เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269594 คำไทยที่หายไป
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 07:28

ปัจจุบันไม่ค่อยได้ยินแล้ว "อับข้าว" คือ ภาชนะมีฝาปิดบรรจุข้าวไว้กิน ...คิดถึงอับข้าวใส่ไข่ดาว หรือไข่ต้ม ตามด้วยกุนเชียง ช้อนหอยคันโตๆ พกไปโรงเรียน


บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 08:33

ปัจจุบันไม่ค่อยได้ยินแล้ว "อับข้าว" คือ ภาชนะมีฝาปิดบรรจุข้าวไว้กิน ...คิดถึงอับข้าวใส่ไข่ดาว หรือไข่ต้ม ตามด้วยกุนเชียง ช้อนหอยคันโตๆ พกไปโรงเรียน

ลูกคนมีกะตังค์ใช้อับข้าว  ลูกคนจนอย่างผม ข้าวห่อใบตอง "ยันเต"
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 08:40

ไม่ได้ใช้แบบนี้ เคยใช้แต่กล่องข้าวแบบอลูมีเนียม(ปีเนียม?)
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 09:08

แบบนี้หรือเปล่าค่ะ คุณbangplama ...
ข้างในมีกล่องเล็ก แยกกับข้าว หรือขนมด้วย... ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 09:15

^
^
สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม ใช้อย่างนี้เลย ใส่ข้าวและกับไปรับประทานเป็นอาหารกลางวันทุกวัน

พูดถึงเรื่องกล่องข้าว ทุกวันนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น ตามสำนักงานพอถึงเวลากลางวัน พนักงานก็จะเอากล่องข้าว (เบนโต๊ะ) มาเปิดเพื่อรับประทานอาหารกัน

วัฒนธรรมนี้ไม่มีในคนไทย (ผู้ใหญ่)

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 09:43

คุณดีดี ช่วยหาภาพอับข้าว ปีเนียม ที่เป็นทรงวงรีให้ทีซิครับ  อายจัง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 09:48

แบบนี้หรือเปล่าค่ะ คุณbangplama ...
ข้างในมีกล่องเล็ก แยกกับข้าว หรือขนมด้วย... ยิงฟันยิ้ม

ลุงไก่ใช้กล่องข้าวอลูมิเนียมอีกแบบหนึ่ง เก่ากว่าแบบนี้ ข้างในไม่มีช่องแบ่ง แต่จะมีกล่องใบเล็กไม่มีฝาอีกชิ้นหนึ่งด้วย สำหรับใส่กับข้าวแยกจากข้าว
ใช้ไปนานๆ หูรัดข้างกล่องมันหัก ก้ใช้หนังยางเส้นใหญ่รัดเอาไว้แทน
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 10:14

คุณดีดี ช่วยหาภาพอับข้าว ปีเนียม ที่เป็นทรงวงรีให้ทีซิครับ  อายจัง

ได้มาแต่ตัวค่ะ ฝาไปไหนรู้...
อีกอันเป็นแบบสมัยใหม่ ค่ะ... ยิงฟันยิ้ม



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 10:21

ปัจจุบันไม่ค่อยได้ยินแล้ว "อับข้าว" คือ ภาชนะมีฝาปิดบรรจุข้าวไว้กิน ...คิดถึงอับข้าวใส่ไข่ดาว หรือไข่ต้ม ตามด้วยกุนเชียง ช้อนหอยคันโตๆ พกไปโรงเรียน

ลูกคนมีกะตังค์ใช้อับข้าว  ลูกคนจนอย่างผม ข้าวห่อใบตอง "ยันเต"

"ยันเต" คืออะไร รบกวนช่วยขยาย ๆ ความให้ด้วยครับ ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 10:32

รอยอินให้ความหมายไว้แต่คำว่า "ยัน"

ยัน  (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย.

ต้องดูในพจนานุกรมแปลภาษา

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary

ยันเต [ADV] always, See also: constantly, invariably, continuously, periodically, continually, incessantly, Syn. เสมอ, Example: ใคร ๆ ก็โทษว่าเป็นความผิดของเขายันเต, Notes: (ปาก)

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 11:00

เวลาวิ่งเล่นเหนื่อยๆ เปิดตู้เย็นกินน้ำจาก กระป๋องนมตราหมี เย็นชื่นใจ... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 11:28

คุณหนู  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ  นำกระป๋องนมผงตราหมีมาให้ชม  ลุงไก่จิ๊กมาเป็นมรดกได้ ๓ ใบ ยังใช้แช่น้ำในตู้เย็นอยู่

ช่วยหาตลับครีมไม่มุกกวนอิม ของนายห้างประจวบ จำปาทอง มาให้น้องๆ รุ่นหลังได้รู้จักหน่อย

กวนอิม ... กวนอิม...
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 11:37

มีคำเกี่ยวกับ เรือ และ ท่าน้ำ ที่ใช้กันมาแต่โบราณ ในความหมายอื่นๆ มาเล่าสู่กันฟังคะ...
บางคำก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ที่มาของคำ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร  ยิงฟันยิ้ม

- เริ่มกันตั้งแต่เรือเริ่มออกจากท่า ซึ่งจะต้องใช้เท้าถีบหัวเรือส่งออกมา เรือถึงจะแล่นต่อไปได้ กลายเป็นที่มาของคำว่า "ถีบหัวเรือส่ง" หรือ "ถีบหัวส่ง" ค่ะ
- เมื่อเรือแล่นออกจากท่าไปแล้ว ก็จะมีการนำเอาไม้มาปักจองไว้เป็นสถานที่จอดเรือ ห้ามคนอื่นมาจอด อันเป็นที่มาของคำว่า "กันท่า"
- เมื่อพ่อบ้านออกเรือไปแล้ว ก็เป็นโอกาสของหนุ่มๆ ที่จะเข้าไปเกี้ยวสาวในบ้าน หากลูกสาวบ้านไหนเป็นใจรู้กันกับไอ้หนุ่มก็จะแอบไปเอาไม้ที่ปักจองกันท่าไว้ออก เป็นที่มาของคำว่า "ให้ท่า"
- จากนั้นก็จะเอาสะพานไม้มาวางพาดให้ไอ้หนุ่มขึ้นจากเรือแล้วเดินเข้ามาหา จึงเป็นที่มาของคำว่า "ทอดสะพาน"
- การเดินทางไปยังต่างจังหวัดในสมัยก่อนจะใช้ทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งระยะเวลาแต่ละเที่ยวคงจะห่างกันมาก หากผู้โดยสารมาไม่ทันขึ้นเรือที่ท่านี้ ก็จะต้องรอจนกว่าจะได้ไปอีกรอบ  หรืออาจจะต้องเดินทางไปดักขึ้นยังท่าถัดไป เป็นที่มาของคำว่า "พลาดท่า"
- ไม้กันท่า หากปักไว้ไม่แน่น ไม้หลุดไหลไปตามน้ำ ก็จะถูกเรือลำอื่นมาจอดแทนที่ เป็นที่มาของคำว่า "เสียท่า"
- เมื่อถูกเรือลำอื่นมาเสียบแทนแล้ว แถมยังตามไปเอาไม้หลักที่หลุดไปคืนมาไม่ได้ ก็เท่ากับว่า "หมดท่า"
- เวลาเอาเรือเข้าจอดที่ท่า จะพูดว่า เรือ "เข้าท่า"
- เมื่อจะเข้าเทียบท่า หากคนถ่อ คนถือหางเสือ ไม่สามัคคีกัน จอดเรือไม่ได้สักที ก็จะทำให้เรือ "ไม่เข้าท่า"

ส่วนสำนวนที่ มีที่มาจากการจับปลา...
- สุ่มสี่สุ่มห้า และ "เดาสุ่ม" มาจากการใช้สุ่มจับปลา ซึ่งกว่าจะได้ปลาแต่ละตัว ต้องเอาสุ่มลงครอบหลายๆ ครั้ง
- "คว้าน้ำเหลว" มาจากการครอบสุ่มลงไปแล้วเอามือควานหาตัวปลาในสุ่ม แต่ไม่มีปลาได้มาแต่ขี้โคลน
- "ลอบกัด" มาจากการดับลอบจับปลา แต่คนจับไม่ระวังตัว มือเลยไปถูกเอางาที่อยู่ในลอบ ได้รับบาดเจ็บไป
- "ลักลอบ" ถูกมือ(ไม่)ดีแอบขโมยปลาในลอบที่ดักไว้ไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 11:46

วันนี้มาเพิ่มให้คำเดียว จากรอยอิน

มะงุมมะงาหรา =  เที่ยวป่า เช่น ก็จะพาดวงใจไคลคลา ไปมะงุมมะงาหราสำราญ. (อิเหนา).
                      อาการที่ดั้นด้นไปโดยไม่รู้ทิศทาง     โดยปริยายหมายถึงงุ่มง่าม.
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 11:50

ช่วยหาตลับครีมไม่มุกกวนอิม ของนายห้างประจวบ จำปาทอง มาให้น้องๆ รุ่นหลังได้รู้จักหน่อย

กวนอิม ... กวนอิม...


กวนอิมรุ่นนี้ยังเห็นวางขายตามห้างค่ะ...
ส่วนสบู่ จำปาทอง ฝากลุงไก่ ค่ะ.... ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง