เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83658 โปรตุเกสเข้าเมือง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 20:26

ขออนุญาตเลี้ยวเข้าซอยภาษาแป๊บเดียว

คุณปทุมาเคยตั้งข้อสงสัยเรื่องที่มาของคำว่า สบู่ ว่ามาจากภาษาโปรตุเกสหรือญี่ปุ่น (คำตอบคือภาษาโปรตุเกส)

เมื่อตอนเรียนประวัติศาสตร์หรือภาษาอังกฤษ ครูในจังหวัดอยุธยามักมีเกร็ดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มาเล่าให้ฟังเสมอ วันหนึ่งครู่เล่าว่า คำว่า สบู่ มาจากภาษา โปรตุเกส (ภาษาโปรตุเกสเรียกว่า sabaoซึ่งเป็นคำมาจากลาตินว่า sapo) ตอนที่โปรตุเกสเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา  แต่ไปพบใน Web บางแห่งว่า มาจากคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกสบู่ว่า โซปปุ (SOAPPU) ผมว่ามีความเป็นไปได้ทั้ง 2 คำ เพราะทั้งญี่ปุ่นและโปรตุเกสเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาทั้งคู่ ไม่แน่ใจว่าใครเข้ามาก่อนกัน  

ทีนี้เห็นชื่อนายปินโตอยู่หลายครั้ง

คุณปทุมาและทุกท่านคิดว่า

ปิ่นโต มาจากภาษาโปรตุเกสหรือญี่ปุ่น

 ยิ้มเท่ห์

ลองหา Pinto ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า เป็นคำเรียกเด็กแบบเอ็นดู หรือ ม้าคละสีและเรียกเป็นนามสกุลก็นิยมกัน
http://answers.yahoo.com/question/index?qid=1006051705183
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 20:32

คุณวิกกี้ ว่าไว้ดังนี้

เดิมเชื่อว่า "ปิ่นโต" มาจากคำว่า "ปินโต" ในภาษาโปรตุเกส แต่โสมทัต เทเวศร์ (นามปากกาของ ส.พลายน้อย หรือ สมบัติ พลายน้อย) นักภาษาศาสตร์ เขียนแย้งว่า น่าจะเป็นการจำไขว้เขวกับฝรั่งโปรตุเกสที่เข้ามาอยู่เมืองไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อ เฟอร์นันโด เม็นเดซ ปินโต (Fernão Mendes Pinto) จึงทำให้คนคล้อยตามกันมาก ความจริงแล้วตามพจนานุกรมภาษาโปรตุเกส คำว่า Pinto หมายถึงลูกไก่ ดังนั้นภายหลังส่วนใหญ่ลงความเห็นสอดคล้องกันว่าน่าจะมาจากคำว่า "เบนโต" (弁当) ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง ข้าวกล่อง ซึ่งอาจจะผ่านมาจากภาษาจีน คำว่า "เปี้ยนตัง" (便當, biàndāng)

คุณไซอามีสเห็นด้วยกับคุณวิกกี้ไหม

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 20:55

คุณวิกกี้ ว่าไว้ดังนี้

เดิมเชื่อว่า "ปิ่นโต" มาจากคำว่า "ปินโต" ในภาษาโปรตุเกส แต่โสมทัต เทเวศร์ (นามปากกาของ ส.พลายน้อย หรือ สมบัติ พลายน้อย) นักภาษาศาสตร์ เขียนแย้งว่า น่าจะเป็นการจำไขว้เขวกับฝรั่งโปรตุเกสที่เข้ามาอยู่เมืองไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อ เฟอร์นันโด เม็นเดซ ปินโต (Fernão Mendes Pinto) จึงทำให้คนคล้อยตามกันมาก ความจริงแล้วตามพจนานุกรมภาษาโปรตุเกส คำว่า Pinto หมายถึงลูกไก่ ดังนั้นภายหลังส่วนใหญ่ลงความเห็นสอดคล้องกันว่าน่าจะมาจากคำว่า "เบนโต" (弁当) ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง ข้าวกล่อง ซึ่งอาจจะผ่านมาจากภาษาจีน คำว่า "เปี้ยนตัง" (便當, biàndāng)

คุณไซอามีสเห็นด้วยกับคุณวิกกี้ไหม

 ยิ้มเท่ห์

ผมมีแนวโน้มว่า ภาชนะที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ สานด้วยไม้ไผ่นั้นกำเนิดจากจีน ซึ่งยังคงเห็นมาจนบัดนี้ ส่วนการบรรจุภาชนะของโปรตุเกสนั้น ผมก็นึกไม่ออกว่าจะเอาไปบรรจุอะไร สองชั้น สามชั้น เพราะการทานอาหารของเขากินเป็นจานๆ มื้อใหญ่ไปเลย ชั้นแรกใส่ซุป ชั้นที่สองใส่ไก่อบ ชั้นที่สามใส่เค้ก ก็คงไม่เข้าท่าเข้าทาง ..
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:00

ดร.ซารา ลูโดวิโก (Dr. Sara Ludovico) อาจารย์พิเศษสอนวิชาภาษาและวัฒนธรรมโปรตุเกส ให้กับสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสาขาวิชาภาษาตะวันตก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉลยไว้ดังนี้

ในประเทศไทยพบว่ามีการหยิบยืมศัพท์โปรตุเกสบางคำมาใช้ เช่น "สบู่" น่าจะมาจากคำว่าซาปู คำว่า "ศาลา" ที่แปลว่าส่วนนั่งเล่น โปรตุเกสก็เรียกว่าซาลาเหมือนกัน คำว่า "ปิ่นโต" ของไทยที่หมายถึงภาชนะบรรจุอาหารลักษณะเป็นเถา โปรตุเกสก็เรียกว่าปินโตเหมือนกัน อีกคำก็คือ “ใคร” โปรตุเกสใช้คำว่า “ไค” เหมือนกัน

http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=47499

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:06

เข้ามาดูครับ
ทำการบ้านเสร็จแล้ว แต่ในห้องไม่มีใครเลย

เพิ่งกลับขึ้นเรือนค่ะ    วันนี้นั่งเรือแจวข้ามเจ้าพระยาไปฟากขะโน้นทั้งวัน   สั่งอ้ายจุกอ้ายแกละให้เฝ้าเรือน  ไม่มีใครอยู่  หนีไปเล่นกันหมด  
ดิฉันปูเสื่อ วางหมอนขวาน ยกหมากพลูบุหรี่มาต้อนรับท่านแล้วนะคะ
รอฟังเรื่องชิโนปอร์ตุกีส    กระพริบตาปริบๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:16

^
นั่นสำหรับผม หรือปู่ของผมครับนั่น

จากวิกี้

ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าบริเวณเมืองท่ามะละกา และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาการตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ และได้สร้างบ้าน และสถาปัตยกรรมตามรูปแบบของตน ซึ่งช่างชาวจีนได้นำผังการก่อสร้างไปดำเนินการ แต่ลักษณะของสถาปัตยกรรมได้เพี้ยนไปจากเดิมโดยช่างชาวจีนได้ตกแต่งลวดลายสัญลักษณ์รวมถึงลักษณะรูปแบบบางส่วนของตัวอาคารตามคติความเชื่อของจีน เกิดการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมโปรตุเกสและจีน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นท่ามกลางสังคมของกลุ่มชน 3 เชื้อชาติ อันได้แก่โปรตุเกส จีน และมาเลย์ ในดินแดนแหลมมลายู

ต่อมาเมื่อชาวดัตช์และอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ ก็ได้ปรับปรุงรูปแบบของอาคารโดยดัดแปลงและเพิ่มเติมลวดลายต่างๆ และมีชื่อเรียกลักษณะการก่อสร้างอาคารเหล่านี้ว่า สถาปัตยกรรม “ชิโนโปรตุกีส” คำว่า “ชิโน” หมายถึงคนจีน และคำว่า “โปรตุกีส” หมายถึง โปรตุเกส แม้ว่าอังกฤษและดัตช์จะเข้ามามีอิทธิพลในการผสมผสานศิลปะของตนเข้าไปในยุคหลังด้วยก็ตามก็ยังเรียกรวมกันว่า ชิโนโปรตุกีส

ในประเทศไทยพบสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสได้ในจังหวัดภูเก็ตรวมถึง จังหวัดระนอง กระบี่ ตะกั่วป่า พังงา หรือตรัง ซึ่งอาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ในช่วงปี พ.ศ. 2444 - 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภูเก็ตในสมัยนั้นมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับปีนัง อาคารแบบชิโนโปรตุกีสได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีนที่มีความร่ำรวยจากการทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก

เมื่อปี พ.ศ. 2537 ทางเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งหน่วยงานจากภาครัฐและองค์กรเอกชน องค์กรท้องถิ่นในเมืองภูเก็ต ได้ร่วมกันพัฒนาและอนุรักษ์ย่านเมืองเก่าขึ้นมา มีการกำหนดให้พื้นที่ประมาณ 210 ไร่ ซึ่งครอบคลุมถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนเทพกระษัตรี ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยออกเป็นประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการควบคุมให้พื้นที่อนุรักษ์นี้ ให้มีความสูงอาคารได้ไม่เกิน 12 เมตร และยังได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาคารในรูปแบบดั้งเดิมไว้ อย่างเช่นมีการให้เว้นช่องทางเดินด้านหน้า และคงรูปแบบอาคารลักษณะชิโนโปรตุกีสไว้ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ต
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:20

.



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:24

คราวนี้มาดูรูปแบบอาคารบ้านเรือนตึกแถวในภูเก็ตกัน

ด้านบนเป็นคฤหาสน์ของบรรดานายหัว

ส่วนด้านล่างเป็นตึกแถว ชั้นล่างทำการค้า ชั้นบนอยู่อาศัยตามวัฒนธรรมของคนจีนทั่วไป

คนจีนเหล่านี้ ส่วนใหญ่หนีความอดอยาก แย่งกันอยู่แย่งกันกินจากเมืองจีนมาแสวงหาชีวิตใหม่ คนพวกนี้ต่างกับฝรั่งนักแสวงโชคที่ผมกล่าวไปแล้วเพราะต้องการฝากทั้งชีวิตและร่างกายไว้ยังถิ่นที่อยู่ใหม่เลย ไม่คิดว่ารวยแล้วจะกลับไปตายรังในเมืองจีนอีก ส่วนใหญ่ก็หนักเอาเบาสู้ มารับจ้างเป็นกุลีเหมืองแร่ดีบุกที่ฝรั่งได้รับสัมปทานไปจากรัฐบาลไทย ใครเก็บหอมรอมริบเงินทองไว้ได้มากหน่อย ก็เริ่มเป็นนายหัวน้อย ขอสัมปทานจากข้าหลวงทำเหมืองเล็กๆที่ฝรั่งไม่สนใจ เป็นโอกาสให้คนจีนตักตวงทรัพยากรที่มีอยู่ใต้ดินมากมาย จากจับกังหลายคนก็เปลี่ยนสถานะเป็นนายหัว ร่ำรวยมหาศาล เศรษฐกิจสะพรึ่บไปทั่วทั้งเมือง ไปไหนมีแต่คนรวยเดินชนกัน ฝรั่งได้เงินแล้วก็ส่งให้บริษัทแม่ในบ้านเกิด แต่คนจีนแบ่งส่งกลับบ้านไปเลี้ยงดูครอบครัวที่ทิ้งมาบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็เอามาลงทุนต่อ เกิดหมุนเวียนทางระบบเศรษฐกิจเป็นผลดีต่อประเทศที่เข้ามาทำมาหากิน

คนจีนในภูเก็ตแทบทั้งหมดเป็นคนฮกเกี้ยนเช่นเดียวกับคนจีนในมาเลเซียที่อังกฤษขนไปจากเมืองจีนในสมัยรัชกาลที่๕ และทะเล็ดเข้าไทยมาด้วย พวกนายหัวจึงมักจะมีญาติ หรือมีคนรู้จักอยู่ที่ปินัง ซึ่งคนจีนที่รวยแล้วจะไปเป็นคนในบังคับของอังกฤษอยู่ที่นั่น สมัยก่อนที่จะมีรถเมล์บริการคนทั่วไปด้วยค่าโดยสารแบบสบายกระเป๋า ถือว่าปินังอยู่ใกล้ภูเก็ตกว่ากรุงเทพมาก คนภูเก็ตจึงนิยมส่งลูกส่งหลานไปโรงเรียนที่นั่นกัน เพราะนั่งๆนอนๆในเรือเมล์คืนเดียวก็ถึงแล้ว และยังได้เรียนภาษาอังกฤษอีกด้วย

ไม่ต้องสงสัย วัสดุ วิทยาการ รสนิยมทุกอย่าง คนภูเก็ตจึงอิมพอร์ตมาจากปินังโดยตรง รวมทั้งผู้รับเหมาที่จะมาสร้างบ้านเรือนให้ทัดเทียมกับเหล่านายหัวที่ปินังด้วย

ฉะนั้น จุดแรกที่ผมท่านจะไปเสาะหา Sino-Portuguese Architecture ก็คือที่ปินังครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:27

กรุงเทพมีเกาะรัตนโกสินทร์ ในปินังก็มียอร์ชทาวน์

สมัยรัชกาลที่5ตอนต้น ปินังเป็นส่วนหนึ่งของไทรบุรี เรียกว่าเกาะหมาก เมื่อยกให้อังกฤษไปแล้ว ปีค.ศ.1786 กัปตัน ฟรานซิส ไลท์ ก็นำกำลังทหารเข้าครอบครองในนามของ บริษัท อินเดียตะวันออก(East India Company)ของประเทศอังกฤษแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น เกาะปรินซ์ออฟเวลส์ และสร้างเมืองยอร์ชทาวน์(George Town)ขึ้น

ผมเข้าไปค้นหาในเวปโดยใช้key wordว่า Sino-Portuguese Architecture ทั้งหมดที่พรึ่บขึ้นมาเป็นสิบๆหน้าล้วนแต่เป็นเวปที่โฆษณาเมืองภูเก็ต ลองเอาคำว่า Architecture ออกไป เหลือแต่ Sino-Portuguese ก็ยังเหมือนๆเดิม เลยเอาคำว่าMalacca ใส่ลงไป คราวนี้จึงมีคำว่า Sino-Portuguese Relationship และ Sino-Portuguese Treaty โผล่ขึ้นมาบ้างในหน้าหลังๆ

เอาละซี ชักจะหม่างๆแล้ว

พอเปลี่ยน key word ใหม่ เอาคำว่า Pinang Heritage Architecture มาลง คราวนี้เจอแจ็คพอต
อ้างถึง
Heritage shophouses in George Town fall into 6 main historical styles. Each style has distinctive architectural and decorative features which is representative of a different period in George Town’s history.

ตึกแถวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยอร์ชทาวน์แบ่งออกเป็น6รูปแบบตามประวัติศาสตร์ แต่ละรูปแบบมีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมและลักษณะการตกแต่งอาคาร ซึ่งแสดงความแตกต่างของแต่ละยุคสมัยในประวัติศาสตร์ของเมืองยอร์ชทาวน์เอง


ในเวปที่ดูเป็นทางการนี้ แบ่งรูปแบบดังกล่าวออกเป็น6ยุคสมัยด้วยกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:36

Early “Penang” Style (1790s - 1850s)

รูปแบบปินังยุคแรกพ.ศ.2333-2393 ตรงกับปลายรัชกาลที่๑ถึงปลายรัชกาลที่๓


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:42

“Southern Chinese” Eclectic Style (1840s - 1900s)

รูปแบบที่พัฒนามาจากทางภาคใต้ของจีน พ.ศ.2383-2443 ตรงกับปลายรัชกาลที่๓ถึงต้นรัชกาลที่๕


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:43

Early “Straits” Eclectic Style (1890s - 1910s)

รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใน“อาณานิคม”ยุคแรก พ.ศ.2433-2453 ตรงกับยุคสมัยในรัชกาลที่๕


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:46

Late “Straits” Eclectic Style (1910s -1940s)

รูปแบบที่พัฒนาขึ้นใน“อาณานิคม”ยุคหลัง พ.ศ.2453-2483

ตรงกับยุคสมัยในรัชกาลที่๖
 
ในเวปที่ลอกต่อๆกันมาไม่ทราบใครเขียนขึ้นก่อนนั้นระบุว่า อาคารแบบชิโนโปรตุกีสได้ถูกสร้างในภูเก็ตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2446 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้นำ ถ้าเป็นจริงก็ใกล้เคียงกับรูปแบบ“อาณานิคม”ปลายยุคแรกสืบมาจนต้นยุคหลังที่คนจีนพัฒนาจนลงตัวสำหรับท้องถิ่นมลายูโดยเฉพาะ แล้วภูเก็ตก็รับศิลปสถาปัตยกรรมนี้ผ่านสายสัมพันธ์ของคนจีนปินัง จนอาจกล่าวได้ว่าอยู่ร่วมสมัยเดียวกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:52

Art Deco Style (1930s -1960s)

รูปแบบสมัยก่อนสงครามโลกที่เรียกว่าอาร์ต เดกอ พ.ศ.2473-2503

ตรงกับยุคสมัยในรัชกาลที่๗ ต่อมาจนถึงรัชกาลที่๙ สมัยจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ไปจนถึงตอนจอมพลสฤษดิ์ปฏิวัติ ตัวอย่างของไทยที่เป็นอาร์ต เดกอก็คืออาคารทั้งสองข้างของถนนราชดำเนินกลาง

ถ้าสังเกตุให้ดี ภูเก็ตก็มีตึกรูปแบบนี้อยู่เหมือนกัน แต่ถนนหนทางในเมืองไทยเริ่มดีขึ้นแล้ว ผมไม่แน่ใจว่ายังต้องเอาช่างมาจากปินังอีกหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 21:53

Early Modernism Style (1950s -1970s)

รูปแบบสมัยใหม่ยุคต้น พ.ศ.2493-2513 คือเมื่อ๕๐-๖๐ปีที่แล้วมา


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง