เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 270180 คำไทยที่หายไป
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 09:11

ผมตั้งชื่อลูกสาวว่า "เข้าปั้น"  (หมายถึงเข้าเหนียวปั้น ที่ไม่ใช่อาหารญี่ปุ่น)
ตามความหมายที่1
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 09:16

หาภาพมาให้ชม โดยเฉพาะคุณ Willyquiz ต้องการท่าหุงข้าว ท่านั่งยองนี้จะให้เกิดกิเลสก็ทำได้นะ ต้องใช้ Effect ช่วย ควันช่วย แสงช่วย ด้วยนะ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 09:19

หุงข้าว จะใช้ตองปิด น่าจะมีข้อดีตรงที่ ไม่ทำให้ฝาละมีร้อนเกินไป และไม่ให้ฟองข้าวล้นออกมา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 09:27

ต่อมาคำนี้ก็น่าจะใช้กันน้อยเริ่มหายไป "ตะกรับ"

ตะกรับ เป็นดินเผาเจาะรู คล้ายรวงผึ้ง มีหน้าที่รองรับถ่าน และให้อากาศถ่ายเทในเตาอั้งโล่ และให้ขึ้เถ้าหล่นลงไป ตะกรับใช้ไปนาน ๆ โดนน้ำ โดนความร้อนจะแตก แต่ก่อนมีคนเดินขายตามบ้านคอยรับหน้าที่ซ่อมตะกรับ เอามาวางใหม่ ยาแนวรอบด้วยดินผสมแกลบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 09:48

ผู้ชายในกระทู้นี้ น่าจะหุงข้าวกันเก่ง  ยิ้ม

เมื่อเล่าถึงหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ    ก็อยากถามว่าหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ ทำยังไงคะ  จำได้ไหม   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 10:03

ผู้ชายในกระทู้นี้ น่าจะหุงข้าวกันเก่ง  ยิ้ม

เมื่อเล่าถึงหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ    ก็อยากถามว่าหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ ทำยังไงคะ  จำได้ไหม   

ที่บ้านยาย อยู่ต่างจังหวัดก่อเตาดินเตี้ย ๆ วางกะทะใบบัวหุงข้าวเลี้ยงคน มีอยู่ ๒ กะทะ เป็นการหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ ต้องใส่น้ำพอท่วมข้าวหนาประมาณหลังฝ่ามือ แล้วใช้ไม้พายกวนข้าวจนกว่าจะสุก ราไฟ ปล่อยให้ข้าวระอุดี จึงใช้ได้

ทำให้นึกถึงเรื่อง "เจ๊สัวเตากะทะ" หุงข้าวเลี้ยงคนงาน ๓๐ กว่าเตาเรียงรายกันของตระกูลหวั่งหลีในอดีต


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 10:07

ผลพวงที่ได้จากข้าวแห้งติดกะทะใบบัว คือ "ข้าวตัง" ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 10:25

เห็นข้าวตังติดก้นกระทะแล้ว  คิดถึง "น้ำข้าวตัง" ขึ้นมาได้     คำนี้ คนรุ่นใหม่ก็คงไม่รู้กันแล้วว่าคืออะไร

ขูดข้าวตังที่ติดกันเป็นแผ่นๆออกมาปิ้งใหม่จนเหลือง    แล้วชงน้ำร้อน   เติมรสด้วยน้ำตาลกรวดพอให้หวานหน่อยๆ  กินเป็นเครื่องดื่ม มีรสหวานและหอมไหม้ๆของข้าวตัง
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 10:43

เคยต่อรอง ไม่ให้แม่ตี ด้วยการจะเอาอิฐขว้างก้นกระทะใบบัว คิดว่ามันจะไม่แตก
พอแม่เงื้อไม้เราก็ขว้างก้อนอิฐใส่ก้นกระทะที่หงายอยู่บนพื้นดิน กระทะแตกเป็นรอยยาว
เลยโดนหวดไม่นับ ยังจำได้จนทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 10:48

ผมมัวแต่ไปรื้อลังหนังสืออยู่  เลยไม่ทันคุณ Siamese เลย

แล้วทีนี้เวลาเทน้ำข้าว  คุณ Siamese คิดว่า  ผู้หญิงนั่งท่าไหน  ผู้ชายนั่งท่าไหน  เลยไปถึงท่านั่งเวลาขูดมะพร้าวด้วยกระต่ายขูดมะพร้าวด้วยก็ได้

ถึงกับไปรื้อหนังสือมาเลยหรือครับ  ยิงฟันยิ้ม เรียกได้ว่า "หยิบเบี้ยใกล้มือ" เอามาใช้นะครับ

มาถึงอารมณ์เทน้ำข้าว จะให้เย้ายวนออกลีลาพากำหนัดแบบท่าขูดมะพร้าวมิได้ ด้วยความร้อนประการหนึ่ง ด้วยต้องเอาจวักคนข้าวไม่ให้ติดก้นหม้อประมาณหนึ่ง ท่าที่สะดวกที่สุด คงไม่พ้นท่านั่งยอง ๆ ด้วยต้องออกกำลังแขนยกหม้อข้าวข้ามเตา ขยับเยื้องวางบน "เสวียน" ก่อนรินน้ำข้าวทิ้งไป เมื่อเตาว่างลงก็ต้องรีบยกสิ่งหนึ่งสิ่งใดวางบนเตาต่อไป ไม่พลอยให้เสียเวลา

อันว่า "เสวียน" คำนี้เชื่อว่าไม่มีใครรู้จักกันแล้ว อ่านว่า สะ - เหวียน เป็นเชือกหวายถักขึ้นเป็นวงกลม ไว้สำหรับรองภาชนะที่ร้อน ๆ เช่น หม้อข้าว และหม้อแกง หรือ หม้อคะนน บางครั้งก็ทำหูยาวดั่งสาแหรก ไว้สำหรับยกได้


นั่นแน่  คุณ Siamese นำสำนวนมาโมเมหลอกตีกินเฉยเลย  มีที่ไหนกันครับ หยิบเบี้ยใกล้มือ  เขามีแต่  “สิบเบี้ยใกล้มือ”  ฮิ ฮิ  แต่คำว่า “เสวียน” ทำให้ คำที่หายไป ในอดีตหลั่งไหล
กลับมาอีกหลายคำเลยทีเดียว
เมื่อตอนอายุราว ๘-๙ ขวบ ได้เห็นคุณตาท่านหนึ่งนั่งถัก เสวียน อยู่บนศาลาวัด แต่ท่านไม่ได้ใช้เชือกหวายเหมือนของคุณ Siamese หรอกนะครับ ท่านใช้เชือกกล้วยชุบน้ำถัก ลักษณะ
เหมือนมงคลสวมศีรษะขยายขนาด
ต่อมาราวปี 2534-35 ผมอยู่ที่ทองผาภูมิ ได้เห็นคนงานชาวมอญถัก เสวียน อีกครั้ง  ครั้งนี้ถักด้วยหญ้าแฝก  แน่นและสวยงามไม่แพ้ถักด้วยเชือกกล้วยเลย

และหม้อคะนนทำให้ผมหวนนึกถึงหม้ออีกชนิดหนึ่งเหมือนหม้อคะนน  นั่นคือ  “หม้อพะเนียง”  สำหรับบรรจุน้ำ

สมองเตลิดเปิดเปิงไปถึงวัยเด็กที่เมื่อถึงเวลาปิดเทอมชีวิตก็จะตะลอนหัวหกก้นขวิดอยู่ตามหัวไร่ปลายนา  นึกถึงภาพการนวดข้าวที่ก่อนนวดต้องมีการเตรียมลานนวดให้พร้อมโดยการใช้ขี้ควาย
(ใครจะเรียกมูลควายผมก็ไม่เกี่ยง) ผสมน้ำฉาบบนลานแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง  เมื่อถึงเวลาก็นำข้าวที่เกี่ยวแล้วมาสุมไว้บนลานนวดเกลี่ยให้กระจายสูงพอประมาณแล้วจูงควายที่สวมตะกร้อปาก
แล้วขึ้นมาเหยียบย่ำบนกองข้าว  เดินวนไปวนมาอยู่อย่างนั้น  ระหว่างนั้นจะมีคนคอยเอาไม้สองชิ้นยาววาเศษ  ลักษณะโค้งงอ  ปลายคล้ายตะขอคอยสงฟางให้ฟูกระจายเป็นระยะๆ  ไม้สองชิ้นนี้
เรียกว่า  “ไม้กระดองหาย”  ไม่ทราบว่าคุณ Siamese พอจะนำภาพ ไม้กระดองหายมาให้ดูได้ไหมครับ เพราะผมบรรยายลักษณะไม่เป็นเขียนไปตามภาพความทรงจำของสมองเท่านั้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 11:01

"ไม้กระดองหาย"

ขอฉาย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น คันฉาย ไม้สงฟาง กระดองหาย ดองหาย หรือดองฉาย ของฉายเป็นเครื่องมือของชาวนาชาวไร่ในการสงฟาง สงต้นถั่วในเวลานวด
ของฉายทำจากลำไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ มือจับได้รอบ ลำไม้ไผ่จะต้องแก่จัด ตัดไม้ไผ่ยาวประมาณ 2 เมตร หาลำไม้ไผ่ที่มีแขนงโค้ง ๆ และแข็งแรง เพื่อจะได้ดัดเป็นขอใช้สงฟางหรือสิ่งต่าง ๆ ได้ ส่วนแขนงที่แตกออกมาตามข้อไม้ไผ่ข้ออื่น ๆ จะเหลาให้เรียบ เหลือเพียงแขนงที่ทำเป็นขอเท่านั้น เหลาปลายขอสำหรับสงฟางหรือเกี่ยวให้แหลม การที่ทำให้ขอโค้งขอตามความต้องการ ชาวนาจะใช้ขอลนไฟแล้วค่อย ๆ ดัด จนขอไม้ไผ่นั้นโค้งตามต้องการ แขนงไผ่ที่แตกมาตามข้อเพื่อทำเป็นขอบางที่หายาก ก็จะใช้เหล็กมาดัดเป็นขอแทน โดยใช้เหล็กส่วนที่เป็นโคนตอกเข้าไปในรูไม้ไผ่ หรือใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นด้ามถือก็มี ตัวขอจะแน่นยิ่งขึ้นถ้าใช้ครั่งลนไฟเชื่อม พอครั่งเย็นจะยึดเหล็กที่ทำเป็นขอจนแน่น ปลายเหล็กเป็นขอเผาไฟให้แดงใช้ค้อนทุบให้แหลมคม บางทีก็ใช้ตะไบถู การใช้ขอฉายจะใช้ในเวลานวดข้าว หรือนวดถั่ว การนวดในสมัยก่อนจะใช้ควายหลาย ๆ ตัว เดินวนไปตามฟ่อนข้าวหรือฟ่อนถั่ว พอจะคาดคะเนว่าเมล็ดข้าวเปลือกหรือถั่วร่วงหล่นจากรวงมากแล้ว ก็จะใช้ขอฉายส่วนเป็นขอสงฟางสงตัวถั่วกลับไปมา เพื่อให้เมล็ดข้าวเปลือกหรือเมล็ดถั่วหล่นมากองที่ลาน หากควายเดินเหยียบจนเมล็ดออกจากรวงหมดแล้ว ก็ใช้ขอฉายสงฟางออกให้หมด จะเหลือข้าวเปลือกกองในลานเท่านั้น ข้าวเปลือกกองอยู่อาจมีเศษฟาง เศษข้าวลีบปนอยู่ จะนำไปวีข้าว หรือใช้พลั่วสาดข้าวอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะขนเก็บขึ้นยุ้งฉาง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 11:09

หาภาพเสวียนที่มีหูหิ้วมาให้ชมครับ คุณ Willyquiz

ส่วนหม้อพะเนียง คงจะคล้ายหม้อน้ำอย่างทางเมืองนนทบุรีที่ใช้กันนะครับ


บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 11:34

อื้อหือ  ไม่รู้จริงๆ นะนี่ว่าไม้กระดองหายจะมีหลายรูปแบบและหลายชื่ออย่างนี้  ไม้สงฟางน่ะใช่  เพราะบางครั้งก็เรียกไม้สงฟางเช่นกัน  แต่คำอื่นๆ
ไม่รู้จักเลย  ขอบคุณ คุณ Siamese มากครับ  ไม้กระดองหายที่บ้านลุงผมสวยกว่าในภาพที่นำมาลงครับ  เมื่อหนีบเข้ารักแร้ซ้ายขวาแล้วเท่ไม่เบา

ส่วนหม้อพะเนียงจะมีลักษณะส่วนป่องแบนเตี้ยกว่าหม้อคะนน  เวลาทำครัวจะนำมาใส่น้ำตั้งเตรียมไว้ในครัวเพื่อความสะดวก

เมื่อสักครู่เข้าไปอ่านกระทู้ใหม่  และได้เห็นโคลงกระทู้ที่คุณ art 47 นำมาลงไว้ คือกระทู้ "พาโลโสเก"  ทำให้ผมรู้ว่าผมเข้าใจผิดมาตลอดว่าคำนี้คือ
"พาโลโฉเก"  เพราะไพล่ไปนึกถึงอีกคำหนึ่งที่ว่า "เฉโก" ในความหมายเดียวกัน (ใช้ในการแต่งร้อยกรอง) คำนี้ก็หายไปแล้วเหมือนกัน เหลือแต่คำว่า
"พาลพาโล"
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 12:21

ต่อมาคำนี้ก็น่าจะใช้กันน้อยเริ่มหายไป "ตะกรับ"

ตะกรับ เป็นดินเผาเจาะรู คล้ายรวงผึ้ง มีหน้าที่รองรับถ่าน และให้อากาศถ่ายเทในเตาอั้งโล่ และให้ขึ้เถ้าหล่นลงไป ตะกรับใช้ไปนาน ๆ โดนน้ำ โดนความร้อนจะแตก แต่ก่อนมีคนเดินขายตามบ้านคอยรับหน้าที่ซ่อมตะกรับ เอามาวางใหม่ ยาแนวรอบด้วยดินผสมแกลบ

ผมสองจิตสองใจว่าจะพูดถึงคำนี้ดีหรือไม่น้าาา  เพราะไม่แน่ใจว่าตนเองจะเข้าใจหรือจำได้ถูกต้องหรือไม่  แต่ลองตัดสินใจถามคุณ Siamese ดู ท่าจะดีกว่าเก็บไว้คนเดียว
ผมเข้าใจว่าตะกรับยังหมายถึงเหล็กย่าง/ปิ้งเนื้อปิ้งปลาย่างพริกอีกด้วย  ลักษณะเป็นเหล้กดัดเป็นซี่ๆ รูปสี่เหลี่ยม  มีด้ามจับยื่นยาวออกมา  ผมจำได้ลางๆ ว่าเรียกว่า "ตะกรับ"
เหมือนกัน  และไม้ไผ่ที่แผ่ออกเป็นซี่ๆ กางออกแล้วขัดด้วยไม้เหมือนรูปพัด  เอาไว้ใช้สำหรับปิ้งข้าวเกรียบว่าวในสมัยก่อน ก็เรียกว่า "ตะกรับ" เหมือนกัน  ผมเข้าใจถูกหรือไม่
ผมไม่รู้จะไปหาข้อมูลที่ไหน  เลยอาศัยคุณ Siamese นี่ละ  เพราะคุณ Siamese เป็นผู้ยกคำนี้ขึ้นมา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 13:18

ทั้งนี้ "ตะกรับ" ยังเป็นชื่อปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่ง มีลายจุดดำวงกลมบนพื้นขาว เหมือนตะกรับเตาอั้งโล่ครับ  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.127 วินาที กับ 19 คำสั่ง