เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 270592 คำไทยที่หายไป
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 09:22

มีคำเรียกอวัยวะต่างๆในร่างกาย ในสมัยก่อน ที่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครรู้จักกัน ทำให้คำที่เรียกพลอยหายไปด้วย

๑  ขวัญ    ส่วนใหญ่รู้จักแต่ "ขวัญใจ"  หรือ "ขวัญหาย"  แต่ไม่รู้ว่าขวัญบนร่างกายอยู่ตรงไหน   มันอยู่บนหัว เป็นส่วนที่เส้นผมขึ้นวงเป็นก้นหอย
๒  ตีนผม   ปลายผมส่วนที่ต่อกับหน้าผาก หรือข้างแก้ม
๓  โหนกแก้ม  = cheek bone
๔  ขากรรไกร  = กราม
๕  ไหปลาร้า  = หลุมที่ต่ำจากคอลงมา เหนือเนินอก
๖  บั้นเอว      =  เอว
๗  เอวอ่อน  เอวกลม  =  เอวเล็ก
๘  เอวแบน    = เอวใหญ่
๙  ขาอ่อน     = ต้นขา
๑๐ ปลีน่อง    =  น่อง  เดี๋ยวนี้เรียกว่าเรียวขา

คำว่า หน้าหัก  ไม่เห็นใครใช้อีกแล้ว    คนที่หน้าผากลาดและยื่นออกมาเหนือเบ้าตา แต่ส่วนดั้งจมูกทรุดแบน  เรียกว่าหน้าหัก    ถ้านึกหน้าคนไม่ออก ขอให้นึกถึงหมาปักกิ่ง   เมื่อก่อนเขาเรียกว่าหมาหน้าหัก
ตาปลาดุก  เคยอ่านพบในหนังสือสามเกลอของป.อินทรปาลิต   หมายถึงตาเล็กเรียว   เห็นตาดำขนาดเล็ก ลอยอยู่ในตาขาว
บันทึกการเข้า
suseela
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 17:00

คำว่า "ฉิว" ในความหมายว่า โกรธเคืองเล็กๆ หรือไม่พอใจในการกระทำของผู้อื่น คำนี้ป้าผมใช้เป็นประจำ


"ผ้าถุง" คำนี้ สาวๆ ชาวกรุงยุคใหม่คงจะไม่รู้จักกันแล้ว เคยดูจากละครโทรทัศน์ นางเอกนุ่งผ้าถุงลงว่ายน้ำในคลอง ยัง "กลัด" ผ้าคาดกับหน้าอกไม่เป็นเลย ต้องใช้เข็มกลัดหรือเข็มขัดรัดเอาไว้ เลยทำให้ได้อีกคำหนึ่งขึ้นมา คือ "ตีโปง"

"ยามเย็นเดินเล่นชายทุ่ง ผ้าขะม้าคาดพุง นุ่งกางเกงขายาว, แต่งตัวไปอวดสาวๆ นุ่งกางเกงขายาว ผ้าขะม้าคาดพุง"
คำไหนครับที่ถูกต้อง ระหว่าง "ผ้าขะม้า" กับ "ผ้าขาวม้า"

คุณประยูร จรรยาวงศ์ หรือ "ศุขเล็ก" ท่านเคยเขียนการ์ตูนไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อสักเกือบสี่สิบปีแล้วมั้ง เรื่องประโยชน์ของผ้าขะม้า
ผมจะประโยคสุดท้ายได้ประโยคเดียวคือ "แสนยากยุ่ง ผูกคอ มรณา" ท่านใดจำประโยคต้นๆ ได้ กรุณานำลงไว้ด้วยครับ

ส่วนประโยคนี้ คงไม่เกี่ยวกับคำถามของกระทู้นี้นัก
สมัยที่ผมเรียนชั้นมัธยม มีเพื่อนนักเรียนในห้องคนหนึ่งเป็นคนสุรินทร์หรือศรีษะเกศจำไม่ได้ ด่าเพื่อนอีกคนหนึ่งว่า "มึงสิเป็นลูกอีแม่หญิงสำเพ็ง" ตอนนั้นไม่เข้าใจความหมาของคำด่านี้เลย มาเข้าใจเมื่อตอนใกล้จะแก่ เมื่อได้ทราบว่า "สำเพ็ง" เมื่อสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างไร ...
ขอแก้คําผิดนิดหน่อยค่ะ "ศรีสะเกษ" คือชื่อที่สะกดถูกต้องค่ะ ไม่แปลกใจที่เห็นหลายท่านสะกดผิดอยู่บ่อยครั้ง เพราะว่าแม้กระทั่งลูกหลานศรีสะเกษแท้ ที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ก็ยังสะกดผิดให้เห็นอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 21:09

พอพูดถึงเรื่อง พล นิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต ก็นึกถึงคำว่า
"หน้าม้าน" ว. มีสีหน้าเผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน.  อายจัง
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 21:16

อีกคำที่คุณหญิงวาดชอบพูดบ่อยๆ คือ คำว่า เซี้ยว (จ.) ว. บ้า.
"ยายประไพ แกชักจะเซี้ยว(บ้า)ใหญ่แล้วนะ"
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 พ.ค. 11, 01:55

        ยิ้มเจื่อนๆ  หรือ  ทำหน้าเจื่อนๆ   คือ การที่ใครคนหนึ่งพูดกับบุคคลที่สอง ถึงบุคคลที่สามในทางไม่ดี   แล้วเจ้าตัวผู้ถูกพูดถึงโผล่มาพอดี  ทำให้ผู้ที่พูดถึงยิ้มไม่ค่อยออก  หรือทำหน้าไม่ถูก

        รสปร่า   ใช้กับรสชาดของอาหารที่ไม่สามารถแยกรสได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับอาหารที่ควรมีตั้งแต่สองรสขึ้นไป  เช่นแกงส้ม ซึ่งควรจะต้องมีรส เปรี้ยว  เค็ม  หวาน เผ็ด  แต่กลับมีรสชาดแปลกๆ ไม่สามารถแยกได้ว่ามีรสชาดใดบ้าง

บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 00:52

 รู้จักเผิน
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 00:54

รู้จักเผินๆ  คือรู้จักแบบผิวเผิน คือพอรู้จัก แต่ไม่สนิทสนมด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:17

       รสปร่า   ใช้กับรสชาดของอาหารที่ไม่สามารถแยกรสได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับอาหารที่ควรมีตั้งแต่สองรสขึ้นไป  เช่นแกงส้ม ซึ่งควรจะต้องมีรส เปรี้ยว  เค็ม  หวาน เผ็ด  แต่กลับมีรสชาดแปลกๆ ไม่สามารถแยกได้ว่ามีรสชาดใดบ้าง

รสชาดหายไปแล้ว เหลือแต่รสชาติ

ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ   ยิงฟันยิ้ม

มีอีกหลายคำที่มักเขียนกันผิดค่ะ
เทิด         มักเขียนผิดเป็น     เทอด
ทูนหัว       มักเขียนผิดเป็น     ทูลหัว
ทระนง      มักเขียนผิดเป็น     ทรนง
บุคลากร    มักเขียนผิดเป็น     บุคคลากร
บุคลิกภาพ  มักเขียนผิดเป็น     บุคคลิกภาพ
บูชายัญ     มักเขียนผิดเป็น    บูชายันต์
โพทะเล     มักเขียนผิดเป็น    โพธิ์ทะเล
แมงมุม      มักเขียนผิดเป็น    แมลงมุม
แมลงสาบ   มักเขียนผิดเป็น    แมลงสาป
รสชาติ      มักเขียนผิดเป็น    รสชาด
ไอศกรีม    มักเขียนผิดเป็น    ไอศครีม
อุกกาบาต   มักเขียนผิดเป็น    อุกาบาต
วิ่งเปี้ยว     มักเขียนผิดเป็น    วิ่งเปรี้ยว
.......


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:37

นึกถึงคำว่า รสแหลม  ขึ้นมาได้   ใครยังเคยได้ยินบ้าง
บางทีก็ประกอบคำว่า หวาน   เป็นรสหวานแหลม
หมายถึง จัด
รสหวานแหลม หรือรสแหลม  มันไม่ใช่แค่รสจัดธรรมดา   แต่แฝงด้วยความรู้สึกว่า โดดเด่น   และอร่อย
รสหวานจนเอียน หรือหวานแสบไส้ ไม่เรียกว่าหวานแหลม

ในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน  มีบทหนึ่งว่า

หมูแนมแหลมเลิศรส         พร้อมพริกสดใบทองหลาง
พิศห่อเห็นรางชาง            ห่างห่อหวนป่วนใจโหย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 20 พ.ค. 11, 10:53

รสแหลม ใครยังใช้กันบ้างคะ?
บางทีก็ประกอบคำว่า หวาน   เป็นรสหวานแหลม
หมายถึง จัด
รสหวานแหลม หรือรสแหลม  มันไม่ใช่แค่รสจัดธรรมดา   แต่แฝงด้วยความรู้สึกว่า โดดเด่น   และอร่อย 
รสหวานจนเอียน หรือหวานแสบไส้ ไม่เรียกว่าหวานแหลม

คำว่า "รสแหลม" นี้ เคยได้ยินครับ แต่ไม่เคยใช้เอง จำไม่ได้ว่าได้ยินที่ไหน จะเป็นคุณแม่พูดตอนทำอาหารหรือเปล่า หรือจะเป็นจากรายการทำอาหาร สมัย "คุณชายถนัดศรี" ถ้าจำไม่ผิด จะมี คุณเด๋อ ดอกสะเดา ร่วมชูโรงด้วย

ราชบัณฑิตยสถานว่าไว้ว่า
แหลม    [แหฺลม] ว. มีปลายเสี้ยมคม เช่น มีดปลายแหลม; ไว, ฉลาด, เช่น ปัญญา
   แหลม; ชํานาญจนรู้ได้ทันทีว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง เป็นต้น เช่น
   ตาแหลม; มีระดับสูง เช่น เสียงแหลม; จัด เช่น รสหวานแหลม.
        น. แผ่นดิน หรือ ภูเขา ที่ยื่นลํ้าออกไปในทะเล หรือ มหาสมุทร. ก. ล่วงลํ้า.

ถ้าเป็นในเชิงคำคะนอง จำได้ว่าสมัยรัฐประหารโดย รสช. จะมีกลุ่ม "ไอ้แหลม" คอยก่อกวนคลื่นวิทยุของตำรวจ และทหาร
หรือ ใช้ในความหมายว่า "ยุ่งไม่เข้าเรื่อง" เช่น นี่ๆ อย่าแหลม อย่าแหลม อันนี้ไม่รู้เป็นสำนวนเฉพาะกลุ่มหรือเปล่า แต่ตอนเด็กๆ เห็นเพื่อนใช้กัน


มีอีก ๒๓ หน้าให้อ่านกัน

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2564.0

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Youzen
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 17:21

ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ เพื่อนของหนูก็ใช้ภาษาไทยผิดกันเป็นประจำ แล้วก็ไม่สนใจว่ามันผิดด้วย ไม่ชอบเลยค่ะ แก้ให้บ่อยๆ แต่มันเยอะเกินไป แต่บางครั้งหนูก็ตั้งใจพิมพ์ผิดน่ะค่ะ ในเฟซบุค  ยิงฟันยิ้ม ถ้าเป็นตามเวบบอร์ดจะพยายามพิมพ์ไม่ผิด ถ้าไม่แน่ใจจะพิมพ์ดูในกูเกิ้ล

จากที่อ่านนี่พิมพ์ผิดไปหลายคำเหมือนกัน  แต่หลายๆ คำสมัยนี้ก็ยังใช้กันอยู่ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 19:18

อวัยวะส่วนที่ยังอยู่ แต่คำเรียกหายไป คือคำว่า "ท้อง" ที่ประกอบแขนขา   ท้องแขน  หมายถึงส่วนใต้ของท่อนแขน     ท้องน่อง
หมายถึงส่วนหลังของน่อง

รักแร้  เห็นทีจะหายไปแล้ว  มีคำว่า ใต้วงแขน เข้ามาแทนที่
ตีนผม  ก็ไม่เห็นใครใช้มาหลายปีแล้ว
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 22:44

ความจริงอยากให้เป็นประเด็นคำไทยโบราณ มากกว่าคำที่เขียนผิดมากกว่านะคะ  แต่ก็ขอบคุณสำหรับการแก้คำว่า รสชาติค่ะ

       เอามืออังดู =   การที่บุคคลที่หนึ่งเอาหลังมือ ( ด้านที่ไม่ใช่อุ้งมือ ) สัมผัสกับร่างกายของบุคคลที่สอง  ซึ่งมักเป็นบริเวณหน้าผาก  ซอกคอ  เพื่อดูว่าบุคคลนั้นมีอาการผิดปกติ (ซึ่งมักจะเป็นเรื่องของอาการไข้) หรือไม่
           
       ชื่นชมโสมนัส  = มักอ่านพบในนวนิยายโบราณ  ใช้ในทำนองที่คนใดคนหนึ่งทั้งดีใจ  ชื่นใจ  ภาคภูมิใจกับความสำเร็จของบุคคลอันเป็นที่รัก

       บิดตะกูด  = คำที่ผู้ใหญ่สมัยก่อนมักใช้ว่ากล่าวเด็กๆที่ชอบอิดเอื้อนในการทำสิ่งใดๆ   เช่น อย่ามัวบิดตะกูดอยู่เลย รีบๆไปถูบ้านเสียเดี๋ยวนี้

       ลำประโดง  =  ชาวสวนมักใช้เรียกร่องน้ำที่เล็กกว่าคลอง  แต่ใหญ่กว่าท้องร่อง

       หิวเสียท้องกิ่ว   =   หมายถึงอาการที่หิวมากกว่าปกติ

       รู้สึกโกรธตะหงิดๆ   =  เริ่มรู้สึกโกรธ  หรือเริ่มรู้สึกไม่พอใจบางสิ่งบางอย่าง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 พ.ค. 11, 22:56

เอาคำบ่นของอาจารย์ภาษาไทยมาให้อ่านกัน

บทความเรื่อง คำไทยที่หายไป โดย ศิริวรรณ์ ฉายะเกษตริน หัวหน้าโครงการหมอภาษาพัฒนาเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ณ วันนี้ พุทธศักราช ๒๕๔๗ ชาวเขาบนดอยตุงคนหนึ่ง (อายุประมาณใกล้ ๆ หกสิบปี) บ่นให้เราฟังว่า ทุกวันนี้สตรอเบอรี่ในไร่ของแกมีออเดอร์มาก แพ็คไม่ทันบางครั้งต้องแคนเซิลไป แกพูดคำว่า "ออเดอร์" "แพ็ค" "แคนเซิล" อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ทั้ง ๆ ที่แกไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษจนนิดเดียว จึงไม่น่าประหลาดใจที่คนเมืองของเราในกรุงเทพมหานคร จะใช้คำว่า ฮัลโหล โอเค ฮอลิเดย์ ช็อปปิ้ง เช็คอิน เช็คเอ้าท์ เคาน์ดาวน์ รีเควส ดินเนอร์ วีคเอ็นด์ พรีเซ็นต์ สคริปต์ รูสต๊อก แกรนด์เซล แท็กซี่ เทสต์เสียง เช็คบิล ไดเอท แบรนด์เนม มีทติ้ง คอนเสิร์ต คอมเม้นต์ บอสส์ สตัฟฟ์ เก็ตหรือยัง โปรแกรม ซีร็อกซ์ รีไซเคิล ปรู๊ฟ ชีท แฮร์ เคลียร์ ฮอลล์ หมดมู้ด เฟล ฟอร์ม แดนเซอร์ โปรดิวเซอร์ บ๊ายบาย ซุปเปอร์มาเก็ต มินิมาร์ท เรสเตอรอง ฟรีแรนซ์ แฮนด์เมด รีเซ็บชั่น ไฮคลาส ไฮโซ โลว์เทสต์ สปิริต ออฟฟิศ สปอร์ตคลับ เซอร์ไพรส์ โหวต โพล ฯลฯ

ทั้งนี้ไม่ได้รวมศัพท์เทคนิคต่าง ๆ ของบางวงการ เช่น แพทย์ ธนาคาร เศรษฐศาสตร์ หรือศัพท์เฉพาะของศาสตร์สาขาต่าง ๆและไม่รวมคำที่ไม่มีใช้ในภาษาไทยจึงต้องใช้ทับศัพท์แต่จะขอเรียกร้องเฉพาะคำที่มีใช้ในภาษาไทย แต่ไม่ต้องการใช้ พอใจที่จะใช้คำภาษาต่างด้าวมาแทน อาจจะด้วยเหตุผลนานาจิตตัง เช่น คิดคำไทยไม่ออก เข้าใจยาก ติดภาษาฝรั่ง เคยชิน ดูเก๋ ทันสมัย ได้อารมณ์ ดูมีการศึกษาสูง ดูฐานะดี ฯลฯ อะไรก็ว่ากันไป

จะขอยกตัวอย่างประโยคที่นิยมใช้กันหนาหู เช่น เวลาจัดรายการวิทยุ "เบรคหน้าขอให้ทุกสายรีเควสเข้ามานะครับ” และในชีวิตประจำวันเราก็จะได้ยินบทสนทนาเหล่านี้ เช่น ปีใหม่นี้จะไปเคาน์ดาวน์ที่ไหน, วีคเอ็นด์นี้จะไปฮอลิเดย์ที่ไหน, ช่วงนี้บีซซี่มากเห็นทีจะไปช็อปปิ้งแค่ซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ ๆ คอนโด เท่านั้นพอ, วันนี้ขอเคลียร์กันหน่อย, ขืนฟอร์มมากโดนเช็คบิลแน่, ทำอะไรให้มันแฟร์ ๆ หน่อย, วันนี้ปวดเฮดจังสงสัย ซีเรียสไปหน่อย ไปรีแลกซ์ ย่านสยามสแควร์แถวเซ็นเตอร์พ้อยท์กันเถอะ โอ.เค.?

ณ วันนี้ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ เช่นกัน ท่านลองวิเคราะห์บทสนทนาต่อไปนี้ดูว่าคำไทยของเรา มีเหลืออยู่กี่คำในวิถีชีวิตของคนเมือง

"วันนี้ เราจะเอาโปรเจ็คต่าง ๆในมาสเตอร์แพลนมาพรีเซนต์ดูกันในบอร์ดเพื่อจะได้

เบรนสตอร์มมิ่ง และแชร์ไอเดียกัน รวมทั้งช่วยกันแอพพรู้ฟก่อน ถ้าโอ.เค.ไม่มีคอนฟลิคท์อะไรก็จะได้ฟอร์ม กรุ๊ฟทำงาน และขอตั้งบัดเจทไว้เสียแต่เนิ่น ๆ จะได้ชัวร์ และอย่าลืมงบเอ็นเทอร์เทนแอดเข้าไปด้วยล่ะงานจะได้สมู้ธ เข้าใจ ? อึ…ม ! แล้วก้ออย่าลืมไปดีลกับเซ็คชั่นต่างๆ ให้หมดล่ะ ฮาร์ตแวร์ ซอฟแวร์ที่จะเตรียมไปก็คอนเฟิร์มให้เรียบร้อย งานจะได้เพอร์เฟค และโฟลว์เสียที ฟอร์มแล้วเฟล ฟอร์มแล้วเฟล หมดมู้ด ยังไง ๆ จ๊อบนี้ขอแฮบปี้สักจ๊อบนะ โอ.เค.

แล้วลองหันมาดูเรื่องชื่อของคนไทยกันบ้าง โดยเฉพาะการตั้งชื่อเล่น (ก็มักไม่ค่อยเรียกชื่อเล่นกันแล้ว มักใช้ว่า "นิคเนม") เดี๋ยวนี้คนไทยเขามีชื่อเล่นกันดังต่อไปนี้

น้องแคท น้อยจอย น้องบอย น้องเปิ้ล น้องเบิร์ด น้องบ๊อบ น้องท็อป น้องไทด์ น้องไมด์ น้องนัท น้องแนน น้องแคน น้องโค้ก น้องฮาย น้องมาย น้องเมร์ ฯลฯ บางทีก็นิยมมากกว่าพยางค์เดียว เช่น ญาญ่า ชาช่า นีโน่ วิลลี่ บ๊อบบี้ โทนี จิ๊กกี๋ จีจี้ พอลล่า มาช่า บิลลี่ นาตาชา คริสติน่า บาบาร่า ฯลฯ ถ้ามีเชื้อสายก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าคนไทยแท้ ๆ …… ขอร้อง ๆ โดยเฉพาะวงการดารา นักร้อง ด้วยแล้ว ถ้าชื่อเป็นไทย อาจถึงกับไม่มีใครดู ไม่มีใครฟังกันทีเดียว หรือแม้แต่หน้าตา ถ้าหน้าไทย ๆ ก็ไม่เป็นที่นิยม หากินไม่ได้ต้องไปเสริมดั้ง เหลาคาง ทำตาหลาย ๆ ชั้น แบบฝรั่ง จึงจะเข้าตากรรมการ

อาหารไทยซึ่งกำลังจะรณรงค์ให้เป็นครัวของโลก คนต่างประเทศนิยมรับประทานทอดมันปลา ต้มยำกุ้ง ข้าวผัดกะเพรา ฯลฯ แต่คนไทยกลับนิยมพิซซ่า แซนวิช แฮมเบอร์เกอร์ เค้ก พาย สลัด สเต็ก บาร์บีคิว ฯลฯ ถึงขนาดนี้แล้วคงไม่ต้องเสียเวลาไปเชิญชวนให้ฟังเพลงไทยเดิม สองชั้น สามชั้น เพลงเกา เพลงตับ ให้ป่วยการเปล่า หรือไม่ต้องเรียกร้องให้นุ่งกระโจมอกอาบน้ำ แบบอังศุมาลินหรือนุ่งผ้าซิ่น อยู่กับบ้าน แต่ขอร้องเพียงแค่จะกินจะอยู่ จะนุ่งจะห่ม จะพูดจะจา ก็ดูให้งามอย่างไทย ไว้หน้าบรรพบุรุษ หรือให้เกียรติบรรพชนไทยบ้าง ทุกวันนี้เราขายวัฒนธรรมที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ที่บรรพบุรุษไทย สั่งสม สืบทอด มาให้เป็นต้นทุน หากเราไม่รักษาไว้กลับไปเอาของใหม ๆ เข้ามาปะปนมากลบกลืน จนไม่รู้ว่าของเดิมเป็นอย่างไร ของแท้คืออย่างไร เราก็จะถึงวันที่เรียกว่า "ทุนหายกำไรจม" ไม่มีใครเขาจะเสียเงินค่าเครื่องบินเดินทางมาดูของหาง่าย หาดูที่ไหนก็ได้ ทำไมต้องมาดูถึงเมืองไทย ที่เขามาเพราะเขาต้องการมาดู "ความเป็นไทย" มาดูคนไทย ดูวัฒนธรรมไทย ดูรำไทย ดูวัดไทย ดูเมืองไทย ชิมอาหารไทย ฟังภาษาไทย ฟังเพลงไทย สัมผัสบรรยากาศแบบไทย ๆ ชนบทไทย น้ำใจคนไทย ฯลฯ ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมานี้ เป็นเอกลักษณ์ เป็นสมบัติวัฒนธรรมของไทยที่ไม่มีที่อื่นในโลกเป็นมรดกโลก เราต้องภูมิใจ ต้องอนุรักษ์รักษาไว้อย่างเหนียวแน่นมั่นคง ช่วยกันกอบกู้วิกฤติวัฒนธรรมของชาติ เรียกร้องให้ค่านิยมแบบไทย ๆ กลับคืนมาสู่หัวใจของคนไทยอีกครั้ง โดยเริ่มต้นเสียแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป เริ่มต้นที่ตัวเรา ใช้สินค้าไทย รับประทานอาหารไทย อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ชื่นชมวิถีชีวิตไทย ยกย่องคนที่ใช้ภาษาไทยถูกต้อง ชัดเจน สนับสนุนสื่อที่นำเสนอความเป็นไทย ปลูกฝังสั่งสอนลูกหลานของเราให้นิยมไทย ให้มีความเป็นไทยมากที่สุด ถึงแม้จะมีหลายคนหัวเราะ และคิดว่า "เราจะขวางโลกได้อย่างไร" เราก็คงจะมีคำตอบอยู่ในใจอย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว และมีสติว่าอย่างน้อยเราก็จะช่วยชะลอวันเวลาที่จะได้ยินว่า นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ชื่อ วิลเลี่ยม, แอนดรู หรือไมเคิล……… ให้ช้าลงบ้าง

หวังว่าบทความจากความรู้สึกนึกคิดฉบับนี้จะช่วยสะกิดใจคนไทยด้วยกันบ้าง อย่างน้อยก็ช่วยกันรื้อฟื้นทวงเอาคำไทยของเราคืนมา

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 23 พ.ค. 11, 08:20

  ดิฉันเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้างกับเจ้าของบทความ

  ภาษาที่ยังไม่ตาย  ย่อมมีคำใหม่ๆเพิ่มเข้ามาในภาษาได้ทุกวันตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง   ภาษาใหม่นั้นก็ล้วนแต่มาจากการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากภาษาอื่นทั้งนั้น    ไม่ได้เป็นแต่ยุคนี้ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อย   อาจจะถอยไกลไปถึงบ้านเชียงหรือเปล่ายังไม่ทราบเพราะไม่มีหลักฐาน  แต่ถ้าบ้านเชียงติดต่อกับคนถิ่นอื่นเป็นประจำ ก็ต้องรับภาษาเขามาบ้าง     ตัวอย่างการรับภาษาอื่นก็เช่นพ่อขุนบางกลางหาว กลายเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จากอิทธิพลภาษาเขมร ที่รับมาจากอินเดียอีกที      แม้แต่ชื่อและนามสกุลของอาจารย์เจ้าของบทความนี้ ก็มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต  ไม่ใช่ไทยเลยสักคำ
   ดังนั้นถ้าคนไทยจะใช้ภาษาอังกฤษปะปนอยู่ในกลุ่มของเขา   เพื่อความสะดวกคล่องตัว อย่างกลุ่มคนทำงานที่ใช้ศัพท์เฉพาะในแวดวงอาชีพพวกเขา    ดิฉันก็ไม่ค้าน    ภาษาคือการสื่อสาร  ถ้าสื่อด้วยศัพท์จากภาษาอื่นแล้วคล่องกว่า เข้าใจง่ายกว่า เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างคนพูดและคนฟังก็ใช้ไปเถิด   อย่างคุณลุงชาวเขาคนนั้น   อย่างน้อย แกก็รู้ศัพท์ฝรั่งที่จำเป็นสำหรับการค้าขายผลไม้ของแก    ไม่เสียหายอะไร
   ชื่อเด็กไทยที่เป็นภาษาฝรั่ง  เมื่อก่อนมีเฉพาะเด็กไทยที่เกิดในเมืองฝรั่ง หรือเด็กไทยที่พ่อแม่ตั้งใจว่าโตขึ้นจะส่งไปเรียนต่อเมืองนอก   ต้องเตรียมชื่อไว้ให้ฝรั่งเรียกได้ง่าย  เพราะชื่อไทย(และนามสกุลไทย) มีอยู่มากที่เต็มกลืนสำหรับอาจารย์ฝรั่ง     ต่อมาก็เป็นแฟชั่นว่าเด็กไทยต้องมีชื่อเล่นเป็นภาษาฝรั่ง     แต่ชื่อจริงก็เป็นไทยอยู่นั่นเอง เพราะเรายังถือหลักการตั้งชื่อให้ถูกโฉลกแบบไทยๆอยู่    ข้อนี้ดิฉันก็ไม่เห็นเสียหายอะไร      มีประสบการณ์จากตัวเองว่าตั้งชื่อลูกเป็นไทยทั้งชื่อจริงชื่อเล่น   พอไปเรียนต่อเมืองนอก   ฝรั่งออกเสียงได้ยากมาก จนสงสารอาจารย์และเพื่อนๆของลูก    ชื่อประหลาดๆ เรียกยากก็มีผลเสียกับเจ้าตัว ถ้าต้องการติดต่อคบหาสมาคมหรือทำงานติดต่อกับคนชาติอื่น  เหมือนกัน 
   แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเชียร์(เห็นไหม ใช้ศัพท์ฝรั่งจนได้) เอ่อ..สนับสนุนให้ใช้ภาษาฝรั่งกันไม่ลืมหูลืมตา     เรื่องอะไรที่เขียนอย่างเป็นทางการ ก็ต้องใช้ภาษาประจำชาติของเราอย่างเคร่งครัดระมัดระวัง  ไม่ว่าเขียนจดหมายถึงราชการ  เขียนบทความ สารคดี  บทบรรยายในนิยาย เรื่องสั้น บทกวี  ใช้ภาษาไทยจะงามที่สุด
   ชื่อจริงที่เป็นภาษาฝรั่ง พบได้เป็นปกติในคนไทยที่นับถือคริสตศาสนา    พวกนี้มีชื่อรองเป็นชื่อทางศาสนา ส่วนใหญ่มาจากชื่อนักบุญ     ไม่ได้เป็นเรื่องอวดความโก้เก๋หรืออะไร     ตัวอย่างเช่นอาจารย์ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินแห่งชาติ  ท่านมีชื่อรองว่า เออแชนนี  (Eugenie)  ซึ่งกลายมาเป็นนามปากกา อุชเชนี    ส่วนคนไทยที่ตั้งจริงของชื่อลูกให้เป็นภาษาฝรั่ง ทั้งๆไม่ได้นับถือคริสต์ ก็ลองชั่งใจดูอีกที
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 20 คำสั่ง