kwang satanart
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 75 เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 17:51
|
|
เอายาหม่องมาเกลื่อน ก็คือทายาหม่องบริเวณที่ถูกแมลงกัด แล้วไล้เบาๆบริเวณที่ถูกกัด พิพักพิพ่วน รู้สึกพะอืดพะอม กระอักกระอ่วน เป็นความรู้สึกของคนที่เห็นใครทำ หรือพูด หรือแสดงกิริยาที่ไม่สมควร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 76 เมื่อ 03 มิ.ย. 11, 19:17
|
|
งั้นเวลานี้ เวลารู้สึกกระอักกระอ่วน หรือพิพักพิพ่วน คนรุ่นใหม่เขาใช้คำว่าอะไรคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kwang satanart
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 77 เมื่อ 05 มิ.ย. 11, 00:37
|
|
คำว่า พิพักพิพ่วน กับ กระอักกระอ่วน น่าจะคงยังใช้อยู่กับคนอายุกว่า 40 หรือน่าจะ 50 นะคะอาจารย์ ในความเห็นของดิฉัน น่าจะเป็นคนที่มีพื้นเพเป็นไทยแท้แต่โบราณด้วยซ้ำไป เคยพูดให้ลูกสาวอายุ 18 ฟัง แกบอกว่า หนูฟังเข้าใจ เพราะอยู่กับแม่ที่ใช้ศัพท์โบราณจนชินหู แต่เป็นเพื่อนๆ อย่างเก่งก็น่าจะรู้จักแค่ พะอืดพะอม แทนคำว่า พิพักพิพ่วน ส่วนกระอักกระอ่วน น่าจะใช้แค่ว่า รู้สึกแปลกๆ
ก็เลยมาลองนึกๆดู ว่าเคยได้ยินน้องๆที่ทำงาน เคยพูดอย่างนี้เหมื่อนกัน คือ ใช้คำว่า รู้สึกแปลกๆ ซึ่งตัวเองก็เข้าใจว่าเขารู้สึกกระอักกระอ่วนนั่นละค่ะอาจารย์
ความจริงแล้ว การกระทำ ความรู้สึก หรือความเห็นที่มีต่ออะไรสักอย่างของเราก็คงยังอยู่กันเกือบครบน่ะค่ะ แต่คำจำกัดความที่มีต่อการกระทำ ความรู้สึก หรือความเห็นนั่นต่างหาก ที่มันเลือนๆไป คนรุ่นใหม่หยิบเอาคำเหล่านี้มาใช้น้อยลง แล้วเอาคำง่ายๆมาใช้แทน อาจเป็นเพราะเรามีชีวิตที่เป็นเอกเทศกันมากขึ้น ใกล้ชิดผู้ใหญ่น้อยลง เด็กรุ่นใหม่รู้ศัพท์เก่าๆน้อยลง ศัพท์แสงต่างๆจึงพลอยเลือนๆกันไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 78 เมื่อ 06 มิ.ย. 11, 09:03
|
|
รู้สึกแปลกๆ เป็นคำที่ใช้กันในขอบเขตกว้างขวางมากค่ะ นอกจากความหมายที่คุณ POJA ให้มาแล้ว มันน่าจะรวมไปถึงความรู้สึกเคลือบแคลง น่าสงสัย ไม่เชื่อถือ ความรู้สึกในทางดี ทางร้าย ประเภทครอบจักรวาลฯลฯ
- ฟังเรื่องเพื่อนเคยเจอมนุษย์ต่างดาวแล้วรู้สึกแปลกๆ - เธอว่ายำจานนี้ กินแล้วรู้สึกแปลกๆไหม - เราเจอแฟนครั้งแรก ก็รู้สึกแปลกๆ ว่าเค้าไม่เหมือนคนอื่น ฯลฯ
นึกได้อีกคำตอนตอบอีกกระทู้ คือ คำว่า ยืนพื้น = หลัก
มีอีก - กะลิ้มกะเหลี่ย = แสดงอาการให้รู้ว่าอยากได้. - กะเรี่ยกะราด = เรี่ยราย, กระจัดกระจาย, หกเรี่ยราด; วางหน้าไม่สนิท.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 79 เมื่อ 07 มิ.ย. 11, 11:35
|
|
ริมคลองด้านซ้ายภาพเป็นหมู่ห้องแถวชอกการี ในสมัยก่อนครับ คุณหนุ่มสยามใช้ภาษาเก่าพอๆกับห้องแถว ต้องเอาไปรวมไว้ในกระทู้คำไทยที่หายไป  ชอกการี เป็นคำที่ไม่สุภาพ ค่อนไปทางหยาบ เป็นคำใช้เรียก โสเภณี ที่กล่าวว่าหยายคาย คือ การนำคำนี้มาเรียกด่าทอกัน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
:D :D
|
ความคิดเห็นที่ 80 เมื่อ 07 มิ.ย. 11, 14:11
|
|
- ผ้าเวสปอยท์ - ผ้าเสิท - จับสม็อก - กางเกงเซลเลอร์ ก็ชักจะเลือนๆ ไปแล้ว เด็กเดี๋ยวนี้ไม่รู้จักหรอกค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 81 เมื่อ 07 มิ.ย. 11, 14:24
|
|
คัทเวิร์ค ก็คงไม่รู้จักเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 82 เมื่อ 07 มิ.ย. 11, 14:28
|
|
เด็กๆเดี๋ยวนี้ยังเรียกถักแท็ตกันอยู่หรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 83 เมื่อ 08 มิ.ย. 11, 14:06
|
|
ได้คำนี้มาจากคุณหนุ่มสยามและคุณ Takae จากกระทู้รูปเก่าเล่าเรื่อง เปรี้ยวปาก แปลว่า อยากเล่า อยากพูด คุณหนุ่มสยามรู้จักศัพท์เก่าๆ มากทีเดียว ชักสงสัยหนุ่มคนนี้อายุ 30 ได้ไหม อีก 30 จะครบ 100 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
:D :D
|
ความคิดเห็นที่ 84 เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 09:20
|
|
คำว่า ชวเลข ก็น่าจะหายไปแล้วนะคะ ทั้งๆ ที่เมื่อไม่นานมานี้ เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นเหลือเกินสำหรับเลขานุการ ปัจจุบันยังมีเรียนกันอยู่หรือเปล่าคะ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 85 เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 09:52
|
|
คำว่า ชวเลข ก็น่าจะหายไปแล้วนะคะ ทั้งๆ ที่เมื่อไม่นานมานี้ เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นเหลือเกินสำหรับเลขานุการ ปัจจุบันยังมีเรียนกันอยู่หรือเปล่าคะ...
เท่าที่ทราบ โรงเรียนเซนต์เทเรซา กับกรุงเทพการบัญชียังสอนอยู่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 86 เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 10:02
|
|
เห็นภาพนี้จากกระทู้โน้น คำบรรยายบรรทัดสุดท้ายมีว่า อาจารย์ เพี้ยน สมบัติเปี่ยม ศิษย์เก่าสวนกุหลาบฯเป็นสถาปนิกเกิดความสงสัยว่า คำว่า เพี้ยน นี้อาจจะไม่ได้มีความหมายอย่างที่เราใช้ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับคำว่า เชยหรือเปล่า  ผมยังจำท่านได้ติดใจจนทุกวันนี้ครับ หาภาพมาให้ชมไม่ได้ ท่านเป็นชายรูปร่างเล็ก ใบหน้าค่อนข้างสี่เหลี่ยม สูงประมาณ ๑๖๐ ซม. รอยยิ้มบนใบหน้าแบบคนแก่อารมณ์ดี ตอนนั้นท่านก็วัยใกล้เกษียณแล้วครับ ไม่แปลกหรอกครับกับชื่ออาจารย์เพี้ยน ... ชื่ออาจารย์ก๊องส์ยังมีเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กะออม
|
ความคิดเห็นที่ 87 เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 10:13
|
|
มีท่านผู้ใหญ่ชื่อ เพี้ยน ท่านเล่าว่าได้ชื่อเช่นนี้ เนื่องจากท่านมีผิวคล้ำกว่าพี่ ๆ เพี้ยน จึงมีความหมายว่าไม่เหมือน มากกว่า เช่นเดียวกับ แปลก เด็กก็อาจจะมีหน้าตา หรือ ผิวพรรณ แตกต่างจากพ่อแม่ พี่น้อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 88 เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 10:23
|
|
ผมยังจำท่านได้ติดใจจนทุกวันนี้ครับ หาภาพมาให้ชมไม่ได้ ท่านเป็นชายรูปร่างเล็ก ใบหน้าค่อนข้างสี่เหลี่ยม สูงประมาณ ๑๖๐ ซม. รอยยิ้มบนใบหน้าแบบคนแก่อารมณ์ดี ตอนนั้นท่านก็วัยใกล้เกษียณแล้วครับ
คุณลุงไก่แน่ใจหรือว่าเป็นอาจารย์เพี้ยนคนเดียวกับที่เป็นสถาปนิกออกแบบหอประชุมสวนกุหลาบรำลึก เท่าที่ทราบสวนกุหลาบมีอาจารย์เพี้ยน อีกคนหนึ่ง นามสกุลอะไรเอ่ย คุณลุงไก่จำได้ไหม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kwang satanart
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 89 เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 21:53
|
|
หน้าตากรุ้มกริ่ม คนที่มีหน้าตาเหมือนจะยิ้มอยู่เสมอ อย่างที่เราเรียกกันอีกอย่างว่า ยิ้มอยู่ในหน้า มักใช้กับผู้ชาย ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชายที่ค่อนข้างจะมีแววตา แบบที่เรียกกันว่า นัยน์ตายิ้มได้
ท่าทางกรุ้มกริ่ม มักใช้กับผู้ชายที่มีท่าทีเจ้าสำราญ โดยเฉพาะเวลาอยู่ใกล้ผู้หญิง แล้วมักทำท่าทางเหมือนจะชอบหญิงนั้นทางชู้สาว
เคยเห็น แม่เลื่อน ซึ่งเป็นนักแสดงละครร้องสมัยเก่า แสดงละคร หน้าตาท่าทางท่านเวลาแสดงละคร เหมาะกับคำๆนี้มากที่สุด ถ้าเป็นสมัยใหม่ ก็น่าจะดู อาจารย์ ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ เวลาท่านแส่่ดง หรือรำละคร แบบมีบทเข้าพระเข้านาง ก็ดูจะเหมาะกับสองคำนี้เหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|