เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 149814 คูคลองในกรุงเทพจากไหนถึงไหนกันบ้าง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 09:15

คลองพระโขนง เป็นลำคลองธรรมชาติ ที่ออกแม่น้ำเจ้าพระยาทางวัดทอง (ปัจจุบันเป็นท่าเรือคลองเตย) จากปากคลองพระโขนง เข้าไปยังวัดมหาบุศย์ได้สะดวก และบริเวณแยกคลองหน้าวัดมหาบุศย์ มีคลองที่เชื่อมไปยัง "คลองตัน" เพื่อไปออกทางคลองบางกะปิ บริเวณสถานีรถไฟคลองตัน

ทั้งนี้ในพื้นที่คลองพระโขนงด้านใน ได้แยกย่อยสาขาออกไปเรื่อยๆ ในแถวหัวหมากจะมี "คลองบางโพ" "คลองหัวหมาก" "คลองบางกะจะ"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 09:28

เขยิบเข้ามาใกล้สถานีบางนาครับ อ.NAVARAT.C จากแผนที่จะเห็นว่า การวางรางรถไฟในช่วงที่ข้ามคลองพระโขนง ไม่มีคูด้านข้างปรากฎไปจนถึงสถานีบางจาก แต่ในแผนที่พบ "คลองบางนา" และ "คลองโซดาไฟ"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 09:38

เมื่อรถไฟสายปากน้ำเข้าเมืองจากสถานีพระโขนง เข้าสู่สถานีบ้านกล้วย สถานีคลองเตย และสถานีศาลาแดง มีคลองเส้นหนึ่งวางขนานกัน นั่นคือ "คลองถนนตรง" ซึ่งต่อมากลายเป็น "ถนนพระราม ๔"


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 09:55

^
แก้ไข   เพิ่งมองเห็นเส้นคลองช่องนนทรีจากรูปข้างบน   งั้นก่อนเป็นทางรถไฟ เส้นทางด่วนช่องนนทรีก็เป็นคลองมาก่อนน่ะซีคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 10:09

^
เส้นสีแดงคืออะไรครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 10:41

^
เส้นสีแดงคืออะไรครับ

เส้นสีแดง คือ แนวเขตที่จะเวนคืน เพื่อก่อสร้างท่าเรือคลองเตยครับ

^
แก้ไข   เพิ่งมองเห็นเส้นคลองช่องนนทรีจากรูปข้างบน   งั้นก่อนเป็นทางรถไฟ เส้นทางด่วนช่องนนทรีก็เป็นคลองมาก่อนน่ะซีคะ

ใช่ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 11:21

อ้างถึง
เขยิบเข้ามาใกล้สถานีบางนาครับ อ.NAVARAT.C จากแผนที่จะเห็นว่า การวางรางรถไฟในช่วงที่ข้ามคลองพระโขนง ไม่มีคูด้านข้างปรากฎไปจนถึงสถานีบางจาก แต่ในแผนที่พบ "คลองบางนา" และ "คลองโซดาไฟ"

ผมคิดว่าแผนที่มาตราส่วนเล็กขนาดนี้คงไม่ให้ความสำคัญกับคูข้างถนนที่ขุดขึ้นมาเพื่อทำคันดิน(ขอเรียกว่าคู แม้ว่าบางแห่งจะใหญ่จนน่าจะเรียกว่าเป็นคลองได้ก็แล้วกัน)
ความจริงสมัยนั้น สองข้างทางถนนตัดใหม่ที่เป็นถนนหลักๆของกรุงเทพไปแล้ว อย่างเช่นถนนสุขุมวิทที่ในแผนที่เขียนว่าถนนไปปากน้ำ ผมยังจำได้ว่ามีคลองขนานไปกับถนน จะเข้าซอยสุภางค์ยังต้องข้ามสะพานไม้ก่อน

ในซอย อย่างเช่นซอยที่คุณร่วมฤดีไปเที่ยวช้อนลูกน้ำ ก็ช้อนในคูที่ขุดมาทำถนนทั้งนั้นแหละครับ ใช่คูคลองธรรมชาติซะที่ไหน
แต่ในแผนที่ก็ไม่ปรากฏคูข้างถนนนี้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 12:35

ถนนนานาเหนือ เดิมเป็นถนน ๒ ช่องจราจร มีคลองด้านข้างขวามือ (มุ่งหน้าไปทางถนนสุขุมวิท) ต่อมามีการขยายผิวจราจรเป็น ๔ ชอ่งจราจร เลยถมคลองไปแล้วเมื่อราว กันยายน ๒๕๔๐ ครับ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 13:10

คลองที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองคูเมืองเดิมกับคลองรอบกรุง เรียกสั้นๆว่า คลองหลอด ซึ่งคลองมาจากลักษณะของคลองที่เล็กและตรงเท่ากันตลอดสาย ทำหน้าที่ชักน้ำระหว่างคลอง คลองหลอดที่กรุงเทพฯ มี ๒ คลอง คือ
                  คลองหลอดแรก เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมบริเวณใกล้วัดบุรณศิริอมาตยาราม ผ่านวัดมหรรณพารามวรวิหาร ออกคลองรอบกรุงบริเวณวัดเทพธิดาวรวิหาร บางครั้งเรียกชื่อคลองตามชื่อวัดว่า คลองวัดเทพธิดา หรือ เรียกตามสถานที่ที่คลองหลอดผ่าน เช่นคลองวัดบุรณศิริฯคลองวัดมหรรณพฯและคลองวัดราชนัดดา เป็นต้น
                  คลองหลอดที่สอง เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมบริเวณใกล้วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวรวิหาร ผ่านวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร ออกคลองรอบกรุงบริเวรสะพานถ่าน บางครั้งเรียกชื่อคลองตามชื่อวัดว่า คลองวัดสุทัศน์หรือเรียกตามสถานที่ที่คลองหลอดสายนี้ผ่าน คลองสะพานถ่าน คลองวัดราชบพิธฯ เป็นต้น
                  คลองหลอดทั้งสองนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นหลังจากขุดคลองรอบกรุงแล้ว ด้วยมีพระราชประสงค์ให้เป็นเส้นทางคมนาคมสัญจรติดต่อค้าขายของราษฎร และราษฎรพากันเรียกคลองทั้งสองว่าคลองหลอด ตามลักษณะของคลอง
                  ในสมัยต่อมาชื่อคลองหลอดถูกนำไปเรียกคลองคูเมืองเดิม ทั้งนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอันเนื่องมาจากประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ.๒๔๕๑) ให้แบ่งระยะเรียกชื่อคลองคูเมืองเป็น ๓ ตอน ตอนกลางคือระยะจากปากคลองหลอดวัดราชนัดดาถึงปากคลองหลอดวัดสุทัศน์ ให้เรียกว่าคลองหลอด จึงเรียกชื่อคลองคูเมืองเดิมทั้งสายว่าคลองหลอด
                  ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี รัฐบาลจึงมีมติเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๒๕ ให้เรียกชื่อคลองทั้งหลายให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คลองหลอดทั้งสองจึงได้ชื่อว่า คลองหลอดวัดราชนัดดารามและคลองหลอดวัดราชบพิธ

แม้ว่าจะผ่านมา 29 ปี แล้ว ดิฉันก็ยังชอบที่จะเรียก "คลองหลอด" มากกว่า "คลองคูเมืองเดิม"
รวมทั้งชื่อ "คลองรอบกรุง" ที่แก้ไขจาก "คลองโอ่งอ่าง" ในวาระเดียวกันด้วย
ผู้เฒ่าไม่รู้จัก และไปบอกเด็กปากคลองก็ไม่รู้เรื่อง อาจเป็นเพราะใช้ชื่อนี้กันมานานกว่า 100 ปีแล้ว

ชื่อ คลองคูเมืองเดิม ฟังดูไม่มีความหมาย เหมือนกับเป็นชื่อเรียกไปพลาง ๆ คั่นเวลา ก่อนมีชื่อจริง  คลองรอบกรุงก็เช่นกัน
น่าจะเปรียบได้กับ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ก่อนจะใช้ชื่อ ถนนวิภาวดี-รังสิต
ถนนวงแหวน ก่อนจะใช้ชื่อ ถนนกาญจนาภิเษก
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 20:36

นี่ถ้าไม่ตั้งกระทู้ถามเรื่องคลอง ดิฉันจะสับสนไม่เลิกกับชื่อ คลองหลอด ที่เดิมนึกว่ามีแนวเดียว คือ แนวรอบกรุง หรือ คูเมืองเดิม

ต่อมาไปเดินเล่นแถววัดเทพธิดา เห็นป้ายวื่อคลองแยกออกมา เดินต่อไปถึงสวนสาธารณะข้างวัดสุทัศน์ เห็นคลองอีกแห่งหนึ่งก็ว่าคลองหลอดอีก เป็นงง มานานแล้วค่ะ

คลองโอ่งอ่าง กับคลองบางลำภูก็เพิ่งจะทราบชัดว่า เป็นคลองเดียวกันก็คราวนี้เอง

ที่แปลกคือ คลองตัน ไม่เห็นจะตันดังชื่อนะคะ แยกออกไปพระโขนงก็ได้ แยกออกไปวัดมหาบุศย์ ไหว้ศาลแม่นาคพระโขนงก็ได้

จากแผนที่ของคุณ Siamese พอจะมั่นใจได้ว่า คลองที่เห็นใน VDO รถไฟปากน้ำ แท้จริงคือ คลองถนนตรง หรือ คลองหัวลำโพง ที่ปัจจุบันเป็นถนนพระราม 4 เพราะช่วงแรกที่รถไฟเข้าสถานีบางจาก ยังไม่เห็นคลอง จนเลยตรงนั้นไปแล้ว จึงเห็นคนพายเรือในคลองทีเดียว

สำหรับคลองถนนตรงนี้ ดูเหมือนจะเป็นคลองที่มุ่งหวังในการคมนาคมขนส่งข้าวนะคะ คงไม่ได้ขุดมาถมเป็นถนน หรือทางรถไฟ เพราะขนาดและความลึกมันมากพอที่จะเดินเรือ

าหกขุดเป็นคูเพื่อเอาดินมาถมถนน อย่าง ถนนวิทยุ หรือหน้าบ้านดิฉันในซอยร่วมฤดีสมัยเด็ก ๆ นั่น มันไม่กว้่าง และไม่ลึก  มีประโยชน์แค่ให้เด็กช้อนลูกน้ำได้เท่านั้นเองค่ะ

อาจารย์เทาชมพูผู้อาศัยร่วมซอยกับดิฉันบรรยายสภาพทางรถไฟช่องนนทรีได้ตรงกับภาพที่ดิฉันจำได้จริง ๆ คลองเลียบทางรถไฟตรงนั้น น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่แยกมาจากคลองไผ่สิงโตกระมังคะ ต้องให้คุณ Siamese ช่วยค้นและ ยืนยันด้วยค่ะว่า

คลองที่ว่า เริ่มจากราชดำริ แล่นไปตามถนน(ซอย)สารสิน ข้ามทางรถไฟ ไปผ่านสุขุมวิท 16 แล้วเลี้ยวไปออกคลองถนนตรง หรือพระรามสี่ ที่ชื่อไผ่สิงโตนั้น (ปัจจุบันยังเห็นอยู่นะคะ แต่เพียงบางส่วน) ขนาดคลองก็กว้างใหญ่พอจะสัญจรไปมาได้

ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูสำหรับรายชื่อคลองและแนวคลอง
ขอบคุณคุณ Siamese ที่น่ารักที่สุด ที่เอาแผนที่มาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 20:44

มีเรื่องคลองที่น่าสนใจเพราะเกี่ยวกับพระราชประวัติรัชกาลที่ 4 เมื่อแรกจะเสด็จจากวัดบวร เข้าไปประทับในพระบรมมหาราชวัง

เคยอ่านพบว่า ขบวนอัญเชิญเสด็จนั้น เป็นขบวนเรือ สามารถแล่นไปถึงวัดบวรได้ทีเดียว ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบัน ตรงนั้น ไม่มีคลองเหลือให้นึกภาพได้เลย มีแต่คลองบางลำภูเท่านั้น ซึ่งก็อยู่นอกแนวกำแพงพระนครเสียด้วย

คุณ Siamese พอจะหาแผนที่มาทำลายอวิชชาของดิฉันได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 21:57

กำลังคิดอย่างหนักว่า ถนนสายเก่าในความทรงจำนั้น เลียบไปกับคูหรือคลอง

ตอนเล็กๆ ดิฉันเคยอยู่ที่ซอยไชยยศ สุขุมวิทต้นๆก่อนมาอยู่ติดทางรถไฟช่องนนทรี      เพื่อนฝูงในโรงเรียนก็กระจัดกระจายกันอยู่ไม่ห่าง  คือแถวสุขุมวิท  ทำให้ดิฉันจำถนนสุขุมวิทได้แม่นพอใช้
อย่างหนึ่งก็คือถนนสายนี้มีคลองเลียบขนานไปด้วย ตั้งแต่ต้นถนนไปจนสุดถนน คือเชิงสะพานพระโขนง   เป็นคลองกว้าง พอที่ชาวบ้านซึ่งมีบ้านอยู่ติดคลองจะต้องทำสะพานให้รถแล่นข้ามไปได้     ไม่ใช่สะพานคอนกรีต    แต่เป็นสะพานไม้  ปูด้วยไม้แผ่นใหญ่หนาตึ้ก มีราวสะพานไม้ทั้งสองข้าง    สะพานไม้แบบนี้มีให้เห็นทั่วไป  เพราะบ้านทั้งหลายรวมทั้งบ้านในซอยถนนสุขุมวิท มักมีคลองผ่านหน้าบ้านให้ต้องข้ามคลองเข้าบ้านทั้งนั้น

สะพานอีกแบบหนึ่งสำหรับคนเดินข้ามคลองเข้าบ้าน  เป็นสะพานไม้ยกสูง มีกรอบประตูอยู่กลางสะพานแทนประตูรั้ว   สะพานแบบนี้ปัจจุบันยังพอเห็นบ้างแถวรังสิต

คลองริมถนนสุขุมวิทยังมีอยู่จนประมาณพ.ศ. 2505   ที่จำได้เพราะไปหาเพื่อนที่มีบ้านอยู่เชิงสะพานพระโขนงบ่อยๆ   จำได้ว่าเคยเห็นคนเอาแหมาทอดในคลองหน้าบ้านเธอ    พวกเราลุ้นกันว่าคงจะได้หลายตัว   เพราะน้ำในคลองก็เต็ม แม้ว่าจะออกเขียวตุ่นๆ     ปรากฏว่ายกขึ้นมาได้ปลาตัวเดียว    
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 21:58

ถ้าขับรถขึ้นสะพานพระโขนง  ไปสมุทรปราการ จะพบว่าพ้นสะพานไปแล้วก็หลุดจากเมืองสู่ชนบททันทีทันควัน      ความเจริญหยุดอยู่แค่สะพาน   พ้นจากนี้ไปแล้ว มีคลองเลียบถนนอีกนั่นแหละ    แต่ดูกว้างขวางกว่า และน้ำสะอาดกว่า     มีบ้านปลูกถัดไปจากคลอง   เป็นบ้านไม้เล็กๆยกพื้นสูง ไม่ได้เป็นตึกอย่างในเมือง  ปลูกชิดกัน แต่ไม่ถึงกับแออัดยัดเยียด 

เส้นทางสัญจรของกรุงเทพ เริ่มจากเดิมเป็นคลอง  ต่อมาเมื่อมีถนนก็เป็นถนนเลียบคลอง   คลองเหล่านั้นยังไม่ได้ถม แต่ว่าอาจลดความสำคัญลง  นานๆก็แคบ และตื้นเขิน   ใช้สัญจรไม่ได้อีก  เพราะไม่มีใครคอยลอกคูคลองให้กว้างลึกเท่าเดิม    ชาวบ้านก็รุกล้ำคลองกันทั่วไป

ต่อมา  มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๑ ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2500  กลายเป็นพัฒนาก้าวกระโดด   คลองถูกลบล้างให้หายไปจากกรุงเทพ   เพราะไม่เห็นความสำคัญอีก  รัฐบาลนิยมตัดถนนสายยาวและกว้าง   เพื่อพัฒนาตามแบบเส้นทางคมนาคมในอเมริกา   คลองที่เคยอยู่เลียบถนนก็ถูกถมเป็นถนนสายใหญ่    ทางน้ำเหลือสภาพท่อระบายน้ำนิดเดียวข้างถนน   ตัวคลองอันตรธานไปจากทุกถนนที่เป็นถนนสายใหญ่   จะรอดก็แต่คลองที่ใหญ่เกินกว่าจะถมได้เท่านั้น  อย่างเช่นคลองแสนแสบ
คลองที่สุขุมวิท เป็นคลองเล็ก ก็ไม่แปลกที่หายสาบสูญไปตลอดกาล

จนบัดนี้ก็ยังไม่รู้ว่าคลองที่สุขุมวิทชื่อคลองอะไร   
อ้อ อีกอย่างหนึ่ง สมัยดิฉันเด็กๆ เขตจากสุขุมวิทซอย 1 ไปจนสะพานพระโขนง    ไม่มีใครเรียกว่าสุขุมวิท  เขาเรียกกันว่า"บางกะปิ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 22:10


อาจารย์เทาชมพูผู้อาศัยร่วมซอยกับดิฉันบรรยายสภาพทางรถไฟช่องนนทรีได้ตรงกับภาพที่ดิฉันจำได้จริง ๆ คลองเลียบทางรถไฟตรงนั้น น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่แยกมาจากคลองไผ่สิงโตกระมังคะ ต้องให้คุณ Siamese ช่วยค้นและ ยืนยันด้วยค่ะว่า

คลองที่ว่า เริ่มจากราชดำริ แล่นไปตามถนน(ซอย)สารสิน ข้ามทางรถไฟ ไปผ่านสุขุมวิท 16 แล้วเลี้ยวไปออกคลองถนนตรง หรือพระรามสี่ ที่ชื่อไผ่สิงโตนั้น (ปัจจุบันยังเห็นอยู่นะคะ แต่เพียงบางส่วน) ขนาดคลองก็กว้างใหญ่พอจะสัญจรไปมาได้

ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูสำหรับรายชื่อคลองและแนวคลอง
ขอบคุณคุณ Siamese ที่น่ารักที่สุด ที่เอาแผนที่มาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

เอาแผนที่ระบุถึงคลองไผ่สิงโต มาให้คุณร่วมฤดีได้ชมครับ คลองไผ่สิงโตเป็นคลองที่ยาวพอสมควร ถ้าจะดูดีๆแล้วปากคลองด้านหนึ่งออกไปยังคลองเตยที่คลองถนนตรง(พระราม ๔) ส่วนปลายคลองตรงไปและหักมุมฉากไปทางซ้ายมือ ไปบรรจบอีก ๒ คลอง โดยเฉพาะไปเชื่อมกับคลองราชดำริห์ สนามม้าปทุมวัน ส่วนปลายคลองที่อยู่ด้านสนามม้าได้ถูกถมเป็นถนนแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ อยู่ในเขตพื้นที่ของจุฬาครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 พ.ค. 11, 22:20

ฝากภาพคลองไผ่สิงโต บริเวณท้ายสนามม้าปทุมวัน ให้คุณร่วมฤดีได้ชม ครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง