เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 75519 ต้นสาละ ที่คนไทยสับสนและเข้าใจผิด
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 11:46

อ้างถึง
ใครหนอที่เริ่มต้นความคิดว่าพระพุทธองค์จะทรงทอดพระวรกายภายใต้ต้นสาละที่มีผลไม้ใหญ่เปลือกแข็ง ขนาดเท่าๆกับลูกปืนใหญ่ห้อยอยู่เต็มต้น

คงจะไม่เคยเห็นภาพเช่นนี้

เข้าใจชัดเจนเลยค่ะว่า Cannon Ball Tree เป็นไปไม่ได้ที่จะใครจะไปนอนใต้ต้นนี้ และลูกที่เห็นก็เหมือนลูกปืนใหญ่จริง ๆ เสียด้วย ดิฉันก็ไม่เคยเห็นลูกผลของต้นนี้มาก่อน

ขอบคุณอาจารย์ Navarat C. ที่ทำให้กระจ่างยิ่งขึ้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 12:14

ไปค้นคำว่าสาละ ในกูเกิ้ล   พบว่ามีทั้งสาละอินเดีย  สาละลังกา และมหาสาละ  เต็มไปหมด ปนเปกันไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ดอกไม้สีขาวนี้ คือดอกสาละในพุทธประวัติหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 12:19

หรือว่าชนิดนี้ คือดอกสาละ ที่ถูกต้อง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 12:24

# ๑๖ คือดอกหิรัญญิการ์  Beaumontia grandiflora Wall

ดอกสาละของจริง

http://travel.webshots.com/photo/2043647970047837447xfKwZo

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 12:43

ต้นสาละหรือคนอินเดียออกเสียงว่าซาล มีรายละเอียดดังนี้ครับ

ชื่อพฤษศาสตร์ Shorea robusta C.F. Gaertn.
ชื่อสามัญ Shal, Sakhuwa, Sal Tree, Sal of India
วงศ์ Dipterocarpaceae
 
ถิ่นกำเนิด พบในประเทศเนปาล และพื้นที่ทางเหนือของประเทศอินเดีย มักขึ้นเป็นกลุ่ม ในบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น เป็นไม้ที่อยู่ในวงศ์ยาง พบมากในลุ่มน้ำยมุนา แถบแคว้นเบงกอลตะวันตก และแคว้นอัสสัม ลักษณะพืช เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมันขอบใบเป็นคลื่น ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก 5 ปีก ปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก 10-15 เส้น
สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย

สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นสาละ พบว่ายาง สามารถใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น ผล ใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 12:54

ตามแกะรอยจากที่ท่านนวรัตนเอามาให้ดู     เจอดอกสาละ  ที่เขาเรียกว่า Sal Tree, Shorea robusta   
น่าจะใช่นะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 12:58

ลูกปืนใหญ่กับดอกสีชมพูสวยงาม  แต่รู้แล้วว่าไม่ใช่สาละในพุทธประวัติ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 13:00

ลูกสาละ?  เห็นคำบรรยายภาษาอังกฤษเรียกว่า Sal fruit


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 13:21

ต้นสาละที่คนอินเดียเรียกว่าซาลนี้ มีชื่อพฤษศาสตร์ ว่าShorea robusta C.F. Gaertn.  เช่นเดียวกับต้นรัง ในป่าเต็งรังของไทย ที่มีชื่อพฤษศาสตร์ ว่าShorea siamensis Miq. คืออยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceaeเช่นกันแต่คนละสายพันธ์ จึงไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่ในทางพุทธศาสนาของไทยแล้ว ถือว่าเป็นต้นเดียวกันกับต้นที่พระพุทธเจ้าอาศัยร่มไม้นั้น ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

ต้นรังมีรายละเอียดดังนี้

ชื่อพฤษศาสตร์  Shorea siamensis Miq
ชื่อสามัญ        Burmese sal, Ingyin
ชื่ออื่น           เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ), รัง (ภาคกลาง), เรียง เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์), ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่), แลบอง เหล้ท้อ เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
วงศ์              Dipterocarpaceae
   
ลักษณะทั่วไป   ไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15-25 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ลำต้นเปลาตรง แตกร่องลึก ตกชันสีเหลืองขุ่น เปลือกในสีน้ำตาลแดงใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 7-12 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบ มนหรือเว้าเล็กน้อย โคนใบเว้า ผิวใบเกลี้ยงถึงมีขนนุ่ม เส้นแขนงใบ 14-18 คู่ ก้านใบยาว 3-4 ซม. ใบแก่สีแดง ถึงแดงส้มดอกสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามกิ่งและปลายกิ่ง ผลรูปไข่ ปลายเป็นติ่งแหลม กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. มีปีกยาว 3 ปีก และปีกสั้น 2 ปีก

ขยายพันธุ เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนกรวดและดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าแดงทั่วไป ทนแล้ง ทนไฟป่าได้ดีมาก
 
การใช้ประโยชน์  จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลอมเหลือง ใช้ก่อสร้างทั่วไปเช่นเสา พื้น รอด ตง และไม้หมอนรถไฟ เป็นต้น ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้และยาแนวเรือ






บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 13:37

         ในหนังสือ กามนิต  ตอนที่ ๔๓ มหาปรินิพพาน  เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป  แปลต้นสาละว่า ต้นรัง ตามความเชื่อของโบราณาจารย์แต่เดิมมา 
       
           อันที่จริง เมืองกุสินาราก็ไม่ใหญ่โตยิ่งไปกว่าหมู่บ้านของพวกมัลละ มีบ้านและกำแพงเมือง ใช้ไม้สานเอาดินทา เห็นครั้งแรก ก็เข้าใจว่าคงจะมีโรคระบาดอะไรอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่เมืองน้อย ๆ นี้ จนผู้คนเบาบางไป ตามประตูบ้านมีคนชราและคนเจ็บนั่งร้องให้กันอยู่เซ็งแซ่
          เราเข้าไปถามว่าเกิดอะไรขึ้น
          พวกนั้นบิดไม้บิดมือตอบว่า "พระศาสดาจะด่วนเสด็จเข้าปรินิพพานเสียแล้ว ในเวลานี้เอง ดวงประทีปของโลกจะดับแสงไป พวกมัลละพากันไปที่ป่ารัง เพื่อไปเฝ้าถวายบูชาแด่พระองค์ผู้ทรงพระภาค เพราะเมื่อก่อนหน้าจะมืดค่ำนี้เล็กน้อย พระอานนท์มาในเมืองตรงไปที่ตลาด ซึ่งเป็นที่ชุมนุม พวกมัลละกำลังประชุมโต้เถียงกันด้วยเรื่องการเมืองเมื่อพระอานนท์ไปถึง ได้บอกว่า
         "ดูก่อนพวกมัลละ ในวันนี้ก่อนเวลาเที่ยงคืน พระพุทธเจ้าจะเข้าเสด็จปรินิพพาน ท่านจงรีบพากันไปเฝ้า เพราะพระพุทธองค์จะได้เสด็จเข้าพระปรินิพพานในเมืองท่าน เป็นโอกาสที่พวกท่านจะได้เฝ้าเป็นครั้งสุดท้าย"
         เมื่อพวกมัลละได้ทราบดั่งนี้ ก็ปริเทวนาการด้วยความเสียใจ พาบุตรภริยารีบไปที่ป่ารัง ส่วนพวกข้าพเจ้าที่เหลือเป็นคนชราและพิการเดินเหินไม่ไหว จึ่งจำต้องแกร่วอยู่กับที่ ไม่สามารถไปบูชาพระศาสดาในครั้งสุดท้ายได้"

          เมื่อได้ความดั่งนี้ เราก็รีบออกประตูเมืองไปยังป่ารัง  ทันทีซึ่งชาวบ้านเหล่านั้นชี้ทางให้ ไปตามทางเห็นพวกมัลละกลับมาเป็นหมู่ อารามที่อยากจะให้ถึงทันใจ เรารีบสาวก้าวตัดข้ามทุ่ง ตรงไปทางมุมป่าน้อย
         
          *************************
           พระองค์เผยพระโอษฐ์อีกครั้งหนึ่ง เป็นพระปัจฉิมวาจา ที่จารึกไว้แก่สังสารโลกเป็นพระสัจธรรมอันล้ำเลิศว่า

          "ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอเตือนท่าน อันสังขารทั้งหลายมีแต่เสื่อมไปเป็นธรรมดา ขอท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญกุศลให้เต็มที่ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

          นี้คือ พระโอวาทแห่งพระศาสดาเป็นมรดกครั้งสุดท้าย

          ครั้นแล้ว สิ้นพระดำรัส สิ้นพระสุรเสียง หับพระโอษฐ์หลับพระเนตร พระอัสสาสะปัสสาสะซึ่งเคยระบายตามธรรมดาค่อย แผ่วเบาลง ๆ ทุกที แล้วก็สิ้นกระแสลม โดยพระอาการสงบ พระภิกษุองค์หนึ่งประกาศว่า พระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว

          อนิจจา! แสงเดือนเพ็ญผ่องกระจ่างจับพระพักตร์อยู่เมื่อกี้ ก็จางซีดขมุกขมัวลง ท้องฟ้าสลัวมัวพยับครึ้ม อากาศเย็นเฉียบจับหัวใจน้ำค้างหยดเผาะ ๆ เป็นหยาดน้ำตาแห่งสวรรค์ เกสรดอกรังร่วงพรูเป็นสายสหัสธาราสรงพระพุทธสรีระ จั๊กจั่นเรไรสงัดเงียบดูไม่มีแก่ใจจะทำเสียง ธรรมชาติรอบข้างต่างสลดหมดความคะนองทุกสิ่งทุกอย่าง

          แล้วจึ่งมีเสียงกระซิกๆ สะอื้นไห้แห่งพระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายพวกมัลละก็ร้องไห้โฮแทบสิ้นสมฤดี         

         
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 14:31

สรุปว่า ความเข้าใจผิดเรื่องต้นสาละของชาวพุทธไทยมีอยู่ ๒ เรื่อง

๑. ต้นสาละ = ต้นรัง

๒. ต้นสาละ = ต้นลูกปืนใหญ่

ทราบแล้วช่วยบอกต่อ

ถือเป็นการทำบุญในวันวิสาขบูชา

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 17:40

ภาพวาดพุทธประวัติ โดย เหม เวชกร

๑๕ ค่ำ เดือน ๖ - วันวิสาขบูชา - วันต้นไม้แห่งชาติ

ประสูติ - ใต้ต้นสาละ



ตรัสรู้ -ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์



ปรินิพพาน - ใต้ต้นสาละคู่



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 18:02

ในพุทธประวัติ กล่าวว่าพระนางสิริมหามายา ทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดพระสูติการ จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปมีพระสูติการ ณ กรุงเทวทหะ   เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า “สวนลุมพินีวัน” เป็นสวนป่าไม้ “สาละใหญ่”

พระนางได้ทรงหยุดพักอิริยาบท พระนางประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละใหญ่ และขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร

สงสัยว่าพระนางสิริมหามายา ประทับอยู่ใต้ต้นสาละชนิดไหน   การเหนี่ยวกิ่งสาละขณะเจ็บพระครรภ์นั้นไม่ใช่บังเอิญ แต่เป็นท่าของการเตรียมคลอด   ต้องยึดอะไรไว้สักอย่างเหนือศีรษะ    ผู้หญิงไทยสมัยโบราณยึดผ้าขาวม้าที่ผูกลงมาจากขื่อ
แต่ต้นสาละอินเดียนั้นลำต้นเรียวชลูดมาก  กิ่งขึ้นไปชูอยู่ข้างบน    ถ้าเป็นต้นเตี้ยๆ กิ่งจะอ่อน เหนี่ยวลำบาก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 18:13

ต้นสาละ ปลูกไว้ตรงที่ประสูติ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 18:16

สาละต้นเล็ก


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง