เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 13964 ตราที่ใช้แทนตราพระราชลัญญจกรโลโตคืออะไร
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 13 พ.ค. 11, 21:40

เรียนสมาชิกเรือนไทย

          ข้าพเจ้ามีเรื่องรบกวนขอถามสักนิดหนึ่ง คือว่าข้าพเจ้าจำได้ว่าภายหลังประเทศไทยยกเลิกระบบบรรณาการกับ ไทยเราสร้างตราขึ้นใหม่เพื่อแทนที่ ตรานั้นเรียกว่าอะไร
ทั้งนี้ โปรดเมตตาลงรูปให้ด้วย เพราะช่วงนี้เมืองจีนกวดขันในการเข้าเว็ปไซด์ต่างชาติมาก จนนักเรียนอย่างผู้เขียนปวดหัว

          ต้องนำไปเขียนรายงาน โปรดเมตตาด้วย

          สวัสดี

     
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 พ.ค. 11, 21:54

สยามโลกัคราช มาจาก สยาม + โลก + อัคค + ราช  หมายความว่าผู้เป็นใหญ่แห่งแผ่นดินสยาม เป็นความตั้งใจเลียนเสียงสำเนียงแต้จิ๋วว่า เสี้ยมหลอก๊กอ๋อง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 09:06

โลโตคืออะไร

อาจารย์กาญจนา นาคสกุล อธิบายไว้ใน นิตยสารสกุลไทย ไว้ดังนี้

โลโต คือ อูฐ แต่เข้าใจกันว่าเป็นสัตว์หิมพานต์ จิตรกรจึงวาดรูปโลโตให้มีลักษณะเหมือนราชสีห์ เว้นแต่มีหัวคล้ายพญานาค มีหงอนเป็นลายนกยื่นไปจากจมูก ตราโลโต ใช้เป็นตราปิดพระราชสารสมัยกรุงธนบุรีที่ส่งไปยังเมืองจีน สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ประทานคำอธิบายว่า พระราชลัญจกรมหาโลโต เป็นตราที่พระเจ้ากรุงจีนพระราชทานพระเจ้ากรุงสยาม ทำด้วยหยกสีตองอ่อน มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ตราด้านบนแกะเป็นรูปอูฐหมอบ ด้านล่างแกะเป็นตัวอักษรจีนตัวสี่เหลี่ยม ๔ ตัว ซึ่งอ่านได้ว่า เสี้ยม โหล ก๊ก อ๋อง

คำว่า สยามโลกัคราช ก็มาจากอักษรจีนสี่ตัวด้านล่างของพระราชลัญจกรมหาโลโตนี่เอง

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 12:59

พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช

สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำ เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีช้างหมอบอยู่ด้านหลัง ตราเป็นที่จับประทับ (เรียกสามัญว่า ตราช้างหมอบ) ชื่อพระราชลัญจกรสยามโลกัคราช เทียบเลียนล้อมาจาก "เสี้ยมโหลก๊กอ๋อง" ในตรามีอักษรของอยู่ ๔ บรรทัด
"สฺยามโลลคฺคราชสฺส
สนฺเทสสญฺจนํ อิทํ
อชฺฌาวาสนฺสสานุสาสกสฺส
วิชเต สพฺพชนฺตุนํ"

แปลว่า ในตราประทับนี้ของอัครราชาโลกสยาม ผู้ปกครองสั่งสอน สรรพชนในแว่นแคว้น


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 17:22

แล้วใช้ในการหรือครับ

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 17:25

ทั้งนี้พอจะมีรูปไหมครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 17:27

แล้วใช้ในการหรือครับ



พระราชลัญจกรองค์นี้ ในพระราชบัญญัติกล่าวว่าใช้สำหรับประทับในใบพระราชทานที่วิสุงคามสีมา ในหว่างกลางองค์เดียว (หมายถึงใช้ประทับตรงกลางเอกสารเพียงตราเดียว)
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 17:52

อันนี้ขอเรียนถามนะครับ

เรื่องตราพระราชลัญญจกรแผ่นดิน

ตราโลโตนี้พ้นจากสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีมีการใช้เรื่องมาไหมครับ กล่าวคือ ใช้ในการอื่นนอกจากการประทับบนพระราชสารส่งไปถวายพระจักรพรรดิของจีน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 20:28

พระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ทรงมีโอกาสใช้พระราชลัญจกรมหาโลโตนี้เลย เนื่องด้วยกว่าพระเจ้ากรุงจีนจะพระราชทานมาก็พ้นรัชสมัยของพระองค์เสียแล้ว

ปาฐกถาพิเศษ ของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ในหัวข้อ "Siam to Burma Map : แผนที่เส้นทางเดินทัพจากกรุงธนบุรีถึงกรุงอังวะ ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช" มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

สมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรีฯ เป็นสมัยของการกู้บ้านเมือง "อยุธยา" และสถาปนา "สยามประเทศ" ณ กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรได้แล้ว ก็ต้องฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง "กรุงไทย" กับ "กรุงจีน"ตามระบบและระเบียบของโลกเอเชีย นั่นก็คือ การส่งคณะทูตบรรณาการไป "จิ้มก้อง" หรือ "เจริญสัมพันธไมตรี" อันเป็นโบราณราชประเพณี ที่ฮ่องเต้จีนใช้กับทุกๆประเทศในเอเชีย และประเทศอื่นทั่วโลก

การสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในรูปแบบของ "การทูตบรรณาการ" นี้ เป็นหลักหมายของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ และนี่ก็เป็นความยากลำบากอย่างยิ่งยวด เพราะการล่มสลายของกรุงศรีิอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสิ้นสุดของ "ราชวงศ์บ้านพลูหลวง" เกิดบ้านเมืองแตกแยก "เป็นก๊กเป็นชุมนุม" ในขณะที่พระเจ้ากรุงธนบุรีฯ ก็สืบเชื้อสายมาจาก "สามัญชน" ก็มิใช่เป็น "ผู้ดี" หรือ "เชื้อสายเจ้านาย-ราชวงศ์เก่า" แต่อย่างใด

ทางราชสำนักของฮ่องเต้เฉียนหลง ซึ่งเป็นจักรพรรดิราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน ก่อนที่จะมีการปฏิวัติเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ในปี ค.ศ ๑๙๑๑ พระองค์ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง ๖๐ ปี กับ ๑๒๔ วัน ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๗๘-๒๓๓๙ เทียบได้ว่าทรงครองราชย์ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ๓๒ ปี และอยู่จนถึงปีที่ ๑๔ ในรัชกาลที่ ๑ ดังนั้นราชสำนักของไทยสยาม ไม่ว่าจะเป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงธนบุรีของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และสมัยรัตนโกสินทร์ของรัชกาลที่ ๑ ต่างก็ต้องติดต่อสัมพันธ์กันในเชิง "การทูตบรรณาการ" กับราชสำนักจีนของฮ่องเต้เฉียนหลงทั้งสิ้น

ทางราชสำนักของฮ่องเต้เฉียนหลง ต้องการรักษาไว้ซึ่งระเบียบแบบแผนอันเป็น "สถานะเดิม" หรือ "Status Quo" นั่นก็คือ ไม่ต้องการรับรองบุคคลที่ไม่มี "หัวนอนปลายตีน" มาก่อน ดังนั้น แม้ราชสำนักใหม่ ณ กรุงธนบุรี จะพยายามส่ง "ทูตบรรณาการ" ไปกรุงจีน แต่ก็ไม่ได้การรับรองให้เข้าเฝ้า หรือได้รับพระราชทาน "ตราโลโต" แต่อย่างใด โดยฮ่องเต้จะพระราชทาน "ตราโลโต" ให้กับกษัตริย์ต่างๆ เพื่อใช้ประทับในพระราชสาสน์ สำหรับการติดต่อกับจีน โดย "โลโต" หมายความว่า "อูฐ" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการ "หมอบ" เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อฮ่องเต้ของจีน

ดังนั้น กว่าราชสำนักของพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ จะได้การรับรองและได้ตรามา ก็ต้องเพียรพยายามส่งแล้วส่งอีก ตลอดรัชสมัย ๑๔ ปีกว่า ของพระองค์ สถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปภายหลังปี พ.ศ. ๒๓๑๔ เมื่อดูเหมือนว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีฯ จะสามารถสถาปนาพระราชอำนาจ และปราบปรามบรรดา "คู่แข่ง" หรือหัวหน้า "ก๊ก" และ "ชุมนุม" ต่าง ๆ ได้ แต่กว่าที่คณะทูตของพระองค์จะไปถึงเมืองจีน ก็ตกปี พ.ศ. ๒๓๒๔ เข้าไปแล้ว

นักวิชาการทั่วไปเชื่อว่า เมื่อคณะทูตชุดนี้กลับมาถึง "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร" การเมืองไทยก็ผลัดแผ่นดินและสิ้นบุญของ "พระเจ้าตากสินมหาราช" และถูก "สำเร็จโทษ" หรือประหารชีวิตไปแล้ว

แต่อย่างไรก็ตามอานิสงส์ที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีฯ ได้ทรงเพียรพยายามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับกรุงจีน ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๔ นั้น ก็ตกเป็นผลประโยชน์ทั้งทางการทูตและการค้า ให้กับต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ของราชวงศ์จักรี นับเป็นเวลานานถึง ๗๒ ปีต่อมา คือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๙๗

มีคณะทูตบรรณาการจากกรุงไทย ไปกรุงจีน ถึง ๓๕ ครั้ง หรือประมาณ ๒ ปี ต่อ ๑ ครั้ง ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ก่อนที่ระบบการทูตนี้จะถูกยกเลิกไป โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ทรงส่งทูตไป "จิ้มก้อง" ชุดสุดท้าย ก่อนที่สยามจะลงนามในสนธิสัญญาที่ "ไม่เสมอภาค" กับอังกฤษ คือ "สนธิสัญญาเบาว์ริง" เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เพียง ๑ ปี


 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 20:43

คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ เขียนเกี่ยวกับพระนามที่ใช้ในพระราชสาส์นถึงพระเจ้ากรุงจีนอย่างน่าสนใจ ในบทความ เรื่อง "แซ่" ของพระราชวงศ์จักรี ดังนี้

เรื่องแซ่ของพระเจ้าแผ่นดินในพระบรมราชจักรีวงศ์นั้น เริ่มมาแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงส่งทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีน ณ กรุงปักกิ่ง ทรงใช้พระนามในพระราชสาส์นว่า “แต้อั้ว” อนุชาแต้เจียว  

“แต้เจียว” คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ในบันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศจีน จุดเอาไว้ว่า- พ.ศ. ๒๓๒๕ (ค.ศ. ๑๗๘๑) พระเจ้าเช็งเคี่ยนล้ง ครองราชย์ปีที่ ๔๗ แต้อั้ว อนุชา แต้เจียว ได้เถลิงถวัลยราชย์เป็นกษัตริย์ประเทศสยาม และส่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีเป็นครั้งแรก- (จากหนังสือเรื่องประวัติการสัมพันธ์ระหว่างชาติไทยกันชาติจีน โดย ลิขิต ฮุนตระกูล)

จึงกลายเป็นราชประเพณี สืบต่อกันมา ถึงราชกาลที่ ๔ แต่เมื่อถึงรัชกาลที่ ๕ นั้น เพียงแต่กำหนดพระนามเอาไว้ว่า “แต้เจี่ย” ทว่ายังไม่ทันจะไดใช้ในพระราชสาส์นส่งไปยังกรุงปักกิ่งเหมือนดังรัชกาลที่แล้ว ๆ มา

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาไทยจึงงดการติดต่อ (พระราชสัมพันธ์) กับจีนอย่างเป็นทางการ ทว่าบรรดาพ่อค้าวาณิช คนจีนคนไทยก็ยังเป็นเสมือนเดิม

พระเจ้าแผ่นดินไทยห้าพระองค์ พระนาม “แซ่แต้” ของพระองค์ท่าน คือ

                รัชกาลที่ ๑ ทรงใช้ว่า แต้ฮั้ว

                รัชกาลที่ ๒ ว่า แต้หก

                รัชกาลที่ ๓ ว่า แต้ฮุด

                รัชกาลที่ ๔ ว่า แต้เม้ง

                รัชกาลที่ ๕ ซึ่งยังไม่ทันจะมีพระราชสาส์น กำหนดเอาไว้ว่าจะทรงใช้ “แต้เจี่ย”


 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 21:24

พระราชสาส์นถึงพระเจ้ากรุงจีนครั้งรัชกาลที่ ๑ บางครั้งก็ไม่ได้ประทับพระราชลัญจกรมหาโลโต แต่ประทับพระราชลัญจกรไอยราพต มีตัวอย่างในหนังสือเรื่อง "พระราชสาส์นไปเมืองจีน ครั้งรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีมะโรง ฉศก จุลศักราช ๑๑๔๖ พ.ศ. ๒๓๒๗" ซึ่งพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์หญิงเจียน ฉัตรกุล ณ เมรุวัดทองนพคุณ จังหวัดธนบุรี ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕

      "พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยา ปราบดาภิเษก ตามบุรพราชประเพณีมาแต่ก่อน คิดถึงทำนอง คลองพระราชไมตรีสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ ซึ่งมาแต่ก่อน จึงแต่งให้

      พระสวัสดิสุนทร ราชทูต หลวงบวรเสน่หา อุปทูต หลวงพจนาพิมล ตรีทูต ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อ หมื่นพิพิธวาจา ปั้นสื่อ จำทูลพระสุพรรณบัฏสุวรรณพระราชสาส์น เชิญเครื่องราชบรรณาการ คือ

      ช้างพลายสูง ๓ ศอก ๑ คืบ ช้างหนึ่ง ช้างพังสูง ๓ ศอก ๑ คืบ ๒นิ้ว ช้างหนึ่ง รวม ๒ ช้าง
                                                ฯลฯ

      น้ำดอกไม้เทศ ข้างหน้า ๖๐ เต้า ข้างใน ๓๐ เต้า รวม ๙๐ เต้า

      ออกมาจิ้มก้องสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ ตามบุราณราชประเพณีพระมหากษัตราธิราชเจ้าสืบมาแต่ก่อน ถ้าและราชทูต อุปทูต ตรีทูต ท่องสื่อ ปั้นสื่อ ถึงแล้ว ขอสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิง ผู้ใหญ่ ได้เห็นแก่ทางพระราชไมตรีสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยาผู้ใหญ่ จงได้ให้นำราชทูต อุปทูต ตรีทูต ข้าหลวงทั้งปวง เข้ากราบถวายบังคมสมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ สำเร็จแล้ว ขออย่าให้ขาดทางพระราชไมตรี ให้ได้กลับมาจงสะดวก

      พระราชสาส์นคำหับปิดตราโลโต ครั้งนี้หาตราโลโตมิได้ ปิดตราไอยราพต มาเป็นสำคัญ

      พระราชสาส์นมา ณ วันศุกร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๔๖ ปีมะโรง ฉศกฯ"


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 21:50

อันนี้ขอเรียนถามเล็กน้อยครับ

สมัยใดครับที่เลิกใช้ตราโลโต
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 22:01

น่าจะเป็นรัชกาลที่ ๔

"(รัชกาลที่ ๔) ครั้นได้ขึ้นเสวยราชย์แล้ว ก็เริ่มใช้คำ สยาม เป็นชื่อราชอาณาจักรไทยในการติดต่อกับต่างประเทศ. ได้หล่อรูปพระสยามเทวาธิราชขึ้นเป็นตัวแทนวิญญาณของเทวดาผู้รักษาราชบัลลังก์สยาม. พระองค์เองก็ใช้นามในภาษาละตินว่า Rex Siamen Sium. ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้คิดดวงตราหรือพระราชลัญจกรขึ้นดวงหนึ่งสำหรับประทับพระราชสาส์นไปยังราชสำนักจีนโดยเฉพาะ ในดวงตรานั้นมีอักษรเขียนว่า สยามโลกัคคราช (สยาม+โลก+อัคค+ราช = ผู้เป็นใหญ่แห่งแผ่นดินสยาม). คำว่า สยามโลกัคคราช นี้เป็นคำที่เกิดจาการเลียนเสียงภาษาจีนที่ออกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า  เสี้ยมหลอก๊กอ๋อง ซึ่งแปลว่า เจ้าแห่งประเทศเสี้ยมหลอ. สยามโลกัคค นั้นถ่ายเสียงออกมาจาก เสี้ยมหลอก๊ก, ส่วน อ๋อง นั้น แปลเป็นบาลีว่า ราช. (แต่ตราดวงนี้ดูเหมือนจะไม่ได้ใช้ เพราะเลิกประเพณีจิ้มก้องราชสำนักจีนไปเสีย, อิทธิพลของประเทศทุนนิยมล่าเมืองขึ้นตะวันตกเข้ามาครอบครองบริเวณนี้แทนอิทธิพลของจีนเสียแล้ว)."

ข้อมูลจากหนังสือ  "ความเป็นมาของคำ สยาม, ขอม, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"  โดย จิตร ภูมิศักดิ์

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 22:54

ขอบพระคุณครับ

ช่วยชีวิตได้มากเลยข้อมูลท่อนนี้

ฮือๆๆ

ไม่ทราบว่าพอจะมีรูปไหมครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 22:55

ขอบพระคุณครับ

ช่วยชีวิตได้มากเลยข้อมูลท่อนนี้

ฮือๆๆ

ไม่ทราบว่าพอจะมีรูปไหมครับ

จะเอารูปอะไรครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง