เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 270283 คำไทยที่หายไป
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 14:19

"ไม้กระดองหาย"

ขอฉาย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น คันฉาย ไม้สงฟาง กระดองหาย ดองหาย หรือดองฉาย ของฉายเป็นเครื่องมือของชาวนาชาวไร่ในการสงฟาง สงต้นถั่วในเวลานวด
ของฉายทำจากลำไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ มือจับได้รอบ ลำไม้ไผ่จะต้องแก่จัด ตัดไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตร หาลำไม้ไผ่ที่มีแขนงโค้ง ๆ และแข็งแรง เพื่อจะได้ดัดเป็นขอใช้สงฟางหรือสิ่งต่าง ๆ ได้ ส่วนแขนงที่แตกออกมาตามข้อไม้ไผ่ข้ออื่น ๆ จะเหลาให้เรียบ เหลือเพียงแขนงที่ทำเป็นขอเท่านั้น เหลาปลายขอสำหรับสงฟางหรือเกี่ยวให้แหลม การที่ทำให้ขอโค้งขอตามความต้องการ ชาวนาจะใช้ขอลนไฟแล้วค่อย ๆ ดัด จนขอไม้ไผ่นั้นโค้งตามต้องการ แขนงไผ่ที่แตกมาตามข้อเพื่อทำเป็นขอบางที่หายาก ก็จะใช้เหล็กมาดัดเป็นขอแทน โดยใช้เหล็กส่วนที่เป็นโคนตอกเข้าไปในรูไม้ไผ่ หรือใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นด้ามถือก็มี ตัวขอจะแน่นยิ่งขึ้นถ้าใช้ครั่งลนไฟเชื่อม พอครั่งเย็นจะยึดเหล็กที่ทำเป็นขอจนแน่น ปลายเหล็กเป็นขอเผาไฟให้แดงใช้ค้อนทุบให้แหลมคม บางทีก็ใช้ตะไบถู การใช้ขอฉายจะใช้ในเวลานวดข้าว หรือนวดถั่ว การนวดในสมัยก่อนจะใช้ควายหลาย ๆ ตัว เดินวนไปตามฟ่อนข้าวหรือฟ่อนถั่ว พอจะคาดคะเนว่าเมล็ดข้าวเปลือกหรือถั่วร่วงหล่นจากรวงมากแล้ว ก็จะใช้ขอฉายส่วนเป็นขอสงฟางสงตัวถั่วกลับไปมา เพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหรือเมล็ดถั่วหล่นมากองที่ลาน หากควายเดินเหยียบจนเมล็ดออกจากรวงหมดแล้ว ก็ใช้ขอฉายสงฟางออกให้หมด จะเหลือข้าวเปลือกกองในลานเท่านั้น ข้าวเปลือกกองอยู่อาจมีเศษฟาง เศษข้าวลีบปนอยู่ จะนำไปวีข้าว หรือใช้พลั่วสาดข้าวอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะขนเก็บขึ้นยุ้งฉาง

วีข้าวที่คุณ Siamese พูดถึงหมายถึง"ฝัดข้าว"หรือเปล่าครับ ที่บ้านผมเวลานวดข้าวเสร็จก็จะแยกเมล็ดข้าวลีบออกจากข้าวโดยการนำข้าวไปเทลงบนสีฝัด แล้วหมุนวงล้อให้สีฝัดทำงาน สีฝัดจะแยกส่วนที่เป็นเศษฟางหรือเมล็ดลีบออกไปเหลือแต่ข้าวเมล็ดเต็มๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 14:36

มาตราตวงแบบโบราณ
  ๑๕๐ เมล็ดข้าว เป็น ๑ หยิบมือ   
  ๔ หยิบมือ เป็น ๑ กำมือ   
  ๔ กำมือ เป็น ๑ ฟายมือ   
  ๒ ฟายมือ เป็น ๑ กอบ   
  ๒ กอบ เป็น ๑ แล่ง   
  ๒ แล่ง เป็น ๑ ทะนาน   
  ๕ ทะนาน เป็น ๑ กระเชอ   
  ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด   
  ๕ สัด เป็น ๑ กระชุก   
  ๔ กระชุก เป็น ๑ ตะลอง   
  ๒ ตะลอง เป็น ๑ บั้น   
  ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน   
  ๔ เกวียน เป็น ๑ ตะล่อม   
  ๕ ตะล่อม เป็น ๑ ยุ้ง
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 14:39

สมัยก่อนจะทำนากัน 2 แบบ คือ นาหว่าน กับ นาดำ ที่บ้านผมทำ นาดำ ต้องใช้น้ำมากหน่อย ต้องเตรียมแปลงเพาะกล้า ก่อนจะหว่านพันธุ์ข้าวลงแปลงต้องวิดน้ำออกให้แห้งจำได้ว่าใช้ "ชงโลง" เรียกกันเพี้ยนเป็น ชะโลง ตั้งไว้ที่มุมนาแล้ววิดน้ำออก ชงโลงจะถูกแขวนไว้บนขาหยั่งสามขา เวลาวิดน้ำก็จับด้ามแล้ววิดน้ำออกไปจนแห้งแล้วค่อยหว่านเมล็ดข้าวที่เพาะไว้ลงไป
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 15:20

สมัยก่อนจะทำนากัน 2 แบบ คือ นาหว่าน กับ นาดำ ที่บ้านผมทำ นาดำ ต้องใช้น้ำมากหน่อย ต้องเตรียมแปลงเพาะกล้า ก่อนจะหว่านพันธุ์ข้าวลงแปลงต้องวิดน้ำออกให้แห้งจำได้ว่าใช้ "ชงโลง" เรียกกันเพี้ยนเป็น ชะโลง ตั้งไว้ที่มุมนาแล้ววิดน้ำออก ชงโลงจะถูกแขวนไว้บนขาหยั่งสามขา เวลาวิดน้ำก็จับด้ามแล้ววิดน้ำออกไปจนแห้งแล้วค่อยหว่านเมล็ดข้าวที่เพาะไว้ลงไป

นำภาพชงโลง มาให้ดูครับ


บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 15:39

สมัยก่อนจะทำนากัน 2 แบบ คือ นาหว่าน กับ นาดำ ที่บ้านผมทำ นาดำ ต้องใช้น้ำมากหน่อย ต้องเตรียมแปลงเพาะกล้า ก่อนจะหว่านพันธุ์ข้าวลงแปลงต้องวิดน้ำออกให้แห้งจำได้ว่าใช้ "ชงโลง" เรียกกันเพี้ยนเป็น ชะโลง ตั้งไว้ที่มุมนาแล้ววิดน้ำออก ชงโลงจะถูกแขวนไว้บนขาหยั่งสามขา เวลาวิดน้ำก็จับด้ามแล้ววิดน้ำออกไปจนแห้งแล้วค่อยหว่านเมล็ดข้าวที่เพาะไว้ลงไป

นำภาพชงโลง มาให้ดูครับ

แบบนี้ผมเรียก "ตะโพง/ กระโพงวิดน้ำ" ครับ

คุณSiamese ข้ามคำถามของคุณ pathuma เรื่อง วีข้าวไป ผมขออนุญาตตอบแทนนะครับ

การวีข้าวสมัยนี้ใช้เครื่องกันหมดแล้ว  แต่สมัยผมยังเด็ก การวีข้าวจะใช้เครื่องมือที่เหมือนพัดขนาดยักษ์พัดหรือโบกเพื่อไล่เมล็ดข้าวลีบออกไป
หลังจากนั้นจะใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า  "กะโห้"  ลักษณะเหมือนจอบแต่ทำด้วยไม้คราดข้า้วมาเป็นกองเพื่อดำเนินการอย่างอื่นต่อไป
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:05

ข้าวที่ผ่านการนวดและฝัดแล้วจะถูกนำไปเก็บไว้ใน "ยุ้งข้าว" หรือบางแห่งจะเก็บไว้ใน "พ้อม" หรือ "กระพ้อม" ซึ่งเป็นภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ยาด้วยดินใช้ใส่ข้าวเปลือก มีขนาดใหญ่มากขนาดคนลงไปนั่งได้สบายๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:10

เอาภาพ "วี" เพื่อมา "วีข้าว" มาฝากครับ


บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:14

ชอบมากเลยครับ ไม่เคยเห็นจริงๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:25

มาต่อเรื่องคำไทยหายไปกันดีกว่า วกไปนานมาก

จากพระราชหัตถเลขา คราวเสด็จประพาสราชบุรี ร.ศ. ๑๒๘

"..ได้หยุดพักเลี้ยงดูกันแล้วเป็นที่ร่ม มีต้นไม้ใหญ่มาก ต้นทางที่จะขึ้นไปถ้ำใหม่ หยุดพักเลี้ยงดูกันแล้วได้ลงเรือแล่นต่อขึ้นไป ข้ามแก่งหลวง แก่งน้อย ซึ่งไม่มีอะไรสังเกตุได้นอกจากกรุย ช่างไม่ขบขันเสียจริง ๆ ขึ้นไปหยุดพักจอดเรือ กินกลางวันที่วังหมึก..."


"กรุย" ควรจะหมายถึงอะไร  ฮืม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:31

คุณSiamese นี่พึ่งได้เสมอเลยครับ  เนื่องจากผมค่อนข้างซัดเซพเนจรมาตั้งแต่เด็ก  พวกภาษาต่างๆ เช่นเครื่องมือเครื่องใช้
บางครั้งจำผสมปนเปกันไปหมด  ไม่รู้ว่าเป็นภาษาของภาคไหนกันแน่  แต่มีเครื่องมือชิ้นหนึ่งซึ่งค่อนข้างแน่ใจว่าเป็นภาษาจีนแน่ๆ
ก็คือ  "จับเจี๋ยว"  เป็นภาชนะหม้อดินที่ป้าเอาไว้ต้มสมุนไพร  ลักษณะเป็นหม้อดินเล็กๆ มีกรวยยื่นออกมาเหมือนกาต้มน้ำ  และมี
ด้ามจับด้วย  ต้องพึ่งคุณ Siamese อีกแล้วครับ  จัดหาภาพให้หน่อย
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:35

มาต่อเรื่องคำไทยหายไปกันดีกว่า วกไปนานมาก

จากพระราชหัตถเลขา คราวเสด็จประพาสราชบุรี ร.ศ. ๑๒๘

"..ได้หยุดพักเลี้ยงดูกันแล้วเป็นที่ร่ม มีต้นไม้ใหญ่มาก ต้นทางที่จะขึ้นไปถ้ำใหม่ หยุดพักเลี้ยงดูกันแล้วได้ลงเรือแล่นต่อขึ้นไป ข้ามแก่งหลวง แก่งน้อย ซึ่งไม่มีอะไรสังเกตุได้นอกจากกรุย ช่างไม่ขบขันเสียจริง ๆ ขึ้นไปหยุดพักจอดเรือ กินกลางวันที่วังหมึก..."


"กรุย" ควรจะหมายถึงอะไร  ฮืม

นี่มีการลองภูมิอะไรกันหรือเปล่านี่  กรุย จะหมายถึงอะไรได้นอกจากไม้รวกที่ชาวบ้านเขาปักเรียงรายเอาไว้แบ่งเขต  หรือเป็นเครื่องหมายบอกอะไรสักอย่าง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:36

คุณSiamese นี่พึ่งได้เสมอเลยครับ  เนื่องจากผมค่อนข้างซัดเซพเนจรมาตั้งแต่เด็ก  พวกภาษาต่างๆ เช่นเครื่องมือเครื่องใช้
บางครั้งจำผสมปนเปกันไปหมด  ไม่รู้ว่าเป็นภาษาของภาคไหนกันแน่  แต่มีเครื่องมือชิ้นหนึ่งซึ่งค่อนข้างแน่ใจว่าเป็นภาษาจีนแน่ๆ
ก็คือ  "จับเจี๋ยว"  เป็นภาชนะหม้อดินที่ป้าเอาไว้ต้มสมุนไพร  ลักษณะเป็นหม้อดินเล็กๆ มีกรวยยื่นออกมาเหมือนกาต้มน้ำ  และมี
ด้ามจับด้วย  ต้องพึ่งคุณ Siamese อีกแล้วครับ  จัดหาภาพให้หน่อย


บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:43

ใช่แล้วครับคุณ Siamese หน้าตาต่างกันนิดหน่อย  แต่ก็ใช่  "จับเจี๋ยว"  นั่นแหละ  ไม่รู้เด็กยุคปัจจุบันจะเคยเห็นหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:45

ต่อมาจากพระราชหัตถเลขา คราวเสด็จประพาสราชบุรี ร.ศ. ๑๒๘  ลงวันที่ ๑๕ กันยายน

ทรงเสด็จพระราชดำเนินวัดใหญ่สุวรรณาราม ทรงทอดพระเนตรภาพจิตรกรรมฝาผนัง

"...รูปภาพเทพชุมนุมที่นั่งเป็นชั้น ๆ ในผนังอุโบสถดูได้ทุกตัว แลเห็นว่าไม่มีฝีมือแห่งใดในกรุงเทพ ๆ เหมือนเลย ... แต่อย่าเข้าใจว่าเป็นภาพกาก เขียนแบบแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เขียนนั้นรู้ความคิดเดิม ว่ายักษ์หมายถึงว่าเป็นคนชนิดใด เทวดาเป็นคนชนิดใด การนุ่งหุ่มเครื่องแต่งกายรู้ว่าจะสอดสวมอย่างไร ไม่ได้เขียนพุ่งๆ อย่างเช่นทุกวันนี้.."

"เขียนพุ่ง ๆ"  ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 16:47

ใช่แล้วครับคุณ Siamese หน้าตาต่างกันนิดหน่อย  แต่ก็ใช่  "จับเจี๋ยว"  นั่นแหละ  ไม่รู้เด็กยุคปัจจุบันจะเคยเห็นหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง