เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 150305 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 01 ก.ค. 11, 11:31

คุณพระช่วย.... เรือแน่น...ปานนี้เชียวหรือ?
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 06:21

ขอบคุณรูปเรือนแพ และ เนื้อเพลงที่ประทับใจดิฉันมาแต่เด็กค่ะ ชอบมาก ทั้งเพลง และ แพค่ะ

ใครรู้บ้างว่าที่ไหน อนุญาตให้สร้างเรือนแพเป็นบ้านได้อย่างถูกกฏหมายริมแม่น้ำแบบนี้ ช่วยบอกเอาบุญด้วยเทอญ

วันนี้จะขอถามสิ่งที่อยากรู้มาตั้งแต่อ่าน "หลายชีวิต" ของ ท่านคึกฤทธิ์ว่า

เรือ 2 ชั้นที่แล่นระหว่างท่าเตียนไปสุพรรณบุรีนั้น เขาเดินเรือไปทางไหนกันคะ

เข้าคลองอะไร ออกคลองอะไรทางไหนกัน ค่าโดยสารคนละเท่าไร ใช้เวลานานมากน้อยเพียงใด

รบกวนคุณหนุ่มสยามผู้ร่ำรวยภาพเด็ด ช่วยเมตตาแปะภาพบรรยากาศในเรือที่มี "หลายชีวิต" ให้ได้ชมกันบ้าง

คนรุ่นหลังเกิดไม่ทันได้นั่งเรือสายนี้ อยากรู้อยากเห็นเสียเหลือเกิน

จะปลูกแพเป็นเรือนจะต้องขออนุญาตจากหน่วยราชการหลายหน่วยครับ เริ่มจากบนฝั่งก่อนไป ต้องไปขออนุญาตก่อสร้างอาคารกับสำนักงานเขต (ในเขต กทม) หรือเทศลสลหรือ อบต (ในต่างจังหวัด) แล้วไปขอมีเลขบ้าน เพื่อนำไปขอติดตั้งไฟฟ้าและน้ำประปา โทรศัพท์

จากนั้นนำเอกสารการได้รับอนุญาตก่อสร้าง ไปขออนุญาตก่อสร้างอาคารในลำน้ำกับกรมเจ้าท่า ผู้ดูแลลำน้ำทั่วประเทศ ขั้นตอนหลังนี้ยุ่งและยากจนแทบจะถอดใจไปปลูกกระต๊อบอยู่กลางนาแทนเลยครับ และไม่อนุญาตอย่างง่ายๆ ด้วย

เรื่องเรือสองชั้นที่แล่นระหว่างดรุงเทพ-สุพรรณ จำได้ว่าเรือจะไปทางวัดไผ่โรงวัว ลองถามอากู๋ผู้รอบรู้ให้เดาให้แล้ว น่าจะเป็นเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวเข้าคลองพระยาบันลือ แล้วไปออกแม่น้ำนครชัยศรีครับ

เรือนแพ ... สุขจริง อิงกระแสธารา
...
วิมานน้อย ... ลอยริมฝั่ง ...
...
หิวหรืออิ่ม ก็ยิ้มพอกัน
ชีวิตช่างสุขสรรค์
โอ้ สวรรค์ ในเรือนแพ.


แล้วขออย่ามีเรือขนน้ำตาลหรือเรือทรายมาล่มหน้าเรือนแพก็แล้วกัน ...

บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 19:20

ตั้งใจอ่านขั้นตอนการขออนุญาตสร้างแพ ...แต่....พอเจอประโยคนี้

อ้างถึง
แล้วขออย่ามีเรือขนน้ำตาลหรือเรือทรายมาล่มหน้าเรือนแพก็แล้วกัน ...

ต้องร้องว๊าย......มะอาวววววดีก่า.....

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 19:36

ขอแยกซอยออกไปเล่าถึงเบื้องหลังวรรคทองของเพลง "เรือนแพ" 

     ย้อนหลังไปเมื่อปีพศ. 2502 ภายในห้องซึ่งไม่กว้างใหญ่นัก มีคนอยู่ 4 คน ..และอีก10คนนอนเรียงรายกันอยู่
หนึ่งในนั้นก็คือพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธ์ ยุคล องค์ประธานของอัศวินภาพยนตร์ กำลังสนทนาอยู่กับบรมครูเพลง ชื่อสง่า อารัมภีร

     เพลงเรือนแพยังไม่เสร็จ

     คุณชาลี อินทรวิจิตร ยืนถวายรายงานเพลงอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์ท่าน
ชาลีก็เริ่มร้องว่า "ทุกข์หรือสุขคลุกเคล้าปนกัน" 
เสด็จบอก "นี่ไม่ใช่ชาลี นี่ใครๆก็แต่งได้ "
ชาลีก็วนกลับไป ขณะนั้นเป็นเวลา 4 นาฬิกา จะรุ่งเช้าแล้ว
ชาลีเดินผ่านหน้าผมไปที่หน้าต่างกระจกของห้องบันทึกเสียงอัศวิน
เบื้องล่างก็คือซอยนาคราช จะมีข้าวขาหมู ไก่ย่าง เป็ดย่างเต็มไปหมด เป็นที่เห็นแล้วน้ำลายไหล

พักใหญ่.. ชาลีตะโกนว่า
"เสด็จ!" "..หิวหรืออิ่ม..ก็ยิ้ม..พอกัน"
เสด็จบอก "นี่คือชาลี กวีที่มีทำนอง!"

นี่คือเบื้องหลังของเพลงเรือนแพ เสร็จประมาณตี4ตี5ได้
และประโยค หิวหรืออิ่มก็ยิ้มพอกันนี้ ได้พาเพลงเรือนแพล่องลอยอยู่ในความทรงจำของท่านทั้งหลายจนถึงวันนี้

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=107126
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 19:56

อัจฉริยะในการแต่งเพลงแบบนี้ ปัจจุบันมีใครเทียบเคียงได้บ้าง

ครูแจ๋ว เก่งจริง ๆ เพลงทำให้เห็นภาพ บรรยากาศ รวมทั้งเสียงรีดเรไรและธารน้ำไหลเอื่อย ๆ

ย้อนมาที่เส้นทางเรือไปสุพรรณอีกทีค่ะ

คลองมหาสวัสดิ์ ขุดจากตลิ่งชันไปออกแม่น้ำนครไชยศรี

เคยใช้เป็นเส้นทางเดินเรือ 2 ชั้น ไปสุพรรณใช่หรือไม่ค่ะ

เมื่อวานขับรถผ่านไปแถวศิริราช เห็นป้ายชื่อคลองบ้านขมิ้น

ซ้ายมือ มีราวสะพานเก่าข้ามจากพรานนกไปศิริราช เขียนด้วยลายมือลงบนปูนว่า

"นายอู๊ด ช่างหล่อ ยี่ห้อ ฮั่วอัน สร้างเมื่อ พ.ศ.2468"

ราวสะพานนี้มีข้างเดียว อีกข้าง ถูกรื้อ กลายเป็นราวสะพานรุ่นใหม่

และมีป้ายบอกว่า "คลองคูเมืองฝั่งตะวันตก"

เล่าสู่กันฟัง เพราะดิฉันเห็นเป็นของแปลก เนื่องจาก สะพานนี้ เอกชนเป็นผู้สร้าง

และ คลองบ้านขมิ้นนี้ เป็นคูเมืองเก่าเสียด้วย เรารู้จักกันแต่คูเมืองเดิม คือ ที่เข้าใจว่า ชื่อคลองหลอด

เพิ่งจะรู้ว่า ฝั่งตะวันตก หรือ ฝั่งธนบุรี มีคูเมืองเดิมด้วย

เพราะนึกว่า ใช้ แนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม คลองบางกอกน้อย ไปออกบางกอกใหญ่ เป็นคูเมืองเท่านั้นค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 20:15

คลองคูเมืองธนบุรีฝั่งตะวันตก เหลือฐานะแค่ "ท่อระบายน้ำ" บทความโดย ภาณุพงษ์ ไชยคง
http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=186





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 20:24

ไปเจอในเว็บค่ะ เลยแค็ปหน้าจอมาให้ดูกันทั้งหมด 
เขาบรรยายว่าเป็นคลองหัวลำโพง   แต่ดิฉันเทียบกับปัจจุบันไม่ถูกเลยว่า อะไรอยู่ตรงไหน
ร้อนอาสน์คุณ siamese อีกแล้วละมัง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 20:50

ไปเจอในเว็บค่ะ เลยแค็ปหน้าจอมาให้ดูกันทั้งหมด  
เขาบรรยายว่าเป็นคลองหัวลำโพง   แต่ดิฉันเทียบกับปัจจุบันไม่ถูกเลยว่า อะไรอยู่ตรงไหน
ร้อนอาสน์คุณ siamese อีกแล้วละมัง

อ้างถึงสะพานเฉลิมเดช ๕๗ ตามที่กล่าวไว้ในภาพ ก็ขอเล่าประวัติแห่งสะพานนี้ดังนี้

สะพานเฉลิมเดช ๕๗ เป็นหนึ่งในสะพานชุดเฉลิม ที่เป็นชุดสะพานที่สร้างเพื่อเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระชนม์พรรษาแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างเพื่อเป็นประโยชน์แก่บ้านแก่เมืองเรื่อยมา จนกระทั่งเสด็จสวรรคต

ครั้นถึงช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝ่ายกรมศุขาภิบาลได้นำความกราบบังคมทูลถึงเรื่องเงินคงค้างจากเงินพระราชทานเฉลิมพระชนมวารยังคงค้าง จึงได้มีการสร้างสะพานถวายเป็นพระราชกุศลอีก ๒ สะพาน คือ สะพานเฉลิมเดช ๕๗ และ สะพานเฉลิมสวรรค์ ๕๘ ซึ่งเป็นสะพานชุดเฉลิมที่สร้างในช่วงต้นรัชกาลที่ ๖


สะพานเฉลิมเดช มีพิกัดบริเวณถนนสี่พระยา เชื่อมต่อกับถนนตรง ข้ามคลองหัวลำโพง และก่อสร้างสะพานด้วยระบบเฟโรคอนกรีต หรือ คอนกรีตเสริมเหล็ก ตามที่ได้วงกลมสีเขียวให้ชม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 20:57

ภาพถนนในปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 21:20



และมีป้ายบอกว่า "คลองคูเมืองฝั่งตะวันตก"

เล่าสู่กันฟัง เพราะดิฉันเห็นเป็นของแปลก เนื่องจาก สะพานนี้ เอกชนเป็นผู้สร้าง

และ คลองบ้านขมิ้นนี้ เป็นคูเมืองเก่าเสียด้วย เรารู้จักกันแต่คูเมืองเดิม คือ ที่เข้าใจว่า ชื่อคลองหลอด

เพิ่งจะรู้ว่า ฝั่งตะวันตก หรือ ฝั่งธนบุรี มีคูเมืองเดิมด้วย

เพราะนึกว่า ใช้ แนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม คลองบางกอกน้อย ไปออกบางกอกใหญ่ เป็นคูเมืองเท่านั้นค่ะ



อ้างถึงพงศาวดารกรุงธนบุรี

เมื่อเหล่าเสนาบดีได้พร้อมใจกันถวายราชสมบัติยกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินแล้ว "...ทรงดำริว่ากรุงธนบุรียังไม่มีกำแพงที่มั่นคง โปรดเกล้าใหนำไม้ทองหลางทั้งต้นมาล้อมพระนครทั้งสองฟากน้ำ ตั้งแต่มุมกำแพงเมืองเก่า ไปจนวัดบางหว้าน้อย วงลงไปริมแม่น้ำใหญ่ ตลอดจนมาถึงกำแพงเมืองเก่าที่ตั้งเป็นพระราชวัง แล้วให้ขุดคลองเป็นคูหลังเมืองแต่คลองบางกอกน้อย มาออกคลองบางกอกใหญ่ เอามูลดินขึ้นถมเป็นเชิงเทิน และให้ขุดคลองเป็นคูข้างหลังเมือง ตั้งแต่กำแพงเก่าท้ายป้อมวิไชยเยนทร์ วงข้นไปจนถึงศาลเทพารักษ์หัวโขดออกแม่น้ำทั้งสองข้าง..."
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 16:14

ภาพเล็กไปสักหน่อย ... คลองอะไรไม่ถาม เพราะมองปั๊บก็รู้ปุ๊บ และทราบกันอยู่แล้ว

ช่วยกันดูซิว่าลุงแกพายเรือขายอะไร?


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 16:25

ใช่ป่ะเอ่ย... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 16:27

อัจฉริยะในการแต่งเพลงแบบนี้ ปัจจุบันมีใครเทียบเคียงได้บ้าง

ครูแจ๋ว เก่งจริง ๆ เพลงทำให้เห็นภาพ บรรยากาศ รวมทั้งเสียงรีดเรไรและธารน้ำไหลเอื่อย ๆ

ย้อนมาที่เส้นทางเรือไปสุพรรณอีกทีค่ะ

คลองมหาสวัสดิ์ ขุดจากตลิ่งชันไปออกแม่น้ำนครไชยศรี

เคยใช้เป็นเส้นทางเดินเรือ 2 ชั้น ไปสุพรรณใช่หรือไม่ค่ะ


ว่าด้วยเรือที่ไปสุพรรณกันก่อนจะว่าถึงเส้นทาง
"...ที่เรียกว่าเรือเมล์เขียว เรือเมล์แดง ก็ดูจากสีของเรือนั่นเอง  เรือเมล์เขียวเป็นเรือของบริษัทคนไทย คือ
เรือหลวงมิลินท์  ส่วนเรือเมล์แดงเป็นของบริษัทฝรั่ง แม้จะใช้สีแดงเหมือนกัน แต่ต่างบริษัทก็จะใช้สีแดงต่างกัน
กล่าวคือ เรือของบริษัทสยามสตีมแพคเก็ตต์เป็นสีแดงเลือดหมู ของสยามมอเตอร์โบทเป็นสีแดงสด   นอกจากจะมีป้าย
บอกชื่อบริษัทติดอยู่ข้างเรือแล้ว เรือแต่ละลำจะมีป้ายบอกชื่อท่าเรือต้นทางและปลายทางให้ผู้โดยสารทราบด้วย
       เรือที่เดินเส้นทางระยะไกล เป็นเรือสองชั้นขนาดใหญ่ ชั้นบนจุผู้โดยสารได้ประมาณ 80-90 คน 9ส่วนชั้นล่างมี
ห้องเครื่องยนต์อยู่กลางลำเรือ พื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นระวางบรรทุกสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งในยุดนั้นยังนิยมบรรจุในกระบุง
ตะกร้า  สินค้าที่บรรทุกเข้ากรุงเทพฯส่วนใหญ่จะเป็นพืชสวน  ขาออกเป็นสินค้าจิปาถะ เช่น เสื้อผ้า เหล้า บุหรี่
อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง เป็นต้น
       ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเรือโดยสารวิ่งรับส่งผู้คนอยู่บ้าง แต่ไม่สม่ำเสมอ เพราะน้ำมันขาดแคลน
ช่วงหลังสงครามบริษัทเรือของฝรั่งซึ่งถือว่าเป็นคู่สงคราม ถูกทางการยึดมาดำเนินการเองในรูปของบริษัทขนส่ง แต่
การบริหารไม่รัดกุม จึงขาดทุนและเลิกกิจการไปหลังสงครามโลกได้ประมาณ 10 ปี  ส่วนเรือเขียวของหลวงมิลินท์ก็
เลิกกิจการไปเพราะเจ้าของชราภาพบริหารงานไม่ไหว  สาเหตุอีกประการก็คือ เริ่มมีการสร้างถนนหนทางเพิ่มมากขึ้น
เป็นลำดับ ความสำคัญของการสัญจรทางน้ำจึงลดน้อยถอยลง   เมื่อกิจการเรือเมล์เลิกไป ก็มีผู้ขอซื้อเรือเหล่านี้ไป
บรรทุกสินค้าบ้าง ไปทำแท่นขุดทรายในแม่น้ำบ้าง ไปทำร้านอาหารลอยน้ำแถวสะพานปิ่นเกล้า สะพานกรุงธนฯ หรือ
สะพานปรีดี-ธำรงที่อยุธยาบ้าง  ที่ไปผูกเกยตื้นทิ้งไว้ตามข้างตลิ่งก็มีไม่น้อย เป็นที่น่าอนาถใจ..."
ที่มา free.7host07.com/phlib/intro5.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 17:15

ขอถามแบบเดียวกันบ้างค่ะ  เพราะดูไม่ออก
รูปสองรูปนี้ แม่ค้าขายอะไร



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 17:29

มองไม่ออก บอกไม่ถูก ว่าป้ากับยายขายอะไร

มองจากภาพแล้ว ทราบว่าเจ้าของภาพประจำการอยู่ที่พันทิป คงต้องแอบไปถามก่อน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง