เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269609 คำไทยที่หายไป
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 480  เมื่อ 20 ก.ค. 11, 16:30

อ้อ! ก่อนผมจะลืม  ขอเรียนถามขุนสยามว่า ทำนองเพลงไทยเดิม "กล่อมพญา" นี่มีทำนองเป็นอย่างไร

ผมลองค้นดูใน Youtube ก็ไม่มี  ลองค้นหาใน รอยอิน ก็ไม่มีเช่นกัน  แลัวคำนี้ "จับพลัดจับผลู" เข้ามา

เป็นคำไทยโดยหลงหูหลงตาของเหล่าราชบัณฑิตไปได้อย่างไรกัน?  หรือปัจจุบันไม่มีทำนองเพลงนี้อยู่อีกแล้ว?

เพลงกล่อมพญา เป็นเพลงเก่า ความเร็วจังหวะ ๒ ชั้น คือ เพลงไทยมีจังหวะ ๑ ชั้น ๒ ชั้น และ ๓ ชั้น โดย เพลง ๓ ชั้นจะช้าสุด  ลักษณะของเพลงกล่อมพญาไว้สำหรับเล่นละคร ซึ่งแสดงความสง่าผ่าเผยหรือแสดงอำนาจราชศักดิ์ ฟังแล้วยืดอกได้สบาย ๆเลย
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 481  เมื่อ 20 ก.ค. 11, 16:41

ได้อ่านแล้วค่อยสบายใจหน่อย  ขอถามขุนสยามอีกเพลงหนึ่งนะครับ คือ "บุล่ง" (ไม่มีใน รอยอิน อีกเช่นเคย)  ผมดูใน Youtube แล้ว

มีเพลง "มุล่ง"       ตกลงว่า  เรียกชื่อเพลงไทยเดิมนี้ว่าอย่างไร บุล่ง หรือ มุล่ง ครับ?
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 482  เมื่อ 21 ก.ค. 11, 22:06

กลับมาเรื่องคำไทยค่ะ   ฝาเฟี้ยม  ฝาที่ทำเป็นบานประตูหลายๆบานติดๆกัน  บางบ้าน ฝาทั้งสี่ด้านของห้อง ทำเป้นฝาเฟี้ยม พอมีงานที่ต้องอาศัยห้องกว้างๆ ก็จะเปิดฝาประตูทั้งสี่ด้านนี้พร้อมๆกัน  ทำให้บ้านกว้างมากขึ้น  รับแขกได้เยอะขึ้น  ยังพอมองเห็นได้บ้าง จากตึกแถวโบราณสมัยเก่า





บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 483  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 07:48

ได้อ่านแล้วค่อยสบายใจหน่อย  ขอถามขุนสยามอีกเพลงหนึ่งนะครับ คือ "บุล่ง" (ไม่มีใน รอยอิน อีกเช่นเคย)  ผมดูใน Youtube แล้ว

มีเพลง "มุล่ง"       ตกลงว่า  เรียกชื่อเพลงไทยเดิมนี้ว่าอย่างไร บุล่ง หรือ มุล่ง ครับ?

เพลงมุล่ง เป็นเพลงที่ใช้สำหรับฝึกหัดการตีระนาดเอก

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 484  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 07:51

กลับมาเรื่องคำไทยค่ะ   ฝาเฟี้ยม  ฝาที่ทำเป็นบานประตูหลายๆบานติดๆกัน  บางบ้าน ฝาทั้งสี่ด้านของห้อง ทำเป้นฝาเฟี้ยม พอมีงานที่ต้องอาศัยห้องกว้างๆ ก็จะเปิดฝาประตูทั้งสี่ด้านนี้พร้อมๆกัน  ทำให้บ้านกว้างมากขึ้น  รับแขกได้เยอะขึ้น  ยังพอมองเห็นได้บ้าง จากตึกแถวโบราณสมัยเก่า

เรื่องฝาเฟี้ยมแล้ว สิ่งที่ใกล้กัน ก็เห็นจะเป็นหน้าต่างแบบฝาเฟี้ยม ไม่ทราบว่าเคยเห็นกันหรือไม่ เป็นบานหน้าต่างทำด้วยไม้ เว้นช่องไว้ ๑ ช่อง เหมือนอย่างทางม้าลาย จำนวน ๒ ชิ้นเข้าประกบด้วยกัน  เวลาเลื่อนปิด แผงไม้ก็จะทำหน้าที่เลื่อนบังกัน ถ้าเปิดก็เลื่อนไม้เพื่อเปิดหน้าต่างเหมือนทางม้าลาย คือ ช่อง เว้น ช่อง ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 485  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 09:19

ยาย : ไปหยิม "หม้ออวย" มาให้หน่อยซิ

เด็ก : อวย ไหน  ฮืม

หม้ออวยเป็นภาชนะเคลือบ ทำทรงหม้อป่อง ๆ มีหลายขนาด เล็กเท่าลูกแตงโม ไล่ขนาดขึ้นไป นิยมเคลือบสีฟ้าอมเขียว, สีน้ำตาลอมแดง, สีเขียว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 486  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 09:23

ยาย : ไปหยิบ "หม้อหยวนโล้" ติดมือมาด้วยนะ

เด็ก : หยวนโล้ ?

หม้อหยวนโล้ หรือเรียกหม้อไฟ หรือ หม้อโป๊แตก เป็นภาชนะที่สามารถใส่ถ่านไฟทำให้อาหารนั้นร้อนแล้วนำมาตั้งไว้บนโต๊ะได้ เป็นวัฒนธรรมการกินอาหารของจีนที่ต้องกินของร้อน ๆ


บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 487  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 09:23

กลับมาเรื่องคำไทยค่ะ   ฝาเฟี้ยม   ฝาที่ทำเป็นบานประตูหลายๆบานติดๆกัน  บางบ้าน ฝาทั้งสี่ด้านของห้อง ทำเป้นฝาเฟี้ยม พอมีงานที่ต้องอาศัยห้องกว้างๆ ก็จะเปิดฝาประตูทั้งสี่ด้านนี้พร้อมๆกัน  ทำให้บ้านกว้างมากขึ้น  รับแขกได้เยอะขึ้น  ยังพอมองเห็นได้บ้าง จากตึกแถวโบราณสมัยเก่า

เรื่องฝาเฟี้ยมแล้ว สิ่งที่ใกล้กัน ก็เห็นจะเป็นหน้าต่างแบบฝาเฟี้ยม ไม่ทราบว่าเคยเห็นกันหรือไม่ เป็นบานหน้าต่างทำด้วยไม้ เว้นช่องไว้ ๑ ช่อง เหมือนอย่างทางม้าลาย จำนวน ๒ ชิ้นเข้าประกบด้วยกัน  เวลาเลื่อนปิด แผงไม้ก็จะทำหน้าที่เลื่อนบังกัน ถ้าเปิดก็เลื่อนไม้เพื่อเปิดหน้าต่างเหมือนทางม้าลาย คือ ช่อง เว้น ช่อง ครับ

ที่คุณ siamese ว่า เรียกว่า ฝาไหล ค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 488  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 09:27

ยาย : ควัก "งาปิ" มาให้ยายสักช้อนหอยซิ

เด็ก : รู้แต่งาดำ งาขาว แต่งาปิ ?

งาปิ เป็นการเรียกเพี้ยนเสียงของ กะปิ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ คนไทยนิยมเรียก งาปิ, เยื่อเคย จนเพื้ยนไปหมด จึงมีพระราชบัญญัติให้เรียกชื่อให้ถูกต้องว่า "กะปิ"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 489  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 09:33

กลับมาเรื่องคำไทยค่ะ   ฝาเฟี้ยม   ฝาที่ทำเป็นบานประตูหลายๆบานติดๆกัน  บางบ้าน ฝาทั้งสี่ด้านของห้อง ทำเป้นฝาเฟี้ยม พอมีงานที่ต้องอาศัยห้องกว้างๆ ก็จะเปิดฝาประตูทั้งสี่ด้านนี้พร้อมๆกัน  ทำให้บ้านกว้างมากขึ้น  รับแขกได้เยอะขึ้น  ยังพอมองเห็นได้บ้าง จากตึกแถวโบราณสมัยเก่า

เรื่องฝาเฟี้ยมแล้ว สิ่งที่ใกล้กัน ก็เห็นจะเป็นหน้าต่างแบบฝาเฟี้ยม ไม่ทราบว่าเคยเห็นกันหรือไม่ เป็นบานหน้าต่างทำด้วยไม้ เว้นช่องไว้ ๑ ช่อง เหมือนอย่างทางม้าลาย จำนวน ๒ ชิ้นเข้าประกบด้วยกัน  เวลาเลื่อนปิด แผงไม้ก็จะทำหน้าที่เลื่อนบังกัน ถ้าเปิดก็เลื่อนไม้เพื่อเปิดหน้าต่างเหมือนทางม้าลาย คือ ช่อง เว้น ช่อง ครับ

ที่คุณ siamese ว่า เรียกว่า ฝาไหล ค่ะ

ขอบคูณมากครับ ตอนเด็ก ๆ อยู่บ้านริมแม่น้ำ อากาศเข้าดีนักครับ ชอบเล่นเลื่อนไป เลื่อนมา  ยิ้มเท่ห์

คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า "ทัวะเทง" ทัวะ = เลื่อน เทง = หน้าต่าง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 490  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 09:52

ยาย : เดี่ยวยายจะทำกับข้าว แล้วใส่ "ขันโอ" ถวายพระนะ .. ไปหยิบขันโอมาให้ที

เด็ก : ถ้วยโถโอชาม...ขันโอคืออะไร  ฮืม

ขันโอ เป็นภาชนะทำด้วยไม้ไผ่เคลือบรัก เรียกว่า เครื่องเขิน ทรงโอ คือ รูปร่างอย่างขันปากงุ้ม มีฝาปิด


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 491  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 09:52

อันนี้เรียกว่า หน้าต่างบานกระทุ้ง...


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 492  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 09:55

เด็ก : ยาย ๆ นี่จ๊ะขันโอ

ยาย : ไม่ใช่ ๆ นี่มัน "เตียบประดับมุก" ไม่ใช่ขันโอ

เตียบ น. ตะลุ่มปากผาย มีฝาครอบ สําหรับใส่ของกิน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 493  เมื่อ 22 ก.ค. 11, 10:00

เด็ก : ยาย ๆ แล้วเตียบ กับ ตะลุ่ม ต่างกันอย่างไร

ยาย : ตะลุ่มเป็นทรงคล้ายพาน ส่วนเตียบจะมีขาสิงห์ เตี้ยจ่อมกว่า มีฝาปิดได้ทั้งสองอย่าง


บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 494  เมื่อ 23 ก.ค. 11, 13:48

 วันพระหรืองานทำบุญที่วัดเด็กวัดจะไป "ยกตะลุ่ม" กัน แต่ระยะหลังการยกสำรับกับข้าวที่นำมาถวายพระไม่ได้ใช้ ตะลุ่ม แต่จะใส่ชามโอ วางบนถาด แต่ยังเรียกกันว่า "ยกตะลุ่ม "
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 31 32 [33] 34 35 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 20 คำสั่ง