เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 269347 คำไทยที่หายไป
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 16:24

ทำตัวเป็น  "ฆ้องปากแตก"  "แจกหมาก"  ซักทีดีมั้ยเนี่ย

เรื่องนี้ดัง  "ซู่ซ่า"  อยู่พักเดียว  แล้วก็  "เงียบจ้อย/หายจ้อย"  ไปเลย

แต่งตัวเสียเกินหน้า  ทำท่ายังกับ  "แม่ยั่วเมือง"

รู้เรื่องของชั้นได้ยังงายยย   เธอเป็น  "พยาธิในท้อง"  ชั้นเหรอออออ

นี่มันงานของนายนะ  เลิก  "โยนกลอง"  เสียทีเหอะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 16:31

เห็นคุณ willyquiz กล่าวเรื่องเครื่องดนตรีไทย เลยนึกได้คำหนึ่งดังนี้

เคยไหมที่เราจัดบ้าน หรือ ทำงานอะไรสักอย่าง แล้วเกิดอาการพัวพันต่อเนื่อง จากจุดหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ จนขยายออกไปไม่จบสิ้น เช่น อยากจะจัดเก้าอี้ตรงมุมห้องสักหน่อย กลายเป็น จัดโต๊ะไปด้วย ลามไปถึงจัดห้องรับแขกใหม่ทั้งหมด แบบนี้เราเรียกว่า "ยุ่งเหมือนดีลูกฆ้องวงระนาด" คือ ตีลูหนึ่ง ก็ต้องตีต่ออีกลูก ๆ ต่อกันไป
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 17:11

เห็นคุณ willyquiz กล่าวเรื่องเครื่องดนตรีไทย เลยนึกได้คำหนึ่งดังนี้

เคยไหมที่เราจัดบ้าน หรือ ทำงานอะไรสักอย่าง แล้วเกิดอาการพัวพันต่อเนื่อง จากจุดหนึ่งต่อไปเรื่อยๆ จนขยายออกไปไม่จบสิ้น เช่น อยากจะจัดเก้าอี้ตรงมุมห้องสักหน่อย กลายเป็น จัดโต๊ะไปด้วย ลามไปถึงจัดห้องรับแขกใหม่ทั้งหมด แบบนี้เราเรียกว่า "ยุ่งเหมือนดีลูกฆ้องวงระนาด" คือ ตีลูหนึ่ง ก็ต้องตีต่ออีกลูก ๆ ต่อกันไป

จริงๆ นะ คุณ Siamese นี่  ผมขำกลิ้งกับ ๑๐๐ คำถาม ยังไม่พอ  ต้องมาท้องคัดท้องแข็งกับ ตะล๊อกต๊อกแต๊ก อีกที  แล้วนี่ยังมาเรื่อง
เครื่องดนตรีไทยอีก     ไม่เคยได้ยินครับ  เคยได้ยินแต่  "ยุ่งเหมือนมุ้งพัน"  กับ  "ยุ่งเหมือนยุงตีกัน"  โธ่ นึกภาพไม่ออกเลยว่า
ตีลูกฆ้องวงระนาดนี่มันยุ่งอย่างไร
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 17:48

ได้อ่านหนังสือชื่อ Only paranoid survive ทำให้นึกถึงประโยคที่ครูเคยพูดไว้เมื่อหลายสิบปีก่อนว่า "ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะดิ้นตาย"

(ไม่รู้อ่านผ่านตาไปได้อย่างไร)  ตามที่คุณ pathuma นำสำนวนเก่ามาบอกเล่า  น่าจะมีความหมายในทำนองนี้ครับ

    เด็กเอ๋ยเด็กน้อย                        ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา
เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา                 เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน
ได้ประโยชน์หลายสถานเพราะการเรียน    จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน                 เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย....

หรือคุณ pathuma ว่ายังไงครับ
บันทึกการเข้า
rainbowrozen
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 18:11

มีหลายอย่างที่หลายคนว่าหาย

แต่จริง ๆ ก็ไม่ไ่ด้หายไปนะ

เพราะหลายคำ เราเอง ที่เพิ่งอายุ 17 ก็ยังใช้อยู่

เพื่้อนก็ยังใช้อยู่้

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 19:12

แล้วคำว่าโรค ฝีในท้อง ยุคนี้ยังมีใครใช้อยู่ไหมคะ  ยิงฟันยิ้ม

เจอคำว่าฆ้องวงของ ท่านSiamese ทำให้นึกถึงตอนเขียนรายงาน
เพื่อนชอบค่อนว่า"กางตำราวางกองเป็นฆ้องวง" เชียวนะ...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 19:18

โรคท้องร่วง  ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โรคอุจจาระร่วง หรือยังคะ
ชื่อโรคโบราณในกระทู้เก่านี้ ล้วนเป็นคำที่หายไป
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3127.15
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 19:52

แล้วคำว่าโรค ฝีในท้อง ยุคนี้ยังมีใครใช้อยู่ไหมคะ  ยิงฟันยิ้ม

ผมขอยกมือครับ  ผมยังใช้อยู่  แต่ใช้ในทำนองล้อเลียนครับ  ไม่ได้หมายถึงวัณโรคจริงๆ  ผมมี pen friend  (แต่น่าจะเรียกว่า E-mail friend น่าจะดีกว่า)
ที่ผมเพิ่งจะใช้คำนี้ด้วยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง

มีความสุขจากการอ่าน Mail ของคุณจริงๆ  ทำให้มีเรื่องเขียนอีกเยอะเลย  ดูๆ แล้วคุณนี่เหมือนฝีในท้องผมซะแล้ว  ผมขอเพลงนึง คุณก็นึกถึงอีกเพลงนึงได้ทันที โดยผมไม่ต้องขอ 
ผมนึกแทบเป็นแทบตายว่าอีกเพลงมันคือเพลงอะไรนะ  แต่นึกจนหัวแทบแตกก็นึกไม่ออก  พอปล่อยวาง คุณก็ส่งไปให้  ขอบคุณอย่างหลายๆ เพลงพวกนี้ทำให้ผมนึกย้อนอดีตได้ทุกครั้ง 
ไม่รู้คุณจะรู้จักคณะ The Cats ของเรามั้ย  มันร่วมสมัยกัน  มันมาก่อนที่ผมจะรู้ภาษาอังกฤษจนพอที่จะฟังได้รู้เรื่องนานนม  แต่ถึงแม้ไม่รู้เรื่องผมก็ชอบฟังอยู่ดีไม่แพ้ สุนทราภรณ์ 
นริศ อารีย์  ชรินทร์ ฯลฯ เลย จนพวกพี่ๆ ผมหมั่นไส้ผมไปตามๆ กัน


โพสท์มาให้ดูเพื่อยืนยัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 19:55

ฝีในท้อง

ฝีในปอด

ตานขโมย

ฝีในตับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 20:02

ยกข้อความที่โยกไปนำมาวางให้

โดยคุณ Willy Quiz

ขอโทษครับ  ผมมี  "เงินปลีก"  ไม่พอ

ไอ้ลูกคนนี้  "อยู่ไม่ติดบ้าน"  ซักวัน  "หัวหายสะพายขาด"  อยู่ที่ไหนไม่เคยมีใครรู้

"ช้าไปแล้วต๋อย"  ก็มัวแต่  "ป้อไปป้อมา"  อย่างนี้  สุนัขคาบไปรับประทานเรียบร้อยแล้ว

ไม่รู้จะรีบไป  "ตามควาย"  ที่ไหน  รอด้วยซี่

เดิน  "จ้ำพรวด"  หยั่งกะ  "ควายหาย"  ใครจะไปตามทัน

เราไป  "สี"  คนอื่นดีกว่า  คนนี้ถูก  "ตีทะเบียน"  เอาไว้แล้ว

ทำหยั่งกะ  "ตัวเปล่าเล่าเปลือย"  เห็นหนุ่มหล่อเข้าหน่อย  "ระริกระรี้"  เป็น  "กระดี่ได้น้ำ"  เชียว

ดูซิ พูดแค่นี้ทำเป็น  "เดินสะบัดก้น"  หนี  เดี๋ยวแม่  "เขวี้ยง"  "หัวร้างข้างแตก"

แย่จังเธอ  เรา  "พูดผิดหู"  แม่หน่อยเดียว  โดนด่าเสีย  "อ่วมอรทัย"  ไปเลย
อี๊! เรื่อง  "จิ๊บจ๊อย"  น่า   แค่นี้ไม่  "กระเทือนซาง"  เธอหรอก
 
 
 ไปถูกใครเขา  "รุมสกรัม"  มาล่ะ  ปากคอเจ่อไปหมด

ปล่อยให้  "เจ๊กลากไปไทยลากมา"  อย่างนี้  เดี๋ยวก็  "วินาศสันตะโร"  กันพอดี

พักนี้  "ลมไม่ดี"  บ่อยจังนะ  ทำหยั่งกับสาววัยทองไปได้

มันก็  "เป็นลมๆ"  ไป  อารมณ์ดีก็ทำ อารมณ์ไม่ดีก็ไม่ทำ

โอ้ย เหนื่อย  "หัวกระไดไม่แห้ง"  เลย

เชอะ คิดจะมาขอลูกสาวฉันน่ะเหรอ  รอให้  "น้ำท่วมหลังเป็ด"  เสียก่อนเถอะ
"ขี้ตู่กลางนา ขี้ตาตุ๊กแก ขี้มูกยายแก่ อรแร้อรชร"
"ไอ้เข้ไอ้โขง มาโรงไม้สัก ไอ้เข้ฟันหัก กัดคนไม่เข้า"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 20:05

อ. เทาชมพู

ราศี  = ออร่า

คุณ siamese ก็ช่างสรรหาคำมาจริงๆ
พยายามเดา
อุทัจ น่าจะมาจาก อุทธัจจะ หมายถึงความฟุ้งซ่าน อึดอัดกลัดกลุ้ม กังวล ทำให้เกิดความเครียด
มะลึกตึก คำนี้มาจากเรื่องพระมะเหลเถไถ ของคุณสุวรรณ ที่ว่าเป็นกวีหญิงไม่เต็มเต็งนัก (คำว่าไม่เต็มเต็ง เป็นคำที่หายไปเหมือนกัน)
ในเรื่องนี้คุณสุวรรณบรรยายว่า

วันหนึ่งพระจึงมะหลึกตึก             มะเหลไถไพรพรึกมะรึกเข   
แล้วจะไปเที่ยวชมมะลมเต.          มะโลโตโปเปมะลูตู

คุณสุวรรณดำเนินเรื่องตาม"ขนบ" ของวรรณคดีบทละครสมัยนั้น  คือเริ่มด้วยตัวเอกเป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงอยู่ในวังดีๆ ก็เกิดเบื่อ อยากจะไปเที่ยวป่า    เหมือนเราไปเที่ยวรีสอร์ตกันในสมัยนั้น
ไพรพรึกมะรึกเข    เป็นการเขียนตามแบบคุณสุวรรณ  ไพรพรึก=ไพรพฤกษ์     มะรึกเข = แผลงศัพท์จาก มฤค  (กวาง)  ในเมื่อกวีอื่นแผลงเป็นมฤคา  มฤคี ได้   คุณสุวรรณก็แผลงเป็นมะรึกเข  (มฤเข) ได้  ใครจะทำไม
กลับมาที่มะหลึกตึก อาจจะแผลงจากตรึก   = ตรอง  คือนึกตรึกตรอง

อ้างถึง
..ให้นึกมะลึกตึกไปว่า ประวัตินั้นแต่งยาก ถ้าไม่จืดช่ำมะร่าท่า ผู้ตายก็เป็นเทวดา..."

"...ประการที่ 1 ข้าพเจ้าไม่เคยแต่งประวัติคนเป็น ครั้นลองแต่งเข้า จะเป็นด้วยเหตุใดก็หาทราบไม่ให้เกิดอุทัจ ได้เริ่มแต่งหลายครั้งก็หาลุล่วงไม่..."
ให้นึกตรึกตรองไปว่า....
จะเป็นด้วยเหตุใดก็หาทราบไม่   ให้เกิดความฟุ้งซ่าน กังวล 

ส่วนจืดช่ามะร่าท่า  ไม่เคยเห็น   เดาจากบริบท น่าจะได้ความว่า จืดชืดเป็นน้ำยาเย็น อะไรทำนองนั้น
ตีขลุม    = ตู่หรือหยิบฉวยเอาของผู้อื่นโดยทึกทักเอาว่าเป็นของตน, แสดงอาการเป็นเชิงรับสมอ้างเพื่อประโยชน์แก่ตน.

คำอธิบายนี้มาจากรอยอิน     คำว่า "ตู่ "ที่รอยอินใช้ น่าจะเป็น "คำที่หายไป" อีกคำหนึ่ง
ละล้าละลัง   ยังใช้กันไหมคะ  มีอีก ๒ คำ คือพะว้าพะวัง และพะวักพะวน

ลองสร้างประโยคดูบ้าง

แค่นั่ง" สัปหงก" หลังห้อง  ไม่ได้หลับ    ครูกลับเทศน์เอา "หลายกระบุงโกย"
เป็นผู้หญิง  ไม่ควรพูด "มึงมาพาโวย" อย่างผู้ชายเขา
แม่เรือนสมัยก่อนมักจะขยัน  ทำโน่นทำนี่ทั้งวัน   ไม่ใช่คน "ก้นหนัก"
ไปแต่งงานกับแม่ม่าย ระวังลูกเลี้ยงจะกลายเป็น "หอกข้างแคร่" ของพ่อเลี้ยง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 20:06

ภาษาเมื่อ พ.ศ. 2483 ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสเรื่องการแต่งประวัติอัตชีวิตบุคคล ดังนี้

"...ให้นึกมะลึกตึกไปว่า ประวัตินั้นแต่งยาก ถ้าไม่จืดช่ำมะร่าท่า ผู้ตายก็เป็นเทวดา..."

"...ประการที่ 1 ข้าพเจ้าไม่เคยแต่งประวัติคนเป็น ครั้นลองแต่งเข้า จะเป็นด้วยเหตุใดก็หาทราบไม่ให้เกิดอุทัจ ได้เริ่มแต่งหลายครั้งก็หาลุล่วงไม่..."


มะลึกตึก

จืดช่ำมะร่าท่า

อุทัจ

ใครช่วยแปลถึงความหมายด้วยครับ 

ขอบคุณ อ.เทาชมพูครับที่แกะรอยรากศัพท์ให้กระจ่าง

คำต่อมา
๑. "ตกร่องปล่องชิ้น" คงหมายถึง เป็นคู่สามีภรรยากัน

๒. "ชิ้น" คำโบราณมีไว้เรียกการเป็นคู่ ในทางกิ๊กหรือแฟน ใช้ว่า "คู่นี้เป็นชิ้นกัน"

๓. "เฮโลสาระพา" รวมกลุ่มกันทำกิจกรรม ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ

๔. "เดินดินกินข้าวแกง"

๕. "ข้าวแดงแกงร้อน"

๖. "เส้นวักตั๊กกะแตน"

๗. "จ้างผีโม่แป้ง" คำนี้มาจากสำนวนจีนอีกทอดหนึ่ง หมายถึง สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ กลับสามารถทำได้โดยง่ายโดยใช้อำนาจของเงิน เช่น เงินทองสามารถซื้อได้ทุกสิ่ง แม้กระทั่งจ้างผีโม่แป้งได้ เป็นต้น = เงินง้างได้ทุกอย่าง

นัยว่า การโม่แป้งนั้นเป็นงานหนัก ต้องนำข้าวสาลีมาแช่น้ำค้างคืน แล้วนำมาหยอดในโม่หินแล้วหมุนเพื่อบดข้าวสาลีให้เป็นผงพร้อมกับหยอดน้ำ น้ำที่ได้นำมาใส่ถุงผ้า เอาหินกดทับไว้เพื่อไล่น้ำออก จะเหลือแป้งคาอยู่ในถุง ซึ่งเป็นแป้งสดมีความชื้น ดังนั้นการทำงานโม่แป้งจึงเหนื่อยยาก ดังนั้นแล้ว "จ้างผีโม่แป้ง" เขาจะเปรียบเทียบกันว่า ขนาดว่าผี เราเห็นตัวได้ยาก ยังสามารถเรียกออกมาใช้เงินเป็นค่าจ้างในการโม่แป้งที่ยากกว่าได้
 
 
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 20:07

ของคุณ kwang satanart

ทำงานหนักจน " หัวไม่วาง  หางไม่เว้น " คงจะเหนื่อยแย่
ยังทำงานไม่เสร็จเลย  " สะบัดก้น" ไปเสียแล้ว
เจ้าหล่อนถูกแฟนทิ้ง  แอบไปนั่ง  " ร้องไห้น้ำตาเป็นเผาเต่า "  อยู่ในห้องนอน
ยังไม่รู้เลยว่า จะได้เงินล้านหรือเปล่า  ทำ " ตีปีก " เสียแล้ว
ใครนะ  มาทำท่าใหญ่โต  มาเดิน   " วางก้าม "  อยู่บนตึก
"หน้างอก " แบบนี้ ท่าทางจะเจ้าปัญญา  ( ส่วนของหน้าผาก ที่โหนกนูนออกมากว่าปกติ)
ใครทำให้โกรธอีกล่ะ  มานั่งทำหน้าเป็น " ม้าหมากรุก "  อยู่ตรงนี้ 
เด็กคนนี้ อ่านหนังสือ " ไม่แตก " อ่าน "ตะกุกตะกัก " ไม่คล่องแคล่ว ไม่น่าฟังเลย ( ไม่แตก = ไม่แตกฉาน )
พระเอกคนนี้ ผอมมากไปหน่อย  อย่างที่คนโบราณเรียกว่า  " หุ่นกล้องแกล้ง " 
เด็กผู้หญิงคนนั้น  เอวบางร่างน้อย  "หุ่นอ้อนแอ้น " เสียจริงๆ
 
 
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 20:08

ของคุณเพ็ญชมพู

"ไอ้เข้ไอ้โขง มาโรงไม้สัก ไอ้เข้ฟันหัก กัดคนไม่เข้า"

ตอนเด็ก ๆ เคยได้ยินว่า "มะโรงไม้สัก"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 22 มิ.ย. 11, 21:11

คุณ Willyquiz เคยได้ยินคำนี้อีกไหม  "เชือกกุนเชียง"

คำนี้เป็นทำนองการยืมมาจากภาษาจีนอีกทอดหนึ่ง "เชือกกุนเชียง" หมายถึง ไร้ค้า ไร้ประโยชน์ มันใช้ในทางกล่าวว่าแก่บุคคล ส่วนคำไทยก็ออกไปทาง ตัดหางปล่อยวัด ผสมกับ ไร้น้ำยา รวมกัน

ที่มาคือ เชือกกุนเชียงนั้นมีประโยชน์สำหรับแขวนกุนเชียง แต่เมื่อนำมาทำกับข้าวแล้ว ต้องตัดเชือกกุนเชียงออกแล้วทิ้งไป ตัวกุนเชียงเป็นของมีค่า ส่วนเชือกกุนเชียงกลับถูกทิ้งแบบไร้ค่า จึงเป็นที่มาของคำดังกล่าว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง