เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 32 33 [34] 35 36 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269658 คำไทยที่หายไป
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 495  เมื่อ 23 ก.ค. 11, 21:48

คำว่า อินังขังขอบ ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
ความหมาย: เอาใจใส่, เอาใจช่วย, ดูแล, เหลียวแล, นำพา,
(มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่อินัง ไม่อินังขังขอบ หมายความว่า ไม่เอาใจใส่

ท่านใดทราบที่มาของคำบ้างคะ... ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 496  เมื่อ 23 ก.ค. 11, 22:13

คุณโฮเคยอธิบายไว้ใน พันทิป

อินังขังขอบ แต่เดิมคงเป็น อีนังขังข้อ

คำที่ต่างกัน คือ ข้อ และ ขอบ ต่างกันที่เสียงตัวสะกด สำนวนเดิมไม่ออกเสียงตัวสะกด สำนวนปัจจุบันออกเสียงตัวสะกดเป็น /พ/ สาเหตุที่เพิ่มเสียงตัวสะกดเข้าไป อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นพยางค์สุดท้ายของสำนวน ซึ่งเน้นเสียงหนักการออกเสียงตัวสะกด ทำให้เสียงของคำหนักแน่นขึ้น

ส่วนในด้านความหมายนั้น ทั้งคำว่า ข้อ และ ขอบ ไม่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับสำนวนเลย ความหมายของสำนวนนี้อยู่ที่คำว่า "อีนัง" ส่วนคำ "ขังข้อ" หรือ "ขังขอบ" เป็นคำที่ต่อออกไปให้คล้องจองกันเท่านั้น

กาญจนาคพันธุ์ได้อธิบายสำนวนนี้ไว้ว่า

สำนวนนี้มักใช้กับคำว่า "ไม่" คือ ไม่อีนังขังข้อ ลางทีก็พูด "อีนัง" คำเดียว เช่น ไม่อีนัง คำว่า "นัง" คงจะมาจาก "นุงนัง" แปลว่า ยุ่งเกี่ยวพัน "ขังข้อ" หมายไปทางว่า อยู่ในความเกี่ยวข้อง

จากคำอธิบายนี้ กาญจนาคพันธุ์ได้อธิบายว่า "ขังข้อ" หมายถึงอยู่ในความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการอธิบายแบบตีความไม่ได้อธิบายตามคำศัพท์ ดังนั้น คำว่า "ขังขอบ" ก็คงอธิบายได้ตามแบบเดียวกัน
 
หมายเหตุ สำนวนนี้มีการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์จากเสียงโทเป็นเสียงเอกด้วย

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 497  เมื่อ 23 ก.ค. 11, 22:37

คำประเภทเดียวกันค่ะ มีคำที่ต่อออกไปให้คล้องจองกัน... ยิงฟันยิ้ม

- อีนุงตุงนัง
- อีลุ่ยฉุยแฉก
- เกี่ยวดองหนองยุ่ง
- วุ่นวายขายปลาช่อน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 498  เมื่อ 23 ก.ค. 11, 22:55

มีอีกหลายอี

อีล่อยป่อยแอ
อีหน็องอีแหน็ง
อีหลักอีเหลื่อ
อีหลุกขลุกขลัก
อีเหละเขละขละ
อีโหน่อีเหน่
อีโหลกโขลกเขลก

ที่น่าสนใจก็คำว่า อีหรอบ

มีที่มาอย่างไรเอ่ย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 499  เมื่อ 23 ก.ค. 11, 23:14

คำว่า อีหรอบ เป็นคำที่คนไทยโบราณออกเสียงคำว่า ยุโรป (Europe)  ยิงฟันยิ้ม
ใช้หมายถึงประเทศทางตะวันตกหรือทวีปยุโรป
เช่น ดินอีหรอบ หมายถึงดินปืนที่ได้มาจากยุโรป
เข้าอีหรอบ หมายความว่า ทำตามอย่างฝรั่ง
 
ต่อมาความหมายของคำว่า อีหรอบ เปลี่ยนไป หมายความว่า แบบ แนว ทำนอง หรือ ลักษณะ
เข้าอีหรอบเดิม หรือ ลงอีหรอบเดิม หมายความว่า กลับเป็นลักษณะเดิม เป็นแบบเดิม หรือเป็นแนวเดิม
อีหรอบเดียวกัน หมายความว่า ลักษณะเดียวกัน แบบเดียวกัน ทำนองเดียวกัน
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 500  เมื่อ 25 ก.ค. 11, 09:28

คำว่า แม่ซื้อ ค่ะ... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 501  เมื่อ 26 ก.ค. 11, 11:21

คำว่า "แอ้งแม้ง" เอามาลงในกระทู้หรือยังคะ
"ตะครุบกบ" ที่แปลว่าหกล้ม   ยังใช้กันอยู่หรือเปล่า
เฮโลสาระพา = เสียงร้องพร้อม ๆ กัน เพื่อบอกจังหวะให้ออกแรงพร้อมกันเมื่อเวลาลากหรือยก
   ของหนักเป็นต้น
รอยอินเก็บคำว่า เฮ้ว เอาไว้  แปลว่า คําที่เปล่งออกมาเพื่อเยาะให้เก้อ, เอ๊ว ก็ว่า    คำนี้เป็นอีกคำหนึ่งที่หายไป
ไม่รู้พจนานุกรมใหม่ที่เก็บคำสะแลงเอาไว้ มีคำว่า "เฮ้ว" ตามความหมายปัจจุบันหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 502  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 08:05

คำว่าเหม็น  เมื่อก่อนจำแนกชนิดออกไปได้หลายอย่าง 
เหม็นตุๆ          =  กลิ่นเหม็นจากเนื้อสัตว์ เช่นปลา ที่ไม่ได้ตากแดด หรือว่าเก่าจวนขึ้นรา
เหม็นเขียว        =  กลิ่นเหม็นของผัก หรือใบไม้
เหม็นสาบเหม็นสาง   =   กลิ่นเหม็นของซากศพ  หรือเหม็นคล้ายซากศพ
     
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 503  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 08:40

มีคำว่าเหม็นแล้วก็ต้องมีคำว่าหอมเป็นของคู่กันค่ะ... ยิงฟันยิ้ม

คำว่า ฉม เดี๋ยวนี้ไม่มีใครพูดแล้วนะคะ...
บันทึกการเข้า
Iris
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 504  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 21:25

สวัสดีครับ ผมเพิ่งเข้ามาสมัครสมาชิกได้ไม่นาน ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

ผมอยากทราบว่าระหว่างคำว่า "ดอกไม้เบ่งบาน" และ "ดอกไม้แบ่งบาน" คำไหนเป็นคำที่ถูกต้องครับ
จริงๆ แล้วผมเองคิดว่าคำแรกน่าจะถูก แต่ระยะหลังอ่านเจอคำหลังในหนังสือแปลของสำนักพิมพ์ใหญ่แห่งหนึ่งบ่อยๆ
ครั้งแรกที่อ่านเจอ ก็คิดว่าพิมพ์ผิด พอเจอครั้งที่สอง ก็ชักจะรู้สึกแปลกๆ แต่วันนี้อ่านเจอเป็นครั้งที่สาม
เลยไม่แน่ใจว่าราชบัณฑิตฯ ท่านบัญญัติใหม่หรืออย่างไรครับ

อีกคำหนึ่งที่เห็นเขียนกันบ่อยๆ ก็คือคำว่า "มีดปลอกผลไม้"
ผมเองเขียนว่า "มีดปอกผลไม้" มาตลอด
แต่พอมาเจอ "ปลอก" บ่อยๆ เข้า ก็เริ่มจะเสียความมั่นใจ หรือว่าผมจะเขียนผิดมาตลอด
กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 505  เมื่อ 04 ส.ค. 11, 09:31

คำว่า พัดด้ามจิ้ว ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
สมันนี้ยังมีใครพอทราบความหมายบ้างเอ่ย.....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 506  เมื่อ 04 ส.ค. 11, 09:56

ตอบคุณ Iris
ในพระราชนิพนธ์เรื่องศกุนตลา   พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีตอนชมโฉมนางศกุนตลาว่า
งามโอษฐ์ดังใบไม้อ่อน           งามกรดังลายเลขา
งามรูปเลอสรรขวัญฟ้า           งามยิ่งบุปผาเบ่งบาน

แต่ก็มีบางเล่มที่เป็นฉบับเก่า  พิมพ์เป็น  งามยิ่งบุปผาแบ่งบาน   อาจารย์ของดิฉันอธิบายว่าหมายถึงดอกไม้แย้ม คือบางกลีบบานแล้ว บางกลีบยังไม่บาน
แต่ฉบับที่ดิฉันใช้อยู่ พิมพ์ว่า เบ่งบาน   ก็เลยไม่รู้ว่าฉบับไหนถูกต้องกันแน่   ต้องรอคุณ V_Mee  มาอธิบาย

มีดปอกผลไม้   ถูกต้องค่ะ    ปอก เป็นคำกริยา
ปลอก เป็นคำนาม   ปลอกมีด   คือซองเล็กๆใส่มีด 

ตอบคุณ DD พัดด้ามจิ้ว ก็คือพัดแบบพัดญี่ปุ่นที่คลี่ออกไปเกือบครึ่งวงกลม     ฝ่ายพิสูจน์อักษร หรือคนพิมพ์ตามสนพ. ไม่รู้จักคำนี้กันมาก  พิมพ์เป็นพัดด้ามจิ๋ว อยู่บ่อยๆ
เดิมคนไทยไม่มีพัดแบบนี้  พัดที่เราใช้คือพัดที่มีด้ามจับอยู่ข้างล่างด้านเดียว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 507  เมื่อ 04 ส.ค. 11, 09:58

พัดแบบไทย


บันทึกการเข้า
Iris
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 508  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 21:35

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่กรุณาอธิบาย
แต่ถ้าคำว่า "แบ่งบาน" คือบานไม่หมด
ถ้าเช่นนั้น ในภาพข้างล่าง คำนี้ก็แปลว่าทุกคนที่นั่นไม่ได้รู้สึกเหมือนกันใช่ไหมครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 509  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 22:16

ไม่เห็นประโยคภาษาอังกฤษ เลยไม่รู้ว่ามาจากคำว่าอะไร
แต่ถ้าคนอื่นๆรู้สึกอย่างเดียวกับโรบินสัน  ก็ควรใช้คำว่า "เบ่งบาน"  ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 32 33 [34] 35 36 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 20 คำสั่ง