เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269350 คำไทยที่หายไป
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 21:31

ยอมจำนนกับคุณ Siamese แล้วครับ  ยกมาแต่ละคำผมถึงกับหาวเรอซะทุกที  จริงสินะ เชือกกุนเชียงมันจะมีประโยชน์อะไร  เอาไปใช้อะไรก็ไม่ได้
เอาไปผูกมัดของรังแต่จะเป็นเหยื่อของมดปลวก อาจจะเป็นการเรียกหนูเสียด้วยซ้ำ  คำนี้เข้าท่า  มองเห็นภาพพจน์เลย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 21:50

ยอมจำนนกับคุณ Siamese แล้วครับ  ยกมาแต่ละคำผมถึงกับหาวเรอซะทุกที  จริงสินะ เชือกกุนเชียงมันจะมีประโยชน์อะไร  เอาไปใช้อะไรก็ไม่ได้
เอาไปผูกมัดของรังแต่จะเป็นเหยื่อของมดปลวก อาจจะเป็นการเรียกหนูเสียด้วยซ้ำ  คำนี้เข้าท่า  มองเห็นภาพพจน์เลย

มิได้ ๆ

ต่อมาคำนี้ก็คงหายไปแช่นกัน "ดงข้าว"

ปัจจุบันส่วนมากหุงข้าวซื้อทาน หรือไม่ก็กดด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นการหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ แต่ในสมัยก่อนจะหุงข้าวแล้วเทน้ำข้าวออก ต่อมาค่อยทำการ "ดงข้าว" คือราไฟให้ดี เอาหม้อข้าวดงไว้ให้ระอุ

การดงข้าวถือเป็นศิลป์อย่างหนึ่ง หากดงข้าวไม่ดีข้าวจะไม่สุก หรือแฉะ แต่ถ้าดีเกินไปก็ข้าวไหม้
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 21:57

"ไม้ขัดหม้อ"  ดงข้าวแล้วไม่ใช้ไม้ขัดหม้อแล้วจะดงกันอย่างไรล่ะพ่อคุณ  แต่ไม้ขัดหม้อนี่เป็นของแสลงสำหรับเด็กจริงๆ นะ
แล้วถ้านึ่งด้วยหม้อดินเผาล่ะ  คุณ Siamese จะดงอย่างไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 22:02

คุณ Willyquiz เคยได้ยินคำนี้อีกไหม  "เชือกกุนเชียง"

คำนี้เป็นทำนองการยืมมาจากภาษาจีนอีกทอดหนึ่ง "เชือกกุนเชียง" หมายถึง ไร้ค้า ไร้ประโยชน์ มันใช้ในทางกล่าวว่าแก่บุคคล ส่วนคำไทยก็ออกไปทาง ตัดหางปล่อยวัด ผสมกับ ไร้น้ำยา รวมกัน

ที่มาคือ เชือกกุนเชียงนั้นมีประโยชน์สำหรับแขวนกุนเชียง แต่เมื่อนำมาทำกับข้าวแล้ว ต้องตัดเชือกกุนเชียงออกแล้วทิ้งไป ตัวกุนเชียงเป็นของมีค่า ส่วนเชือกกุนเชียงกลับถูกทิ้งแบบไร้ค่า จึงเป็นที่มาของคำดังกล่าว

ภาษาไทย มีคำว่า "นั่งร้าน" ค่ะ

สุนทรภู่เปรียบเทียบว่า

เหมือนบายศรีมีงานท่านสนอม
เจิมแป้งหอมน้ำมันจันทน์ให้หรรษา
พอเสร็จการท่านเอาลงทิ้งคงคา
ต้องลอยมาลอยไปเป็นใบตอง

จาก รำพันพิลาป
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 22:20

"ไม้ขัดหม้อ"  ดงข้าวแล้วไม่ใช้ไม้ขัดหม้อแล้วจะดงกันอย่างไรล่ะพ่อคุณ  แต่ไม้ขัดหม้อนี่เป็นของแสลงสำหรับเด็กจริงๆ นะ
แล้วถ้านึ่งด้วยหม้อดินเผาล่ะ  คุณ Siamese จะดงอย่างไร

หม้อข้าวดินเผา มีฝาละมีปิดอยู่ การเอาน้ำข้าวออกจากหม้อข้าว ก็จะทำได้สองวิธี คือ วางบนหม้อใหญ่กว่าพันด้วยผ้าไว้ ตัวฝาละมีมีหน้าที่ขัดไว้ตามหน้าที่มันเอง ส่วนอีกวิธีก็จัดโต๊ะไม้ตั่งเตี้ยๆ เหมือนเก้าอี้นั่งขนาดเล็กมีไม้ปะหัว ท้าย เว้นช่องกลางไว้ เอาหม้อข้าวพร้อมฝาละมีมาวางคว่ำไว้ให้น้ำข้าวไหลออกมา

ส่วนการดงข้าวหม้อดินเผาก็วางที่เตาเชิงกรานได้ เกลี่ยขี้เถ้ายังระอุอยู่ได้ ส่วนเตาอั้งโล่ก็ราไฟเอาขี้เถ้ากลบ คงไป หมุนไป ครับ


บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 23:12

ผมมัวแต่ไปรื้อหลังหนังสืออยู่  เลยไม่ทันคุณ Siamese เลย

แล้วทีนี้เวลาเทน้ำข้าว  คุณ Siamese คิดว่า  ผู้หญิงนั่งท่าไหน  ผู้ชายนั่งท่าไหน  เลยไปถึงท่านั่งเวลาขูดมะพร้าวด้วยกระต่ายขูดมะพร้าวด้วยก็ได้
บันทึกการเข้า
kwang satanart
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 23:16

@ คุณ siamese ความเห็นที่  176 ข้อ 6  :: เซ่นวักตั๊กแตน    ละมังคะ
@ คุณความเห็นที่  177   จำได้ว่า  เขียนไว้เอง แต่ตอนแรกดูแล้วเห็นหายไป  แล้วไปโผล่ที่คุณได้ยังไงกันคะ  ไม่เข้าใจ  แต่ก็ขอบคุณค่ะ  ที่เก็บไว้ให้  นึกว่าหายแล้ว หายเลยเสียอีก
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 23:43

โอม  "มะลึกกึ๊กกึ๋ย"  ขอให้คิด คำไทยที่หายไป ออกด้วยเถิด  ชัก  "หมดไส้หมดพุง"  แล้ว  เพี้ยง!

โอ้ย เดี๋ยวนี้เขา  "ขึ้นหม้อ"  แล้ว  อย่าไป  "เทียบไหล่/กระทบไหล่"  เขาดีกว่า

ทำตัว  "ต๊อกต๋อย"  อย่างนี้เสียสง่าราศีหมด

ดูสิ ถูกแค่เลขท้ายสองตัว ก็ทำเป็น  "มะพร้าวตื่นดก"  ซะแล้ว

โทงเทงเป็นถุง  "ตะเคียว"  เชียว

จะไปทางไหนก็ไม่ไป  เดิน  "รีๆ ขวางๆ"  อยู่ได้  (อนุสนธ์จาก รีรีข้าวสาร ของคุณ D.D.)
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 23:50

@ คุณความเห็นที่  177   จำได้ว่า  เขียนไว้เอง แต่ตอนแรกดูแล้วเห็นหายไป  แล้วไปโผล่ที่คุณได้ยังไงกันคะ  ไม่เข้าใจ  แต่ก็ขอบคุณค่ะ  ที่เก็บไว้ให้  นึกว่าหายแล้ว หายเลยเสียอีก

เกิดจากการที่ อ. เทาชมพู แยกกระทู้การละเล่นของเด็กไทยเป็นอีกหนึ่งกระทู้ต่างหาก  และข้อความของคุณ kwang ติดไปด้วย  คุณ Siamese ได้เมตตาย้ายกลับมาไว้ในกระทู้ของ
คุณ kwang ดังเดิมครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 07:41

ผมมัวแต่ไปรื้อหลังหนังสืออยู่  เลยไม่ทันคุณ Siamese เลย

แล้วทีนี้เวลาเทน้ำข้าว  คุณ Siamese คิดว่า  ผู้หญิงนั่งท่าไหน  ผู้ชายนั่งท่าไหน  เลยไปถึงท่านั่งเวลาขูดมะพร้าวด้วยกระต่ายขูดมะพร้าวด้วยก็ได้

ถึงกับไปรื้อหนังสือมาเลยหรือครับ  ยิงฟันยิ้ม เรียกได้ว่า "หยิบเบี้ยใกล้มือ" เอามาใช้นะครับ

มาถึงอารมณ์เทน้ำข้าว จะให้เย้ายวนออกลีลาพากำหนัดแบบท่าขูดมะพร้าวมิได้ ด้วยความร้อนประการหนึ่ง ด้วยต้องเอาจวักคนข้าวไม่ให้ติดก้นหม้อประมาณหนึ่ง ท่าที่สะดวกที่สุด คงไม่พ้นท่านั่งยอง ๆ ด้วยต้องออกกำลังแขนยกหม้อข้าวข้ามเตา ขยับเยื้องวางบน "เสวียน" ก่อนรินน้ำข้าวทิ้งไป เมื่อเตาว่างลงก็ต้องรีบยกสิ่งหนึ่งสิ่งใดวางบนเตาต่อไป ไม่พลอยให้เสียเวลา

อันว่า "เสวียน" คำนี้เชื่อว่าไม่มีใครรู้จักกันแล้ว อ่านว่า สะ - เหวียน เป็นเชือกหวายถักขึ้นเป็นวงกลม ไว้สำหรับรองภาชนะที่ร้อน ๆ เช่น หม้อข้าว และหม้อแกง หรือ หม้อคะนน บางครั้งก็ทำหูยาวดั่งสาแหรก ไว้สำหรับยกได้
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 08:35

"...ปัจจุบันส่วนมากหุงข้าวซื้อทาน หรือไม่ก็กดด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า เป็นการหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำ แต่ในสมัยก่อนจะหุงข้าวแล้วเทน้ำข้าวออก ต่อมาค่อยทำการ "ดงข้าว" คือราไฟให้ดี เอาหม้อข้าวดงไว้ให้ระอุ

การดงข้าวถือเป็นศิลป์อย่างหนึ่ง หากดงข้าวไม่ดีข้าวจะไม่สุก หรือแฉะ แต่ถ้าดีเกินไปก็ข้าวไหม้"

 " "ไม้ขัดหม้อ"  ดงข้าวแล้วไม่ใช้ไม้ขัดหม้อแล้วจะดงกันอย่างไรล่ะพ่อคุณ  แต่ไม้ขัดหม้อนี่เป็นของแสลงสำหรับเด็กจริงๆ นะ
แล้วถ้านึ่งด้วยหม้อดินเผาล่ะ  คุณ Siamese จะดงอย่างไร "


การดงข้าวจริงๆแล้วจะไม่ใช้ไม้ขัด(ฝา)หม้อก็ได้ แต่เนื่องจากเป็นการทำต่อเนื่องจากการเช็ดน้ำ ก็เป็นการสะดวกที่จะขัดฝาหม้อไว้อย่างเดิมเพราะเราจะต้องจับหม้อตะแคงไปมาให้ทั่วเพื่อให้ข้าวละอุและสุกทั่วกัน กรรมวิธีนี้เรียกว่า  การหุงข้าวเช็ดน้ำ มีกระบวนการทำต่อเนื่องกันคือ  ซาว หุง เช็ด(น้ำ) และ  ดง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 08:54


แล้วถ้านึ่งด้วยหม้อดินเผาล่ะ  คุณ Siamese จะดงอย่างไร "


ภาพการหุงข้าวนึ่ง คือ หุงข้าวเหนียว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 08:54

ขอเสริมตรงนี้หน่อย

คำว่า "เข้า" หายไป ได้คำใหม่ว่า "ข้าว" มาแทน

คำว่า "เข้า" เป็นคำเดียวกับคำว่า "ข้าว" ครับ
ในเอกสารเก่าสมัยรัชกาลที่ ๖ ยังใช้ "เข้า" อยู่  มาเปลี่ยนเป็น "ข้าว" สมัยใดไม่ทราบชัด  แต่ภาษาพูดของชาวอีสานยังออกเสียง "เข้า" อยู่

ขออนุญาตดำเนินรายการภาษาไทยวันละคำ

 ยิงฟันยิ้ม

ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ ๑ มีคำว่า "เข้า" อยู่ ๕ ความหมาย คือ

เข้า ๑ น.   ข้าว เช่นในน้ำมีปลา ในนามีเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๙) เยียเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓)

เข้า ๒ น.   ข้าวของ เช่น เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พึน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๗)

เข้า ๓ น.   ปี, ขวบ, เช่น เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๔) ปลูกไม้ตาลนี้ได้สิบสี่เข้า (ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๒) ให้ขุดเอาพระธาตุออก ทั้งหลายเห็นการทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึงเอาฝังลงในกลางเมืองศรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือ หกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว (ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๔ - ๘)

(คำว่า "เข้า" ทั้ง ๓ ความหมายที่ใช้ ข ไข่ และสระเอาไม้โท เหมือน กันหมด แต่เครื่องหมายวรรณยุกต์โท ในสมัยนั้นเขียนเป็นรูปวรรณยุกต์จัตวา)

เข้า ๔ ก., ว. เข้า เช่น ขุนสามชนเกลื่อนเข้า (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๖) กูขับเข้าก่อนพ่อกู (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗) เมื่อจักเข้ามาเวียง (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๗) เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ (ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๒)

เข้า ๕ ก.    เข้าข้าง, เป็นฝักฝ่าย, เช่น บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน (ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๖)

(คำว่า "เข้า" ในความหมายที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นคำกริยานั้น ในศิลาจารึกใช้ ฃ ขวด และใช้สระเอา วรรณยุกต์โทเช่นกัน)

คำว่า "ข้าว" นั้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ ยังเขียนเป็น "เข้า" อยู่ เข้าใจว่ามาแยกเขียนเป็น "เข้า" ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้เอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้เก็บคำว่า "เข้า ๒" ไว้ และบอกว่าเป็นคำโบราณ หมายความว่า "ข้าว; ขวบปี" ส่วนที่เป็นชื่อไม้ล้มลุก ในวงศ์ Gramineae (แกรมินีอี) เมล็ดใช้เป็นอาหารนั้น เขียนว่า "ข้าว"

ข้อมูลจากบทความในรายการวิทยุภาษาไทย ๕ นาที โดย ศ. จำนงค์ ทองประเสริฐ  ๒๗  มกราคม  ๒๕๓๕ และ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๖



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 09:02

"ไม้ขัดหม้อ" ที่ว่าแสลงกับเด็ก คงหมายถึง เป็นไม้ฟาดมือ ฟาดก้นได้ทุกเวลาใช่ไหมครับ  ยิ้มเท่ห์

สำหรับไม้ขัดหม้อ เท่าที่ทราบมาจะใช้ไม้ไผ่เหลาแบนบาง เวลาคว่ำหม้อดินเผาก็ต้องไม้ช่วยขัด ไม่เช่นนั้นข้าวจะดันฝาละมีให้ทะลักออกมาได้ การใช้ไม้ขัดหม้อกับหม้อดินเผาทำได้โดยให้ใช้ผ้าผืนยาวพันปากหม้อไว้ แล้วตวัดควั่นไม้ขัดหม้อก็ใช้การได้แล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 23 มิ.ย. 11, 09:06

ไม่เช่นนั้นข้าวจะดันฝาละมีให้ทะลักออกมาได้

คำว่า ฝาละมี ของคุณหนุ่มก็น่าจะหายไปแล้วเหมือนกัน เหลือแต่ความหมายว่า "สามี" ให้ใช้กันเท่านั้นเอง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง