เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83648 โปรตุเกสเข้าเมือง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 12 พ.ค. 11, 11:21

ในหนังสือเล่มนี้ มีบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในเขมรเพิ่มขึ้นมาอีกคน   เรียกชื่อว่า Prince Ream  เจ้านายองค์นี้เป็นผู้ทำรัฐประหารนักพระสัตถา 
 เมื่อทัพอยุธยาของสมเด็จพระนเรศวรเข้าตีละแวก     ทำให้นักพระสัตถาต้องหนีออกจากละแวก  ตอนแรกไม่ได้ตรงไปที่หลวงพระบางเสียเดียว  แต่ไปพักอยู่ที่เมืองศรีสันธร(Srei Santhor)  จนกระทั่ง Prince Ream กบฏขึ้นมา   นักพระสัตถาจึงออกจากศรีสันธรไปหลวงพระบาง  แต่ไปสิ้นพระชนม์เสียระหว่างทาง

Prince Ream เป็นใคร    ดิฉันเข้าใจว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่พงศาวดารเขมรเรียกว่า พระเชษฐาแห่งเจิงเปรีย (Chettha Chung Prey)ครองบัลลังก์เขมรอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2137 - พ.ศ. 2139  ตามบันทึกข้างล่างนี้   พระเชษฐานอกจากยึดอำนาจได้แล้ว  ยังรวบรวมพลขับไล่ทัพอยุธยาออกจากเขมรได้สำเร็จ
น่าจะเป็นเหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกทัพกลับไปอยุธยา แล้วให้พระมหามนตรีรักษาสถานการณ์อยู่ที่เมืองอุดงฯ   พระเชษฐาอยู่ในเมืองหลวงจึงรวบรวมกำลังได้

ในระยะนี้เองที่เวโลซูกลับมาเขมรพอดี   ทัพไทยที่ล่าถอยไปก็เลยจับตัวทั้งเวโลซูและรูอิซ  รวมทั้งบาทหลวงที่มาเผยแพร่ศาสนา เอากลับไปอยุธยา แต่รูอิซหนีกลับมะนิลาได้   ส่วนเวโลซูตกเป็นเชลยศึกอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะทำอุบาย ออกจากอยุธยาไปมะนิลาได้สำเร็จ


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 12 พ.ค. 11, 12:59

Ream เขียนตามการออกเสียงของทางเขมรว่าเรียม แต่จะเขียนว่า ราม ครับ wiki ภาษาอังกฤษเรียกกษัตริย์เขมรพระองค์นี้ว่า Reamea (รามา) Chungprey อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์เคยเขียนในบทความเรื่อง ไม่มี"พิธีปฐมกรรม" "โลหิตล้างพระบาท"ก็ไม่มี พระนเรศวรตีเมืองละแวก แต่ไม่ได้"ฆ่า"พระยาละแวก ใช้ชื่อว่า องค์นักพระราม ไม่แน่ใจว่าถอดเสียงมาจากตเนฉบับภาษาสเปนหรือไม่ ผมหายังต้นฉบับมาตรวจสอบไม่ได้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 13 พ.ค. 11, 08:47

ขอบคุณค่ะคุณม้า  เกือบจะเขียนเป็นเจ้าชายรีม เสียแล้ว
กลับมาต่อเรื่องโปรตุเกสเข้าเมืองเขมร และลาว ให้จบกระทู้เสียที 

เวโลซูอ้างว่าตัวเองคือตัวแทนผู้มีอำนาจเต็มของนักพระสัตถา พระเจ้าแผ่นดินเขมรองค์ก่อน   จึงสามารถลงนามในสนธิสัญญา ซึ่งยินยอมให้กองทหารสเปน  พ่อค้าและผู้เผยแพร่ศาสนาได้เดินทางเข้าออกเขมร ไปไหนมาไหนได้อย่างเสรี   แลกกับการขอกำลังสเปนไปช่วยบ้านเมืองเขมรทำศึกกับอยุธยา    แล้วยังสัญญาด้วยว่าพระเจ้าแผ่นดินเขมรกับพระมเหสีจะตกลงเปลี่ยนศาสนามาเป็นชาวคริสต์
เมื่อทำแบบนี้ก็ได้กองกำลังกลับไป   

เมื่อกลับมาที่เขมร ทั้งเวโลซูและรูอิซก็ไปขึ้นท่าที่เมืองญวน แล้วเดินทางบกไปที่ลาว เพื่อติดตามเชิญนักพระสัตถากลับมาครองราชย์ตามเดิม     เมื่อไปถึงพบว่า ทั้งนักพระสัตถาและพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว   สองคนนี้ก็เลยกลับมาพนมเปญ  พ่วงพระโอรสองค์น้อยกลับมาด้วย
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 13 พ.ค. 11, 09:09

      พงศาวดารเขมรเล่าถึงตอนนี้ว่า
   
      “ลุศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตร   มีฝรั่งคนหนึ่งชื่อละวิศเวโล…ฝรั่งนั้นไปเชิญพระบรมราชา ผู้เป็นพระราชบุตรน้อยของพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี(หมายถึงนักพระสัตถา)มาจากเมืองลาว เมื่อศักราช ๙๕๙ ศกระกานักษัตร…ลงมาทรงราชย์อยู่ ณ เมือง ศรีส่อชอ"

     ส่วนหลักฐานทางสเปนก็สอดคล้องกัน คือ

      "พวกสเปนสืบได้ความว่า นักพระสัตถาอยู่ในประเทศลาว จึงออกติดตามเพื่ออัญเชิญให้เสด็จกลับกรุงกัมพูชา พวกหนึ่งไปทางบก พวกหนึ่งไปทางเรือจนถึงเมืองตังเกี๋ย แล้วเดินบกไปประเทศลาวจนถึงนครหลวงของลาว (เขียนชื่อไว้ว่า Alanchan) จึงได้ทราบว่านักพระสัตถาสิ้นพระชนม์แล้ว  พระโอรสองศ์ใหญ่และพระธิดาก็สิ้นพระชนม์ด้วย เหลืออยู่แต่โอรสอีกองศ์หนึ่งมีชื่อว่า Prauncar กับพระมารดาเลี้ยงพระอัยยิกา และพระมาตุฉาหลายพระองค์ (ไม่บอกจำนวน) จึงอัญเชิญท่านเหล่านี้ลงเรือ ล่องลงมาตามลำน้ำ (โขง) จนเข้าเขตแดนกัมพูชา"
      พระโอรส Prauncar  คือ  พระบรมราชารามาธิบดีที่ 3 (Barom Reachea III)
      เมื่อพระบรมราชาฯ ขึ้นครองราชย์  ก็ปูนบำเหน็จฝรั่งโปรตุเกสและสเปนอย่างงาม  คือให้เป็นเจ้าเมืองด้วยกันทั้งคู่   รูอิซไปกินเมืองตรัน    ส่วนเวโลซูกินเมืองบาพนม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 13 พ.ค. 11, 09:12

ไม่รู้ว่าในรอบๆเมืองละแวกและอุดงฤาชัย นั้นจะมีหมู่บ้านโปรตุเกส เหมือนอย่างในพม่าและสยาม หรือไม่  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 13 พ.ค. 11, 19:44

      เรื่องก็ยังไม่จบเพียงแค่นี้  เพราะเขมรมีชาวต่างชาติอีกกลุ่มหนึ่ง มีบทบาทสำคัญขึ้นมาแทนโปรตุเกส  คือพวกทหารมุสลิมชาวมาเลย์ ที่มาทำหน้าที่ทหารรักษาพระองค์ในราชสำนักเขมร ตั้งแต่สมัยพระเชษฐาแห่งเจิงเปรีย     เรื่อยต่อมาจนถึงสมัยพระบรมราชาที่ ๓    ทหารพวกนี้เริ่มกุมอำนาจในราชสำนักมากกว่าพระเอกทั้งสอง ซึ่งไปเป็นเจ้าเมืองอยู่ห่างไกลเมืองหลวง
      ในที่สุด หลังจากคุมเชิงกันมานาน   ก็ถึงจุดระเบิด  ทหารมาเลย์กับทหารสเปนเกิดปะทะกันขึ้นมาเป็นศึกกลางเมืองในพนมเปญ   ในค.ศ. 1599  ตอนนั้นเวโลซูมาเฝ้าในราชสำนัก  พระบรมราชาฯ ทรงสั่งให้กลับไปเมืองบาพนมเพื่อความปลอดภัย   แต่เขาไม่กลับ  แต่เข้าไปร่วมรบกับพวกคริสต์ต่อต้านพวกมุสลิม
     ศึกกลางเมืองลุกลามเป็นสงครามนองเลือดกันแบบเลือดท่วมท้องช้าง       พวกฝรั่งถูกสังหารกวาดล้างเหี้ยนเตียนไม่มีเหลือ     ในวิกิบอกว่าเวโลซูหนีรอดไปมะละกาได้  แต่ตามหลักฐานใน Portuguese American Historical &Research Foundation เล่าว่าเวโลซูถูกฆ่าตายในศึกกลางเมืองครั้งนี้      และที่ร้ายกว่านี้ก็คือพวกกบฏปลงพระชนม์พระบรมราชาที่ ๓  ด้วย  ในเวลาไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
     เวโลซูได้รับการยกย่องอย่างสูงในเขมร  ในความกล้าหาญและจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินเขมร     เป็นที่จดจำกันมาหลายร้อยปีจนต้นศตวรรษที่ ๒๐  ในค.ศ. ๑๙๓๔   ข้าหลวงใหญ่ชาวฝรั่งเศสที่ปกครองเขมรอยู่ สร้างรูปปั้นให้เป็นอนุสรณ์ในเมืองนาคหลวง (Neak Luong)   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 13 พ.ค. 11, 20:56

ไม่รู้ว่าในรอบๆเมืองละแวกและอุดงฤาชัย นั้นจะมีหมู่บ้านโปรตุเกส เหมือนอย่างในพม่าและสยาม หรือไม่  ฮืม

ดิฉันยังหาข้อมูลไม่เจอว่ามีโปรตุเกสตั้งหมู่บ้านอยู่ในเขมรหลังค.ศ. 1599 ซึ่งเป็นปีที่โปรตุเกส สเปนและญี่ปุ่นถูกฆ่าชนิดกวาดล้างจากพนมเปญอีกหรือเปล่า   อาจจะไม่มีอิทธิพลในเขมรอีกก็เป็นได้     
ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์โปรตุเกส ก็พบว่า ตั้งแต่ค.ศ. 1580 โปรตุเกสเริ่มเสื่อมถอยจากอำนาจ  สเปนผงาดขึ้นมาแทน แม้ว่ายังแยกปกครองกันเป็นอิสระก็ตาม      ด้วยเหตุนี้ ผลที่ตามมาคืออาณานิคมของโปรตุเกสในเอเชียก็ถูกช่วงชิงบ้าง เปลี่ยนมือบ้าง ไปทีละแห่งสองแห่ง   
ไหนจะสเปน  ไหนจะฮอลันดา  แล้วก็ยังมีสองมหาอำนาจคือฝรั่งเศสกับอังกฤษ  ซึ่งพอเลิกรบกันหลังจบสงครามวอเตอร์ลู  ในค.ศ.1815  ก็มาคิดได้ว่าจะรบกันไปให้เปลืองรี้พลและเงินทองทำไม   แยกย้ายกันไปสำรวจดินแดนไกลๆ  เพื่อหาเงินเข้าประเทศกันดีกว่า 

จุดนี้เองคือยุคเริ่มของการล่าอาณานิคม ที่โปรตุเกสและสเปนวางรากฐานไว้ก่อนแล้ว    โปรตุเกสมีกำลังคนน้อยกว่า   อิทธิพลก็สู้ประเทศที่มาทีหลังไม่ได้     เริ่มเสียอินเดียโปรตุเกส และมะละกาให้ฮอลันดาไปในคริสตวรรษที่ 17   เป็นจุดจบของการค้าทางทะเลที่โปรตุเกสเคยผูกขาดในมหาสมุทรอินเดีย   แม้ว่าเหลือเมืองกัวในอินเดียและมาเก๊าเอาไว้  แต่ก็ไม่แทบจะไม่มีบทบาทไปเข้าเมืองไหนอีก   
จบตำนานโปรตุเกสในเอเชียอาคเนย์เพียงนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 17 พ.ค. 11, 17:46

ยังติดคำถามเรื่องนี้อยู่ในใจ   ว่าโปรตุเกสหมดไปจากเขมรตั้งแต่ถูกกวาดล้างในพนมเปญเมื่อค.ศ. 1599 จริงหรือ   สอดส่องอินทรเนตร(ศัพท์ของคุณดีดี) ต่อมาสักพัก ก็พบว่ายังไม่หมด
มีชาวเขมรเชื้อสายโปรตุเกส ซึ่งยังใช้ชื่อสกุลโปรตุเกสตามบรรพบุรุษข้างพ่อ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขมรต่อมาอีก     ในต้นศตวรรษที่ 17  พวกนี้พยายามฟื้นฟูอิทธิพลในเขมรขึ้นมาอีก หลังจากถูกฮอลันดาขับไล่ออกจากสุมาตรา
มีหลักฐานเพิ่มเติมนิดหน่อยว่า ในค.ศ. 1811 คือเมื่อต้นศตวรรษที่ 19   แพทย์หลวงประจำพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินเขมรชื่อ
Joseph de Monteiro    และล่ามของพระเจ้านโรดมชื่อ  Bernard Kol de Monteiro

พวกโปรตุเกสค้นพบนครวัดก่อนฝรั่งเศส    แต่ฝรั่งเศสเป็นคนเผยแพร่ชื่อเสียงของนครวัดให้ขจรขจายไปทั่วโลก
บันทึกการเข้า
Bidya Sriwattansarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 13:50

ในขณะที่ชาวโปรตุเกส ได้รับพระราชทานที่ดินด้านใต้กรุงศรีอยุธยา อีกสายหนึ่งทูตโปรตุเกสก็เดินทางเข้าไปยังพม่าใน ค.ศ. 1511 เช่นเดียวกันโดยปัจจุบันนี้คือ เมืองสิเรียม เป็นดินแดนแห่งโปรตุเกสครับ

เมื่อการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างโปรตุเกสกับพม่า ในช่วงพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เหล่าทหารโปรตุเกส และเหล่านักบวช ก็ดำเนินกิจกรรม การค้า ขายปืน ขายเครื่องรบ เพื่อรบกับไทย ในขณะเดียวกันฝ่ายไทย ก็เจริญด้วยการค้า ปืนไฟ เกราะ และเทคนิคการต่อสู้จากโปรตุเกสเช่นเดียวกัน

แทรกภาพชาวโปรตุเกสในเมืองสิเรียม

ภาพล่างผมมั่นใจว่า เป็นจิตรกรรมศิลปะนันบัน(Nan ban Art ) ของญี่ปุ่น ส่วนภาพบนไม่เคยเห็นมาก่อน แต่อาจเป็นภาพจิตรกรรมชุดเดียวกัน
บันทึกการเข้า
Bidya Sriwattansarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 14:07

ต่อเรื่องจับปิ้งอีกนิดนึง

พอเห็นต้นศัพท์ดังกล่าว ผมก็ตื่นเต้นเล็กน้อย สมัยนี้สงสัยใคร่รู้อะไรเข้าเวปแพร๊บเดียวก็รู้เรื่อง ผมจึงรีบเอาคำว่า chapinhaไปค้นหาในกูเกิลต่อ หวังจะได้รูปจับปิ้งของแท้ของโปรตุเกสเอามาฝาก
 
แต่รูปทั้งหมดที่เจอ กลับกลายเป็นไอ้เจ้าข้างล่างนี่ ไทยแปลจากคำภาษาอังกฤษมาตรงๆว่า เครื่องดัดผม

ผมก็ไม่รู้ภาษาโปรตุเกสแม้กระจิ๊ดเดียว ไม่สามารถจะค้นต่อได้ว่า เจ้าเครื่องดัดผมมือถือเนี่ย มันจะเป็นคำแผลงมาจากจับปิ้งได้อย่างไร มีผมตรงนั้นสักเส้นให้ดัดที่ไหน

เชิญท่านอื่นต่อครับ

ผมขออนุญาตเรียนชี้แจงว่า บทความเรื่อง "ฤาจับปิ้งเด็กไทยจะมาไกลจากโปรตุเกส" นั้น เป็นการตั้งสมมติฐานโดยต่อยอดจากข้อค้นพบรากศัพท์คำว่า "จับปิ้ง" ในภาษาโปรตุเกส ซึ่งเสนอโดยบาทหลวง Manuel Teixeira นักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกส และได้แจ้งที่มาของเอกสารอ้างอิงอย่างชัดเจนในหนังสือชื่อ  The Portuguese Missions in Malacca and Singapore(1511-1958) Volme III-Singapore(1987 p.485-486) และรู้สึกยินดีที่มีการdeateอย่างออกรสออกชาติดังปรากฏข้างต้นไปแล้วครับ ยุคนี้ "จะปินญา"(chapinha) อาจแปลว่า "เครื่องหนีบผม, ดัดผม" ในGoogle แต่ก่อนหน้านี้ ผมไม่เชื่อว่า บาทหลวงไตไซราจะโมเมคิดเป็นตุเป็นตะตั้งชื่อในภาษาโปรตุเกสเอาเองแต่อย่างใดครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 14:23

คำว่า chapinha ในภาษาโปรตุเกส แปลตามตัวว่า flat iron หรือแผ่นเหล็กแบน    เครื่องเหยียดผม ที่เรียกว่า chapinha เพิ่งคิดค้นขึ้นมาเมื่อค.ศ. 1882 นี้เอง
คำว่า chapinha  ถ้ามีในภาษาโปรตุเกสก่อนหน้านี้  ก็แสดงว่าเป็นแผ่นเหล็กแบนที่ใช้ในเรื่องอื่น  วัตถุประสงค์อื่น   ไม่ใช่เอาไว้หนีบผมให้เหยียดตรง

เด็กโปรตุเกสไม่ใช้จับปิ้งแน่นอน  สภาพอากาศทำให้ไม่ควรคาดอะไรให้เกะกะร่างกาย  เพราะสวมเสื้อผ้าก็รุ่มร่ามมิดชิดพออยู่แล้ว

แต่ถ้าอาจารย์พิทยะและบาทหลวงหมายถึงว่า  ในภาษาโปรตุเกสมีตำว่า chapinha  ซึ่งฟังสำเนียงคล้ายๆจับปิ้ง   จึงอาจเป็นได้ว่าศัพท์"จับปิ้ง" มาจากภาษาโปรตุเกส  แต่แปลว่าอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่จับปิ้ง
สมมุติว่าโปรตุเกสใช้คำว่า chapinha (จะปินญา) ในความหมายดั้งเดิมของเขาว่า แผ่นเหล็กเล็กๆ ( ซึ่งจะใช้ทำอะไรก็ได้)   พอมาเห็นเด็กสยามคาดจับปิ้ง  เลยเรียกว่า  อ้อ  เด็กหญิงชาวสยามคาดจะปินญา   คนไทยเลยเรียกตามว่าจับปิ้ง  
แล้วถ้างั้น ก่อนบาทหลวงจะเรียก   ชาวบ้านสยามเขาเรียกอะไรล่ะคะ    เมื่อมันมีวัตถุขึ้นมาแล้ว มันก็น่าจะมีชื่อเรียกมาก่อนหน้านี้ด้วย    ไม่ต้องรอฝรั่งตั้งให้ก่อน
อีกอย่าง จับปิ้งไทยไม่ได้ทำด้วยเหล็ก   เด็กชาวบ้านใช้กะลามะพร้าวเจาะรูร้อยเชือกคาดเอว    ถ้าเป็นคนมีเงินอาจใช้โลหะ  เช่นเงิน   แต่ก็ไม่ใช่เหล็กแน่นอน    เหล็กเป็นของหายากสำหรับชาวสยาม 
บันทึกการเข้า
Bidya Sriwattansarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 14:27

จดหมายเหตุที่ลาลูแบร์ กล่าวถึง
ผมเคยอธิบายไว้ว่า คำว่า "(วัด)ตึก" น่าจะพัฒนามาจากรากศัพท์ภาษาโปรตุเกสว่า " เฝ- ต๊อ- ริ -ยา feitoria" แปลว่า โรงสินค้า (โดยต่อยอดจากงานเขียนของลาลูแบร์ ฉบับแปลของ อ.สันต์ ท. โกมลบุตร ดูเพิ่มเติมใน สยามโปรตุเกสศึกษาครับ)  ฉบับที่นำมาอ้างนี้น่าจะแปลคลาดเคลื่อนไปบ้าง จนทำให้เกิด "นายแฟกเตอร์" ซึ่งน่าจะไม่เคยมีตัวตนขึ้นมา กล่าวคือการก่อสร้างอาคารแบบก่ออิฐถือปูนในสยาม น่าจะเป็นพัฒนาการที่มาจากรูปแบบของโรงสินค้าของโปรตุเกสนั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับร่องรอยที่ปรากฏในบันทึกของชิมอง เดอ ลาลูแบร์ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Bidya Sriwattansarn
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 14:59

คำว่า chapinha ในภาษาโปรตุเกส แปลตามตัวว่า flat iron หรือแผ่นเหล็กแบน    เครื่องเหยียดผม ที่เรียกว่า chapinha เพิ่งคิดค้นขึ้นมาเมื่อค.ศ. 1882 นี้เอง
คำว่า chapinha  ถ้ามีในภาษาโปรตุเกสก่อนหน้านี้  ก็แสดงว่าเป็นแผ่นเหล็กแบนที่ใช้ในเรื่องอื่น  วัตถุประสงค์อื่น   ไม่ใช่เอาไว้หนีบผมให้เหยียดตรง

เด็กโปรตุเกสไม่ใช้จับปิ้งแน่นอน  สภาพอากาศทำให้ไม่ควรคาดอะไรให้เกะกะร่างกาย  เพราะสวมเสื้อผ้าก็รุ่มร่ามมิดชิดพออยู่แล้ว

แต่ถ้าอาจารย์พิทยะและบาทหลวงหมายถึงว่า  ในภาษาโปรตุเกสมีตำว่า chapinha  ซึ่งฟังสำเนียงคล้ายๆจับปิ้ง   จึงอาจเป็นได้ว่าศัพท์"จับปิ้ง" มาจากภาษาโปรตุเกส  แต่แปลว่าอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่จับปิ้ง
สมมุติว่าโปรตุเกสใช้คำว่า chapinha (จะปินญา) ในความหมายดั้งเดิมของเขาว่า แผ่นเหล็กเล็กๆ ( ซึ่งจะใช้ทำอะไรก็ได้)   พอมาเห็นเด็กสยามคาดจับปิ้ง  เลยเรียกว่า  อ้อ  เด็กหญิงชาวสยามคาดจะปินญา   คนไทยเลยเรียกตามว่าจับปิ้ง  
แล้วถ้างั้น ก่อนบาทหลวงจะเรียก   ชาวบ้านสยามเขาเรียกอะไรล่ะคะ    เมื่อมันมีวัตถุขึ้นมาแล้ว มันก็น่าจะมีชื่อเรียกมาก่อนหน้านี้ด้วย    ไม่ต้องรอฝรั่งตั้งให้ก่อน
อีกอย่าง จับปิ้งไทยไม่ได้ทำด้วยเหล็ก   เด็กชาวบ้านใช้กะลามะพร้าวเจาะรูร้อยเชือกคาดเอว    ถ้าเป็นคนมีเงินอาจใช้โลหะ  เช่นเงิน   แต่ก็ไม่ใช่เหล็กแน่นอน    เหล็กเป็นของหายากสำหรับชาวสยาม 
บางทีวิเคราะห์และตีความเกินหลักฐาน มันสนุกก็จริง แต่ก็ชวนให้ปวดศีรษะเหมือนกันนะครับ เฮ้อ ... ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 15:34

ขอต้อนรับสู่เรือนไทยค่ะ
ถ้าอาจารย์นั่งในเรือนไทยไปสักพัก  สมองจะเกิดภูมิคุ้มกันเองค่ะ จากนั้นก็จะสนุกไปเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 21 พ.ค. 11, 18:45

^
^
^
โปรตุเกสเข้าเมืองมาแล้ววว


ด้วยความเคารพครับ ท่านอาจารย์ Bidya Sriwattansarn
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง