เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269640 คำไทยที่หายไป
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 16:59

ไม่ได้เห็นมานานจริงๆ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 17:01

หมาร่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sphex viduatus Christ
หมาร่าเป็นชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือ
เล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือ
เหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes
petiolata


หมาร่าไม่ใช่ชื่อต่อชนิดเดียวแต่เป็นชื่อรวมของต่อหลายชนิด รอยอินให้คำจำกัดความดังที่คุณหนุ่มได้ให้ไว้ข้างบน

หมาร่า น. ชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือเล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือเหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes petiolata.

คุณวิลลี่จะดูหมาร่าชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ในเว็บข้างล่างนี้

http://www.malaeng.com/blog/?cat=168

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 17:34

ขอบพระคุณ อ. เพ็ญชมพู ครับ ผมค่อยๆ พิจารณาภาพแต่ละภาพ  หลายภาพเคยเห็นจนคุ้นเคย  แต่ส่วนใหญ่ไม่เคยเห็น หรือจำไม่ได้ว่าเคยเห็น
สมัยก่อนผมเรียกรวมกันไปหมด  ถ้าเอวคอดกิ่วยาวๆ ผมก็เรียกว่าแตน  ถ้าเอวหนาๆ หรือค่อนข้างหนาผมก็เรียกว่าต่อ  ส่วน หมาร่า มีลักษณะ
แตกต่างไปจากทั้งต่อและแตน (โดยความเข้าใจในขณะนั้น) ไม่ค่อยน่ากลัว

เมื่อที่บ้านยังมีต้นขนุนอยู่  เวลาลูกขนุนงอมและหล่นลงมาตกแตก  จะมีแตนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากเพื่อกินเนื้อขนุน  แตนชนิดนั้นจัดเข้าเป็น
จำพวกของหมาร่าด้วยหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 17:41

เห็นฟ่อนนั้นของคุณ Siamese แล้ว แฮ่ม! โดนฟาดสักทีคงดีเหมือนกัน  ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆ ครับ

ทีนี้เพื่อแก้ตัว หมาร่า ผมขอภาพ แมลงทับ ก็ได้ ต้องมีทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายด้วยนะครับ

-:เขียวเหมือนพระอินทร์ บินเหมือนนก ศรปักอก นกก็ไม่ใช่ ?:-
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 18:17

สมัยก่อนผมเรียกรวมกันไปหมด  ถ้าเอวคอดกิ่วยาวๆ ผมก็เรียกว่าแตน  ถ้าเอวหนาๆ หรือค่อนข้างหนาผมก็เรียกว่าต่อ  ส่วน หมาร่า มีลักษณะ
แตกต่างไปจากทั้งต่อและแตน (โดยความเข้าใจในขณะนั้น) ไม่ค่อยน่ากลัว

เมื่อที่บ้านยังมีต้นขนุนอยู่  เวลาลูกขนุนงอมและหล่นลงมาตกแตก  จะมีแตนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากเพื่อกินเนื้อขนุน  แตนชนิดนั้นจัดเข้าเป็น
จำพวกของหมาร่าด้วยหรือไม่ครับ

ต่อ กับแตน ต่างกันอย่างไร

ต่อ เป็นแมลงที่มีพิษเพศเมีย (หมายถึง Queen และ Worker) เพราะต้องมีเหล็กไนอยู่ที่ปลายท้องเพื่อต่อยเหยื่อและไว้ป้องกันรัง มีปีกบางใสสองคู่ ปีกคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าปีกคู่หน้ามาก มีปากแบบแมลงโบราณซึ่งมีเขี้ยวที่กางออกทางข้างสองข้าง ทำให้ต่อสามารถสร้างรังจากดินได้ในรูปแบบต่าง ๆ จัดอยู่ในวงศ์ Vespidae อันดับ Hymenoptera มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วน มีความยาวตั้งแต่ ๑๕ มิลลิเมตรขึ้นไป  

ส่วน แตน เป็นแมลงในวงศ์เดียวกันกับต่อ (Vespidae) แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวผอมเรียว มีความยาวสั้นกว่า ๑๕ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ต่อจะสร้างรังรูปทรงกลม ในขณะที่แตนสร้างรังได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปทรงคล้ายฝักบัว เป็นแผ่นบาง หรือเป็นเส้นยาว ตัวอย่างต่อที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี คือต่อหัวเสือบ้าน Vespa affinis (Linnaeus, 1764) เป็นต่อหัวเสือที่พบทุกภาคของประเทศไทย มีการทำรังเป็นรังรูปทรงกลมใหญ่ มักอยู่ตามใต้ต้นไม้ใหญ่ เป็นต่อที่มีบทบาทมาก และเคยมีข่าวรุมต่อคนถึงตายได้ถ้าคนไปรบกวนทำร้ายต่อก่อน แต่ปกติต่อจะหากินไปทั่ว เช่นตามผลไม้สุกงอม ตามเศษอาหารที่คนทิ้งไว้ เป็นต้น

หมาร่า อยู่ในวงศ์ Sphecidae ไม่ได้อยู่ในวงศ์ Vespidae เหมือนต่อทั่ว ๆ ไป แต่ก็ยังเรียกว่าต่อ

นอกจากนี้ก็ยังมีแมลงอีกหลายชนิดที่อยู่ในวงศ์อื่นแต่เราเรียกว่าต่อ เช่น ต่อแมงมุม อยู่ในวงศ์ Pompilidae มีขายาว ตัวผอม ๆ ซี่งบางทีก็อาจหลงไปเรียกแตนได้ง่าย ๆ ต่อกาเหว่า อยู่ในวงศ์ Chrysididae มีสีเขียวตัวป้อม ๆ สั้น ๆ  ต่อรู อยู่ในวงศ์ Scoliidae มีขนมีตัวเรียว ๆ อาศัยอยู่ในรูใต้ดิน และต่อฟันเลื่อย อยู่ในวงศ์ Tenthredinidae

คุณวิลลี่สามารถดูหน้าตาของต่อและแตนในเมืองไทยและคำอธิบายเพิ่มเติมได้ในเว็บข้างล่าง

http://www.malaeng.com/blog/?cat=75

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 18:43

โอ้โห ขอบพระคุณ อ. เพ็ญชมพู  ด้วยใจจริงครับ  อายุขนาดนี้ผมยังแยกประเภท ต่อ-แตน ผิดๆ ถูกๆ อยู่เลย  รายละเอียดน่าศึกษาจริงๆ
คืนนี้ตอนดึกๆ ต้องทำตัวเป็นนักกีฏวิทยาเสียแล้ว เพราะมีเรื่องของมด และแมลงอื่นๆ อยู่ใน link นี้ด้วย

มีมดอยู่ชนิดหนึ่ง ตัวขนาดมดแดงบนต้นมะม่วง  แต่ตัวสีดำ ก้นใส เวลากัดจะปวดมาก ผมเรียกว่า "มดอ้ายชื่น" แต่กลับไม่มีคนรู้จัก  ขนาดอายุ
ตั้งสี่สิบห้าสิบแล้วยังไม่รู้จักกันเลย  ผมเลยสงสัยว่าผมเรียกชื่อผิดหรือเปล่า  ไม่ทราบว่า อ. เพ็ญชมพู พอจะกรุณาอธิบายหรือหาภาพมาให้ดูได้
หรือไม่ครับ  ผมจะได้หายสงสัยเสียที  (อาจารย์คงพอนึกภาพออกนะครับ มดดำตัวใหญ่ๆ บางตัวก้นใสเหมือนบรรจุน้ำอยู่ข้างใน)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 19:25

รอยอินท่านอธิบายไว้ดังนี้

อ้ายชื่น น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ตัวสีดํา ขนาดไล่เลี่ยกับมดแดง อาศัยเป็นกลุ่มอยู่ตามต้นไม้ เช่น ต้นส้ม มักจะเลี้ยงเพลี้ยซึ่งอาจเป็นเพลี้ยแป้งหรือเพลี้ยหอย เมื่อถูกรบกวนมักรวมกลุ่มต่อยและกัด เช่น พวกที่อยู่ในสกุล Camponotus, Diacamma และPolyrachis, ชื่น ก็เรียก.

ในลิ้งก์ที่ให้ไว้ข้างล่าง คุณวิลลี่สามารถพบมดอ้ายชื่นได้ในนาม "มดไอ้ชื่น" และมดชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทยอีกมากมาย



http://www.malaeng.com/blog/?p=5935

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 20:11

ขอบคุณ อ. เพ็ญชมพู ครับ วันนี้มีความสุขจริงๆ  นอกจากสนุกแล้วยังได้ความรู้เกี่ยวกับมดและแมลงมากมาย
ผมคิดว่า มดอ้ายชื่น อาจเป็นเพียง คำไทยที่หายไป  แต่กลับได้ความรู้ตอบแทนคืนมามากมาย คุ้มค่าครับ
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 20:56

ปล่อยหุ่นเป็น  "พะโล้"  อย่างนี้ ผู้ชายที่ไหนใครเขาจะมา  "เหล่"  เธอ

ไปกิน  "หัวใจเสือดีหมี"  ที่ไหนมา ถึงได้กล้าขนาดนี้

ขืนทำ  "อ้อยอิ่ง"  อย่างเธอ ไม่ทันรับประทานแน่
         อ้อยอิ่ง    = มัวชักช้าร่ำไร

ขืนทำ  "อ้อยส้อย"  อย่างเธอ  "ชวด"  แน่  เดี๋ยวเขาก็ไปหาสาวอื่นหรอก
         อ้อยส้อย  = เสแสร้งทำเป็นเศร้าเสียใจ
         ชวด       = ไม่ได้สมใจหวัง

จะ  "ระเห็จ"  ไปไหนก็ไป  แม่ชักเกลียดขี้หน้าแล้ว

ไหนลอง  "กล่าวตอบสนองไข"  ไปซิ  เรื่องราวมันเป็นไงมาไงกันแน่
         กล่าวตอบสนองไข  = อธิบาย

ชั้นไม่เข้าใจเลยว่าคู่นี้เขาได้กันยังไง  หยั่งกะ  "พ่อไก่แจ้แม่ไก่อู"  งั้นแหละ
  "               "              "        "      "   ไหกับตุ่ม    "      "
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 21:16

เห็นฟ่อนนั้นของคุณ Siamese แล้ว แฮ่ม! โดนฟาดสักทีคงดีเหมือนกัน  ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆ ครับ

ทีนี้เพื่อแก้ตัว หมาร่า ผมขอภาพ แมลงทับ ก็ได้ ต้องมีทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายด้วยนะครับ

-:เขียวเหมือนพระอินทร์ บินเหมือนนก ศรปักอก นกก็ไม่ใช่ ?:-

แมลงทับ ชอบจับมาเล่น มักอยู่ใต้ต้นมะขามเทศ บริเวณโคนต้นก็คุ้ยเขียดินหา "ไข่แมลงทับ" สีเหลือง กระเด้งกระดอนได้ไกล นำมาเป็นของเล่นได้สนุกสนานครับ
ไม่น่าเชื่อว่าธรรมชาติจะสร้างสรรค์เปลือกสีเขียวให้งดงาม เหลือบฟ้าได้เช่นนี้ บางตัวก็เหลือบเขียว เหลือบทองครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 21:21


ขืนทำ  "อ้อยอิ่ง"  อย่างเธอ ไม่ทันรับประทานแน่
         อ้อยอิ่ง    = มัวชักช้าร่ำไร


คุณ Willyquiz ลองกลับคำจะกลายเป็น "อิ่งอ้อย" ครับ ไม่ทราบว่าเคยเล่นหรือไม่ครับ นำมาจุ่มน้ำมะนาว แล้วอิ่งอ้อยจะเดินได้ครับ

หลักการ อิ่งอ้อยเป็นองค์ประกอบของ แคลเซียมคาร์บอเนต พบในเปลือกหอย และเมื่อโดนกรดมะนาว ก็จะเกิดฟองทำให้เดิน กระดึ๊บ ๆ ได้ ถ้าบีบมะนาวมาก ๆ ก็จะ กระดึ๊บ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เด็กน้อยสนุกสนานอย่างมากครับ

บางพื้นที่ถือว่า อิ่งอ้อย เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ และมีอีกชื่อว่า ดวงตาพระศิวะ


บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 21:50

คุณ Siamese เข้ามาที ทำตัวเหมือน ซึงหงอคง เห็นแต่เมฆ ไม่เห็นตัว

ไม่เคยเล่นเลยครับ  แม้แต่ชื่อก็ไม่เคยได้ยิน  ไม่ทราบว่านิยมเล่นกันในภาคไหนครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 22:03

คุณ Siamese เข้ามาที ทำตัวเหมือน ซึงหงอคง เห็นแต่เมฆ ไม่เห็นตัว

ไม่เคยเล่นเลยครับ  แม้แต่ชื่อก็ไม่เคยได้ยิน  ไม่ทราบว่านิยมเล่นกันในภาคไหนครับ

มิใช่ "ขอมดำดิน" นะครับที่เจอวาจาสิทธิ์แห่งพระร่วงเจ้าเป็นหิน

ภาคตะวันออกบ้านผมเล่นกันครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 22:06

คุณ Willyquiz รู้จักคำนี้ไหมครับ "ปลาตัวเดียวกินทั้งปี"  ยิ้มเท่ห์

"พี่น้องคลานตามกันมา"

บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 26 มิ.ย. 11, 22:15

เห็นฟ่อนนั้นของคุณ Siamese แล้ว แฮ่ม! โดนฟาดสักทีคงดีเหมือนกัน  ขอบคุณสำหรับภาพสวยๆ ครับ

ทีนี้เพื่อแก้ตัว หมาร่า ผมขอภาพ แมลงทับ ก็ได้ ต้องมีทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายด้วยนะครับ

-:เขียวเหมือนพระอินทร์ บินเหมือนนก ศรปักอก นกก็ไม่ใช่ ?:-

แมลงทับ ชอบจับมาเล่น มักอยู่ใต้ต้นมะขามเทศ บริเวณโคนต้นก็คุ้ยเขียดินหา "ไข่แมลงทับ" สีเหลือง กระเด้งกระดอนได้ไกล นำมาเป็นของเล่นได้สนุกสนานครับ
ไม่น่าเชื่อว่าธรรมชาติจะสร้างสรรค์เปลือกสีเขียวให้งดงาม เหลือบฟ้าได้เช่นนี้ บางตัวก็เหลือบเขียว เหลือบทองครับ

ได้ภาพมาแต่คุณสุภาพสตรีแสนสวย แล้วคุณสุภาพบุรุษสุดหล่อไม่มีหรือครับ

คุณ Siamese ไปเล่นไข่แมงทับที่ไหนกันครับ  สำหรับผมเอง ยอมรับว่าไม่เคยเห็นแมงทับในกรุงเทพมาอย่างน้อยก็สี่สิบปีแล้ว  อย่าว่าแต่แมงทับเลย  แม้แต่นกแซงแซว
นกกางเขน  นกเอี้ยง  นกขุนทอง  ผมก็ไม่เคยเห็นในกรุงเทพมาหลายสิบปีเช่นกัน
(แมลงทับ เป็นแมลงชนิดที่อาจเรียกเป็นคำพูดว่า แมง ได้โดยไม่ถือว่าผิด = คุณครูสอนเอาไว้ในอดีต)
ส่วนเหลือบปีกของแมงทับตัวเดียวกัน  แต่ดูตอนต่างเวลากัน  สีเหลือบของปีกก็เปลี่ยนไปตามเวลาได้ซึ่งน่าแปลกมาก  ผมเห็นคนจับเอาแมงทับมาแล้วเอาเข็มหมุดปักตรึง
มันไว้เรียงกันเพื่อดูเหลือบสีของปีกมันคราวใด  ผมอารมณ์เสียทุกที  ถึงแม้ว่าสมัยนั้นหาได้ง่ายมากก็ตาม  สัตว์แสนสวยอย่างนี้น่าจะปล่อยมันไว้ตามธรรมชาติน่าจะเหมาะกว่า
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง