เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 83490 โปรตุเกสเข้าเมือง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 20:29

เรามักจะเชื่อกันต่อๆมาว่า ขนมฝอยทอง เม็ดขนุน ทองพลุ ฯลฯ มาจากตำรับของท้าวทองกีบม้าซึ่งเป็นลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น      ในเมื่อประวัติศาสตร์ก็แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนโปรตุเกสอยู่ในอยุธยา มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช  แล้วก็อยู่เรื่อยมาหลายร้อยปี จนตั้งรัตนโกสินทร์  ก็ยังมีลูกหลานเชื้อสายโปรตุเกสมาตั้งถิ่นฐานอยู่แถวกุฎีจีน
อย่างนี้ ขนมต่างๆพวกนี้จะมาจากชุมชนโปรตุเกสด้วยอีกทางไม่ได้หรือ      แทนที่จะสืบทอดมาจากผู้หญิงคนเดียวที่ทำงานอยู่ระยะหนึ่งในวัง  ถึงจะมีลูกมือทำต่อมา หลังจากเธอถึงแก่กรรม   มันก็เป็นเส้นทางที่แคบมาก   เมื่อเทียบกับชุมชนที่มีคนหลายร้อย  สามารถแพร่ขยายวัฒนธรรมได้มากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 20:47

เพราะทั้งญี่ปุ่นและโปรตุเกสเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาทั้งคู่ ไม่แน่ใจว่าใครเข้ามาก่อนกัน   

โปรตุเกสเข้ามาก่อนค่ะ  ญี่ปุ่นตามเข้ามาหลังจากนั้นไม่กี่ปี
ฝรั่งบอกว่าพงศาวดารไทยบันทึกไว้ว่าใน ค.ศ.  1593, สมเด็จพระนเรศวรมรทหารญี่ปุ่นในทัพอยุธยาถึง 500 คน  ในสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา

นอกจากนี้ยังมีบันทึกไว้อีกด้วยว่า ในเดือนธันวาคม ปี 1605   นักสำรวจชาวอังกฤษชื่อจอห์น เดวิส ถูกโจรสลัดญี่ปุ่นสังหารนอกอ่าวไทย   เป็นคนอังกฤษคนแรกในประวัติศาสตร์ที่มาจบชีวิตด้วยฝีมือชาวญี่ปุ่น
โจรสลัดแถวเอเชียอาคเนย์ไม่ได้มีแค่โปรตุเกส    ญี่ปุ่นก็มาหากินถึงแถวนี้เหมือนกัน  เพิ่งรู้นี่แหละ
 
มีอีกคนที่น่ากล่าวถึงคือ  สามเณร อันโตนิโอ ปินโต หรือ อังตวน ปินโต ที่หนังสือประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มักพูดถึง ส่วนใหญ่บอกว่าเป็นลูกครึ่ง สยาม กับแขกบังกล่า แต่ก็มีผู้แย้งว่า เป็นลูกครึ่งสยาม โปรตุเกส เพราะนามสกุล ปินโตนั้น เป็นภาษาโปรตุเกส หนังสือส่วนใหญ่บอกว่า สามเณร ปินโต ไปฝรั่งเศส เพื่อไปสอบ มหาปริญญา ที่ มหาวิทยาลัยซอร์บอน แต่ก็มีผู้แย้งว่า น่าจะไปเพื่อทดสอบความสามารถ เพื่อที่จะเรียนสูงขึ้น เก็บมาฝากตามนี้ครับ
http://www.issara.com/article/letter.html

คนละคนกับปิ่นตู นักผจญภัยที่ท่าน NAVARAT เล่าให้ฟังในหน้าก่อนนี้เสียละมัง     ท่านผู้เล่าเห็นว่ายังไงคะ   
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 20:55

ไม่ทราบครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 21:07

     มาดูกันดีกว่าว่าชาวโปรตุเกสที่ลงหลักปักฐานในอยุธยา  ทำมาหากินอะไรกันบ้างนอกจากค้าขายและเป็นทหารอาชีพ

     ล่วงมาถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์  พระเจ้าแผ่นดินทรงหันไปผูกสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส   ทำให้มีบันทึกของชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาในอยุธยาเล่าถึงชาวโปรตุเกสเอาไว้     นิโคลาส แจแวส์ให้รายละเอียดว่า ชาวโปรตุเกสในพระนครศรีอยุธยาบัดนี้เพิ่มจาก 170 คน ขยายเป็น  700-800 ครอบครัว ก็ต้องถือว่าเป็นชุมชนใหญ่ไม่เบาในเมือง
      ตอนที่ผู้ชายโปรตุเกสเดินทางมาแสวงโชคทางตะวันออก  เส้นทางและชีวิตคงลำบากลำบนเกินกว่าจะพาผู้หญิงมาด้วย  ส่วนใหญ่ก็คงมาได้ภรรยาเป็นคนพื้นเมือง ในประเทศที่ตัวเองปักหลักอยู่     จึงมีลูกครึ่งแบบท้าวทองกีบม้าเกิดขึ้นมาก      ในอยุธยาก็คงมีลูกครึ่งโปรตุเกสแม่ไทยอยู่ทุกครอบครัว
     น่าแปลกที่แจแวส์เล่าว่าชาวโปรตุเกสมีฐานะยากจน   พวกนี้ยอมตายเสียดีกว่าจะประกอบอาชีพหรือทำมาหากินเลี้ยงตัวเอง   พ่อค้าฝรั่งเศสนินทาให้ฟังเสียอีกว่า ชาวโปรตุเกสล้วนมีนิสัยเกียจคร้าน เย่อหยิ่ง และชอบอ้างว่าทุนรอนไม่มี  วันๆก็นอนอืดอยู่บนเสื่อ งานการไม่ทำ
    จากการค้นคว้าของ อ.พิทยะ ศรีวัฒนสาร   ค้านบันทึกของแจแวส์ ว่า โปรตุเกสก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นอย่างนั้นกันไปหมด  โปรตุเกสประกอบอาชีพอีกหลากหลาย  เช่น เป็นช่างอัญมณี  คนนำเรือ นักเดินเรือ  นักร้อง นักดนตรี พ่อค้าสำเภา เสมียน  ฯลฯ

    อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ
    http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2010/09/1511-1767.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 21:30

มีอีกคนที่น่ากล่าวถึงคือ  สามเณร อันโตนิโอ ปินโต หรือ อังตวน ปินโต ที่หนังสือประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มักพูดถึง ส่วนใหญ่บอกว่าเป็นลูกครึ่ง สยาม กับแขกบังกล่า แต่ก็มีผู้แย้งว่า เป็นลูกครึ่งสยาม โปรตุเกส เพราะนามสกุล ปินโตนั้น เป็นภาษาโปรตุเกส หนังสือส่วนใหญ่บอกว่า สามเณร ปินโต ไปฝรั่งเศส เพื่อไปสอบ มหาปริญญา ที่ มหาวิทยาลัยซอร์บอน แต่ก็มีผู้แย้งว่า น่าจะไปเพื่อทดสอบความสามารถ เพื่อที่จะเรียนสูงขึ้น เก็บมาฝากตามนี้ครับ
http://www.issara.com/article/letter.html

คนละคนกับปิ่นตู นักผจญภัยที่ท่าน NAVARAT เล่าให้ฟังในหน้าก่อนนี้เสียละมัง     ท่านผู้เล่าเห็นว่ายังไงคะ   


ไม่ทราบครับ

ท่านอาจารย์เทาชมพูท่านมีวิธีการสั่งการบ้านให้ผมอย่างแนบเนียนก่อนออกไปชอปปิ้งในวันหยุดสุดสัปดาห์

อ้าว  ท่าน NAVARAT งดอนุมัติโควต้าเล่าเรื่องเสียแล้ว   ไม่เป็นไร  นั่งพัก ดื่มน้ำใบเตยแก้คอแห้งไปพลางๆก่อนนะคะ



งั้นต้องขอตอบคุณ Pathuma  สั้นๆว่าดิฉันก็ไม่รู้ว่านักเรียนลูกครึ่งโปรตุเกส-ไทยที่ชื่อปินโต  นั้นเป็นใคร และชีวิตต่อไปเป็นอย่างไร    ไปเช็คแล้วรู้แต่ว่าเป็นคนละคนกับนักผจญภัยชื่อปินโตที่บันทึกเรื่องราวของกรุงศรีอยุธยาไว้  เท่านั้นเองค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 21:40

อ้างถึง
ส่วนใหญ่บอกว่าเป็นลูกครึ่ง สยาม กับแขกบังกล่า แต่ก็มีผู้แย้งว่า เป็นลูกครึ่งสยาม โปรตุเกส เพราะนามสกุล ปินโตนั้น เป็นภาษาโปรตุเกส

อ้างถึง
คนละคนกับปิ่นตู นักผจญภัยที่ท่าน NAVARAT เล่าให้ฟังในหน้าก่อนนี้เสียละมัง     ท่านผู้เล่าเห็นว่ายังไงคะ 


ผมเรียนว่าไม่ทราบ ตรงนี้ครับ
ไม่ได้งดอนุมัติโควต้าเล่าเรื่องเสียแล้วดังที่เข้าใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 21:53

งั้น  ท่านก็ยังมีเรื่องโปรตุเกสจะเล่าให้พวกเราฟังอีกหลายเรื่องใช่ไหมคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 21:59

^
อื้อฮือ หนักอีกแล้วอัตโน
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 22:05

อ้างถึง
ส่วนใหญ่บอกว่าเป็นลูกครึ่ง สยาม กับแขกบังกล่า แต่ก็มีผู้แย้งว่า เป็นลูกครึ่งสยาม โปรตุเกส เพราะนามสกุล ปินโตนั้น เป็นภาษาโปรตุเกส

อ้างถึง
คนละคนกับปิ่นตู นักผจญภัยที่ท่าน NAVARAT เล่าให้ฟังในหน้าก่อนนี้เสียละมัง     ท่านผู้เล่าเห็นว่ายังไงคะ 


ผมเรียนว่าไม่ทราบ ตรงนี้ครับ
ไม่ได้งดอนุมัติโควต้าเล่าเรื่องเสียแล้วดังที่เข้าใจ
เข้าใจว่า เป็นคนละคนกันครับ ตามเรื่องที่เคยอ่านผ่านตาเป็นสามเณรไทยลูกครึ่งที่เดินทางร่วมไปกับคณะฑูตไทยไปฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 30 เม.ย. 11, 22:47

ครับ ผมเข้าใจว่าคุณpathumaก็ทราบว่าสามเณรไทยลูกครึ่งนั้นเป็นคนละคนกันกับปินโตหรือปิ่นตู นักเขียนโปรตุเกสที่ผมเอามาเล่าข้างต้น
แต่คำถามอยู่ตรงนี้ไม่ใช่หรือ
อ้างถึง
ส่วนใหญ่บอกว่า(สามเณร)เป็นลูกครึ่งสยามกับแขกบังกล่า แต่ก็มีผู้แย้งว่า เป็นลูกครึ่งสยาม โปรตุเกส เพราะนามสกุลปินโตนั้น เป็นภาษาโปรตุเกส

คือผมตอบว่าไม่ทราบครับ เพราะผมไม่ทราบจริงๆว่าสามเณรเป็นลูกครึ่งโปรตุเกสหรือลูกครึ่งแขกบังกล่ากันแน่จากการดูแค่นามสกุล เพราะปินโตหรือปิ่นตูนี้เป็นนามสกุลธรรมดาๆที่คนโปรตุเกสทั่วไปใช้ อาจจะมีแขกบังกล่าคนใดไปเข้ารีต แล้วบาดหลวงให้ชื่อคริสเตียนว่า ปินโตหรือปินตูที่ว่าก็ได้ แล้วแขกที่ชื่อคริสเตียนว่าปินโตหรือปินตูคนนั้น อาจจะไปแต่งงานกับสาวสยามแล้วมีลูกชายออกมา โตขึ้นก็ไปบวชเป็นสามเณร(ความจริงน่าเรียกว่าโนวีสนะ)ดังกล่าวก็ได้

แต่ถ้าใครหารูปถ่ายเณรคนนี้มาให้ดู ผมก็บอกได้นะว่าเป็นลูกครึ่งฝรั่งหรือแขกบังกล่า

นึกว่าจะทุ่นแรงแค่ตอบสองสามคำ แต่แล้วก็เลยต้องร่ายยาว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 09:18

สวัสดีตอนเช้าครับ

รับการบ้านมาอีกข้อเมื่อคืน เพราะการบ้านที่ครูให้มาครั้งก่อนทำเสร็จเร็วไปหน่อย ชะรอยครูจะเกรงว่าหากไม่ให้เพิ่ม วันนี้ผมคงจะออกไปเที่ยวเล่นเพลิดเพลินใจเสียเวลาไปเปล่าๆปลี้ๆ

นอนหลอนอยู่ตั้งค่อนคืน คิดจะเอาเรื่องอะไรดีมานำเสนอดีหนอ ก็สาระดีๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสยาม-โปรตุเกส ท่านอาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสารท่านก็เอามาลงเวปให้อ่านแบบเนื้อๆอยู่แล้ว ถ้าใครสนใจจริงๆก็เข้าไปหาความรู้เอาเองตามข้างล่างนี้

http://siamportuguesestudy.blogspot.com/2010/09/1511-1767.html

มานึกขึ้นได้ ในวงการสถาปัตยกรรมบ้านเรา มีศัพท์หนึ่งใช้เรียกตึกแถวในเมืองที่เป็นถิ่นเหมืองดีบุก เช่นภูเก็ตและพังงา ว่าเป็นแบบ ชิโนโปรตุกีส ( Sino-Portuguese Architecture) ซึ่งมีผู้ไปนิยามไว้ในวิกี้ว่า คือรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก ราวปี พ.ศ. 2054 สามารถพบเห็นได้ในเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือมาเก๊า รวมไปถึงประเทศไทย

กระทู้นี้ชื่อ “โปรตุเกสเข้าเมือง” โดยไม่ระบุว่าเมืองไหน ผมจึงตัดสินใจเล่นเรื่องนี้ แม้จะเป็นห่วงอยู่นิดๆ กลัวจะเป็นวิชาการเกินไป แขนงนี้เขาก็ไม่ค่อยจะสนใจกันอยู่แล้ว แต่ที่ไหนได้ พอค้นในเวปเข้าจริงๆ ก็เจออะไรคล้ายตะปิ้งเข้าอีก สงสัยจะสนุก

โปรดติดตาม อย่าหยุดกระพริบตานะครับ
.
.
.
.

.

เดี๋ยวตาจะบอด

(หน้าโฆษณา)

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 18:17

เข้ามาดูครับ

ทำการบ้านเสร็จแล้ว แต่ในห้องไม่มีใครเลย
เหงาจริงๆ

ไปบ้างดีกว่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 18:26

ระหว่างรอ อ.NAVARAT.C ห้ามกระพริบตา  ขยิบตา ขยิบตา ขยิบตา ขอคั่นด้วยข้อมูลเรื่องการเผยแพร่คริสศาสนา และเหตุผลถึงการมาของโปรตุเกส

ในช่วงคริสศตวรรษที่ 16 นั้นแสนยานุภาพทางการเดินเรือเพื่อแสวงหาดินแดนต่างๆ มีสองชาติที่แข่งขันกันอย่างมากคือ สเปน และ โปรตุเกส

ซึ่งที่ตั้งของทั้งสองประเทศนั้นอยู่ติดกันดังนั้นการเดินเรือออกไปเพื่อหาดินแดนย่อมเป็นคู่แข่งขันโดยปริยาย เมื่อการแข่งขันต่างแย่งความเป็นเจ้าแห่งการยึดดินแดน ลงท้ายด้วยการทำสงครามกันระหว่างโปรตุเกส - สเปน จึงเป็นที่มาของ "สัญญาทอเดสซิลลา"

"สัญญาทอเดสซิลลา" ได้รับความเห็นชอบจากพระสันตปาปา อเล็กซานเดอร์ที่ 6 แห่งกรุงวาติกัน โดยท่านให้แบ่งโลกออกเป็น 2 ซีก
- ด้านตะวันตก ให้เป็นเขตแสวงหาดินแดนของสเปน
- ด้านตะวันออก ให้เป็นเขตแสวงหาดินแดนของโปรตุเกส


โดยทั้งสองประเทศต้องให้เงื่อนไขว่า จะต้องดำเนินการเผยแพร่ศาสนาคริสต์เข้าไปในดินแดนที่ตนเองยึดไว้ด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่าทำไมอิทธิพลของสเปน จึงไม่ย่างกรายมายังดินแดนแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเอเซียตะวันออกไกลเลย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 18:50

ในดินแดนมะละกา มีความเชื่อกันว่า "นักบุญฟรานซิส ซาเวียร์" เป็นมิชชันนารีคนแรกที่เดินทางเข้าไปเผยแพร่คริสศาสนา และก่อนที่เข้ามายังไทยใน ค.ศ. 1552 ท่านได้เสียชีวิตเสียก่อน ต่อมามีคณะโดมินิกันและคณะฟรานซิล 2 ท่านได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ใน ค.ศ. 1565 ในปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์

การแสดงธรรมครั้งแรกให้กับชาวกรุงศรีอยุธยา คงสร้างความประหลาดใจให้กับชาวเมืองไม่น้อย ด้วยชาวสยาม ยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ดังบาทหลวงนิโกลาส์ กล่าวว่า
".และเมื่อเริ่มแสดงธรรมนั้น บาทหลวงได้สังเกตุเห็นว่าทุกคนพากันประหลาดใจ อันแสดงว่าไม่เคยมีผู้เข้ามาดำเนินการเผยแพร่ก่อนหน้านี้..." แต่ความเห็นของบาดหลวงผู้นี้อาจจะไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากในรัชกาลก่อนหน้านี้ สมัยสมเด็จพระไชยราชา หลังจากชนะในคราวศึกเชียงไกร เชียงกราน พระองค์ได้ประทานที่ดินสร้างโบสถ์ และประกอบศาสนกิจได้อย่างเสรีแล้ว

แต่การที่บาทหลวงได้ขยันในการเผยแพร่ศาสนากลับเป็นภัยทำร้ายตนเอง โดยคณะพ่อค้าชาวมุสลิมได้เกิดความริษยาและได้กระทำการฆาตกรรมบาดหลวงที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาเสียสิ้น

การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้นำให้ชาวสยามพากันเข้ารีต และเกิดปัญหาความขัดแย้งกันอยู่เนืองๆ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 01 พ.ค. 11, 19:57

ขออนุญาตเลี้ยวเข้าซอยภาษาแป๊บเดียว

คุณปทุมาเคยตั้งข้อสงสัยเรื่องที่มาของคำว่า สบู่ ว่ามาจากภาษาโปรตุเกสหรือญี่ปุ่น (คำตอบคือภาษาโปรตุเกส)

เมื่อตอนเรียนประวัติศาสตร์หรือภาษาอังกฤษ ครูในจังหวัดอยุธยามักมีเกร็ดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มาเล่าให้ฟังเสมอ วันหนึ่งครู่เล่าว่า คำว่า สบู่ มาจากภาษา โปรตุเกส (ภาษาโปรตุเกสเรียกว่า sabaoซึ่งเป็นคำมาจากลาตินว่า sapo) ตอนที่โปรตุเกสเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา  แต่ไปพบใน Web บางแห่งว่า มาจากคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกสบู่ว่า โซปปุ (SOAPPU) ผมว่ามีความเป็นไปได้ทั้ง 2 คำ เพราะทั้งญี่ปุ่นและโปรตุเกสเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาทั้งคู่ ไม่แน่ใจว่าใครเข้ามาก่อนกัน  

ทีนี้เห็นชื่อนายปินโตอยู่หลายครั้ง

คุณปทุมาและทุกท่านคิดว่า

ปิ่นโต มาจากภาษาโปรตุเกสหรือญี่ปุ่น

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.102 วินาที กับ 20 คำสั่ง