เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269354 คำไทยที่หายไป
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 00:53

เด็กคนนี้ ขี้เกียจจนเหลือกำลังลาก  ให้ทำอะไรก็ไม่ทำ
มีดบาดเพียงแค่นี้  มาทำเป็นร้อง พิโอดพิโอย อยู่ได้
เด็กสมัยนี้ อ่านหนังสือไม่แตก    อ่านผิดอ่านถูก คำยากๆก็อ่านกันไม่ค่อยจะได้
ทำไมช่าง กระด้างกระดางลาง อย่างนี้ ใครตักเตือนทำเป็น เถียงคำไม่ตกฟาก
คนอะไรช่าง ท้องยุ้งพุงกระสอบ  กินเท่าไหร่ไม่รู้จักอิ่ม
ดื้อเป็นวัวเขาเกก 

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 02:58

- แม่กระเชอก้นรั่ว

สำนวนนี้น่าจะมาจาก  แม่ผู้หญิง  แม่ผู้ยัง  "แม่กระชังก้นรั่ว"  แม่ก้นตะกั่ว  แม่ขนครัวลงล่าง  แม่ย่างม้าเหาะ  แม่เลาะขอบรั้ว

แต่กระชังนั้นเขาเอาไว้ใส่ปลามิใช่หรือ???  ส่วนกระเชอนั้นเขาเอาไว้ตวงข้าวใช่หรือเปล่านะ?


ผมเคยเห็นเขาสะกดแบบนี้ครับ "กระเฌอ" แล้วคุณ willyquiz รู้จัก "ติ้ว" ตวงข้าวไหม  ฮืม

ลุงไก่หายหัวเข้าวัดไปนานแสนนาน แต่ก็ยังรู้จัก "ติ้ว"
ผมว่าในภาพที่ลุงกำลัง "สาน" อยู่นั้น เพื่อใช้ตวงข้าวน่าจะเรียกว่า "กระชุ" นะครับ
สำหรับ "ติ้ว" นั้น จะเป็นไม้คล้ายๆ ตะเกียบ แต่ปลายด้านหนึ่งจะแบน ลักษณะคล้ายไม้แคะขนมถ้วย แต่ใหญ่กว่า ปัจจุบันนี้ก็ยังมีการใช้อยู่ตามท่าเรือ สำหรับใช้ในการนับจำนวนกระสอบสินค้าจากโกดังบนฝั่งลงในระวางเรือ หรือนับจำนวนกระสอบจากระวางเรือขึ้นสู่ฝั่ง สังเกตไม้เล็กๆ ในภาพ ที่คนงานถืออยู่ นั่นแหละครับคือ "ติ้ว"
และเป็นประโยชน์สำหรับกรรมกร เพื่อการนับจำนวนเที่ยวที่แบกกระสอบ สำหรับไปเบิกค่าแรงจากนายจ้างหรือ "เถ้าแก่"
คุณ  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ  เอาติ้วนี้มาเขย่าไม่ได้นะครับ เพราะว่ามันไม่มีกระบอกใส่


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 05:35

เมื่อกล่าวถึง "ติ้ว" (ต-เต่า ) ก็ทำให้นึกถึงคำ "ดิ้ว" (ด-เด็ก) ซึ่งก็เป็นไม้อย่างหนึ่งเช่นกัน แต่ใหญ่กว่า "ติ้ว" (ต-เต่า) มากนัก
เท่าที่จำได้ "ดิ้ว" เป็นอาวุธประจำมือของนักเลงในยุคหนึ่ง เข้าใจ่ว่าจะเป็นในยุคของ "โก๋หลังวัง" 
เริ่มจากยุคโบราณ ที่นักเลงจะต้องถือ "ไม้ตะพด" สำหรับนักเลงรุ่นใหญ่สำหรับประกาศศักดา ตามต่อมาด้วย "ไม้คมแฝก" สำหรับนักเลงรุ่นกลาง และ "ไม้หน้าสาม" สำหรับนักเลงในยุคหลังๆ และ "ไม้ที" สำหรับนักเรียนนักเลงระดับอาชีวะศึกษา
ผมนึกภาพของ "ดิ้ว" ได้ แต่อธิบายไม่ถูก คงต้องรอท่านผู้ชำนาญการมาช่วยอธิบาย
และสำหรับนักเลงประเภทไม่ค่อยจะมีศักดิ์ศรีของความเป็นนักเลงเท่าใดนัก ก็มักจะใช้ "เหล็กขูดชาร์ฟ" เป็นอาวุธไว้ห้ำหั่นกัน เท่าที่ทราบ คำว่า "ชาร์ฟ" ในภาษาไทย ก็ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษคำว่า "Shaft"

ขอแก้ไขเรื่องลักษณะของ "ติ้ว" ที่ผมอธิบายในความเห็นก่อน ว่าคล้ายกับไม้ตักขนมถ้วย - ว่ากันตามจริงแล้ว มันเหมือนกับไม้ตะเกียบมากกว่า แต่จะสั้นกว่าไม้ตะเกียบเล็กน้อย

ตอนที่ผมไปฝึกงานที่โกดังสินค้าเกษตรริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งแถวพระประแดง ก็ดูพวกคนงานแบกกระสอบจากโกดังลงเรือ สมัยนั้นไม่ได้ใช้ชื่อเรียกว่า "คนงาน" หรือ "กรรมกร" แต่เรียกว่า "กุลี"
ทางต้นทางหน้าโกดัง เมื่อกุลีแบกกระสอบผ่านโต๊ะเสมียน เสมียนจะส่งไม้ดิ้วให้กุลีไปหนึ่งอัน เมื่อไปถึงปลายทางที่ระวางเรือ กุลีจะคืนไม้ดิ้วให้กับเสมียนในเรือที่ยืนดักอยู่ที่ปากระวาง

เรือขนสินค้าเกษตรจะเป็นเรือโป๊ะเหล็กแบบเดียวกับเรือขนน้ำตาลที่ล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่อยุธยานั่นแหละ มีขนาดระวางอย่างเล็กก็ห้าร้อยตัน จนถึงขนาดใหญ่สุดที่หนึ่งพันห้าร้อยตัน ปัจจุบันคงจะมีขนาดสูงสุดถึงสองพันตัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 07:26

นำภาพติ้ว ไว้สำหรับจ่ายให้กับกุลี เพื่อนับจำนวนรอบ ให้ชมครับ ผมยังมีหลงเหลือติ้วอยู่กำหนึ่ง ซึ่งลุงไก่เปรียบไว้น่ารักว่า เหมือนกับไม้แคะขนมถ้วย
ที่จริงเขาจะเหลาให้ออกแบน ๆ ไม่กลม ที่ปลายจะจักเหลี่ยมไว้ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 07:31

เดี๋ยวนี้มาตราตวงข้าวไม่ค่อยมีใครรู้จักกันแล้ว

๑ กระโหลก ๑ ทะนาน ๑ สัด

จำนวน ๑ สัด บรรจุเต็มถังไม้ขนาดนี้ปาดให้เรียบ ตรงกับกี่ลิตรก็ไม่ทราบ แต่ทางราชการได้กำหนดพิกัดขนาดไว้

โดยถังไม้มีหลายขนาด เคยเห็นแผ่นทองเหลือตีตราปิดไว้ข้างถังสัดตวงข้าว ระบุว่าตวงข้าวได้จำนวนคิดเป็นปริมาตรกี่ลิตร ระบุไว้

ทางบ้านผมเรียกว่า "ถังสัดข้าว"


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 08:50

เดินไปเดินมาเพื่อทวนความจำเรื่องการนับจำนวนด้วยไม้ติ้ว ก็รื้อฟื้นขึ้นมาได้นิดหน่อยว่า การจ่ายค่าจ้างแบกกระสอบของกุลีนั้นไม่ได้คิดเป็นค่าจ้างรายวัน แต่จะจ่ายค่าจ้างตามจำนวนกระสอบที่กุลีแต่ละคนจะแบกได้ คือ กุลีแต่ละคนจะได้รับบัตรหมายเลขประจำตัวของตัวเองที่เสมียนแจกให้ก่อนริ่มงาน เมื่อกุลีรับไม้ติ้วจากเสมียนจะต้องบอกหมายเลขประจำตัวของตนให้เสมียนบันทึกไว้ เมื่องานเสร็จแล้ว เสมียนจะจ่ายค่าจ้างตามจำนวนเที่ยวที่กุลีแบกนั้นโดยเรียกจ่ายตามหมายเลขของกุลีคนนั้น คนไหนขยันมากไม่ค่อยพักก็จะแบกได้มากเที่ยว ก็จะได้ค่าแรงมาก คนไหนพักบ่อยๆ ก็จะแบกได้น้อยเที่ยว ค่าแรงก็จะได้น้อยกว่าคนอื่น

ในช่วงเช้ากุลีก็จะรีบมาเข้าแถวกันเพื่อให้ได้อยู่หัวแถว ซึ่งหมายความว่าอาจจะได้จำนวนเที่ยวมากกว่าคนอื่น เรื่องของชื่อเสียงเรียงนามนั้นไม่สำคัญกว่าหมายเลขประจำตัวที่ได้รับจากเสมียน เมื่อถึงเวลาจ่ายค่าแรง กุลีก็จะนำบัตรหมายเลขที่เสมียนจ่ายให้มาแสดงเพื่อรับค่าแรง ที่นี่ไมมีใครพูดถึงค่าแรงขั้นต่ำและค่าล่วงเวลาที่จะได้รับตามกฎหมายแรงงาน วันไหนไม่มีของให้แบกก็หมายความว่าวันนั้นไม่มีรายได้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 09:10

ลุงไก่รู้จักคำว่า "ล่มน้ำ" ไหมครับ คำนี้คงสูญพันธุ์ไปแล้ว
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 09:37

ล่มน้ำก็ต้องที่นี่
แม่น้ำเพชรบุรี
ล่มปากอ่าวก็
เป็นได้ทุกที่
(ที่มีปากแม่น้ำ) ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 10:36

การ "ล่มน้ำ" หมายถึง การนำเรือไปตักน้ำใส่เรือมา การนำน้ำใส่เรือจะไม่ใช้วิธีการตักน้ำใส่กระแป๋ง แต่ใช้วิธีโล้เรือไปซ้ายที ขวาทีให้เรือเอียงปริ่มน้ำ เพื่อวักจ้วงน้ำให้เข้ามาภายในเรือจนกว่าจะได้น้ำในปริมาณที่ต้องการ ทั่วไปจะล่มน้ำจืด เพื่อนำไปใช้สอย

การล่มน้ำจะให้เรือข้าวขนาดใหญ่ เมื่อถึงบริเวณน้ำจืดที่ต้องการแล้วก็โล้บริเวณกราบเรือ เรือจะโยนตัวและพยายามให้กราบเรือจมน้ำนิดหน่อยแล้วรีบโล้กลับ ก็จะได้น้ำเข้าเรือมาพอสมควร เป็นเทคนิคที่ต้องรีบทำไม่เช่นนั้นเรืออาจล่มได้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 11:24

คำว่า "จืด" หมายถึงไม่มีรสชาติ แต่โบราณนำมาผสมเป็นคำดังนี้ "เรื่องนี้จืดเต็มที"

คงหมายถึง เรื่องเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีเบาะแสหรือเรื่องราวอะไรให้ต่อยอดได้ เพียงแค่รับทราบเรื่องราว จะสืบค้นหาต่อก็ไม่ได้ เรื่องนี้จึงจืดเต็มที


บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 11:33

ได้อ่านหนังสือชื่อ Only paranoid survive ทำให้นึกถึงประโยคที่ครูเคยพูดไว้เมื่อหลายสิบปีก่อนว่า "ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะดิ้นตาย"
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 11:47

ลุงไก่รู้จักคำว่า "ล่มน้ำ" ไหมครับ คำนี้คงสูญพันธุ์ไปแล้ว

แหะ แหะ ... ผมรู้จักแต่ "ล่มปากอ่าว" เหมือนกับคุณพี่บางปลาม้าหละครับ

กับ "อืดเป็นเรือเกลือ" นี้เข้าใจในความหมาย แต่ไม่ทราบที่มาของคำนี้ครับ

ทำให้นึกถึงเรื่องศพลอยน้ำได้ว่า สมัยก่อนเวลาที่มีศพคนตายลอยขึ้นอืดมาตามแม่น้ำ สภาพศพขึ้นพองเต็มที่ แบบที่ว่า "ดูไม่จืด" เขาก็สันนิษฐานเพศของคนตายด้วยวิธีสังเกตง่ายๆ ว่า "ถ้าศพลอยคว่ำหน้าก็เป็นศพผู้ชาย ถ้าศพลอยหงายก็เป็นศพผู้หญิง" และมักจะถูกต้องซะด้วย ถามว่าทำไม?

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 13:38

"ถ้าศพลอยคว่ำหน้าก็เป็นศพผู้ชาย ถ้าศพลอยหงายก็เป็นศพผู้หญิง" และมักจะถูกต้องซะด้วย ถามว่าทำไม?

จริงดังว่านี้หรือครับลุงไก่ ผมว่าไม่เกี่ยวกันนะ
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 15:15

การล่มน้ำจะให้เรือข้าวขนาดใหญ่ เมื่อถึงบริเวณน้ำจืดที่ต้องการแล้วก็โล้บริเวณกราบเรือ เรือจะโยนตัวและพยายามให้กราบเรือจมน้ำนิดหน่อยแล้วรีบโล้กลับ ก็จะได้น้ำเข้าเรือมาพอสมควร
เป็นเทคนิคที่ต้องรีบทำไม่เช่นนั้นเรืออาจล่มได้

น้ำท่วมท้องนาจนจมมิดนี่เรียกว่า  นาล่มน้ำ ด้วยหรือไม่ครับคุณ Siamese
จำได้ว่าเคยอ่านหนังสือผ่านตาในทำนองว่า  เทพยดาองค์นี้มีฤทธีเพียง "ล่มน้ำล่มฟ้า" ซึ่งผมคิดว่าอยู่ในความหมายเดียวกับ "พลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน"
จะถูกต้องไหมครับ
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 15:21

แถวบ้านผม ถ้าปีไหนน้ำมากจนท่วมนาข้าวปีนั้นจะเรียกว่าปี น้ำล่ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง