เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269635 คำไทยที่หายไป
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


 เมื่อ 10 พ.ค. 11, 04:43

สมัยเด็กอยู่กับคุณแม่  ท่านมักจะใช้คำพูดที่ฟังแล้วโบราณ  ตัวเองก็ติดมาพูดกับลูกๆโดยไม่รู้ตัว  เช่น

=ขนมถุงนี้มี สะไอ แล้ว หรือ เหม็นโอ่  แล้ว   หมายความว่า   มีกลิ่นใกล้ๆ บูด

=คนอะไรไม่รู้จัก  สำเหนียก ซึ่งก็หมายถึงว่า ไม่ฟังและไม่คิดตาม

= มาเดิน ทอดน่อง อะไรแถวๆนี้  ซึ่งหมายถึง เดินช้าๆ มองดูโน่นนี่อย่างสบายอารมณ์ 

ยังมีคำอีกมากมายที่เด็กๆ เดี๋ยวนี้พูดไม่เป็น  และไม่รู้จักเมื่อมีคนพูดให้ได้ยิน  เช่น   แง้มประตู    หับหน้าต่าง

เด็กๆ ใช้คำที่ง่ายต่อการใช้มากกว่า   เช่น  เหม็น   เปิด  ปิด  ทำให้วัฒนธรรมทางภาษาหายไปมาก   

อยากให้ช่วยๆกันนึกว่า  มีคำไทยใดบ้างที่แสดงถึงความละเมียดละไมทางภาษา   แต่คนสมัยนี้ไม่รู้จักใช้น่ะค่ะ

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 พ.ค. 11, 05:38

คำว่า "ฉิว" ในความหมายว่า โกรธเคืองเล็กๆ หรือไม่พอใจในการกระทำของผู้อื่น คำนี้ป้าผมใช้เป็นประจำ


"ผ้าถุง" คำนี้ สาวๆ ชาวกรุงยุคใหม่คงจะไม่รู้จักกันแล้ว เคยดูจากละครโทรทัศน์ นางเอกนุ่งผ้าถุงลงว่ายน้ำในคลอง ยัง "กลัด" ผ้าคาดกับหน้าอกไม่เป็นเลย ต้องใช้เข็มกลัดหรือเข็มขัดรัดเอาไว้ เลยทำให้ได้อีกคำหนึ่งขึ้นมา คือ "ตีโปง"

"ยามเย็นเดินเล่นชายทุ่ง ผ้าขะม้าคาดพุง นุ่งกางเกงขายาว, แต่งตัวไปอวดสาวๆ นุ่งกางเกงขายาว ผ้าขะม้าคาดพุง"
คำไหนครับที่ถูกต้อง ระหว่าง "ผ้าขะม้า" กับ "ผ้าขาวม้า"

คุณประยูร จรรยาวงศ์ หรือ "ศุขเล็ก" ท่านเคยเขียนการ์ตูนไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อสักเกือบสี่สิบปีแล้วมั้ง เรื่องประโยชน์ของผ้าขะม้า
ผมจะประโยคสุดท้ายได้ประโยคเดียวคือ "แสนยากยุ่ง ผูกคอ มรณา" ท่านใดจำประโยคต้นๆ ได้ กรุณานำลงไว้ด้วยครับ

ส่วนประโยคนี้ คงไม่เกี่ยวกับคำถามของกระทู้นี้นัก
สมัยที่ผมเรียนชั้นมัธยม มีเพื่อนนักเรียนในห้องคนหนึ่งเป็นคนสุรินทร์หรือศรีษะเกศจำไม่ได้ ด่าเพื่อนอีกคนหนึ่งว่า "มึงสิเป็นลูกอีแม่หญิงสำเพ็ง" ตอนนั้นไม่เข้าใจความหมาของคำด่านี้เลย มาเข้าใจเมื่อตอนใกล้จะแก่ เมื่อได้ทราบว่า "สำเพ็ง" เมื่อสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างไร ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 พ.ค. 11, 11:52

ตัวอย่างข้างบนนี้ มีทั้งคำไทย และสำนวนไทย  นะคะ  งั้นเอาเป็นว่าเราคุยกันไปทั้ง ๒ แบบ ได้หาคำไทยมาใส่ในกระทู้ได้เยอะๆ

ในกระทู้ใกล้ๆกันนี้ พูดถึงหนวดของชายไทย   คำไทยที่ประกอบลักษณะของหนวด  คนรุ่นใหม่คงไม่รู้จักกันแล้ว เช่น หนวดโง้ง   หนวดเฟิ้ม  หนวดหยิม  หนวดจิ๋ม     

หนวดโง้งก็คือหนวดที่ปลายงอนชี้ขึ้นข้างบน
หนวดเฟิ้ม เป็นหนวดดกหนาอยู่เหนือริมฝีปาก
หนวดหยิม เป็นหนวดบางๆ เหมือนไม่ได้โกนหนวดมาสัก ๒-๓ วัน 
หนวดจิ๋ม เป็นหนวดเล็กๆบางๆ และสั้น

เรายังใช้คำว่า สั่นเทา สั่นระริก สั่นไหว   แต่สั่นเทิ้ม  หายไปนานแล้วละมัง

อ้างถึง
คำไหนครับที่ถูกต้อง ระหว่าง "ผ้าขะม้า" กับ "ผ้าขาวม้า"
ผ้าขาวม้าเป็นภาษาเขียน   ผ้าขะม้าเป็นภาษาพูด  เป็นคำกร่อนมาจากคำแรก ค่ะ


บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 พ.ค. 11, 01:41

1.  พอพูดถึง ผ้าขาวม้า ชวนให้นึกถึงคำว่า  ถกเขมร ค่ะ  คุณพ่อ หรือ คุณน้าผู้ชายรุ่นก่อนๆ  เวลานุ่งผ้าขาวม้า  แล้วต้องไปทำอะไรที่ต้องแบก หาม  ท่านมัก เอาชายผ้าขาวม้าลอดใต้หว่างขา  ไปเหน็บไว้ที่บริเวณหลัง แถวๆบั้นเอว  ซึ่งคนสมัยนั้นเรียกว่า   ตรงกระเบนเหน็บ  ทำให้ดูทะมัดทะแมงขึ้น

      อ้อ..ตัวเองก็เป็นคนที่เรียก ผ้าขาวม้า ว่า  ผ้าขะม้าด้วยเหมือค่ะ

2.  คำว่า  กระเบนเหน็บ  ก็เหมือนกันค่ะ  เด็กๆไม่รู้เลยว่า  มาจากการที่คนไทยนุ่งโจงกระเบน  แล้วตวัดชายผ้าลอดไปเหน็บไว้ที่บริเวณด้านหลังเอว  ก็เลยเรียกร่างกายช่วงหลัง  แถวๆ เอวว่า  กระเบนเหน็บ

3.  คำว่า   เชิงกราน   ก็มาจาก กระดูกบริเวณสะโพก  ที่มีรูปร่างเหมือนเตาเชิงกราน  คนโบราณก็เลยเรียกอวัยวะนั้นว่า  บริเวณเชิงกราน

4.  คำว่า  ร้อยหวาย  ก็คือบริเวณถัดจากตาตุ่ม  ค่อนไปทางหลังเท้า คำนี้เกิดจาก  เมื่อสมัยก่อนเชลยที่ถูกกวาดต้อนจะถูกเจาะบริเวณนี้  แล้วเอาไม้ไผ่ร้อยไว้ให้ติดกันหลายๆคน เดินไปพร้อมๆกัน    เพื่อป้องกันการหลบหนี  น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 พ.ค. 11, 01:53

คุณลุงไก่ คะ   นอกจากคำว่า  สำเพ็ง แล้ว  มีคำที่พูดถึงผู้หญิงในเชิงลบ ของคนโบราณอีกคำนะคะ   ผู้หญิงหยำฉ่า น่ะค่ะ  คำ หยำฉ่า นี้ เป็นภาษากวางตุ้ง  แปลว่า   ดื่มน้ำชา อาจเป็นเพราะเมื่อก่อน มีผู้หญิงบางอาชีพนั่งรับแขก  แล้วก็ดื่มน้ำชากับแขก   แล้วก็อาจต่อด้วยอย่างอื่น  คนสมัยนั้น จึงเรียกผู้หญิงบางอาชีพนั้น   หรือผู้หญิงที่ถูกมองว่าไม่ดี นั้นว่า   ผู้หญิงหยำฉ่า   เพื่อให้มีนัยยะไปในทางลบน่ะค่ะ  แต่สมัยนี้ไม่มีคำนี้ให้ได้ยินแล้ว   ในครอบครัวกวางตุ้งแท้ๆ   เวลาเราพูดว่า   หยำฉ่า  หรือไปหยำฉ่ากันไหม   ก็แปลได้แต่ว่า  ดื่มน้ำชา    หรือไปกินอาหารที่ภัตตาคารจีน  แล้วสั่งอาหารประเภทติ่มซ้ำมาทานกันไปพร้อมๆ กับการดื่มน้ำชา เท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 พ.ค. 11, 08:20

กลับไปคิดได้อีกหลายคำ  ที่น่าจะหายไปแล้ว  เช่นคำว่า เปิ่น และ เพิ้ง

เปิ่น เป็นคำที่มีมาก่อนคำว่า เชย   คำว่าเชยแต่ดั้งเดิมหมายถึง เชยชม    แต่กลายความหมายมาเป็นเชย ที่แปลว่าล้าสมัย จนตลกน่าหัวเราะ ก็เพราะตัวละคร ลุงเชย ในนิยายสามเกลอที่ป.อินทรปาลิตสร้างขึ้น     แกโด่งดังจนชื่อแกกลายมาเป็นความหมายของเชยอย่างที่เรารู้จัก    คำว่า "เปิ่น" ซึ่งหมายถึงเชย หรือเฉิ่ม  ก็เลยหายไป    พบได้ก็ในหนังสือเก่าๆสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒

เพิ้ง ใช้ประกอบคำเรียกผู้หญิง  เป็น ยายเพิ้ง   ยังไม่เคยเห็นคำว่า ตาเพิ้ง หรือนายเพิ้ง   
มีความหมายถึงผู้หญิงทำตัวเชยๆ น่าสมเพช น่าขบขัน    เข้าใจว่าจะมาจากเรื่องสั้น "คุณย่าเพิ้ง" ของ ครูเทพ หรือเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี    คุณย่าเพิ้งเป็นตัวละครเอกในเรื่อง   มีพฤติกรรมดังที่ว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 พ.ค. 11, 10:29

คำว่า โก๋ ในสมัย ๒๕๐๐ กว่าๆ หมายถึงหนุ่มวัยรุ่นแต่งตัวสไตล์เอลวิส   ชุมนุมกันเป็นกลุ่ม แบบ โก๋หลังวัง

คำนี้ตัดมาจากคำว่า จิ๊กโก๋     ส่วนจิ๊กโก๋เพี้ยนมากจาก  gigolo เดิมหมายถึงหนุ่มๆที่รับจ้างเต้นรำกับหญิงสูงอายุ ซึ่งมางานโดยไร้คู่เต้น   ต่อมาก็กลายเป็นว่านอกจากบริการเต้นรำด้วยแล้ว  ยังบริการอะไรต่อมิอะไรอย่างอื่นด้วย      แต่เมื่อเอามาใช้ในภาษาไทย  ความหมายเปลี่ยนไป กลายเป็นหนุ่มวัยรุ่นแต่งตัวระคายตาผู้ใหญ่ทั้งหลายในสมัยนั้น

แต่ย้อนไปสมัยรัชกาลที่ ๕  มีคำว่า โก๋ เป็นคำวิเศษณ์  หมายถึงหลงๆลืมๆ  แบบคนแก่  เพราะฉะนั้นในรัชกาลที่ ๕ คุณตาคุณยายก็โก๋ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 พ.ค. 11, 15:35

ค่อยๆทยอยนึกได้เรื่อยๆ
 ๑   กินโต๊ะ        =   รุมสกรัม
 ๒   แจกหมาก    =   ต่อยปาก
 ๓   ชะรอย        =   มีท่าทีว่าจะ, น่าจะ, อาจจะเป็นได้ว่า
 ๔   วุ้ย             =  เป็นคำอุทานของสาวๆสมัยคุณย่าคุณทวด     ถ้าเป็นสมัยนี้ พิมพ์คำว่า "กรี๊ด" แทน
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 พ.ค. 11, 18:25

1. ตะแคงหูฟัง    =  การฟังอะไรอย่างตั้งอกตั้งใจ  มักใช้ในกรณีที่ผู้ฟังไม่ควรมีส่วนรู้เห็นด้วย
2. หัวบันได    = บันไดขั้นบนสุด                ตีนบันได   =  บันไดขั้นล่างสุด
3. เอนหลัง   =  นอนพักสักครู่
4. ราไฟ   =  ทำให้ไฟที่เตาอ่อนลงจนเกือบดับ
5. ตัวรุมๆ  =  อาการที่ร่างกายเริ่มมีความร้อนจากอาการไข้
6. เดินลอยชาย  =   คนที่เดินโดยไม่สนใจความเป็นไปรอบๆตัว


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 พ.ค. 11, 20:28

คำว่า "ฝิ่น" ในความหมายที่ว่า แอบนำบทคัดย่อตำราหรือสูตรต่างๆ เข้าไปในห้องสอบ, ปัจจุบันยังใช้กันอยู่หรือไม่?

คำว่า "กำปั่น" ในความหมายที่ว่าเป็นหีบใส่ของ

คำว่า "ยากะแร็ต" ที่แปลงมาจากภาษาต่างประเทศ

คำว่า "โคมเขียว" "โคมแดง" อันหมายถึง ซ่องโสเภณีในสมัยก่อน? ทำให้นึกถึงคำว่า "จาโบ๊ห่วง" (ภาษาพูด) ขึ้นมาได้ ซึ่งคงไม่ใช่คำไทยแน่นอน แต่หมายความว่า โรคที่ติดต่อจากการมีเพศสัมพนธ์กับหญิงบริการ

"นังแจ๋ว" คำนี้ใครๆ ก็ทราบความหมายอยู่แล้ว และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่จะใครบ้างที่ยังไม่ลืมคำว่า "อีเอี้ยง" จากละครโทรทัศน์เรื่องหนึ่งเมื่อเกือบสามสิบปีมาแล้ว (นอกเรื่องไปนิด)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 พ.ค. 11, 21:25

ฝิ่น ในความหมายนี้ ไม่เคยได้ยินเลยค่ะ
กำปั่น บางทีก็ใช้คู่กับหีบ เป็นหีบกำปั่น
โคมแดง ไม่รู้จัก เคยอ่านพบแต่โคมเขียว

มีคำอื่นๆที่นึกได้อีก
๑  ตอกหน้า   =  โต้กลับไป
๒  หน้าหงาน  =  หน้าแตก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 13 พ.ค. 11, 21:55

โซม  =  เปียกทั่ว  ใช้กับเหงื่อ   เหงื่อโซมกาย    เมื่อก่อนเห็นหนังสือบางเล่ม สะกดว่า โทรม  แต่รอยอินให้ใช้ โซม    เดี๋ยวนี้หายไปแล้วทั้งสองคำค่ะ   เห็นแต่โทรมในความหมายของทรุดโทรม

เจ้าทุย        =  ควาย
หัวทุย         =  รูปศีรษะที่ด้านหลังกลมนูน
หน้าผากโหนก  =  หน้าผากนูน

เอ คำว่า "นูน" หายไปจากความเข้าใจของคนไทยด้วยรึเปล่า  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 พ.ค. 11, 23:50

1. ฝิ่น  เคยได้ยินอยู่เหมือนกันค่ะ  คุณพ่อเป็นนักเรียนอำนวยศิลป์ รุ่นลมหวน  ซึ่งอยู่แถวๆรุ่น พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ   เคยได้ยินท่านพูดอยู่เหมือนกัน  ทำนองนี้ล่ะค่ะ   น่าจะนิยมใช้ในหมู่นักเรียนชายสมัยนั้นน่ะค่ะ
2. ต้องขอแก้คำว่า   หน้าหงาน   เป็น  หน้าหงาย  ค่ะอาจารย์  ความหมายก็อย่างที่อาจารย์ว่ามาน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 09:08

1. ฝิ่น  เคยได้ยินอยู่เหมือนกันค่ะ  คุณพ่อเป็นนักเรียนอำนวยศิลป์ รุ่นลมหวน  ซึ่งอยู่แถวๆรุ่น พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ   เคยได้ยินท่านพูดอยู่เหมือนกัน  ทำนองนี้ล่ะค่ะ   น่าจะนิยมใช้ในหมู่นักเรียนชายสมัยนั้นน่ะค่ะ
2. ต้องขอแก้คำว่า   หน้าหงาน   เป็น  หน้าหงาย  ค่ะอาจารย์  ความหมายก็อย่างที่อาจารย์ว่ามาน่ะค่ะ

พิมพ์ผิดเหมือนกันค่ะ ขอบคุณที่แก้ให้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 09:17

ขอยกมืออีกคนว่า สมัยที่เรียนเคยได้ยินคำว่าฝิ่นในความหมายว่าที่ลุงไก่อธิบาย

แต่ไม่เคยพกฝิ่น

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 20 คำสั่ง