เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11051 ชมสวรรค์ชั้นฉกามาพจร
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 มี.ค. 01, 04:57

You make me blush, Pa Nual...
I am not that perfect. Better change the subject back to the issue at hand.

You promised me the Ongkarn Chaeng Nam? Please?

About the 9th heaven, I have looked up in my dictionary and it gives the phrase "on cloud nine" as meaning very happy.

How many levels are there in the Thai Hell?

Somehow I think the multi-leveled Heaven and Hell is an oriental concept. For Farang (apart from such expressions as "cloud nine" or "seventh paradise") Hell is just Hell and Heaven is just Heaven...
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 มี.ค. 01, 14:16

It's rather surprising to learn that there are

still some nice young men around nowadays.

At least some still know how to blush!

Being accommodating and yet, not submissive.

That's very nice and a great virtue.  I thought

that this virtue has died out since my time

and  been replaced by arrogance and

pompousness to the point of being abusive!

You're a  Min. of F.A.'s asset, though still

far from perfection!

Keep on  the good self. - Auntie N.

<><><><><><><><><><><><><><>



ลิลิตโองการแช่งน้ำ

(ร่าย) o โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น

แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคธราธรณี

ภีรุอวตาร อสุรแลลาญทัก ททัคนีจรนายฯ (แทงพระแสงศรปลัยวาต)



o โอมบรเมศราย ผายผาหลวงอคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก

เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเป็นปิ่น ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง

แกว่งเพชรกล้า ฆ่าพิฒน์จรรไรฯ (แทงพระแสงศรอัคนิวาต)



o โอมไชยะไชย ไขโสฬศพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง

ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ธรรมิตรดา

มหากฤตราไตร อมไตยโลเกศี จงตรีศักดิท่าน พิญาณปรมาธิเทศ

ไทธเรศสุรสุทธิพ่อ เสวยพรหมานทรใช่น้อย (ประถมบุญภารดิเรก)

บูรภพรู้กี่ร้อยก่อมาฯ (แทงพระศรพรหมมาศ)



(ของแถม)

o นานาเอนกน้าว........เดิมกลัป์

จักร่ำจักรพาฬ............ เมื่อไหม้

ตระวันเจ็ด................. อันพลุ่ง

น้ำแล้งไข้................... ขอดหาย

เจ็ดปลา มันพุ่งหล้า..... เป็นไฟ

วาบจตุราบาย............. แผ่นขว้ำ

ชักไตรตรึงษ์.............. เป็นเผ้า

แลบล้ำ....................... สีลอง



ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

(วรรณกรรมไทยสมัยกรุงสุโขทัย - กรุงศรีอยุธยา)



คุณเทาชมพูค่ะ กรุณาอธิบายให้ด้วยเถอะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 มี.ค. 01, 14:54

ตอนต้นเป็นการอ่านโองการอัญเชิญเทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม เชิญองค์หนึ่งมาก็เอาพระศรศักดิ์สิทธิ์ แทงลงในน้ำที่จะใช้ดื่ม
องค์แรก พระนารายณ์ บรรยายรูปลักษณะ  เอางูเป็นแท่นคือประทับอยู่บนบัลลังก์นาค   ภีรุอวตารเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์  ฯลฯ
องค์ที่สอง พระศิวะ  เอาเงือกเกี้ยวข้าง แปลว่าเอางูพันท่อนบน  เพราะสังวาลย์ของพระศิวะคืองู
องค์ที่สาม พระพรหมค่ะ อยู่บนสวรรค์ชั้นพรหม ๑๖ ชั้น  เจ้าคลี่บัวทอง คือประทับบนดอกบัว  ไปไหนมาไหนโดยขุนห่าน(แปลว่าหงส์)  มี ๔ หน้า

แล้วต่อมาก็ประเดิมด้วยวันสิ้นโลก(เก่า ) เกิดไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก  ดวงอาทิตย์ร้อนขึ้นจนเผาน้ำเหือดแห้งมหาสมุทร   เผาไปลงจนปลา ๗ ตัว ที่หนุนโลกติดไฟมันปลาละลายพุ่งขึ้นมาเป็นไฟ  ไฟนั้นก็ลามไหม้นรก ๔ ขุม  และไหม้ขึ้นสวรรค์ถึงดาวดึงส์
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 มี.ค. 01, 01:52

ขอบคุณค่ะ คุณเทาชมพู
- อย่าลืมพรุ่งนี้นะคะ ไปเสียแต่เนิ่นๆ จะได้มีที่จอดรถ
บันทึกการเข้า
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 26 มี.ค. 01, 05:30

Thank you Khun Nual and Khun Taochompu.

It is interesting that the Brahma in the Thai Ongkarn Chaeng Nam, which was supposed to be one of the three Hindu supreme Gods, shared some characteristics with the Buddhist Brahmas.

In Buddhism, "Brahma" does not mean "God the Creater". brahmas are just another kind of divine beings, higher than the devas because of their mental achivement, their meditation, their "Dhyana", living in their own heavens (16 levels for brahmas with forms and 4 levels for formless brahmas). They are still under the Three Laws of Trailaksana.

In the Thai Ongkarn Chaeng Nam, the God Brahma presided over the 16 Brahmanic worlds - the number is the same as that of the worlds of the Rupa Brahmas. I believe that in pure Hinduism, Brahma the God stays in His own Heaven, without any mention of the 16 worlds. The number 16 seems to be Buddhist influence here. (I may also argue that in the mind of the Thai author (s) of the Ongkarn, Brahma God is just only Rupa - formed - Brahma. His mental achievement has not yet even reached the level of the Arupa - formless- Brahmas! )

Another evidence that suggests to me that the Thai authors of the Ongkarn had blended the Buddhist Brahmas and the Hindu God Brahma together is the mention of reincarnation. The Ongkarn states that the God Brahma attained his high status after many hundreds lives of reincarnations, to fulfill his barami.

But this concept is not quite like pure Hinduism. The God Brahma, in Hinduism, is one of THE Gods. He is the Beginning and the End. The Cycles of births, deaths and rebirths are things for us mortals, not for GOD like him.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 มี.ค. 01, 09:41

อ่านการตีความของคุณ นกข.แล้ว  ต้องกลับมาแปลเรื่องพระพรหมอีกที

โอมไชยะไชย ไขโสฬศพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง
บวงสรวงพระพรหมผู้ครองสวรรค์ ๑๖ ชั้น   ประทับอยู่บนดอกบัวทอง

ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ธรรมิตรดา
ประทับอยู่บนหงส์  เป็นผู้สร้างจักรวาลและสวรรค์  มี ๔ พักตร์  เป็นผู้ทรงธรรม

มหากฤตราไตร อมไตยโลเกศี จงตรีศักดิท่าน พิญาณปรมาธิเทศ
เป็นผู้กระทำความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ โลก   อยู่เป็นอมตะ   บรรลุถึงญาณอันยิ่งใหญ่

ไทธเรศสุรสุทธิพ่อ เสวยพรหมานทรใช่น้อย (ประถมบุญภารดิเรก)
บูรภพรู้กี่ร้อยก่อมาฯ (แทงพระศรพรหมมาศ)
เป็นเทพยิ่งใหญ่ผู้บริสุทธิ์   ครองความเป็นพรหมด้วยบุญอันกระทำไว้ในกาลก่อน   ในหลายร้อยชาติ
หรือ  ได้สร้างภพมาแล้วหลายร้อย(?)
ประโยคท้ายนี่ตีความได้ ๒ อย่าง

ถ้าตีความอย่างแรก  คือบำเพ็ญบุญมาหลายร้อยชาติจึงได้เกิดมาเป็นพระพรหม ก็เป็นพรหมแบบพุทธ อย่างคุณนกข.ว่า
ถ้าตีความอย่างหลัง  แปลว่าได้สร้างโลกมาแล้วหลายร้อยครั้ง (คือจำนวนมาก) เป็นพรหมแบบพราหมณ์ค่ะ
เพราะเชื่อกันว่าโลกสร้างขึ้นและแตกทำลายมาหลายครั้งแล้ว  ทุกครั้งพระพรหมจะสร้างใหม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 มี.ค. 01, 09:42

คุณนวล  เย็นนี้ดิฉันไปเดินสวนไปสวนกันมากับคุณนวลที่ริมสระน้ำค่ะ
บันทึกการเข้า
วรวิชญ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 26 มี.ค. 01, 09:56

สวรรค์ชั้นที่เจ็ด อยู่ในเมืองไทยนี่เอง อยู่ไม่ไกลด้วย ที่ถนนเยาวราช ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเมืองไทยมีตึกสูงที่สุดเรียกว่าตึกเจ็ดชั้น เยาวราช บนชั้นที่เจ็ดมีการแสดงแบบที่เรียกว่าระบำตาหรั่ง นักเที่ยวจึงเรียกกันว่าสวรรค์ชั้นเจ็ด ปัจจุบันตึกเจ็ดชั้นเยาวราชยังอยู่แต่ไม่เป็นตึกที่สูงที่สุดของเมืองไทย และไม่มีระบำให้ชมแล้ว
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 26 มี.ค. 01, 22:55

ขอนอกเรื่องหน่อย

ตกลงคุณเทาชมพูกับคุณนวลไปหากันเจอในงาน 84 ปี หรือเปล่าครับ

ได้เฝ้า "แว่นแก้ว" ด้วยไหม

วันนี้เมื่อ 2 ปีก่อนที่หอประชุม ข้างหน้าเทวาลัย ผมก็มีโอกาสไปร่วมยืนในแถวเฝ้า "แว่นแก้ว"  ถือโอกาสกราบลาท่านมาที่นี่
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 26 มี.ค. 01, 23:03

ท่านผู้ร่วมเรือนไทยทุกท่านคงทราบนะครับว่านักเขียนที่ใช้นามปากกาว่า "แว่นแก้ว" นั้น พระองค์จริงคือใคร

เรื่องเกี่ยวกับ " แว่นแก้ว" จำได้เรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับลิเก ฝากไปที่วิกโน้นที่กำลังเล่นกันอยู่ด้วย ว่า เคยทรงร้องลิเกในงานรับน้องสมัยโน้น (ไหนไหนก็เล่นเรื่องเกี่ยวกับจระเข้อยู่ ผมขอมั่วว่า ต้นตระกูลจระเข้สืบขึ้นไปก่อนปู่ท้าวพันตา หลายชั่วคน เอ๊ยชั่วจระเข้นั้น คือไดโนเสาร์ อันเป็นบรรพชนของสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย....) ความในบทลิเกที่ทรงร้อง มีว่า
...ไดโนเสาร์สัตว์โบราณ
อดอาหารมาหลายเพลา
เดินโซเซก็โซซัด
ไปพบหน่อกษัตริย์ (ตามธรรมเนียมลิเก) ที่กลางป่า
สัตว์ประหลาดดีใจ
จนน้ำลายไหล... ออก.. มา ...
(เตร๊งเตรง เตร่ง เตร๊ง....)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 26 มี.ค. 01, 23:40

เพิ่งกลับจากงานกลับมาถึงบ้านค่ะ  คุณนกข.
ปีนี้จัดอลังการสมกับครบ ๗ รอบ  มีการแสดงประกอบแสงสี  เล่าถึงประวัติของมหาวิทยาลัย และบทบาทของนิสิตจุฬาฯต่อสังคม
และที่สำคัญคือ เท้าความกลับไปถึงเมื่อครั้งสมเด็จพระเทพฯ ทรงเข้ามาเป็นนิสิตจุฬา
มีบทบรรยายเล่าถึงบทลิเกในวันรับน้องใหม่  ที่รุ่นพี่ทูลขอให้ทรงร้องด้วย  เช่นเดียวกับพระจริยาวัตรและพระกรุณาธิคุณต่อพระสหายนิสิต
ซาบซึ้งตรึงใจมากค่ะ เกินกว่าจะบรรยาย

งานนี้สมเด็จพระเทพฯเสด็จมาเป็นองค์ประธาน   เปิดโอกาสให้ชาวจุฬาฯได้เข้าเฝ้าชมพระบารมี อย่างอิ่มใจทีเดียวค่ะ

นิสิตเก่าคับคั่งมาก   ละลานตา  ไม่รู้ว่าใครอยู่ตรงไหน  โต๊ะปนกันหมด ไม่มีแยกตามคณะ
อย่าว่าชาวเน็ตผู้รู้จักกันแต่ชื่อแฝงอย่างคุณนวลกับดิฉันเลย  ต่อให้เราสองคนพร้อมใจกัน นัดกันแต่งเป็นแฮรี่ พอตเตอร์  ก็คงมองหากันไม่พบอยู่ดีละค่ะ
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 มี.ค. 01, 01:17

แหะ.. แหะ.. คุณเทาชมพู กะคุณ นกข เจ้าค่ะ
อิฉันหน่ะ บ่มีเลือดสีชมพูเจ้าค่ะ แต่รู้มากรู้เยอะ
เพราะคนรอบกายนั้น มีตั้งแต่สีเลือดหมู สีดำ
สีเทา สีฟ้า (แล้วคณะเศรษฐศาสตร์ แพทย์ศาสตร์
กะครุฯ นี้ สีอะไรคะ จำไม่ได้)
เลยรู้เรื่องงานตั้งแต่เริ่มประชุมจัดงานเรื่อยมากระทั่ง
ตรวจความเรียบร้อยคืนสุขดิบ คือว่ารู้ไปหม้ด.. แหะ แหะ
ตอนนี้ ก็เห็นพากันเปิดทำเนียบรุ่นที่ได้รับมาจากงานดูใหญ่
ว่าแต่คุณเทาชมพูไปแลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกครบ ๘๔ ปี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บไว้บ้างหรือเปล่าคะ
ทางกรมธนารักษ์ทำขึ้นมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะเชียวนะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 27 มี.ค. 01, 01:35

ครุฯ สีแสดครับ ดูเหมือนตั้งใจจะให้หมายถึงสีเพลิง คบเพลิง ประทีปส่องทาง
แพทย์ สีเขียวครับ ยังกับว่าเป็นสีเขียวพิเศษอยู่โทนหนึ่งด้วย เขียวมะกอกหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ
เศรษฐศาสตร์ถ้าจำไม่ผิด สีทอง? สีเงิน? สีน้ำเงิน? จำไม่ได้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 มี.ค. 01, 10:11

สีน้ำเงิน นิเทศศาสตร์ค่ะ
เศรษฐศาสตร์ สีทอง?

เหรียญพิเศษ  อดค่ะ...เสียดายจัง
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 มี.ค. 01, 15:46

ขอถามหน่อยนะคะ  จากบทนี้น่ะค่ะ

o นานาเอนกน้าว........เดิมกลัป์
                                จักร่ำจักรพาฬ............ เมื่อไหม้
                                ตระวันเจ็ด................. อันพลุ่ง
                                น้ำแล้งไข้................... ขอดหาย
                                เจ็ดปลา มันพุ่งหล้า..... เป็นไฟ
                                วาบจตุราบาย............. แผ่นขว้ำ
                                ชักไตรตรึงษ์.............. เป็นเผ้า
                                แลบล้ำ....................... สีลอง

เป็นโคลง หรือ กลอน หรืออะไรคะ  หาฉันทลักษณ์ไม่ถูกเลยค่ะ

แล้วอยากถามเรื่อง โคลงดั้นหน่อยค่ะ  ว่ามันมีกี่รูปแบบอะไรบ้าง  เคยจะได้เลาว่ามี โคลงดั้นวิชชุมาลีอีสาน น่ะค่ะ  ไปอ่านบทกวี ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง แล้วก็แกะไม่ออก  แล้วเห็นรูปแบบฉันทลักษณ์ที่ดูไม่ออกเลยค่ะ  หนังสือไม่รู้อยู่ไหนแล้วเดี๋ยวสว่างแล้วจะไปหาดูอีกทีค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 20 คำสั่ง