เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 510 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 19:44
|
|
คำว่า "ขวนขวาย" เห็นผู้อ่านข่าวหรือพิธีกรจำไม่ได้แล้ว อ่านออกเสียงทางทีวี ว่า ขวันขวาย เลยคิดว่าเป็นคำไทยอีกคำที่หายไป
ขอถามในเรือนไทย ว่าคำ "ขวน" ออกเสียงว่าอย่างไร น่าแปลกที่รอยอินไม่ยักให้เสียงคำแรกเอาไว้ ทั้งๆเป็นคำที่ออกเสียงผิดพลาดได้มากกว่าคำหลัง
ขวนขวาย [-ขฺวาย] ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวายขวน ก็ว่า.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 511 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 08:35
|
|
ขอถามในเรือนไทย ว่าคำ "ขวน" ออกเสียงว่าอย่างไร น่าแปลกที่รอยอินไม่ยักให้เสียงคำแรกเอาไว้ ทั้งๆเป็นคำที่ออกเสียงผิดพลาดได้มากกว่าคำหลัง
ขวนขวาย [-ขฺวาย] ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวายขวน ก็ว่า. ทั้ง ขวน และ ขวาย เป็นคำควบกล้ำออกเสียงวิธีเดียวกัน ไม่น่าออกเสียงยาก มาหาความรู้เรื่องคำควบกล้ำประกอบเพลงกันดีกว่า 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 512 เมื่อ 28 ส.ค. 11, 19:53
|
|
วันนี้ตอบกระทู้หนึ่งในนี้ เกือบพิมพ์คำว่า จ้ำม่ำ ลงไป พอดีนึกได้ว่าอาจเป็นคำที่หายไปแล้ว ก็เลยเก็บมาตอบในนี้ดีกว่า คำที่หมายถึงรูปร่างอ้วน หรือค่อนข้างอ้วน มีหลายคำ เช่น ท้วม อวบ ยุ้ย เจ้าเนื้อ และจ้ำม่ำ คำหลังนี้มักใช้กับทารก ในความหมายว่าอ้วนอย่างน่าเอ็นดู แก้มเด็กที่อ้วน เรียกว่าแก้มยุ้ย หรือ แก้มเป็นพวง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 513 เมื่อ 29 ส.ค. 11, 19:21
|
|
คำไทยหายไป
สานหลวง = เรือนหลวง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 514 เมื่อ 29 ส.ค. 11, 19:30
|
|
คำไทยหายไป
สานหลวง = เรือนหลวง
สานหลวง = เรือนหลวง ? นึกถึงอีกคำหนึ่งคือ ข้าวสาร ซึ่งหมายถึง ข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวที่ได้สีหรือตำเอาเปลือกออกจนหมดแล้วเหลือแต่เนื้อในเป็นสีขาว ถ้าเป็นข้าวเจ้า เรียกว่า ข้าวสารเจ้า ถ้าเป็นข้าวเหนียว เรียกว่า ข้าวสารเหนียว แต่โดยทั่วไปมักใช้ว่า ข้าวสาร และข้าวเหนียว คำว่า สาร ในคำว่า ข้าวสาร นั้น พระยาอนุมานราชธนได้เคยสันนิษฐานว่า มาจากคำไทยเดิมว่า สาน แปลว่า เอาเปลือกออก ข้าวสาน คือข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว ที่เขียนใช้ ร สะกด เพราะไม่ทราบที่มาแต่เดิมจึงได้ลากเข้าวัดให้เป็นภาษาบาลีไป สาร ภาษาบาลี แปลว่า แก่น ส่วนที่สำคัญ ข้าวที่สำคัญที่สุดของไทยจึงโยงไปหาคำว่า สาร และเขียนว่า ข้าวสาร ดังปัจจุบันนี้ จาก บทความของ ศ. ดร. กาญจนา นาคสกุล ลงในนิตยสารสกุลไทย ฉบับที่๒๔๙๓ ปีที่ ๔๘ ประจำวันอังคารที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kwang satanart
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 515 เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 22:34
|
|
ฟ้าแจ้ง หมายถึง ท้องฟ้าที่เริ่มมีแสงจากดวงอาทิตย์ ในตอนเช้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 516 เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 22:42
|
|
ได้ยิน ฟ้าแจ้ง แล้วนึกถึง ฟ้าแจ้งจางปาง จางปาง (ปาก) ว. สว่างจ้า, สว่างโล่ง; อีสานว่า จ่างป่าง. ผู้ใหญ่ลีถอดแว่นตาดำ แล้วฟ้าแจ้งจางปาง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 517 เมื่อ 01 ม.ค. 12, 12:35
|
|
ฮักอ้ายโจงโปง นอกจาก จางปาง ยังมี โจงโปง จิงปิง แจงแปง ให้สืบค้นความหมาย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 518 เมื่อ 22 ก.พ. 12, 10:21
|
|
จังหล่อ, จำหล่อ, จั้นหล่อ รอยอินท่านว่าคำนี้อาจเขียนได้หลายอย่าง จังหล่อ, จำหล่อ, จั้นหล่อ มาจากภาษาจีนว่า จั้งโหล่ว (จั้ง - กีด, ขวาง, โหล่ว - ถนน)
อาจารย์กาญจนา นาคสกุล อธิบายเพิ่มเติมว่า
จังหล่อ-จำหล่อ
จังหล่อ หรือ จำหล่อ เป็นคำเก่าที่มีความหมายว่า เครื่องกีดกั้นทาง.
วิธีทำจังหล่อนั้นเจ้าหน้าที่จะปักไม้เป็นเสาสูงประมาณ ๒ ศอกขวางทางไว้, มีไม้ราวตีทับหลัง. ไม้ที่ปักนี้ทำเป็น ๒ แนว วางเหลื่อมกัน. เมื่อคนเดินมาถึงจังหล่อจะผ่านไปไม่ได้ต้องเดินไปจนสุดแนวข้างหนึ่ง, แล้วย้อนกลับไปทางปลายของอีกแนวหนึ่ง จึงจะผ่านไปได้. จุดประสงค์ที่มีจังหล่อก็เพื่อตรวจตราผู้ที่สัญจรผ่านไปมา เป็นต้น.
ปัจจุบันไม่มีใครใช้คำนี้ ใช้แต่คำว่า ที่กั้น เครื่องกั้น ไม้กั้น เช่น ที่กั้นถนนตรงทางรถไฟ. น่าจะนำคำว่า จังหล่อ มาใช้เพื่อรักษาศัพท์ไว้.
ผู้เขียน ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย สำนักศิลปกรรม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kwang satanart
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 519 เมื่อ 23 มี.ค. 12, 01:07
|
|
เลื่อนเปื้อน = เขาชอบพูดจาเลื่อนเปื้อน เข้าทำนองพูดจาเฉไฉ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kwang satanart
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 520 เมื่อ 31 ต.ค. 12, 23:11
|
|
หายใจรดต้นคอ การยืนที่ใกล้กันมากขนาดคนยืนหน้ารู้สึกถึงลมหายใจของคนยืนหลัง มักใช้กับการทำคะแนนที่ใกล้เคียงกัน
กระต่ายตื่นตูม ทำตัววุ่นวาย หรือตื่นเต้นเกินกว่าเหตุ
ของหาย ตะพายบาป เวลามีของหาย แล้วเกิดการสงสัย หรือหลงลงโทษผู้บริสุทธิ์
แร้งลง การแย่งชิงสิ่งของ หรือทรัพย์มรดก
เอากระเบนกรางหน้าไม่เจ็บ โบราณเอาหนังกระเบนถูทองคำ เพื่อพิสุจน์ความเป็นทอง จึงเอามาเปรียบเทียบว่า ถ้าหน้าใครเอาหนังกระเบนมาถูแล้ว ไม่เจ็บ ถึงความเป็นคนหน้าหนา เป็นคำด่าแบบโบราณ คล้ายกับ ไม่มียางอาย แต่น่าจะเจ็บแสบกว่า
ข้าวไม่มียาง ข้าวโบราณมีความหนึบของเนื้อข้าวเมื่อหุงแล้วมากกว่าสมัยนี้ โบราณเอามาเปรียบโดยนัย หมายถึง คนอกตัญญู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 521 เมื่อ 21 พ.ย. 18, 12:01
|
|
ข่าวข้อสอบเด็ก ป. ๑ อันลือลั่น "ใครไปคูนา" ครูลิลลี่-กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ ครูสอนวิชาภาษาไทยชื่อดัง ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ว่า...คำว่าว่า "คูนา" นั้น ครูก็ไม่เคยพบ แต่จากบริบทก็เข้าใจได้ว่าอาจจะหมายถึงคันนา”
ได้ครูภาษาไทยที่ไม่รู้จักคูนา อีกคนหนึ่งละ จาก พระราชบัญญัติคันนาและคูนา พุทธศักราช ๒๔๘๔ คำง่าย ๆ อย่าง "คูนา" ไม่เป็นที่รู้จักกันเสียแล้ว 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Naris
|
ความคิดเห็นที่ 522 เมื่อ 21 พ.ย. 18, 14:14
|
|
พระราชบัญญัติคันนาและคูนา พุทธศักราช 2484 ถูกยกเลิกโดย พระราชบัญญัติคันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 (ประกาศราชกิจจาฯ เล่ม 79 ตอน 29 วันที่27 มีนาคม 2505) ใน พรบ. ฉบับใหม่ มีแต่นิยามคำว่า "คัน" กับ "คูน้ำ" ครับ มิได้จำเพาะว่าเป็น คันของอะไร หรือ คูต้องเป็นคูสำหรับนาเท่านั้น เรื่องนี้ปรากฎในหลักการและเหตุผลท้ายกฎหมายว่า พรบ. เดิม ไม่มีผลตามเจตนาเดิม เพราะการเกษตรกรรมในบางท้องทีไม่ได้ทำนาอย่างเดียว มีทั้งการทำสวนทำไร่ในที่ดินแปลงเดียวกัน (ผมเข้าใจว่า เพราะเหตุนี้ ถ้าใช้คำว่า คันนา หรือ คูนา ก็อาจมีความหมายไม่ครอบคลุม คันดินรอบสวน หรือร่องคูในไร่ อะไรแบบนั้นครับ)
ด้สนเหตุนี้ คูนา จึงหายไป ตั้งแต่ปี 2505 นั้นแล..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 524 เมื่อ 21 พ.ย. 18, 18:15
|
|
คำว่า "แน่งน้อย" ในสมัยเมื่อ 70-80 ปีก่อน เป็นชื่อผู้หญิงที่แพร่หลายพอสมควร มีความหมายถึง ผู้หญิงเอวบางร่างน้อย ตัวละครของป.อินทรปาลิต มีชื่อนี้ด้วย เป็นสาวของเสือดำ แต่ทรยศหักหลังพระเอก ยุคนี้เห็นจะสาบสูญไปจากการตั้งชื่อเด็กผู้หญิงเสียแล้วค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|