เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 270241 คำไทยที่หายไป
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 450  เมื่อ 06 ก.ค. 11, 07:20

เป็นเพราะคุณ Wandee ท่านเปิดครัวแท้ๆ เชียว กลิ่นอาหารหอมฉุยจึงลอยออกมาสัมผัสจมูก จึงทำให้ต้อง "แจกหมาก" อีกครั้งกับกระทู้เก่าๆ เรื่องราวของ "หมาก"


http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2017.0


http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1094.0

 แลบลิ้น   ยิงฟันยิ้ม






บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 451  เมื่อ 06 ก.ค. 11, 21:47

 อึดใจพระพุทธ  นี่สงสัยจะนานโขอยู่นะ 
เดินยักย้ายส่ายสะโพกอยู่นั่นล่ะ   จะทำอะไรก็ไม่ทำ
กลับมาเหนื่อยๆ  นั่งพักให้เหงื่อแห้งก่อนค่อยอาบน้ำ   
หน้าหนาวๆอย่างนี้  อาบน้ำแล้วอย่าให้โดนลมแรงๆนะ  เดี๋ยวตะพ้านกิน     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 452  เมื่อ 08 ก.ค. 11, 18:46

นึกถึงคำนี้ขึ้นมาได้ ว่าไม่ได้ผ่านตามานานมากแล้ว  คิดว่าคนอายุต่ำกว่า 40 ลงมาคงไม่เคยได้ยิน
คือคำว่า จักแหล่น ออกเสียงว่า  จักกะแหฺล่น   บางทีก็สะกดว่า  จั๊กแหล่น(จั๊กกะแหฺล่น)  แปลว่าจวนเจียน  เกือบ หวุดหวิด

วันนี้ตื่นสาย   จักแหล่นจะมาไม่ทันโรงเรียนเข้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 453  เมื่อ 09 ก.ค. 11, 08:53

เมื่อวันที่ 10 ก.ค.2554      ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยของคนไทย โดยเฉพาะนักเรียนนอกที่ชอบใช้ภาษาฝรั่งคำไทยคำนั้น ในส่วนของราชบัณฑิตเอง ก็เป็นห่วงในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน โดยจะพยายามที่จะส่งเสริมให้คนไทยรู้สึกภาคภูมิภาคใจ และใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รวบรวมคำต่างๆ มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือ เช่น หนังสือคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ หนังสือภาษาต่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบัน เพื่อให้คนไทยได้ใช้ภาษาให้ถูกต้อง และไม่หลงลืมรากศัพท์เดิม และส่งเสริมให้สื่อมวลชน และบุคคลสาธารณะเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษา

ราชบัณฑิต กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูล สถานการณ์การใช้ภาษาไทยของคนไทย พบว่า อยู่ในภาวะวิกฤติและน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ที่พบว่า ใช้ภาษากันอย่างไม่ระมัดระวังเปลี่ยนไปตามแฟชั่น พูดไทยคำอังกฤษคำและเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะภาษาที่ใช้กันในสังคมอินเทอร์เน็ต ที่มักใช้คำง่ายๆ สั้นกะทัดรัด แต่ไม่ถูกอักขระ จนกลายเป็นค่านิยม ที่ส่งผลให้ความประณีตของภาษาหายไป และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป เด็กไทยก็จะไม่ทราบความหมายของรากศัพท์ทางภาษาที่แท้จริง ไม่รู้จักความสุนทรีย์ของภาษา และใช้คำที่ง่ายๆ ได้อย่างเดียว

"ปัจจุบันเด็กไทยไม่รู้ความหมายของภาษาในหลายคำ บางคนไม่สามารถถ่ายทอดความหมายของคำบางคำได้ เช่น อาการของคำว่า ซาบซึ้งใจ บางคนไม่รู้จัก ชื่อขนมไทย ชื่ออาหาร ดอกไม้ แม้กระทั่งสิ่งที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก หรือ คำกริยา เช่น การปิ้ง ย่าง ทอด ที่นำมาใช้กันอย่างสับสน บางครั้งเด็กนึกไม่ออกว่า จะใช้ศัพท์นี้กับประโยคใดบ้าง และทำให้ใช้ภาษาผิดเพี้ยนไป" ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา กล่าว

ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา กล่าวอีกว่า ขณะนี้ราชบัณฑิตยสถาน ได้รวบรวมคำใหม่ที่คนไทยใช้ในปัจจุบัน ที่ส่วนมากเป็นภาษาปากที่ใช้แทนภาษาพูด คำสแลง ทั้งคำไทย และต่างประเทศ ได้แก่ คำว่า งดงาม หรือ มโหฬาร ก็จะใช้กันว่า อลังการงานสร้าง, โทรศัพท์ ก็จะใช้คำว่า ต่อสาย, พบปะ ใช้ว่า กระทบไหล่, ผนึกกำลัง ใช้คำว่า สนธิกำลัง ,เงินสนับสนุน ใช้ว่า น้ำเลี้ยง

ส่วนคำต่างประเทศ ที่นิยมใช้ทับศัพท์ ได้แก่ คำว่า แอกซิเดนต์ (accident) สามารถใช้คำไทยว่า อุบัติเหตุ หรือ เหตุขัดข้อง , เช็ก (check) คำไทย คือ ตรวจสอบ สอบถาม หาข้อมูล ,ฟรี (free) คำไทยใช้ว่า ว่าง, ไม่เสียเงิน , อินดอร์ (indoor) ในร่ม ,ในอาคาร , โลโก (logo) ตราสัญลักษณ์ , โพล (poll) สำรวจประชามติ

ราชบัณฑิต กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีคำที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี สังคมอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้ เช่น อีเมล ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งอีเมล (ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) เน็ตเวิร์ค เครือข่าย ,โครงข่าย , วงจรข่าย, search เสิร์ต ค้นหา การค้นหา , laptop computer แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์วางตัก , overload โอเวอร์โหลด โหลดเกิน ,ภาระเกิน, , adapter อแดปเตอร์ ตัวปรับต่อ ,ตัวปรับ ซึ่งคำดังกล่าวส่วนใหญ่จะใช้ในสังคมวงการสื่อมวลชน และในทางการเมือง

ไทยรัฐออนไลน์    โดย ทีมข่าวการศึกษา
8 กรกฎาคม 2554, 17:30 น.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 454  เมื่อ 09 ก.ค. 11, 11:47

ดูจะมีเจตนารมณ์เดียวกับอาจารย์ภาษาไทยคนข้างล่าง


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 455  เมื่อ 09 ก.ค. 11, 18:13

เจ้าหมอนั่นสงสัยหลงยุคเสียแล้ว  ดูเค้ากล้าหวีผม  "ตกแสก"  ออกมาเดินถนน

พูดแค่นี้ก็ทำเป็นอาย  "ม้วนต้วน"

กลับมาเหนื่อยๆ ก็ไป "ลูบเนื้อลูบตัว"  เสียก่อนไป

ไปล้างหน้าล้างตาเสีย  "กระมอมกระแมม"  เต็มทน

พอแล้ว พอแล้ว  มาร่าย  "คาถาพัน"  อย่างนี้ ฉันฟังไม่เข้าใจหรอก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 456  เมื่อ 14 ก.ค. 11, 19:02

คำว่าแห้ง  มีคำขยายหลายคำที่ไม่ค่อยเห็นอีกแล้ว
- แห้งผาก   = แห้งสนิท
- หน้าแห้ง  = หน้าตาอิดโรย ไม่แจ่มใส 
- แห้งเกราะ =  แห้งจนกรอบ  โดยมากเกิดจากความร้อน
- ยิ้มแห้ง   = ยิ้มฝืนๆ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 457  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 08:35

Admin กรุณาตรวจสอบด้วยครับ

คำถามเยอะแยะไปหมด  ... พับผ่าสิ ... พับเผื่อยสิ ...




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 458  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 09:50

พับผ่า..พับเผื่อย..พับผี่

พับผ่า เป็นอุทาน น่าจะมาจาก ให้ฟ้าผ่า

พับผี่  ก็น่าจะมาจาก ฟ้าผี่ แปลความหมายเดียวกับข้างบน

ท้าวสามนต์เข้าไปเห็นพระสังข์ในกระท่อม อุทานว่า ฟ้าผี่

ผิวเนื้อเรื่อเรืองเหลืองประหลาด
ดั่งทองคำธรรมชาติหล่อเหลา
ฟ้าผี่เถิดเอ๋ยลูกเขยเรา
งามจริงนะเจ้านางมณฑา

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 459  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 22:00

สิ้นเดือนแบบนี้ จนกรอบเลย มีเงินอยู่ไม่กี่บาท

ผ้าสวยๆอย่างนี้ ชิ้นละกี่อัฐฬสกันล่ะนี่

งานการมีไม่ทำ มานั่งท้าวแขนแอ่นระแน้ อยู่แถวนี้

ถูกดุอย่างนี้  หน้าไม่มีสลด  ทำหน้าระรื่นอยู่ได้

เด็กอะไร ท้องยุ้งพุงกระสอบ  กินข้าวยังกะยัดทะนาน

ของพรรณอย่างนี้ ปรบมือข้างเดียวไม่ดังหรอก 

ตัวแค่นี้  ริอ่านเป็นขโมยเสียแล้ว

ตอนแรกก็ว่าเรื่องจบไปแล้ว   แต่กลับมาโอละพ่อวุ่นวายรื้อฟื้นกันขึ้นมาใหม่

ยากจนจนไส้จะเป็นน้ำเหลืองอยู่แล้ว  ยังมาทำวางท่ายโส



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 460  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 22:14

อ่านอิเหนาแล้วนึกขึ้นได้อีกคำหนึ่งค่ะ... ยิงฟันยิ้ม

"มะงุมมะงาหรา"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 461  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 23:07

^
^
นึกขึ้นได้อีกหลายคำ

วิลิศมาหรา
ดวงยิหวา
คู่ตุนาหงัน
ยาหยี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 462  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 20:51

จากคำว่า "คาถาพัน" ที่มาจากการเทศน์มหาชาติเป็นภาษาบาลี  ทำให้ถูกแปลงมาใช้เป็นสำนวนที่หมายถึง
คนที่พูดจาฟังไม่เป็นภาษา พูดจายืดยาวแต่ฟังแล้วไม่เข้าใจ  ว่า "ร่ายคาถาพัน"
ทำให้นึกได้อีกคำหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการสวดมหาชาติเช่นกัน  และกำลังจะหายไป  คือคำว่า "โอ้เอ้วิหารราย"
อันหมายถึงการทำอะไรที่ชักช้า ยืดยาด ไม่ทันชาวบ้าน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 463  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 06:21

‘โอ้เอ้วิหารราย’ (หรือ ‘โอ้เอ้พิหารราย’)  เป็นสำนวนหมายถึง ยืดยาด อ้อยอิ่ง ล่าช้า

เรื่องนี้พบใน ‘สาส์นสมเด็จ’ ฉบับลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ท่านว่า เค้ามูลการสวดโอ้เอ้วิหารรายนั้น มาจากเมืองนครศรีธรรมราช

การที่มีเด็กสวดตามศาลารายในวัดพระแก้วนั้น เพิ่งมีขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นเป็นปฐมที่โรงทานข้างประตูต้นสน ครั้นถึงเทศกาลที่ขุนทินขุนทานสวดมหาชาติคำหลวงในโบสถ์วัดพระแก้ว จึงโปรดฯให้จัดเด็กนักเรียนที่โรงทานมาสวด ‘โอ้เอ้วิหารราย’ อย่างโบราณที่ศาลาราย เลยเป็นธรรมเนียมมาจนในรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕ จนกระทั่งเลิกโรงเรียนที่โรงทาน มีโรงเรียนชั้นประถมของหลวง จึงจัดเด็กตามชั้นประถมที่ต่างๆ มาสวดโอ้เอ้วิหารรายแทนเด็กโรงทานโรงเรียนละศาลา

เมื่อเปลี่ยนเป็นสวดตามศาลา มิได้สวดตามวิหารรายอย่างเดิม บางทีอาจมีผู้เรียกเพี้ยนไปเป็นอย่างอื่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงมีพระบรมราชาธิบายประกาศว่า

“สวดหนังสือสวดอย่างเช่นเด็ก ๆ สวดนั้น เรียกชื่อว่าสวดโอ้เอ้พิหารราย จะสวดที่พิหารรายก็ดี สวดที่พระระเบียงก็ดี สวดที่พิหารใหญ่ ที่ศาลา กุฎี ที่ใด ๆ ก็ดี ก็คงเรียกชื่อยืนอยู่อย่างเดียวว่า โอ้เอ้พิหารราย ไม่ยักย้ายไปตามที่สวดเลย”

ต่อมานำคำว่า ‘โอ้เอ้วิหารราย’ มาเป็นสำนวนหมายถึงช้าอ้อยอิ่ง เพราะการสวดแบบนี้สวดช้า ๆ มีเอื้อนมีสร้อยประกอบยืดยาว ยิ่งเด็ก ๆ สวดก็ยิ่งลากเสียงยานยาว

http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=1990&stissueid=2522&stcolcatid=2&stauthorid=13

อยากทราบมากกว่านี้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/08/K5738300/K5738300.html
http://www.stou.ac.th/study/projects/training/culture/oaeviharai.htm

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 464  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 06:32

ของฝากจาก กระทู้พันทิปข้างบน

๑. แทะโลม ว่าหายไปแล้ว คำที่ความหมายเหมือนกัน แพะโลม ใครเคยได้ยินบ้าง

๒. แม่สายบัวแต่งตัวเก้อ ทำไมต้องเป็นแม่สายบัวเกี่ยวอะไรกับ มุ้งสายบัว หรือเปล่า

 ขยิบตา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 29 30 [31] 32 33 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง