เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83492 โปรตุเกสเข้าเมือง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 11:45


เพ็ญชมพู
อ้างถึง
สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสแบบที่คุณวิกกี้อธิบาย รู้สึกจะเน้นว่าต้องมี "อาเขต"

ขอความรู้คุณนวรัตนเรื่อง "อาเขต" ว่าเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโปรตุเกสหรือไม่

ผมว่าไม่มีครับ
 
เอาอาคารในประเทศโปรตุเกสมาให้ดูก่อน สถาปัตยกรรมคลาสสิกที่นั่นนอกจากจะรับอิทธิพลของกรีกและโรมันมาแล้ว ยังได้ของแขกมัวร์อิสลามมาด้วยแต่น้อยกว่าเสปญมาก





บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 11:46


นี่เป็นอาคารในบราซิล ที่บอกว่าเป็นแบบที่โปรตุเกสนำมา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 11:48

คราวนี้ตึกแถวร้านค้าในภูมิภาคเขตมรสุมของเอเซีย ทำไมจึงต้องมีทางเดินใต้อาคารที่เรียกว่าอาเขต ผมเชื่อว่านั่นเป็นเพราะภูมิอากาศที่ฝนตกชุก  บางวันตกติดต่อกันเป็นสัปดาห์ ดังนั้น เพื่อที่จะให้ค้าขายได้ ไม่ต้องลำบากลำบนจนเกินเหตุ จึงออกแบบอาคารริมถนนให้มีทางเดินใต้อาคาร กันเปียก

นี่เป็นอาคารในกัว เมืองขึ้นของโปรตุเกศในอินเดีย ไม่ใช่ทุกอาคารจะมีอาเขตดังกล่าว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 11:53

ใน ภูเก็ต ตะกั่วป่า และระนอง ที่เป็นTin Beltของเมืองไทย รับอิทธิพลของพวกจีนมาเลย์เข้ามาเต็มๆ รูปแบบของอาคารจึงมีอาเขต ซึ่งก็เหมาะสมดีตามสภาพภูมิอากาศ

เพียงแต่เสียดายว่าไม่มีกฏหมายรองรับ เจ้าของอาคารบางคูหาจึงถือโอกาสว่าโฉนดส่วนทางเดินนั้น ตนเป็นเจ้าของ จึงปิดกั้นไม่ให้ใครเดินผ่าน

อาเขตเลยเป็นหมันไป




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 18:32

ไม่มีใครมาตอบเรื่องโปรตุเกสยังปักหลักอยู่ในกรุงศรีอยุธยามายาวนานจนถึงเสียกรุงครั้งที่ 2 หรือไม่  ก็เลยไปหาคำตอบมาเอง  
เจอคำตอบว่า โปรตุเกสอยู่ในอยุธยามาต่อเนื่องยาวนานค่ะ

หลักฐานจากหอจดหมายเหตุ ของหออัครสังฆมณฑลกรุงเทพ เล่าว่ามาถึงปีพ.ศ. 2310( ค.ศ. 1767) ทหารพม่าบุกเข้าทำลายกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระสังฆราชของคาทอลิคถูกจับ นำตัวไปประเทศพม่า โบสถ์ถูกเผา บ้านถูกปล้น พวกคริสต์ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย     ส่วนพวกที่หนีเอาตัวรอดได้ก็หนีกระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ   บางกลุ่มก็หนีลงมาบางกอก
มีชาวโปรตุเกสตระกูลหนึ่งชื่อตระกูลรูดิเกวช   เป็นช่างทำอัญมณีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์   มีลูกหลานสืบทอดมาจนกระทั่งสมัยพระเจ้าเอกทัศ   เมื่อเสียกรุง  พวกนี้หนีไปตั้งหลักใหม่ที่ธนบุรี   เข้าร่วมรบในฐานะทหาร ในสงครามกู้อิสรภาพของสมเด็จพระเจ้าตากสินเมื่อปี พ.ศ.2311(ค.ศ.1768)
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกอบกู้เอกราชคืนมาได้   ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี   พวกคริสต์ในสยามก็เริ่มรวมตัวกันได้อีกครั้ง    บาทหลวงกอรร์ (Corre) ซึ่งได้ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศเขมรได้เดินทางกลับเข้ามาอีกครั้ง  รวบรวมชาวคริสต์ที่บางกอกซึ่งมีจำนวนถึง 400 คน ให้มาอยู่รวมกัน
ด้วยความดีความชอบของชาวคริสต์  สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งสำหรับสร้างโบสถ์      คุณพ่อกอรร์ได้ตั้งชื่อว่า   "วัดซางตาครู้ส"  หลักฐานปรากฏในจารึกประกาศพระราชทานที่ดินในการสร้างโบสถ์ซางตาครูซแก่ชาวโปรตุเกส เมื่อปีค.ศ.1768 ซึ่งบาทหลวงไตไซราเป็นผู้รวบรวมไว้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 18:49

ย้อนกลับมาเรื่องสถาปัตยกรรมลูกผสมโปรตุเกส   ไม่กล้าใช้คำว่าชิโนปอร์ตุกีส  เพราะท่านก็บอกแล้วว่าไม่มี้...ไม่มี   ยิ้มเท่ห์
ตึกนี้เคยเอามาทายกันในกระทู้เก่า  สมัยแก๊งค์ช้อนลูกน้ำและแก๊งค์ย่อยหินยังว่างงาน      ขอซ้อมความเข้าใจของตัวเองว่ามันคือ  “Straits” Eclectic Style ใช่ไหมคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 19:04

ตึกลูกผสมผรั่งๆจีนๆในกรุงเทพ ผมเชื่อว่ามีอิทธืพลมาจากพวกเซี่ยงไฮ้นะครับ
สมัยก่อนช่างก่อสร้างเซี่ยงไฮ้มีชื่อมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 19:14

สอบตกไปหนึ่งตึก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 02 พ.ค. 11, 19:31

อ.พิทยะ ศรีวัฒนสารยังสันนิษฐานด้วยว่า  ชาวโปรตุเกสและชาวกรุงศรีอยุธยาอาจมีการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่วัฒนธรรมทางดนตรีกัน    และอาจเป็นที่มาของเพลงไทยเดิมสำเนียงฝรั่ง อาทิ เพลงต้นบรเทศ หรือต่อมาเราเรียกว่า ต้นวรเชษฐ   
อ.พิทยะเคยเสนอว่า คำว่า บรเทศ    มีรากเหง้ามาจากคำว่า ปูรตุเกช(Português หรือ portuguêsa ในภาษาโปรตุเกส

มาฟัง ต้นบรเทศ กันดีกว่า



ถ้าบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีฝรั่ง  สำเนียงเป็นฝรั่งไหมคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 03 พ.ค. 11, 19:58

     ขอย้อนกลับไปถึงโปรตุเกสสมัยปลายอยุธยา
     แม้ว่าชุมชนโปรตุเกสอยู่ในอยุธยามาได้จนถึงเสียกรุงครั้งที่ 2    แต่เส้นทางชีวิตของพวกนี้ก็ไม่ใช่ว่าราบรื่น   ทหารโปรตุเกสไปทัพ ร่วมรบกับกองทัพอยุธยาต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัยก็จริง     แต่ในบันทึกของบาทหลวงเจซูอิทที่ส่งไปโรม เล่าว่าเมื่อดัทช์แผ่อิทธิพลมาถึงเอเชียอาคเนย์    โปรตุเกสก็กลายเป็นแพะตัวใหญ่ให้อยุธยาเชือด   ทั้งๆโปรตุเกสก็ไม่ได้ก่อเรื่องอะไรขึ้นมาเลย

      เรื่องมีอยู่ว่า ในค.ศ. 1624   เรือดัทช์กับสเปนเกิดปะทะกันในน่านน้ำไทย    ในข้อมูลบอกว่า สเปนเป็นฝ่ายโจมตีเรือ  VOC  yacht ของดัทช์ชื่อ “Zeelandt” ที่แล่นผ่าน       เรือดัทช์ที่ว่าเป็นเรือสินค้าใหญ่เล็กขนาดไหน หน้าตาเป็นยังไงยังนึกไม่ออก    เขาบอกไว้สั้นๆแค่นี้    ก็ขอให้คนอ่านช่วยกลืนลงคอไปแบบฝืดๆแบบนี้  
       จะไปขอผู้เชี่ยวชาญมาช่วยอธิบายอีกสักครั้งก็เกรงใจ     ขอทีไรกลายเป็นให้การบ้านท่านไปทุกที     ก็ขอหมายเหตุว่า...แล้วแต่ท่านจะเมตตาเด็กๆแถวนี้แล้วกันนะคะ

       เรื่องนี้เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม   พระองค์ทรงเข้าข้างดัทช์ ปราบปรามสเปนอย่างเฉียบขาด   สังหารสเปนตายไป  150 คน  ที่เหลือก็ถูกจับ   เรือสเปนถูกยึด     ศึกครั้งนี้ทำเอาอยุธยาหวิดจะเกิดศึกใหญ่กับกองกำลังทหารสเปนซึ่งปักหลักอยู่ที่มาเก๊า      ส่วนโปรตุเกสซึ่งไม่รู้อีโหน่อีเหน่ก็เจองานเข้า   ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นคอเดียวกับสเปน     ความดีความชอบทั้งหลายที่เคยทำมา ก็หายวับไป  ไม่เป็นที่ไว้ใจของราชสำนักอยุธยาอีก

       ประวัติศาสตร์ไทยช่วงนี้ที่บาทหลวงฝรั่งเขียนไว้   เหมือนจิ๊กซอ เพราะมันขาดๆไม่มีที่มาที่ไปให้เข้าใจได้   ต้องค่อยๆปะติดปะต่อกัน  ด้วยกาวตราเดา   อาจผิดหรือถูกก็ได้  ไม่รับรอง   คือเดาว่าเรือดัทช์ที่ว่านั้นเป็นเรือสินค้ามาค้าขายกับอยุธยา จะขามาหรือขากลับก็ไม่รู้ละค่ะ  เคราะห์ร้าย ไปเจอเรือโจรสลัดสเปน    
       อย่างที่ท่าน NAVARAT เคยอธิบายเรื่องโจรสลัดไว้ ว่าพวกฝรั่งที่มาแสวงโชคหรือมาทำราชการงานเมืองแถวนี้   ปะเหมาะ อาจจะทำ part time เป็นโจรสลัดขึ้นมาเฉยๆ ก็ได้ ถ้าจังหวะเหมาะมีเหยื่อผ่านเข้ามา   เพราะยังไงก็ไม่มีตำรวจน้ำของประเทศไหนมาลาดตระเวนตรวจตราอยู่แล้ว

        ในเมื่อสเปนปล้นเรือค้าขายกับอยุธยา พระเจ้าทรงธรรมก็เดือดร้อน เพราะรายได้ค้าขายของอยุธยามีสิทธิ์ลดฮวบ หากเจอเข้าบ่อยๆ    จะทรงปล่อยไว้กระไรได้     ก็ทรงส่งกองทัพเรือไปปราบโจรสลัดสเปนเสียเหี้ยนเตียน      ส่วนโปรตุเกสที่งานเข้าเดาได้ 2 ทางคือถูกส่งลงเรือไปปราบโจรสลัดสเปนแล้วทำงานเหยาะแหยะ ปราบไม่สำเร็จ   กลายเป็นพี่ไทยอยุธยาปราบอยู่ฝ่ายเดียว     หรืออีกทางหนึ่ง โปรตุเกสไปเข้ากับโจรสลัดสเปน  อาจจะถ่วงโยกโย้หรือรู้เห็นเป็นใจกัน    แต่ทัพเรือไทยของพระเจ้าทรงธรรมเก่งกว่า   ชนะศึกกลับมากราบทูลฟ้องพระเจ้าแผ่นดิน    โปรตุเกสในอยุธยาเลยเดือดร้อนกันไปหมดเพราะเป็นปลาข้องเดียวกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 03 พ.ค. 11, 20:37

ตอนนี้มีตัวละครเพิ่มเข้ามา 3 ประเทศแล้ว คือ โปรตุเกส, สเปน และฮอลันดา (ดัชท์)

ซึ่งลักษณะของทั้งสามประเทศต่างเป็นคู่แข่งกันอย่างสิ้นเชิง จะขอเล่าสักเล็กน้อยพอให้ทราบถึงสถานภาพทั้งสามคือ สเปน เป็นประเทศใหญ่มีอำนาจมากในการเดินเรือ และมีคู่แข่งคือ โปรตุเกส ซึ่งแข่งขันทางด้านแสวงหาดินแดนเช่นเดียวกัน จนกระทั้งทำสงครามกันและได้ถูกตัดสินให้โลกตะวันออกเป็นของโปรตุเกส โลกตะวันตกเป็นของสเปน

พอโปรตุเกสเข้ามาแพร่อิทธิพลที่ เมืองกัว ที่มะละกา ที่อยุธยา ที่สิเรียม ที่มะนิลา ที่ชวา ที่มาเก๊า ไม่นานนัก ซึ่งตรงกับช่วงหลังสมัยพระนเรศวรมหาราช ประเทศโปรตุเกส กลับถูกสเปนยึดประเทศไป ทำให้อิทธิพลทางการค้าดับลงไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งดับ มีฝ่ายหนึ่งเด่นขึ้นมาแทนที่คือ "ฮอลันดา"

ฮอลันดา เป็นดินแดนในการยึดครองของโปรตุเกส เมื่อโปรตุเกสถูกรวมเข้ากับสเปน ฝ่ายฮอลันดาก็ได้โอกาสขึ้นเป็นเอกราช ออกเดินเรือเป็นคู่แข่งกับเขาบ้าง และเป็นคู่แข่ง คู่สงครามกับโปรตุเกสกันอยู่เนืองๆ จะสังเกตุว่าไม่นานนัก ราชสำนักอยุธยาก็อ้าแขนเปิดรับชาวดัชท์เข้าประเทศ ทำให้ฝรั่งสามชาตินี้แข่งกัน ทะเลาะกัน แย่งกันอยู่เนืองๆ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 03 พ.ค. 11, 21:07

อ่านจดหมายเหตุของบาทหลวงเยซูอิทย่อหน้าต่อไป แล้วพบว่าตัวเองเดาถูก 1 ข้อ คือเรือสเปนที่ว่านั้น ปฏิบัติการเป็นโจรสลัดพาร์ทไทม์จริงๆ    
เมื่อเจออยุธยาเอาเรื่องเข้า     โจรสลัดสเปนก็ตอบโต้กลับมา     กองเรือขนาดใหญ่ของสเปนที่เดินทางมาจากมาเก๊า  ไล่ปล้นสะดมเรือสินค้าหลายลำของอยุธยาเป็นการแก้แค้นที่อยุธยาทำกับสเปน     พอดีกับปลายปี   พระเจ้าทรงธรรมเสด็จสวรรคต  อาณาจักรศรีอยุธยากับสเปนก็กลายเป็นปรปักษ์ฮึ่มฮั่มทำศึกกันไป
ส่วนโปรตุเกสถูกมองว่า ก็แก๊งค์เดียวกับสเปน   คงเป็นเพราะมาถึงยุคนี้  อิทธิพลของสเปนกลืนโปรตุเกสเข้าไปเรียบร้อยแล้ว   ชาวโปรตุเกสจำนวนมากก็เลยถูกจับเข้าคุก    พระเจ้าแผ่นดิน(ในนี้ไม่ได้บอกว่าองค์ไหน   คงจะเป็นสมเด็จพระเชษฐาธิราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 พระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  ผู้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา)กับขุนนางใหญ่น้อยพากันเกลียดชังโปรตุเกสหนักขึ้นทุกที  จนนำไปสู่การยึดเรือสินค้าโปรตุเกสที่บรรทุกสินค้าจีนจากมาเก๊า   ในค.ศ. 1630  ส่วนพวกโปรตุเกสในอยุธยาก็ถูกจับเป็นเชลยตลอด 4 ปี   ทำมาหากินอะไรก็ไม่ได้นอกจากไปเร่ร่อนเป็นขอทานอยู่ตามถนน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 03 พ.ค. 11, 21:56

ถึงตอนนี้ขอเดินเลี้ยวเข้าซอยไปสักนิด

จดหมายเหตุของบาทหลวงนิกายเยซูอิท  ให้ภาพพระเจ้าทรงธรรมแตกต่างจากในพงศาวดารไทย
 
     หลักฐานทางไทยให้ภาพลักษณ์พระเจ้าทรงธรรมเป็นนักปราชญ์  เลื่อมใสทางพุทธศาสนา  มีพระราชกรณียกิจทางพุทธศาสนามากมาย  สมพระนามว่าพระเจ้าทรงธรรม    ก็น่าจะเป็นผู้ใหญ่ที่ค่อนไปทางธรรมะธัมโม  สงบเยือกเย็นอยู่ในศีลในธรรม   ไม่ชอบรบราฆ่าฟัน  ชอบความสงบศานติ    เพราะพงศาวดารไทยยังบอกอีกว่า ทรงมีสัมพันธ์ไมตรีที่ดีกับต่างชาติ  ทั้งดัทช์(ฮอลันดา) อังกฤษและญี่ปุ่น   รัชสมัยของพระองค์นี่เองที่มีการตั้งกรมอาสาญี่ปุ่นขึ้น  เพราะมีชาวญี่ปุ่นสมัครเข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก  ซามูไรญี่ปุ่นที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นขุนพลใหญ่ของอยุธยาคือยามาดะ นางามาซะ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข ก็อยู่ในรัชสมัยนี้
    นอกจากนี้ ทรงบริหารการค้าได้เก่งมาก  ทำให้อยุธยากลายเป็นแหล่งศูนย์รวมการค้าสำคัญ    ฮอลันดาที่เข้ามาค้าขายก็ได้รับไฟเขียวด้วยดี  ถึงขั้นพระราชทานที่ดินบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ริมคลองปลากด เหนือเมืองสมุทรปราการ ให้ชาวฮอลันดาตั้งคลังสินค้า   ในปี พ.ศ. 2115 พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ได้มีพระราชสาส์นทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายที่กรุง ศรีอยุธยาได้สะดวก ก็โปรดอำนวยให้ตามนั้น

    พงศาวดารไทยยังบอกด้วยว่า  พระเจ้าทรงธรรมไม่นิยมการทำสงคราม     จึงต้องเสียเมืองทวาย ให้พม่าที่ยกกำลังมาตีเมืองทวายใน พ.ศ. 2165 ต่อมา กัมพูชาและเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นเมืองประเทศราชมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรต่างก็พากันแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา

     แต่อ่านจากจดหมายเหตุของบาทหลวงเยซูอิท   พระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักรบ และแข็งกร้าวมากทีเดียว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 03 พ.ค. 11, 22:30

มีเรืองเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกการมาของ เดอ ซัวซีย์ เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่า

"เสนาบดีไทยพูดภาษาโปรตุเกสได้ทุกคน ..ก่อนทีเขาจะมากรุงศรีอยุธยาต้องหัดเรียนภาษาโปรตุเกส ควบคู่กับภาษาไทย และในการเผยแพร่ศาสนาศริสต์ของชาวฝรั่งเศสในระยะแรกๆ ก็ต้องใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นสื่อกลาง และภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการทูตในการติดต่อกับชาวยุโรปและการทำสนธิสัญญากับชาวตะวันตก เนื่องจากชาวโปรตุเกสได้เข้ามาในดินแดนแถบนี้ก่อนชนชาติอื่นๆ ภาษาโปรตุเกสจึงเป็นที่เผยแพร่ในดินแดนแถบนี้.."

แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของภาษาโปรตุเกสที่โยงเข้ากับภาษาไทย คงมีด้วยกันหลายคำนะครับ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 03 พ.ค. 11, 22:47

น่าจะมีมากกว่าที่คิดค่ะ   ตกใจ

กลับมาต่อเรื่องโปรตุเกส

     อย่างไรก็ตาม  โปรตุเกสในสยามก็ไม่ได้ถูกพวกเดียวกันทอดทิ้งไม่ดูดำดูดี   ปล่อยให้ยากแค้นแสนเข็ญอยู่อย่างนั้น    ทางนี้คงส่งข่าวไปขอความช่วยเหลือจากต้นสังกัดเดิมคือพวกโปรตุเกสด้วยกัน    เพราะเหตุนี้  ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1633   โปรตุเกสที่มะละกาจึงส่งทูตมาที่ราชสำนักอยุธยา  ถือสาส์นมาขอให้ช่วยปล่อยโปรตุเกสออกจากคุกเสียที
      จดหมายเหตุบอกว่า แต่พระเจ้าแผ่นดินต้อนรับทูตอย่างเสียไม่ได้   แต่ก็ทรงยอมรับสาส์นและปล่อยนักโทษออกจากคุก      ทูตโปรตุเกสจับตาดูเพราะไม่ค่อยไว้ใจ     เห็นท่าไม่ดี  เพราะมีท่าทีว่าจะทรงเปลี่ยนพระทัยขึ้นมา   ทูตก็เลยหอบหิ้วนักโทษทั้งหมด ลงเรือแล่นหนีออกเจ้าพระยาไปปากอ่าว       ทางอยุธยาก็ส่งเรือไล่ตาม   แต่ขบวนการไล่ล่านี้ก็ซ้ำรอยประวัติศาสตร์พระยาจีนจันตุ     เรือโปรตุเกสหนีออกปากอ่าวไปได้
      เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ อยู่ในบันทึกของวันวลิต    เขาบอกว่าพระเจ้าแผ่นดินยิ่งกริ้วและชังน้ำหน้าโปรตุเกสมากพอๆกับเกลียดชังสเปน     ประจวบเหมาะกับปีเดียวกันนั้นพวกนี้เอาเรือไปปิดปากแม่น้ำตะนาวศรี ทำให้เรือสินค้าจากกวางตุ้งเดินทางมาค้าขายที่อยุธยาไม่ได้   ก็ยิ่งเป็นเหตุให้เป็นปรปักษ์หนักเข้าไปอีก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง