์      จนจำลักษณะตลาดได้อย่างดี  จำได้แม้แต่ว่าทางเข้าซึ่งเป็นตรอกเล็กๆอยู่ตรงไหน
กำลังจะเข้ามาเล่าเรื่องตลาดประตูน้ำสมัยยังไม่ติดแอร์  เจอคำถามคุณ siamese เข้า  ตั้งใจจะตอบ   พออ่านทวนอีกที  เฉลียวใจว่าน่าจะคนละเรื่องกันเสียแล้ว
เลยรอฟังคำเฉลยดีกว่า

อ.เทาชมพูกล่าวถึงตลาดเฉลิมโลก ในย่านประตูน้ำมีตลาดหลักอยู่ ๒ ตลาด คือ ตลาดเฉลิมโลก และตลาดเฉิมหล้า จากภาพมุมสูงจะเห็นอาคารที่โครงสร้างคล้ายตลาดอยู่ ๒ แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ติดคลองบางกะปิ อ.เทาชมพูช่วยเล่าให้ฟังเรื่องตลาดสักนิดครับ ว่าตลาดส่วนมากขายอะไรเป็นหลัก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 09:44

ภาพที่ลงไว้นี้ถ่ายจากเครื่องบินเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ถ่ายลงมาจากบริเวณประตูน้ำในปัจจุบัน ขวามือคือถนนเพชรบุรี ด้านบนภาพเป็นพื้นที่ของวังเพชรบูรณ์ ซึ่งในภาพนี้ปรากฎมีคลองอยู่ ๓ สายครับ

๑. คลองราชดำริ ขนานกับถนนราชดำริในทิศเหนือ-ใต้ ปลายคลองบรรจบคลองบางกะปิ

๒. คลองบางกะปิ ในแนวตะวันออก-ตะวันตก

๓. คลองประแจจีน ขนานกับถนนประแจจีน (ถนนเพชรบุรี) ปลายคลองบรรจบคลองบางกะปิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 09:50

อ้างถึง
ราคาต่อรองนี้ใช้ค่าเงินประมาณช่วง พ.ศ. ไหนครับ จำนวนนี้ถือว่า มากหรือน้อย เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ชั่วโมงละ 1500-2500
มาถามต่อว่า แล้ว อ.NAVARAT.C พอจะเคยไปเข้าในหลังตลาดเฉลิมโลกบ้างไหมครับ

หลังตลาดเฉลิมโลกไม่เคยโผล่ไปครับ กลัว

ราคา๒๐-๓๐ บาท ราวๆ ๒๕๐๙ ถือว่าถูก ชวาลาชั่วโมงละ๘๐บาทครับ พอแข่งกิฬาชนะ รุ่นพี่ที่จบไปแล้วเขาจะลงขันพาไป"แจกดอก"กัน เดี๋ยวนี้ชวาลายังอยู่ ไม่ทราบว่าชั่วโมงละเท่าไหร่

กลับไปเรื่องคลองดีกว่าเน้อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 09:52

ลักษณะคลองประแจจีน ดูจากลักษณะเหมือนคูน้ำซึ่งเกิดจากการขุดดินขึ้นมาถมเป็นถนนประแจจีน (เพชรบุรี) แล้วคลองก็ขนานไปจนชนคลองพญาไท เรื่อยไปจนออกคลองบางกะปิ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง