เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 10:17
|
|
เจ้าหญิงในประวัติศาสตร์ที่เลือกสีขาวเป็นสีชุดวิวาห์ก็มีอีกบ้างประปราย เป็นการเลือกเฉพาะตัว ไม่ขึ้นกับความนิยมของยุคสมัย ต่อมาแฟชั่นเปลี่ยนเป็นตรงข้าม สีขาวกลายเป็นสียอดนิยม ในยุค "เอมไพร์" ของฝรั่งเศส คือหลังปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ในค.ศ. 1789 ซึ่งตรงกับยุครีเจนซี่ของอังกฤษ คือปลายศตวรรษที่ 18
แฟชั่นผู้หญิงยุคนั้นคือนิยมสวมผ้ามัสลินหรือผ้าป่านบางสีขาว ต่อใต้อกแล้วกระโปรงแคบๆทิ้งตัวลงถึงเท้า ถ้าใครเคยดูหนัง Pride and Prejudice ก็จะเห็นว่าอยู่ในยุคนี้ละค่ะ ใช่เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 10:26
|
|
ในเมื่อผู้หญิงทั่วไปนิยมสีขาว หรือสีอ่อนๆ เป็นหลัก ในวันวิวาห์ พวกเธอก็เลยแต่งชุดขาวที่ดีที่สุดที่มี ชุดเจ้าสาวก็เลยพลอยเป็นสีขาว เห็นกันได้ทั่วไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 14:52
|
|
ในยุคที่เจ้าสาวแต่งขาวแบบง่ายๆ เรียบๆ กันทั่วเมือง ก็มียกเว้นว่าเจ้าสาวสำคัญองค์หนึ่ง ชื่อเจ้าหญิงคาโรลีนแห่งบรันสวิค ข้ามจากบ้านเมืองเธอมาเสกสมรสกับมกุฏราชกุมารของอังกฤษ วันวิวาห์ ทรงแต่งองค์ฟู่ฟ่าอลังการจนเป็นที่บันทึกลงในประวัติศาสตร์ แทนที่จะเลือกสีขาวเบาๆบางๆอย่างคนอื่น ก็ทรงเลือกชุดสีเงิน ตัดด้วยผ้าเนื้อบางและลูกไม้ มีเสื้อคลุมกำมะหยี่ขลิบขนเออร์มินสวมทับอีกที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 15:02
|
|
เออร์มิน (ermine) เป็นขนสัตว์สีขาว แต้มจุดดำ นิยมนำมาขลิบเสื้อคลุมในพระราชพิธี คนที่สวมเสื้อขลิบขนเออร์มินมักจะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านายใหญ่โต หรือถ้าเป็นพระในศาสนาคริสต์ก็ระดับบิ๊ก แล้วก็ไม่ได้ใส่พร่ำเพรื่อไปทุกงาน ใส่เฉพาะพระราชพิธีประกอบการแต่งกายเต็มยศ ขนสัตว์ที่เมื่อก่อนถือว่าเป็นของแพง ก็มีขนมิ้งค์ ขนเสือดาว ขนเซเบิลสีดำของรัสเซีย นำมาเป็นเสื้อคลุมสวมไปงานของผู้หญิงไฮโซทั้งหลาย ถือกันว่าหรูหรากว่าเครื่องเพชร ต่อมาเมื่อสี่ห้าสิบปีมานี้ สัตว์ป่าชักร่อยหรอเพราะกลายมาเป็นเสื้อกันหมด ก็มีการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่า เสื้อขนสัตว์เหล่านี้ก็ค่อยๆหายไป ไม่เป็นที่นิยมกันอีก
ยังไม่ได้เอาสัตว์พวกนี้ไปใส่ไว้ในกระทู้สัตว์ประหลาด ไม่รู้ด้วยว่าเออร์มินมันเป็นสัตว์วงศ์ไหน ได้แต่เอาขนสัตว์มาให้ดูกันค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 15:07
|
|
เจ้าหญิงชาร์ล็อตต์ พระธิดาของเจ้าหญิงคาโรลีน สืบทอดการแต่งกายอลังการมายิ่งกว่าเสด็จแม่เสียอีก ในวันวิวาห์ ทรงเลือกชุดวิวาห์ตัดด้วยผ้าลาเม่ สีเงินเหมือนกัน ซับในด้วยผ้าไหมขาวและขลิบลูกไม้สีเงิน ผ้าลาเม่เป็นผ้าฝรั่งเศส ในเนื้อผ้าแทรกด้วยเส้นโลหะเล็กๆสีเงินหรือทอง คงจะคล้ายผ้าโหมดหรือผ้าตาดของเรา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 16:19
|
|
ขึ้นศตวรรษที่ 19 คือค.ศ. 1800 เป็นต้นไป ชุดเจ้าสาวก็เริ่ิ่มมี veil หรือผ้าคลุมผมเป็นส่วนประกอบ เช่นเดียวกับถุงมือยาว แฟชั่นนี้เริ่มในอังกฤษก่อน แล้วค่อยไปนิยมกันที่ฝรั่งเศส โครงสร้างของเสื้อยังเป็นทรงเอ็มไพร์เหมือนเสื้อในโอกาสธรรมดา แต่ว่าเริ่มประดับประดาอลังการขึ้นว่าเป็นเสื้อในโอกาสพิเศษ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 16:40
|
|
จากนั้นก็มาถึงชุดวิวาห์คลาสสิคที่เป็นต้นแบบของชุดเจ้าสาวทั่วโลกในปัจจุบัน คือชุดวิวาห์ของพระราชินีนาถวิคตอเรียน
ตอนที่ควีนวิคตอเรียขึ้นครองราชย์ ประชาชนอังกฤษค่อนข้างจะเห่อพระราชินีนาถสาวสวยพระชนม์แค่ 18 เพราะก่อนหน้านี้ 3 รัชกาลมีแต่กษัตริย์แก่ๆที่เก็บพระองค์ทำอะไรประหลาดๆ พระเจ้าจอร์ชที่ 3 ก็เสียพระสติ พระเจ้าจอร์ชที่ 4 และพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ก็ไม่ทรงเป็นที่นิยมเท่าไรในเรื่องส่วนพระองค์ ความนิยมของประชาชนพุ่งสูงขึ้น เมื่อพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงเลือกพระสวามีด้วยพระทัยรัก ไม่ได้ถูกจับคู่กันด้วยเหตุผลทางการเมืองอย่างในยุคก่อนๆ เจ้าชายอัลเบิร์ตเชื้อสายเยอรมันนั้นก็ทรงหล่อเสียด้วย วันวิวาห์ของสองพระองค์จึงเป็นเหตุการณ์พิเศษ ให้ตื่นเต้นฮือฮากันไปทั่วยุโรป ไม่เฉพาะแต่อังกฤษ ชุดวิวาห์ที่ควีนทรงเลือก คือเสื้อกระโปรงยาวลากพื้นสีขาว ออกแบบพิเศษเพื่อโอกาสนี้ ก็กลายมาเป็นแบบฉบับให้สาวน้อยสาวใหญ่ยึดเป็นชุดเจ้าสาวสืบกันต่อมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 16:41
|
|
เจ้าสาวสมัยวิคตอเรียน แต่งขาวเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 17:05
|
|
ในยุคนี้เอง เห็นชัดว่าชุดเจ้าสาวแตกต่างไปจาก Sunday best ของสาวๆ โดยเฉพาะเวลคลุมผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 17:30
|
|
จากนั้นชุดเจ้าสาวก็ลงตัว ว่าเป็นสีขาว มีผ้าคลุมผมยาวเป็นผ้าบางเบา หรือผ้าลูกไม้ อาจจะยาวมากจนลากพื้นไปอีกหลายเมตร หรือสั้นแค่กระโปรงก็ได้ ชุดเจ้าสาวชุดนี้เป็นของสาวชาวบ้านชั้นกลาง ไม่หรูหรานัก ถ่ายประมาณ 1850 อยู่ในสมัยวิคตอเรียน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 19:14
|
|
กลับไปเปิดแฟ้มที่เก็บรูปไว้ เจอรูปควีนวิคตอเรียในชุดวิวาห์สีขาวเลยนำมาให้ชมกัน ศิลปินวาดพระพักตร์ได้อ่อนหวาน และพระภูษาก็สะอาดโปร่งเบาน่าทะนุถนอม มาลาบนพระเศียรคือดอกส้มค่ะ เป็นดอกไม้ของเจ้าสาวมาตั้งแต่ยุคโรมัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 19:32
|
|
เจ้าสาวกับเพื่อนเจ้าสาว สมัยปลายศตวรรษที่ 19
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 19:36
|
|
สิ่งที่น่าสังเกตคือเจ้าสาวมีชุดเจ้าสาวลงตัวเป็นแบบแผนแล้ว แต่เจ้าบ่าวยังไม่มีชุดเจ้าบ่าวโดยเฉพาะ ยังคงสวมชุด Sunday best หรือชุดโก้ที่สุดและเป็นทางการที่สุดเท่าที่มีอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 20:06
|
|
จบรัชสมัยของพระราชินีนาถวิคตอเรีย ถึงสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗ พระราชโอรส ต้นศตวรรษที่ 20 เรียกว่าสมัยเอ็ดเวิร์ดเดียน ตรงกับปลายรัชกาลที่ 5 ชุดเจ้าสาวก็ยังเดินตามรอยของวิคตอเรียนอยู่ ชุดบนเป็นวิคตอเรียน ชุดล่างเป็นเอ็ดเวิร์ดเดียน ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 04 พ.ค. 11, 20:35
|
|
ขอสลับฉากจากอังกฤษมาอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกายังไม่เป็นมหาเศรษฐีอย่างต่อมาเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนอเมริกันส่วนใหญ่ยังเป็นคนยากจนจากยุโรปที่ข้ามทะเล มาตายเอาดาบหน้า ส่วนพวกลงหลักปักฐานก่อนหน้านี้ก็คือพวกอพยพมาก่อน คนรวยมีอยู่กลุ่มหนึ่งแถวนิวยอร์คและทางตะวันออก ส่วนที่กระจายๆออกมาอยู่ทางรัฐอื่นๆก็เป็นชาวไร่ชาวนา หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน กันทั้งนั้น ทางใต้คือพวกเศรษฐีเจ้าของไร่นาที่หมดเนื้อหมดตัวไปตั้งแต่สงครามกลางเมืองเหนือและใต้ สมัยเลิกทาส ในเมื่อชีวิตความเป็นอยู่ส่วนใหญ่ยังแค่พอหาใส่ปากท้อง พิธีแต่งงานของชาวบ้านอเมริกันจึงห่างไกลจากอลังการ ส่วนใหญ่จะเชิญนักเทศน์มาประกอบพิธีกันง่ายๆในบ้านของเจ้าสาว ตัวเจ้าสาวเจ้าบ่าวเองก็แต่งชุดที่ดีที่สุดที่มี จาก 2-3 ชุดที่มีอยู่ เจ้าสาวเย็บเสื้อเอง ถ้าแต่งงานกันในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน เจ้าสาวก็เย็บชุดวิวาห์ด้วยผ้าฝ้ายหรือผ้าป่านสีอ่อน พอแต่งงานเสร็จแล้วก็นำมาสวมในโอกาสอื่นได้อีก ไม่แขวนไว้เฉยๆ โดยมากเสื้อกับกระโปรงจะแยกเป็นสองชิ้น เพื่อแยกกันสวมกับเสื้อหรือกระโปรงตัวอื่นได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|