มีคำเกี่ยวกับ เรือ และ ท่าน้ำ ที่ใช้กันมาแต่โบราณ ในความหมายอื่นๆ มาเล่าสู่กันฟังคะ...
บางคำก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ที่มาของคำ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร

- เริ่มกันตั้งแต่เรือเริ่มออกจากท่า ซึ่งจะต้องใช้เท้าถีบหัวเรือส่งออกมา เรือถึงจะแล่นต่อไปได้ กลายเป็นที่มาของคำว่า "
ถีบหัวเรือส่ง" หรือ "
ถีบหัวส่ง" ค่ะ
- เมื่อเรือแล่นออกจากท่าไปแล้ว ก็จะมีการนำเอาไม้มาปักจองไว้เป็นสถานที่จอดเรือ ห้ามคนอื่นมาจอด อันเป็นที่มาของคำว่า "
กันท่า"
- เมื่อพ่อบ้านออกเรือไปแล้ว ก็เป็นโอกาสของหนุ่มๆ ที่จะเข้าไปเกี้ยวสาวในบ้าน หากลูกสาวบ้านไหนเป็นใจรู้กันกับไอ้หนุ่มก็จะแอบไปเอาไม้ที่ปักจองกันท่าไว้ออก เป็นที่มาของคำว่า "
ให้ท่า"
- จากนั้นก็จะเอาสะพานไม้มาวางพาดให้ไอ้หนุ่มขึ้นจากเรือแล้วเดินเข้ามาหา จึงเป็นที่มาของคำว่า "
ทอดสะพาน"
- การเดินทางไปยังต่างจังหวัดในสมัยก่อนจะใช้ทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งระยะเวลาแต่ละเที่ยวคงจะห่างกันมาก หากผู้โดยสารมาไม่ทันขึ้นเรือที่ท่านี้ ก็จะต้องรอจนกว่าจะได้ไปอีกรอบ หรืออาจจะต้องเดินทางไปดักขึ้นยังท่าถัดไป เป็นที่มาของคำว่า "
พลาดท่า"
- ไม้กันท่า หากปักไว้ไม่แน่น ไม้หลุดไหลไปตามน้ำ ก็จะถูกเรือลำอื่นมาจอดแทนที่ เป็นที่มาของคำว่า "
เสียท่า"
- เมื่อถูกเรือลำอื่นมาเสียบแทนแล้ว แถมยังตามไปเอาไม้หลักที่หลุดไปคืนมาไม่ได้ ก็เท่ากับว่า "
หมดท่า"
- เวลาเอาเรือเข้าจอดที่ท่า จะพูดว่า เรือ "
เข้าท่า"
- เมื่อจะเข้าเทียบท่า หากคนถ่อ คนถือหางเสือ ไม่สามัคคีกัน จอดเรือไม่ได้สักที ก็จะทำให้เรือ "
ไม่เข้าท่า"
ส่วนสำนวนที่ มีที่มาจากการจับปลา...
-
สุ่มสี่สุ่มห้า และ "
เดาสุ่ม" มาจากการใช้สุ่มจับปลา ซึ่งกว่าจะได้ปลาแต่ละตัว ต้องเอาสุ่มลงครอบหลายๆ ครั้ง
- "
คว้าน้ำเหลว" มาจากการครอบสุ่มลงไปแล้วเอามือควานหาตัวปลาในสุ่ม แต่ไม่มีปลาได้มาแต่ขี้โคลน
- "
ลอบกัด" มาจากการดับลอบจับปลา แต่คนจับไม่ระวังตัว มือเลยไปถูกเอางาที่อยู่ในลอบ ได้รับบาดเจ็บไป
- "
ลักลอบ" ถูกมือ(ไม่)ดีแอบขโมยปลาในลอบที่ดักไว้ไป