เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269634 คำไทยที่หายไป
bkk88
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 10:58

สมาชิกใหม่ครับ   ได้ความรู้มากๆๆเลย
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 11:02

ปัจจุบันยังมีการเล่นหวย จับยี่กี่ กันอยู่หรือไม่คะ  ยิงฟันยิ้ม

- เจียดยา ก็เลิกพูดกันไปแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้รักษาฟรีทุกโรคไม่ต้องเจียดยา...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 11:30

ปรุง   = ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน   มีทั้งปรุงอาหาร  (เดี๋ยวนี้ใช้ ทำอาหาร)   ปรุงยา และปรุงไม้ สำหรับปลูกเรือน  อย่างหลัง เราไม่ได้ปลูกเรือนไม้กันแล้ว ก็เลยไม่มีช่างมาปรุงไม้อีก

นั่งเอี้ยมเฟี้ยม   =   อาการที่นั่งเก็บมือเก็บเท้าอย่างเรียบร้อย, อาการที่หมอบเฝ้าหรือหมอบคอยรับใช้อย่างเรียบร้อย
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 10 มิ.ย. 11, 22:04

  หน้านี้หาตาลเฉาะ ตาลเชื่อม ได้ง่าย
  คำว่า ตาลเฉาะ  ยังใช้เปรียบเทียบกับอะไรบ้างครับ
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 08:20

หายหน้าหายตาไปสองเดือน  กลับมาอีกทีมีกระทู้สนุกๆ เยอะแยะไปหมดจนอ่านไม่ทัน  ขอร่วมวงด้วยคนครับ

อย่าหาว่าผม "เสือกกระโหลก" เลยนะครับ
อ้าว พูดอย่างนี้เคย "อมหมาก" หรือเปล่า
ถ้ายังข้องใจอยู่ละก็ "เมื่อเอยก็เมื่อนั้น" บอกได้ทันที
ส่งเสียง "โบ๊เบ๊" อยู่ได้ เดี๋ยวแม่ตีตายเลย
จะมัว "ชี้โบ๊ชี้เบ๊" อยู่ทำไม  จะทำอะไรก็รีบทำซะ
ดูแม่นั่นสิ ทำตัว "หัวสมัย/หัวใหม่" จนน่าหมั่นไส้
โธ่ ผมน่ะเหนื่อยจน "หูตูบ" แล้ว  ใช้คนอื่นบ้างซี่
ร้อนๆ อย่างงั้นกินเข้าไปได้ยังไง /  ก้อ "กะล่อมกะแล่ม" เอา
อื้อหือ  มืออ่อนเป็น "ฝักถั่ว" เชียว
อย่ามา "ปะเหลาะ" หน่อยเลย  เค้ารู้ทันหรอก
ขืนเสี่ยงบ้าๆ อย่างนี้  ไม่นานก็คง "เด๊ดสะมอเร่" แน่
พอเขาบอกอย่างนี้  ผมละ "งงเต่ด" ไปเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 09:56

ขืนเสี่ยงบ้าๆ อย่างนี้  ไม่นานก็คง "เด๊ดสะมอเร่" แน่

มาจากเพลง That’s Amore ของ Dean Martin ในภาพยนตร์เรื่อง The Caddy เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๖ คุณเทิ่ง สติเฟื่อง หรือ บรรยงค์ เสนาลักษณ์ ผู้บุกเบิกวงการโฆษณาสมัยเริ่มแรกมีรายการโทรทัศน์ (เสียชีวิตแล้ว) แผลงเป็น "เด้ด-สะ-มอ-เร่" หมายความว่า death ที่แปลว่าตายนั่นแหละ  

Amore  มาจากภาษาอิตาเลียน หมายความว่า love; a feeling of great affection

ความรักของฝรั่ง เป็นความตายของไทย  

ประหลาดไหมล่ะ  

พอเขาบอกอย่างนี้  ผมละ "งงเต่ด" ไปเลย

งงเต้ก ละมั้ง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 10:17

ขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพูสำหรับข้อมูลครับ  ผมขอเพิ่มเติมอีกนิดว่าเพลง That's Amore นี้ ต่อมาคุณ นคร มงคลายน นำมาดัดแปลงเป็นภาษาไทย
ชื่อเพลง "รักรวนเร" ด้วยครับ

อีกคำคือ "งงเต่ก" ถูกของอาจารย์  ผมไม่ทันได้ตรวจทาน  ขออภัยครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 11:56

ต้นฉบับของฝรั่ง - That’s Amore



ดัดแปลงมาเป็นแบบไทย ๆ - รักรวนเร



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 12:12

นี่เธอ ชั้นว่าไปยืนตรงที่มันสว่างกว่านี้น่าจะดีกว่า  เดี๋ยวใครมาเห็นเข้าจะหาว่าเราเป็น "นางบังเงา" ไป อับอายเขาตาย
ไม่รู้แกงภาษา "ตวักกระบวย" อะไรกัน  น้ำแกงมันถึง "โหลงโจ้ง" หยั่งงี้
พอเขาปล่อยให้เป็น "โต้โผ" อวดสาวเข้าหน่อย "หน้าบานเป็นจานเชิง" ทีเดียว  เพี้ยง ขอให้จ่ายจน "หมดตูด" ไปเลย
ทำเป็นเก่งกับอ้าย "จิ๊กโก๋" ตัวนั้นไปเถอะ  ระวังจะโดนมัน "ล้วงตับ" เอาไม่รู้ตัว  เดี๋ยวจะมาหาว่า "หล่อไม่เตือน"
ก็มัว "ตะบี้ตะบัน" ทำเป็น "หน้าตึง" อยู่ทั้งวัน  หนุ่มที่ไหนเขาจะมากล้าง้อตัววะ
"แม่มึง" พ่อว่าเอา "ตะปิ้ง" ไปใส่ให้อีหนูมันหน่อยดีกว่า  ยืนเปลือยอยู่อย่างเงี้ยมันน่าเกลียด
ไอ้หนู  เอ็งขยับไปอยู่ทางโน้นหน่อยไป๊ "ยืนโด่เด่" อยู่ได้  ยืนค้ำหัวผู้ใหญ่มันไม่ดี รู้มั้ย
ถีอว่าตัวเองเป็นลูกเฉลิมหรือยังไง  ถึงได้ "กร่าง" ไปทั่ว  พ่อเอ็งข้ายังเคย "โซ้ย" มาแล้ว อย่า "เหิม" ให้มากนัก
ตัวว่า คู่นั้นเขามีอะไร "กุ๊กกิ๊ก" กันอยู่หรือเปล่า เราไม่กล้าถาม  กลัวเขาหาว่าเรา "สะแหล๋น"
ก็ตัวจะ "หลอแหล" สอดรู้ไปทำไม  มันเรื่องของเขา
ไอ้ลูกคนนี้มันจะเอายังไงกันแน่  ด่าเท่าไหร่ก็เหมือน "ตักน้ำรดหัวสากหัวตอ" ไม่มีผิด
แหม น่าทุเรศ  พอได้นั่งเก๋งเข้าหน่อยก็เชิดหน้าเป็น "แม่ย่านาง" เลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 12:29

แหม  อาจารย์เพ็ญชมพูครับ  เห็น ดีน มาร์ติน โดยไม่ได้คีบ cigar กับถือแก้ว brandy มันเหมือนกับขาดอะไรไปนะครับ
ให้ความรู้สึกที่ต่างกันมาก  ราวกับขาดวิญญาณอย่างนั้นแหละ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 19:39

อ้างถึง
อื้อหือ  มืออ่อนเป็น "ฝักถั่ว" เชียว
ฝักถั่ว น่าจะแปลว่าสลอน    สื่อเคยใช้คำว่า สภาฝักถั่ว คือเวลาโหวต ผู้แทนยกมือกับพรึ่บพร้อมเพรียง   คุณ willyquiz เคยได้ยินไหมคะ

เคยได้ยินคำว่า กะร่อยกะหริบ     ในเพลงแม่ครัวจ๋าของสายัณห์ สัญญา ก็มีคำนี้  แต่ยังหาคำจำกัดความที่ถูกใจไม่ได้
ใครพอทราบบ้างคะ

ในครัวอนงค์            นั้นมันตรงบ้านพี่
แอบมองคนดี           ตั้งเกือบปี แล้วนาง
.มือน้อยน้อย            น้องกระร่อย กระหริบ
มือซ้ายหยิบ             ส่งมามือขวาวาง
ถ้าได้นงคราญ          เป็นแม่บ้านหนึ่งนาง
ฟ้าไม่แจ้งจางปาง      ไม่ตื่นไปถางไร่มัน
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 12 มิ.ย. 11, 08:43

สวัสดีท่านอาจารย์เทาชมพูครับ  ช่วงที่ผมห่างหายไปนี่ผมรำลึกถึงอาจารย์กับคุณม้าอยู่ตลอดเลยครับ (ผมยังติดค้างงานท่านอยู่) แต่มันจำเป็นครับ

คำว่า "มืออ่อนเป็นฝักถั่ว" ได้มาจากป้าเมื่อราวห้าสิบปีที่แล้วครับ (ภรรยาของลุงซึ่งเป็นพี่ชายของแม่) กับอีกคำหนึ่งคือ "บุญรักษา"   ครั้งหนึ่ง เมื่อ
แม่พาไปหาลุงกับป้า  เราเด็กๆ ก็เข้าไปกราบไหว้ท่าน  ท่านได้พูดว่า "บุญรักษานะลูกนะ"  และ {อื้อหือ "มืออ่อนเป็นฝักถั่ว" เชียว} ตามที่ผมได้
โพสท์เอาไว้ทุกคำ  ที่จำได้ฝังใจเพราะผมนึกภาพไม่ออกว่า มือกับฝักถั่ว เหมือนกันตรงไหน?
ส่วนคำว่า "บุญรักษา" ผมได้นำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน  ผมไม่เคยตอบรับการไหว้ของลูกหลานตัวเล็กๆ ด้วยคำว่า "ไหว้พระเถอะลูก" เลย  แต่ผมจะใช้
คำว่า "บุญรักษา" ตามแบบฉบับของป้าและลุงที่ผมเคยได้ยินมาตั้งแต่หัวเท่ากำปั้นครับ

คำว่า "กะร่อย กะหริบ" ตามความหมายที่ผมเข้าใจไม่ตรงกับเนื้อเพลงที่อาจารย์โพสท์เอาไว้ จึงไม่กล้าแสดงความเห็นครับ
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 12 มิ.ย. 11, 10:02

ผมเล่าถึงลุงกับป้าแล้วเหมือนไปสะกิดความทรงจำเก่าๆ ในอดีตให้พร่างพรูออกมาทันที  เราเด็กๆ ซึ่งเกิดและเติบโตในพระนคร  ใช้ภาษาพูดแบบ
ชาวพระนคร  พอได้ยินภาษาแปลกๆ จากญาติผู้ใหญ่ในชนบท บางครั้งเราสงสัย บางครั้งเราก็ขำ  อย่างเช่น เราพูดว่า ห้อยต่องแต่ง  แต่ป้าผมจะ
พูดว่า ห้อยกะต่องกะแต่ง ซึ่งผมจะขำทุกที  ตะกรุดที่พ่อผูกห้อยไว้ที่เอวผม  ลุงก็เรียก กะตุด (ออกเสียงตามที่เขียน) ผมก็งงงวยว่า เอ มันชิ้นไหน
กันนะ  จนโตเป็นผู้ใหญ่แล้วจึงจะเข้าใจ

แต่มีอยู่คำหนึ่งคือ "กะซี้" เป็นหมากชนิดหนึ่งที่เสียหรือแกนที่ป้าจะไม่กิน  แต่ผมสารภาพเลยว่าผมนึกภาพของ "หมากกะซี้" ไม่ออกเสียแล้วว่าเป็น
สภาพใด  อ. เทาชมพู พอจะอธิบายภาพพอให้เห็นได้ไหมครับ  หมากที่เนื้อข้างในแหยะๆ นิ่มๆ นั่นเรียกว่า หมากกระซี้ ด้วยหรือเปล่าครับ  เพราะ
ป้าก็บอกแต่เพียงว่าหมากกะซี้เขาไม่กินกัน โบราณถึอ  โบราณของป้าก็คงจะเกินร้อยปีขึ้นไปแล้วกระมัง  เพราะผู้ใหญ่ชอบอ้างโบราณหลอกเด็กอยู่
เสมอ บางครั้งใช้เป็นการตัดบทเพื่อไม่ให้เด็กซักถามอีกต่อไปเพราะตัวผู้ใหญ่เองก็อาจจะไม่รู้คำตอบ
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 12 มิ.ย. 11, 11:40

แม่ถนิมสร้อย

เออ...คำนี้ใช้กับบุรุษบ้างหรือไม่ครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 12 มิ.ย. 11, 11:55

ไขว่(อี)เกก  ไขว่ห้าง  = ไขว้ขา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง