เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 12767 การค้าไทยจีนภายหลังระบบบรรณาการ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 22:55

เป็นท่าเรือกลไฟครับ อยู่ที่คลองสาน ผมจะส่งลิงค์ไปให้ดู

ตอนนี้ผมกำลังเขีัยนเรื่องการค้าภายหลังระบบบรรณาการไทยจีนอยู่ ศึกษาในช่วงระยะเวลาก่อนเปิดความสัมพันธ์สมัยใหม่

http://www.kangtangblog.com/?tag=%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B9%88

ในหนังสือของคุณพิมพ์ประไพกล่าวถึงการต้อนรับทูตจีน

ผมลืมหยิบหนังสือเล่มนี้มาก เลยเป็นปัญหาหนักในเวลานี้...

ใครมีคัดข้อความส่งมาให้หน่อยได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 23:06

พึ่งได้ลิงค์หนังสือมา...

ดีใจน้ำตานองหน้า

http://books.google.com.hk/books?id=SzOcZTUjzYUC&pg=PT94&lpg=PT94&dq=%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%9F&source=bl&ots=p_VFFtyb2s&sig=XB-uX7XHiC3yV6CiSIOUqCdv_7U&hl=zh-CN&ei=uKXOTa7KMY3CvgOS-pGcCg&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=8&ved=0CFUQ6AEwBw#v=onepage&q=%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%9F&f=true
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 23:13

และนองหน้าต่อจริงๆ เพราะส่วนที่จะใช่ไม่มีบนอินเตอร์เน็ต

ฮาๆๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 23:50

จากหนังสือกระเบื้องถ้วยกะลาแตก เขียนโดยคุณอ้อย พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร หน้า95 เขียนบรรยายภาพสำเภาสยามไว้กระจ่างชัดว่า ฤดูสำเภาเป็นช่วงที่สนุกสนาน เรือน้อยใหญ่จาดกเมืองจีนจะเข้ามาจอดเรียงรายเคียงกันอยู่กลางแม่น้ำ จากบ้านหน้าสำเพ็งมองไปสุดลูกหูลูกตา เมื่อสำเภาจัดตลาดแผงลอยเสร็จตีม้าฬ่อ ผู้คนจากเรือนแพริมน้ำก็จะพายเรือ กรูกันไปเลือกซื้อสินค้าบนเรือสำเภาใหญ่ เรือเล็กเรือน้อยจอดเบียดเสียดกันแน่นแม่น้ำ สำเภาห้างเราเมื่อกลับมาถึงจะมาจอดทอดสมออยู่หน้าบ้าน(ปัจจุบันคือท่าดินแดง เหนือน้ำจากฮ้วยจุ่งล้งขึ้นไปนิดหนึ่ง) ตัวพระยาพิศาลศุภผล(ชื่น)ได้รับอนุญาตให้ขี้นไปเลือกซื้อสินค้าบนเรือก่อนคนนอก ถูกใจสิ่งใดก็เก็บขึ้นไว้บนบ้าน จากนั้นจึงเปิดให้ลูกค้าขึ้นสำเภาเลือกซื้อสินค้าจากเมืองจีน เครื่องถ้วยกระเบื้องกังไสคุณภาพดี แพรพรรณ สิ่งของดีๆจากเมืองจีนที่ทางบ้านเลือกเก็บไว้ส่วนหนึ่งจะนำขึ้นถวาย ส่วนหนึ่งสำหรับนำไปขายเจ้านายตามวังต่างๆ

ขอเชิญคุณชุนซึ่งอยู่ที่คลองสานมาถึง74ปี เป็นผู้รู้ประวัติคลองสานอย่างดีมาเล่าให้เราฟัง ว่าพระยาพิศาลฯเป็นเจ้าของเรือสำเภา คนจีนมาเช่าห้องที่นี่ บรรพบุรุษจีนอยู่กันแถวนี้
คำว่ากงสีล้ง เป็นภาษาจีนสยาม หมายถึงไปส้วม ใช้เฉพาะจีนในสยามเท่านั้น ถ้าไปพูดกับจีนที่อื่นจะไม่เข้าใจ เรือสำเภาสมัยต้นรัตนโกสินทร์จอดอยู่แถวปากคลองตลาด ต่อมามาจอดที่นี่เรือที่ออกจากท่านี้จะไปฮ่องกง ส่วนเรือกลไฟเจ้าพระยาจะไปสิงคโปร์
ด้านหลังมีศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นความเชื่อของคนจีนที่จะออกเดินทางรอนแรมกลางทะเล ต้องการกำลังใจช่วยให้การเดินทางปลอดภัย คนจีนมักสร้างศาลเจ้าแม่ทับทิมไว้เสมอ มีประวัติว่าทูตจีนมากินเลี้ยงที่นี่ ห้างร้านจัดงานเลี้ยง มีงิ้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 พ.ค. 11, 23:55

ฮ้วยจุงโล้งหรือท่าเรือกลไฟ เดิมเป็นของพระยาพิศาลผลพานิช(จีนสือ) ต้นตระกูลคุณอ้อยคือพิศาลบุตร บุตรชายของพระยาพิศาลศุภผล(ชื่น) เป็นท่าเรือใหญ่โตที่สุดของฝั่งธนบุรี ก่อนเข้าไปจะผ่านโกดังเซ่งกี่ ได้กลิ่นเครื่องเทศอบอวลมากเลย คุณอ้อยอธิบายให้พวกเราฟังว่าเมื่อเรือเข้ามาจอด จะขนถ่ายสินค้าเก็บตามเรือนแถวด้านบน คนที่มากับเรือก็มาอาศัยอยู่ที่นี่ แต่ละห้างจะเช่าบนเช่าล่างอยู่ ใครมีญาติพี่น้องจากเมืองจีนในอดีตอาจเคยมาอาศัยตึกแถวลักษณะนี้ ปัจจุบันเป็นของหวั่งหลี (บ้านหวั่งหลีเดิมเป็นท่าเรือของพระยาพิศาลศุภผล(ชื่น)ต้นตระกูลพิศาลบุตร ต่อมาขายให้นายตัน ลิบบ๊วยแห่งตระกูลหวั่งหลี )
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 01:18

เข้าLink หนังสือที่คุณ Han Bing ให้มา ก็พบว่า บางหน้าหายไปจริง ๆ เสียดายมาก
ต้องหามาอ่านให้ได้ น่าสนใจจริง ๆ

คุณ Siamese มีข้อมูลดี ๆ มาก ขอขอบพระคุณ จะ
ตามอ่านไม่ลดละค่ะ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 05:32

พอจะมีข้อมูลช่วงรับทูตจากจีนจนกระทั่งได้รับพระราชทานป้ายจากจีนไหมครับ...
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 10:04

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก "เรือชีวิตเลือดมังกร ล่ำซำ"

กล่าวว่า หลังจากที่สยามได้เลิกส่งบรรณาการกับจีนแล้ว บรรดาการค้าขายของชาวจีนลดลง ในขณะเดียวกันบรรดาชาวจีนโพ้นทะเลคลื่นใหม่ต่างพากันอพยพเข้ามายังดินแดนเสียมหลอกันมาก ซึ่งโจษจันกันว่าเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ และในระหว่างปี พศ ๒๔๒๕ - ๒๔๕๐ มีชาวจีนโพ้นทะเลคลื่นใหม่เข้ามาสยามถึง ๙๐๐,๐๐๐ คน

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั่นเองที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจจาก "ผูกขาด" เป็นแบบ "เสรี" ซึ่งเป็นการปูทางให้กับการถือกำเนิดของ "ขุนนางชั้นทุนนิยม" และส่งอิทธิพลไปยังธุรกิจของกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในเวลาเดียวกัน โดยแบ่งได้ ๓ ประเภท

๑. ประกอบอาชีพเจ้าภาษีอากร
๒. ประกอบอาชีพโรงสีและค้าข้าว
๓. นายหน้าการค้า

โดยทั้งสามแบบจะมีการจัด "บริษัทของนายทุนขุนนาง" หมายถึง บริษัทที่อิงแอบกับอำนาจรัฐ เช่น ตระกูลโชติเสถียร ตระกูลโสโณดร ตระกูลเตชะกำพุช ตระกูลสารสิน ตระกูลฮุนตระกูล ตระกูลหวั่งหลี ตระกูลล่ำซำ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 11:10

พอจะมีข้อมูลช่วงรับทูตจากจีนจนกระทั่งได้รับพระราชทานป้ายจากจีนไหมครับ...

ข้อมูลเบื้องต้นจากหนังสือ บรรณาการจีน ไทย พิมพ์ปี 2525 ระบุถึงการมาเยือนของคณะทูตจีนเดินทางมายังกรุงเทพ สมัยราชวงศ์ชิง มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้น

1. มาเมื่อ ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4
2. และครั้งที่สอง ค.ศ. 1878 (พ.ศ. 2421) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 11:18

เมื่อราชทูตจีนส่งคณะทูตมาไทยครั้งแรก ใน ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405) คณะทูตจีนได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของจักรพรรดิเสียนเฟง เตือนให้ไทยส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายตามปกติ

ส่วนครั้งที่สอง ค.ศ. 1878 (พ.ศ. 2421) เอกอัครราชทูตจีนเดินทางไปอังกฤษและได้รับคำบัญชาให้แวะที่กรุงเทพฯ และเตือนให้ไทยส่งเครื่องราชบรรณาการให้จีนอีก แต่ได้รับการปฏิเสธจากฝ่ายไทย

ดังนั้นการที่คุณหาญ ต้องการข้อมูลการต้อนรับทูตจีน คาดว่าจะหมายถึงในช่วง พ.ศ. 2421 น่าจะเป็นไปได้สูง

กฎระเบียนการต้อนรับตราตั้งจากราชทูตจีนนั้น จะมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

" พระมหากษัตริย์ของประเทศเล็กจะทรงส่งเสนาบดีของพระองค์ไปยังชายพระราชอาณาเขต เพื่อต้อนรับทูตของจักรพรรดิ พิธีการต่างๆตามที่กำหนดไว้จะถูกจัดขึ้น ทันทีที่มีการมอบกล่องบรรจุพระราชสาส์นของจักรพรรดิ ต้องถวายคำนับ 9 ครั้ง และจะถวายคำนับคณะทูต 3 ครั้ง"

เมื่อพิธีการเป็นเช่นนี้แล้ว จะเห็น่วา ฝ่ายไทยก็คงเย็นชาเช่นกัน จะให้พระมหากษัตริย์ของไทย ไปคำนับกล่องพระราชสาสน์จักรพรรดิถึงเพียงนี้คงผิดวิสัย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 11:45

จะขอการอธิบายธรรมเนียมการต้อนรับราชทูตจีน ตามหนังสือ หวัน ลี ฮุย-เถียน เมื่อ ค.ศ. 1875 มีขั้นตอนดังนี้

"..พระมหากษัตริย์ต่างประเทศ และบรรดาขุนนางของพระองค์อยู่ในท่าคุกเข่าทั้งหมด ทูตจะอ่านพระราชกฤษฎีกาของจักรพรรดิว่า "องค์จักรพรรดิทรงมีพระบัญชาให้ทูตของพระองค์.....(ชื่อทูต)..... อัญเชิญตราประจำตำแหน่ง และให้ทูลเกล้าฯถวายสิ่งของต่างๆ

เมื่ออ่านพระราชกฤษฏีกาแล้ว ทูตจะถือตราประจำตำแหน่งไว้ในมือทั้งสองและนำทูลเกล้าถวาย และ....สิ่งของต่างๆ และหันหน้าไปทางทิศตะวันตกพร้อมกับทูลเกล้าถวายแด่พระมหากษัตริย์ต่างชาติ พระมหากษัตริย์ต่างชาติทรงคุกเข่าลงรับสิ่งของเหล่านี้ และมอบของสิ่งนั้นให้กับมหาดเล็กรับใช้ของพระองค์

เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ดำเนินพิธี (ยินหลี) จะร้องว่า "ก้มลงกราบ  ลุกขึ้น (อยู่ในท่าคุกเข่า) และยืนขึ้น"  พนักงานเฝ้าประตูจะตะโกนเช่นเดียวกัน (คำสั่ง)พระมหากษัตริย์ต่างชาติและบรรดาขุนนางของพระองค์ทั้งหมดก้มลงกราบ ลุกขึ้น (ในท่าคุกเข่า) และลุกขึ้นยืน"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 พ.ค. 11, 12:43

"ฮ้วยจุงโล้ง" หรือ "ท่าเรือฮ้วยจุงโล้ง" (ท่าเรือกลไฟ)

เป็นท่าเรือสินค้าขนาดใหญ่ในย่านฝั่งธนบุรี ของพระยาพิศาลผลพานิช ต่อมาขายให้กับนายตันลิบบ้วย ต้นตระกูลหวั่งหลี ปัจจุบันเป็นสำนักงานของตระกูลหวั่งหลี

เครดิดภาพจากคุณนัทธ์

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=bookkii&month=28-02-2011&group=22&gblog=52


บันทึกการเข้า
Miss Candela
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 09 มิ.ย. 11, 20:38

อยากทราบเกี่ยวกับคนจีนที่เข้ามาทำการค้าในไทย ประสบความสำเร็จมีฐานะร่ำรวย และได้รับพระราชทานยศเรียนขานแบบข้าราชการไทย คุณเจ้าของกระทู้พอจะช่วยหามาให้เป็นความรู้ได้ไหมค่ะ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 01:04

เออ...อันนี้เยอะมากเลยครับ
อย่างเจ้าเมืองสงขลาไทยเป็นต้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 11 มิ.ย. 11, 07:39

ตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ

คนจีนมียศ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=563.msg9142#msg9142

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.11 วินาที กับ 19 คำสั่ง